นายกฯ ย้ำต้องสร้างคนเป็นมันสมองของประเทศ พร้อมแนะ ศธ. เปิดแผนกกีฬาเพิ่มเติมใน ร.ร. ภาคใต้ เอื้อเด็กที่ไม่เก่งวิชาการ แต่เก่งกีฬาได้มีช่องทางพัฒนา รวมทั้งสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทุกภาคส่วน แนะพัฒนาคนให้เป็นนักวิชาการ มีงานมีอาชีพที่พร้อมเข้าสู่การแข่งขัน พร้อมให้ไปทำแผนดำเนินการให้เห็นผลในระยะ 3 เดือน
วันนี้ (29 ต.ค.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเป็นประธานประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า ครั้งที่ 2/2557 ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมเพื่อทำความเข้าใจกับข้าราชการถึงการทำงานและการเดินหน้าของประเทศในช่วง 2 - 3 เดือนที่ผ่านมาว่าจะเป็นไปเช่นไรและมีปัญหาใดบ้าง โดยครั้งนี้ กระทรวงศึกษาฯ รับเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมและได้นำเสนอทิศทางการทำงานในประเด็นต่างๆ ซึ่งตนไม่รู้สึกหนักใจและมองว่าแก้ได้ไม่ยากนักเพราะเรามีแนวทางการทำงานที่ดีอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องสร้างความต่อเนื่อง เชื่อมโยงกับเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน โรงเรียน มหาวิทยาลัย รวมทั้งผู้ประกอบการให้มากขึ้น เพราะรัฐบาลมีวัตถุประสงค์หลัก คือ สร้างคนให้เป็นมันสมองของประเทศ ดังนั้น ศธ. ควรต้องดำเนินการ ดังนี้ 1. สร้างคนที่มีศักยภาพด้านวิชาการ เพื่อเป็นนักวิชาการ ครูอาจารย์ระดับสูง 2. สร้างคนให้มีอาชีพ มีงานทำ 3. เตรียมคนรองรับการแข่งขันของประชาคมโลก ที่จะมีการเคลื่อนย้ายประชากร ทรัพยากรมนุษย์ไปทำงานที่ต่างๆ และ 4. พัฒนาการด้านกีฬา โดยเฉพาะโรงเรียนในพื้นที่ภาคใต้มีเด็กสนใจกีฬาค่อนข้างมาก และบางโรงเรียนที่มีเด็กเรียนน้อยก็อยากให้เปิดเป็นห้องเรียนแผนกกีฬาเพิ่ม เพราะเด็กบางคนเรียนไม่เก่งแต่มีความสามารถด้านกีฬาก็ให้ไปส่งเสริมในเรื่องนี้จะดีกว่า
“ได้ย้ำกับทุกกระทรวงว่าต้องสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนให้ได้ว่าในช่วงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ทำงานอะไรสำเร็จมาแล้วบ้าง และเมื่อมาเป็นรัฐบาลในระยะเวลา 3 เดือนจะทำอะไรให้สำเร็จได้บ้าง อย่างเช่น การปรับระบบการศึกษาที่ผ่านมาเราไม่ได้พูดกัน กลายเป็นเหมือนผมพูดคนเดียวจึงยังทำอะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้น การปฏิรูปต้องมาทำร่วมกันและต่อไปทุกกระทรวงต้องมาพูดแทนผมว่าทำอะไรบ้าง” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ด้าน นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด ศธ. กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ ได้เน้นย้ำประเด็นด้านการศึกษาในหลายเรื่อง อย่างเช่น การผลิตนักวิชาการให้เตรียมเพื่อการเป็นครูในอนาคต การสร้างแรงจูงใจพัฒนากำลังภาครัฐในสาขาที่ขาดแคลนเพื่อให้คนมาเรียน การส่งเสริมและพัฒนาภาษาอังกฤษในการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การสร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาเด็กตกหล่น ยากจนไร้ที่พึ่งจะต้องให้ได้รับโอกาสทางการศึกษา ส่วนเรื่องของคุณภาพการศึกษายังต้องพัฒนาเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ซึ่งนายกฯ ได้ขอให้ไปดูประเทศที่มีต้นแบบที่ดี อาทิ ฟินแลนด์ สิงคโปร์ มีการจัดการเรียนการสอนอย่างไร ทั้งนี้ การจัดการศึกษาของไทยไม่ควรเน้นเนื้อหามากและให้จัดการศึกษาตามมาตรฐานช่วงวัยของเด็ก สร้างคนให้เป็นคน อีกทั้งการเรียนการสอนภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ต้องพัฒนาให้เด็กสามารถคิดวิเคราะห์ มีค่านิยม และมีคุณธรรม จริยธรรมด้วย นอกจากนี้ ได้เน้นว่าหลักสูตรการเรียนการสอนที่กำลังดำเนินการควรปรับเพื่อไม่ให้มีการกวดวิชามาก
“เรื่องการพัฒนาคนนั้นนายกฯ พูดว่าแต่ละคนมีความสามารถไม่เหมือนกัน เด็กคนไหนเก่งมีความสามารถก็ส่งเสริมให้เรียนอีกทางหนึ่ง หรือเด็กที่เก่งกีฬาก็อาจจะต้องส่งเสริมห้องเรียนกีฬา โดยนายกรัฐมนตรีอยากให้มีการเชื่อมโยงบ้าน วัด โรงเรียน ตามหลัก “บวร” ซึ่งอยากให้ไปดูว่าทำอย่างไรจะให้ศูนย์การเรียนรู้ของการศึกษานอกระบบไปตั้งอยู่ในวัดเพื่อบูรณาการบ้าน วัด โรงเรียน ส่วนการผลิตกำลังคนของอาชีวศึกษาที่ยังไม่ได้ตามเป้าต้องยึดโยงกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ เน้นสมรรถนะและต้องต้องเชื่อมโยงกับกระทรวงแรงงานในเรื่องความต้องการกำลังคนในแต่ละสาขา ซึ่งการผลิตกำลังคนดังกล่าวต้องเพิ่มการดูทักษะชีวิต ทักษะการมีงานทำ ค่านิยม เศรษฐกิจพอเพียง” ปลัด ศธ. กล่าวว่า ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้เร่งให้แต่ละกระทรวงดำเนินการอะไรที่จะเห็นผลได้ภายใน 3 เดือน ก็ให้ทำออกมาให้เห็นผล และยังได้ย้ำอยากให้ดูแลนักเรียนในพื้นที่ภาคใต้ที่ได้รับทุนไปเรียนต่อในต่างประเทศเมื่อเรียนจบกลับมาแล้วอยากให้มีงานทำ อีกทั้งการจัดเงินอุดหนุนให้กับสถาบันปอเนาะจะต้องเป็นสถาบันที่จดทะเบียนกับรัฐ ซึ่งยังมีอีกจำนวนมากที่ไม่ได้จดทะเบียนก็ให้ไปเชิญชวนมาจดทะเบียน โดยทั้งหมดนี้ ศธ. จะเร่งดำเนินเพื่อให้เห็นผล
ขณะที่ นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายให้ทาง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ไปพัฒนาทักษะด้านภาษาให้แก่เด็กอาชีวะเพิ่มเติม เพราะแม้จะมีศักยภาพในทางวิชาชีพ แต่ปัญหาเรื่องภาษากลายเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าเพราะไม่สามารถเลื่อนตำแหน่งไปในระดับสูงได้ รวมทั้งได้เสนอแนะให้จัดการเรียนการสอนร่วมกับทางสถานประกอบการและเพิ่มกำลังคนด้านอาชีวะให้มากขึ้น เพราะขณะนี้กำลังคนที่อาชีวะผลิตออกสู่ตลาดอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และพาณิชย์นั้นยังไม่เพียงกับความต้องการกำลังคน เช่น การท่องเที่ยวต้องการกำลังคนด้านอาชีวะ ประมาณ 1.2 แสนคนต่อปี แต่สถาบันอาชีวะสามารถผลิตได้ 30,000 คนต่อปี ขณะที่ด้านอุตสาหกรรมต้องการ 40,000 คน ต่อปี อาชีวะผลิตได้เพียง 30,000 คนต่อปี เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ตนได้รายงานแผนในการเพิ่มกำลังคนอาชีวะ โดยจัดอบรมให้แก่ผู้ที่อยู่ในสถานประกอบการ เป็นการต่อยอดผู้ที่ทำงานอยู่ในระบบแล้ว เพื่อให้มีความก้าวหน้าในอาชีพมากขึ้น
ทั้งนี้ ในส่วนของการขาดแคลนครูอาชีวะนั้น นายกฯ ได้เสนอให้เปิดโอกาสผู้ที่อยู่ในระบบราชการมาเป็นครู เช่น ทหาร ตำรวจ ที่มีความรู้ความสามารถหรือเรียนด้านครูมาต่อยอด หรือปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญามาสอน และเสนอให้ตั้งศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนในวัด ซึ่งทางอาชีวะก็จะตั้งศูนย์อาชีวะในวัดด้วย เพื่อต่อยอดอาชีพ นอกจากนั้น ได้เสนอให้มีการเพิ่มงบในเรื่องของเครื่องมืออุปกรณ์การเรียนการสอนสำหรับเด็กอาชีวะอีกด้วย อย่างไรก็ตาม นายกฯ ได้มีการฝากไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ร่วมกันแก้ไขปัญหา หรือดำเนินการเรื่องต่าง ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการปรับโครงสร้าง ใบประกอบวิชาชีพครู เรื่องการแยกกระทรวงอุดมศึกษาและการวิจัย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) (องค์การมหาชน) และทุกเรื่องเรื่องที่มีปัญหาการร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (29 ต.ค.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเป็นประธานประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า ครั้งที่ 2/2557 ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมเพื่อทำความเข้าใจกับข้าราชการถึงการทำงานและการเดินหน้าของประเทศในช่วง 2 - 3 เดือนที่ผ่านมาว่าจะเป็นไปเช่นไรและมีปัญหาใดบ้าง โดยครั้งนี้ กระทรวงศึกษาฯ รับเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมและได้นำเสนอทิศทางการทำงานในประเด็นต่างๆ ซึ่งตนไม่รู้สึกหนักใจและมองว่าแก้ได้ไม่ยากนักเพราะเรามีแนวทางการทำงานที่ดีอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องสร้างความต่อเนื่อง เชื่อมโยงกับเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน โรงเรียน มหาวิทยาลัย รวมทั้งผู้ประกอบการให้มากขึ้น เพราะรัฐบาลมีวัตถุประสงค์หลัก คือ สร้างคนให้เป็นมันสมองของประเทศ ดังนั้น ศธ. ควรต้องดำเนินการ ดังนี้ 1. สร้างคนที่มีศักยภาพด้านวิชาการ เพื่อเป็นนักวิชาการ ครูอาจารย์ระดับสูง 2. สร้างคนให้มีอาชีพ มีงานทำ 3. เตรียมคนรองรับการแข่งขันของประชาคมโลก ที่จะมีการเคลื่อนย้ายประชากร ทรัพยากรมนุษย์ไปทำงานที่ต่างๆ และ 4. พัฒนาการด้านกีฬา โดยเฉพาะโรงเรียนในพื้นที่ภาคใต้มีเด็กสนใจกีฬาค่อนข้างมาก และบางโรงเรียนที่มีเด็กเรียนน้อยก็อยากให้เปิดเป็นห้องเรียนแผนกกีฬาเพิ่ม เพราะเด็กบางคนเรียนไม่เก่งแต่มีความสามารถด้านกีฬาก็ให้ไปส่งเสริมในเรื่องนี้จะดีกว่า
“ได้ย้ำกับทุกกระทรวงว่าต้องสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนให้ได้ว่าในช่วงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ทำงานอะไรสำเร็จมาแล้วบ้าง และเมื่อมาเป็นรัฐบาลในระยะเวลา 3 เดือนจะทำอะไรให้สำเร็จได้บ้าง อย่างเช่น การปรับระบบการศึกษาที่ผ่านมาเราไม่ได้พูดกัน กลายเป็นเหมือนผมพูดคนเดียวจึงยังทำอะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้น การปฏิรูปต้องมาทำร่วมกันและต่อไปทุกกระทรวงต้องมาพูดแทนผมว่าทำอะไรบ้าง” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ด้าน นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด ศธ. กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ ได้เน้นย้ำประเด็นด้านการศึกษาในหลายเรื่อง อย่างเช่น การผลิตนักวิชาการให้เตรียมเพื่อการเป็นครูในอนาคต การสร้างแรงจูงใจพัฒนากำลังภาครัฐในสาขาที่ขาดแคลนเพื่อให้คนมาเรียน การส่งเสริมและพัฒนาภาษาอังกฤษในการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การสร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาเด็กตกหล่น ยากจนไร้ที่พึ่งจะต้องให้ได้รับโอกาสทางการศึกษา ส่วนเรื่องของคุณภาพการศึกษายังต้องพัฒนาเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ซึ่งนายกฯ ได้ขอให้ไปดูประเทศที่มีต้นแบบที่ดี อาทิ ฟินแลนด์ สิงคโปร์ มีการจัดการเรียนการสอนอย่างไร ทั้งนี้ การจัดการศึกษาของไทยไม่ควรเน้นเนื้อหามากและให้จัดการศึกษาตามมาตรฐานช่วงวัยของเด็ก สร้างคนให้เป็นคน อีกทั้งการเรียนการสอนภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ต้องพัฒนาให้เด็กสามารถคิดวิเคราะห์ มีค่านิยม และมีคุณธรรม จริยธรรมด้วย นอกจากนี้ ได้เน้นว่าหลักสูตรการเรียนการสอนที่กำลังดำเนินการควรปรับเพื่อไม่ให้มีการกวดวิชามาก
“เรื่องการพัฒนาคนนั้นนายกฯ พูดว่าแต่ละคนมีความสามารถไม่เหมือนกัน เด็กคนไหนเก่งมีความสามารถก็ส่งเสริมให้เรียนอีกทางหนึ่ง หรือเด็กที่เก่งกีฬาก็อาจจะต้องส่งเสริมห้องเรียนกีฬา โดยนายกรัฐมนตรีอยากให้มีการเชื่อมโยงบ้าน วัด โรงเรียน ตามหลัก “บวร” ซึ่งอยากให้ไปดูว่าทำอย่างไรจะให้ศูนย์การเรียนรู้ของการศึกษานอกระบบไปตั้งอยู่ในวัดเพื่อบูรณาการบ้าน วัด โรงเรียน ส่วนการผลิตกำลังคนของอาชีวศึกษาที่ยังไม่ได้ตามเป้าต้องยึดโยงกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ เน้นสมรรถนะและต้องต้องเชื่อมโยงกับกระทรวงแรงงานในเรื่องความต้องการกำลังคนในแต่ละสาขา ซึ่งการผลิตกำลังคนดังกล่าวต้องเพิ่มการดูทักษะชีวิต ทักษะการมีงานทำ ค่านิยม เศรษฐกิจพอเพียง” ปลัด ศธ. กล่าวว่า ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้เร่งให้แต่ละกระทรวงดำเนินการอะไรที่จะเห็นผลได้ภายใน 3 เดือน ก็ให้ทำออกมาให้เห็นผล และยังได้ย้ำอยากให้ดูแลนักเรียนในพื้นที่ภาคใต้ที่ได้รับทุนไปเรียนต่อในต่างประเทศเมื่อเรียนจบกลับมาแล้วอยากให้มีงานทำ อีกทั้งการจัดเงินอุดหนุนให้กับสถาบันปอเนาะจะต้องเป็นสถาบันที่จดทะเบียนกับรัฐ ซึ่งยังมีอีกจำนวนมากที่ไม่ได้จดทะเบียนก็ให้ไปเชิญชวนมาจดทะเบียน โดยทั้งหมดนี้ ศธ. จะเร่งดำเนินเพื่อให้เห็นผล
ขณะที่ นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายให้ทาง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ไปพัฒนาทักษะด้านภาษาให้แก่เด็กอาชีวะเพิ่มเติม เพราะแม้จะมีศักยภาพในทางวิชาชีพ แต่ปัญหาเรื่องภาษากลายเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าเพราะไม่สามารถเลื่อนตำแหน่งไปในระดับสูงได้ รวมทั้งได้เสนอแนะให้จัดการเรียนการสอนร่วมกับทางสถานประกอบการและเพิ่มกำลังคนด้านอาชีวะให้มากขึ้น เพราะขณะนี้กำลังคนที่อาชีวะผลิตออกสู่ตลาดอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และพาณิชย์นั้นยังไม่เพียงกับความต้องการกำลังคน เช่น การท่องเที่ยวต้องการกำลังคนด้านอาชีวะ ประมาณ 1.2 แสนคนต่อปี แต่สถาบันอาชีวะสามารถผลิตได้ 30,000 คนต่อปี ขณะที่ด้านอุตสาหกรรมต้องการ 40,000 คน ต่อปี อาชีวะผลิตได้เพียง 30,000 คนต่อปี เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ตนได้รายงานแผนในการเพิ่มกำลังคนอาชีวะ โดยจัดอบรมให้แก่ผู้ที่อยู่ในสถานประกอบการ เป็นการต่อยอดผู้ที่ทำงานอยู่ในระบบแล้ว เพื่อให้มีความก้าวหน้าในอาชีพมากขึ้น
ทั้งนี้ ในส่วนของการขาดแคลนครูอาชีวะนั้น นายกฯ ได้เสนอให้เปิดโอกาสผู้ที่อยู่ในระบบราชการมาเป็นครู เช่น ทหาร ตำรวจ ที่มีความรู้ความสามารถหรือเรียนด้านครูมาต่อยอด หรือปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญามาสอน และเสนอให้ตั้งศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนในวัด ซึ่งทางอาชีวะก็จะตั้งศูนย์อาชีวะในวัดด้วย เพื่อต่อยอดอาชีพ นอกจากนั้น ได้เสนอให้มีการเพิ่มงบในเรื่องของเครื่องมืออุปกรณ์การเรียนการสอนสำหรับเด็กอาชีวะอีกด้วย อย่างไรก็ตาม นายกฯ ได้มีการฝากไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ร่วมกันแก้ไขปัญหา หรือดำเนินการเรื่องต่าง ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการปรับโครงสร้าง ใบประกอบวิชาชีพครู เรื่องการแยกกระทรวงอุดมศึกษาและการวิจัย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) (องค์การมหาชน) และทุกเรื่องเรื่องที่มีปัญหาการร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
Loadingเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น