xs
xsm
sm
md
lg

เลี่ยงอัมพาต ลดความดันสูง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


โรคหลอดเลือดสมอง ภัยมืดคร่าชีวิตคนทั่วโลกติดอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง สาธารณสุขทั่วโลกคาดอนาคตทวีปัญหามากยิ่งขึ้น สัมพันธ์กับจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นทุกปี สถานการณ์ในประเทศไทยพบอัตราอุบัติใหม่เพิ่ม 150.000 คนต่อปี และมีผู้ป่วยสะสม 240,000 คน คาดปีพ.ศ. 2559 จะมีผู้สูงอายุที่ป่วยจากโรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพาตอัมพฤกษ์995 คนต่อประชากร 100,000 คน
องค์การอนามัยโลกหรือWHO ประมาณว่าทุกปีมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากกว่า15 ล้านคนทั่วโลก5 ล้านคนพิการถาวร5 ล้านคนเสียชีวิตและ2 ใน3 อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา
ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสำคัญที่สุด แต่ถูกละเลยมากที่สุด ทั้งที่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ คือ ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็น “ภัยมืด” หรือ “ฆาตกรมืด” ที่มาเยือนโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากคนที่มีความดันโลหิตสูงจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง แตกหรือตีบและอุดตัน ได้มากกว่าคนปรกติถึง 3-17 เท่า ขึ้นอยู่กับอายุ ความรุนแรงของระดับความดันโลหิตและระยะเวลาที่เป็นโรค อันเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ถึงร้อยละ 10 โดยควบคุมไม่ให้สูงเกิน 140/90 มม.ปรอท ในผู้มีร่างกายปรกติ สำหรับผู้มีโรคเบาหวานหรือโรคไตร่วมด้วย ค่าความดันโลหิตไม่ให้เกิน 130/80 มม.ปรอท นอกจากนั้นภาวะความดันโลหิตสูงนี้สัมพันธ์กับการกินอาหารเค็มหรือภาวะที่มีเกลือโซเดียมคั่งในร่างกาย
อ.นพ.ยงชัย นิละนนท์ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลกล่าวว่า สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเสียชีวิตคือการเพิกเฉยต่ออาการหรือสัญญาณเตือนของร่างกายเช่นตาพร่ามัวชาครึ่งซีกปากเบี้ยวแขนขาอ่อนแรงพูดลำบากซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆทำให้คนส่วนมากปล่อยหรือมองข้ามไป
ดังนั้นหากมีอาการในข้อหนึ่งข้อใด อาทิ ชาหรืออ่อนแรงของแขนขาหรือใบหน้าข้างใดข้างหนึ่ง ตาข้างใดข้างหนึ่งมัวหรือมองไม่เห็น พูดลำบากพูดไม่ได้หรือไม่เข้าใจคำพูด มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน มีอาการมึนงงหรือเดินไม่มั่นคงเสียศูนย์ ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพราะอาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมองทั้งสิ้น
การรักษาโรคหลอดเลือดสมองในปัจจุบันมีวิธีการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้หลายวิธี 1.การรักษาด้วยยา (Medical therapy) 2.การรักษาโดยวิธีผ่าตัด(Surgical therapy) 3.การรักษาโดยวิธีกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์ฟื้นฟู(Physical and rehabilitation therapy) โดยวิธีการเลือกการรักษาจะเป็นการตัดสินใจร่วมกันของแพทย์และผู้ป่วยหรือญาติเพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายให้เหมาะกับพยาธิสภาพของโรค ความรุนแรงของโรค อายุของผู้ป่วย โรคร่วมอื่นๆ และความประสงค์ของผู้ป่วยและญาติ บางรายอาจต้องใช้วิธีการรักษาหลายๆ อย่างร่วมกัน เพื่อให้ได้ประสิทธิผลที่ดีที่สุดและเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ป่วย
รศ.แพทย์หญิงอัญชลีชูโรจน์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลกล่าวปัจจุบันมีวิวัฒนาการทางการแพทย์เพื่อรักษาผู้ป่วยด้วยการใช้ยาสลายลิ่มเลือด โดยฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ เพื่อไปละลายลิ่มเลือดที่อุดตันอยู่ในหลอดเลือดนั้น เพื่อให้เลือดสามารถไหลเวียนไปเลี้ยงเนื้อสมองได้ หากผู้ป่วยได้รับการรักษาเร็วที่สุด ก่อนที่เนื้อสมองส่วนที่หลอดเลือดนั้นๆไปเลี้ยงจะตายแต่จากการศึกษาและมาตรฐานของข้อกำหนดการใช้ยานี้จะต้องอยู่ภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.30 ชั่วโมงนับตั้งแต่เริ่มมีอาการ ทั้งนี้มีข้อห้ามใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีเลือดออกได้ง่าย เช่นผู้ป่วยหลังการผ่าตัดใหม่ หรือผู้ป่วยที่ได้รับยากันเลือดแข็งตัวอยู่แล้วเป็นต้น
ในกรณีที่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลเกิน 4.30 ชั่วโมงหลังเกิดอาการและมีสาเหตุเกิดจากโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ไม่สามารถให้ยาสลายลิ่มเลือดได้ มีทางเลือกในการรักษาโดยใช้วิธีการของรังสีร่วมรักษาด้วยการสอดใส่สายสวนเข้าไปในหลอดเลือดแดงโดยตรง ผ่านเข้าทางหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบ และอาศัยการนำทางโดยเครื่องเอ็กซเรย์ส่องตรวจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางนี้ จะนำสายสวนขึ้นไปจนถึงตำแหน่งที่มีลิ่มเลือดอุดตัน แล้วจะใส่อุปกรณ์เพื่อการคล้องเกี่ยวลิ่มเลือด เข้าไปเพื่อนำลิ่มเลือดออกมาทางสายสวนนี้ เพื่อเปิดทางให้เลือดไหลได้ตามปรกติการรักษาด้วยวิธีนี้ถือได้ว่าเป็นการเพิ่มโอกาสของการรักษาในผู้ป่วยกลุ่มที่เคยหมดโอกาสที่จะรักษาไปแล้ว แต่ต้องทำภายใน 8 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ
ผศ.นพ.วิษณุ กัมทรทิพย์ อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ตามสถิติอัตราผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันโอกาสเสียชีวิตใน 1 เดือนส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มหลอดเลือดสมองแตก ส่วนกรณีหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันหากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีโอกาสฟื้นตัวสูง โดยมีช่วยเวลาทองของการฟื้นตัวในระยะ 3-6 เดือนแรก ซึ่งเป็นช่วงเหมาะสมต่อการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายให้กลับคืนสภาวะปกติได้
อัตราความชุกของโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทยพบผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 150,000 รายทั้งนี้ในจำนวนผู้ป่วยใหม่ร้อยละ 70 ที่เข้ารับการรักษาโดยวิธีกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์ฟื้นฟูมีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่สามารถฟื้นฟูเต็มศักยภาพให้กลับมาช่วยเหลือตัวเองได้ดี นอกนั้นอาจช่วยเหลือตนเองได้บางส่วน และอีกกลุ่มจะเข้าสู่ภาวะที่มีอาการรุนแรงอัมพฤกษ์ อัมพาต ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โรคหลอดเลือดสมองจึงเป็นภัยเงียบที่ส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุและคนในครอบครัวที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ขณะที่ปัจจุบันโรงพยาบาลแพทย์ทั่วประเทศสามารถรองรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพื่อฟื้นฟูการทำงานของร่างกายได้เพียง 300 เตียงทั่วประเทศเท่านั้น
ในโอกาสวันโรคหลอดเลือดสมองประจำปี2557 ทางโรงพยาบาลศิริราชได้จัดงาน“โรคหลอดเลือดสมองลดเสี่ยงเลี่ยงอัมพาต” ขึ้นในวันที่29-31 ตุลาคมที่อาคารพระศรีฯโรงพยาบาลศิริราชเพื่อให้ข้อมูลและความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการดูแลป้องกันรักษาโรคหลอดเลือดสมองแก่ประชาชนทั่วไปภายในงานจะมีกิจกรรมอาทิการตรวจคัดกรองความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองเสวนาความรู้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและกิจกรรมสันทนาการอีกมากมาย

ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่

กำลังโหลด

เครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น

ดูบน Instagram






กำลังโหลดความคิดเห็น