“ณรงค์” แจงสารพันปัญหาเหตุการศึกษาล้มเหลว ทั้งพ่อแม่ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหาร ศธ. ในงานวันครูโลก ฝากครูทุกคนร่วมกันพัฒนาการศึกษาของประเทศ ตั้งเป้าวางแผนสะสางขจัดปัญหาขาดแคลนครูและครูไม่มีคุณภาพ
วันนี้ (6 ต.ค.) ที่หอประชุมคุรุสภา พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวระหว่างเป็นประธานในพิธีมอบเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” ประจำปี 2557 ให้แก่ครูทั่วประเทศ จำนวน 1,136 คน เนื่องในโอกาสวันครูโลก ว่า ศธ. ต้องแบกรับแรงกดดันจากสังคมที่มองว่า ระบบการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอน กำลังตกต่ำ ซึ่งเป็นเพราะผลประเมินคุณภาพการศึกษาของเด็กไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั้งในอาเซียนด้วยแล้ว ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ทั้งๆ ที่เป็นประเทศไทยใส่งบประมาณ ทุ่มในระบบการศึกษาอย่างมหาศาล คิดเป็นอันดับ 2 ของโลก อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่คุณภาพการศึกษาตกต่ำ ทุกๆ คนพอจะทราบว่ามาจากองค์ประกอบสำคัญ คือ บุคคลต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เริ่มตั้งแต่พ่อแม่ ในฐานะครูคนแรกของเด็ก ต่อมาคือ ครู ซึ่งรับผิดชอบในการถ่ายทอดองค์ความรู้และปลุกผังคุณธรรมจริยธรรม ผู้บริหารสถานศึกษา มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีผู้บริหารใน ศธ. ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ซึ่งหมายรวมทั้งตนใน ฐานะ รมว.ศึกษาธิการ และผู้บริหารระดับสูงด้วย จะต้องมีส่วนรับผิดรับชอบ ในความสำเร็จหรือล้มเหลว ที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษาของไทย
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า สำหรับปัญหาในส่วนของครู การที่ครูการจัดการเรียนการสอนอย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร มาจากปัญหาต่างๆ เริ่มจากปัญหาหนี้สินครู ซึ่งปัญหานี้ไม่มีใครที่จะแก้ปัญหาให้ได้ นอกจากตัวครูเองต้องแก้เอง โดยอาจจะยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ไม่กู้เงินเกินตัว แม้จะมีหน่วยงานเสนอเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ แต่ถ้าไม่มีความจำเป็นก็ไม่ควรกู้ ถ้าทำตามนี้ได้ ครูจะสามารถปลดเปลื้องหนี้สินตัวเองได้ ปัญหาครูไม่อยู่ในห้องเรียน นำเวลาที่ใช้สอนนักเรียนไปทำอย่างอื่น ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน อาทิเช่น ทำงานธุรการ เตรียมต้อนรับผู้มีบารมีทั้งจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ ศธ. ทำงานในการประเมินผลการศึกษา ทำผลงานวิชาการของตนเองเพื่อรับการประเมินเลื่อนวิทยฐานะ เตรียมการสอนของหลักสูตรกวดวิชาที่ตนเองรับจ๊อบอยู่ ทั้งหมดนี้ทำให้ครูต้องทิ้งนักเรียนอยู่ตามลำพัง และจะมีนักเรียนสักกี่คนที่จะตั้งใจอ่านหนังสือตามที่ครูสั่งไว้ก่อนเดินออกนอกห้องเรียน ปัญหาต่อมาคือครูไม่เพียงพอหรือครูถูกจัดให้สอนในวิชาที่ตัวเองไม่เชี่ยวชาญ ร่วมทั้งปัญหาครูไม่มีคุณภาพ ไม่พัฒนาตัวเอง ไม่มีความเป็นมืออาชีพ แม้จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครู แต่ถ้าไม่มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่เด็ก ไม่ศึกษาเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องก็ไม่อาจจะเรียกตนเองได้ว่าเป็นครู
“ผมอยากขอให้ครูทุกคนให้ความร่วมมือช่วยเหลือกัน ตั้งใจพัฒนาการจัดการเรียนการสอน นำเอาแรงกดดันจากสังคมภายนอก ที่มองระบบการศึกษาว่าล้มเหลว เปลี่ยนเป็นพลังฮึดสู้ ให้กับครูและผู้บริหารโรงเรียน ช่วยกันพัฒนาเด็กไทยให้ไปในทางที่ถูกต้อง เป็นอนาคตที่ดีของประเทศในส่วนของ ศธ. ก็จะเดินหน้าแก้ทุกปัญหาครูดังที่กล่าวไปข้างต้น” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (6 ต.ค.) ที่หอประชุมคุรุสภา พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวระหว่างเป็นประธานในพิธีมอบเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” ประจำปี 2557 ให้แก่ครูทั่วประเทศ จำนวน 1,136 คน เนื่องในโอกาสวันครูโลก ว่า ศธ. ต้องแบกรับแรงกดดันจากสังคมที่มองว่า ระบบการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอน กำลังตกต่ำ ซึ่งเป็นเพราะผลประเมินคุณภาพการศึกษาของเด็กไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั้งในอาเซียนด้วยแล้ว ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ทั้งๆ ที่เป็นประเทศไทยใส่งบประมาณ ทุ่มในระบบการศึกษาอย่างมหาศาล คิดเป็นอันดับ 2 ของโลก อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่คุณภาพการศึกษาตกต่ำ ทุกๆ คนพอจะทราบว่ามาจากองค์ประกอบสำคัญ คือ บุคคลต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เริ่มตั้งแต่พ่อแม่ ในฐานะครูคนแรกของเด็ก ต่อมาคือ ครู ซึ่งรับผิดชอบในการถ่ายทอดองค์ความรู้และปลุกผังคุณธรรมจริยธรรม ผู้บริหารสถานศึกษา มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีผู้บริหารใน ศธ. ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ซึ่งหมายรวมทั้งตนใน ฐานะ รมว.ศึกษาธิการ และผู้บริหารระดับสูงด้วย จะต้องมีส่วนรับผิดรับชอบ ในความสำเร็จหรือล้มเหลว ที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษาของไทย
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า สำหรับปัญหาในส่วนของครู การที่ครูการจัดการเรียนการสอนอย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร มาจากปัญหาต่างๆ เริ่มจากปัญหาหนี้สินครู ซึ่งปัญหานี้ไม่มีใครที่จะแก้ปัญหาให้ได้ นอกจากตัวครูเองต้องแก้เอง โดยอาจจะยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ไม่กู้เงินเกินตัว แม้จะมีหน่วยงานเสนอเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ แต่ถ้าไม่มีความจำเป็นก็ไม่ควรกู้ ถ้าทำตามนี้ได้ ครูจะสามารถปลดเปลื้องหนี้สินตัวเองได้ ปัญหาครูไม่อยู่ในห้องเรียน นำเวลาที่ใช้สอนนักเรียนไปทำอย่างอื่น ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน อาทิเช่น ทำงานธุรการ เตรียมต้อนรับผู้มีบารมีทั้งจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ ศธ. ทำงานในการประเมินผลการศึกษา ทำผลงานวิชาการของตนเองเพื่อรับการประเมินเลื่อนวิทยฐานะ เตรียมการสอนของหลักสูตรกวดวิชาที่ตนเองรับจ๊อบอยู่ ทั้งหมดนี้ทำให้ครูต้องทิ้งนักเรียนอยู่ตามลำพัง และจะมีนักเรียนสักกี่คนที่จะตั้งใจอ่านหนังสือตามที่ครูสั่งไว้ก่อนเดินออกนอกห้องเรียน ปัญหาต่อมาคือครูไม่เพียงพอหรือครูถูกจัดให้สอนในวิชาที่ตัวเองไม่เชี่ยวชาญ ร่วมทั้งปัญหาครูไม่มีคุณภาพ ไม่พัฒนาตัวเอง ไม่มีความเป็นมืออาชีพ แม้จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครู แต่ถ้าไม่มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่เด็ก ไม่ศึกษาเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องก็ไม่อาจจะเรียกตนเองได้ว่าเป็นครู
“ผมอยากขอให้ครูทุกคนให้ความร่วมมือช่วยเหลือกัน ตั้งใจพัฒนาการจัดการเรียนการสอน นำเอาแรงกดดันจากสังคมภายนอก ที่มองระบบการศึกษาว่าล้มเหลว เปลี่ยนเป็นพลังฮึดสู้ ให้กับครูและผู้บริหารโรงเรียน ช่วยกันพัฒนาเด็กไทยให้ไปในทางที่ถูกต้อง เป็นอนาคตที่ดีของประเทศในส่วนของ ศธ. ก็จะเดินหน้าแก้ทุกปัญหาครูดังที่กล่าวไปข้างต้น” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
กำลังโหลดรุ่นพี่เทคโนฯสวนนันขอขมาอธิการบดี กรณีหยดน้ำตาเทียนใส่รุ่นน้อง ขณะที่ผลสอบวินัยสั่งลงโทษไม่ร้ายแรง ตักเตือน 23 คน ภาคทัณฑ์ 10 คน ตัดคะแนนความประพฤติอีก 10 คน