สธ.จ่อดันแพทย์แผนปัจจุบันอบรมความรู้แพทย์แผนไทย หวังเดินหน้าคลินิกแบบผสมผสาน ใช้ทั้งยาแผนปัจจุบัน ยาสมุนไพร การนวดไทย ฝังเข็ม ตั้งเป้าเพิ่มคลินิกแพทย์แผนไทยใน รพ.300 แห่ง ดูแลโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดัน มะเร็ง ไมเกรน สั่งกรมแพทย์แผนไทยเน้นวิจัยองค์ความรู้ สร้างความเชื่อมั่น เกิดการสร้างรายได้แก่ประชาชน
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแก่ผู้บริหารกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เมื่อวันที่ 10 ต.ค.ที่ผ่านมาว่า สิ่งที่อยากให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ เน้นคือ การทำวิจัยการใช้ยาสมุนไพร การแพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือก เพื่อให้มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์รองรับเหมือนการแพทย์แผนปัจจุบัน และสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนและแพทย์ผู้รักษา ขณะนี้สมุนไพรไทยที่นำไปผลิตเป็นยา อาหารเสริม และเครื่องสำอาง สร้างรายได้แก่ประเทศปีละ 3 แสนล้านบาท รวมทั้งการนวดไทยซึ่งเป็นภูมิปัญญาไทยที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เพื่อผลักดันเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพของไทย ซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึงการสร้างรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่ จากการปลูกพืชสมุนไพร แปรรูปสมุนไพร การนวดไทย จำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ และยังเป็นการสร้างความมั่นคงทางการแพทย์ ไม่ต้องพึ่งพาการแพทย์แผนตะวันตกเพียงอย่างเดียว
ศ.นพ.รัชตะกล่าวว่า สธ.ได้ขยายการจัดบริการรักษาแบบผสมผสานในคลินิกแพทย์แผนปัจจุบัน ตามแนวทางองค์การอนามัยโลก ที่ให้แพทย์แผนปัจจุบันรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน ยาสมุนไพรไทย หรือส่งไปบำบัดรักษาต่อแบบการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก เช่น การนวดไทย การฝังเข็ม การจัดกระดูก เป็นต้น ซึ่งมีแผนจัดหลักสูตรอบรมแพทย์แผนปัจจุบัน เพื่อเพิ่มเติมความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยสามารถนำไปใช้รักษาประชาชนได้ โดยขณะนี้ได้จัดบริการคลินิกแบบผสมผสานแพทย์แผนปัจจุบันและแผนไทยได้แล้วร้อยละ 41 มีโรงพยาบาลที่ดำเนินการได้ผลดีเป็นต้นแบบ 14 แห่ง เช่น รพ.เสาไห้ จ.สระบุรี เป็นต้น ในปีที่ผ่านมามีผู้รับบริการ 26 ล้านครั้งจากการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกทั้งหมด 157 ล้านครั้ง คิดเป็นร้อยละ 17 ในปี 2558 มีเป้าหมายจะเพิ่มให้ได้ร้อยละ 70
“นอกจากนี้จะเพิ่มคลินิกแพทย์แผนไทยดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์อัมพาต มะเร็ง ไมเกรน ในโรงพยาบาล 300 แห่ง รวมทั้งการพัฒนาโรงงานผลิตยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพรในโรงพยาบาลรัฐที่มี 47 แห่งให้ได้มาตรฐานจีเอ็มพี ซึ่งจะเป็นการสร้างอาชีพและรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่จากการปลูกและจำหน่ายสมุนไพรเป็นวัตถุดิบด้วย สำหรับการวิจัยและพัฒนายาสมุนไพรเพื่อผลักดันเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติที่ผ่านมามี 76 รายการ ในปี 2558 จะเพิ่มอีก 15 รายการ รวมทั้งจะการศึกษาวิจัยภูมิปัญญาและตำรับยารักษาโรคต่างๆ ที่คนไทยป่วยกันมาก อีก 14 เรื่อง เช่นมะเร็ง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น” รมว.สาธารณสุขกล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแก่ผู้บริหารกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เมื่อวันที่ 10 ต.ค.ที่ผ่านมาว่า สิ่งที่อยากให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ เน้นคือ การทำวิจัยการใช้ยาสมุนไพร การแพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือก เพื่อให้มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์รองรับเหมือนการแพทย์แผนปัจจุบัน และสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนและแพทย์ผู้รักษา ขณะนี้สมุนไพรไทยที่นำไปผลิตเป็นยา อาหารเสริม และเครื่องสำอาง สร้างรายได้แก่ประเทศปีละ 3 แสนล้านบาท รวมทั้งการนวดไทยซึ่งเป็นภูมิปัญญาไทยที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เพื่อผลักดันเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพของไทย ซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึงการสร้างรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่ จากการปลูกพืชสมุนไพร แปรรูปสมุนไพร การนวดไทย จำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ และยังเป็นการสร้างความมั่นคงทางการแพทย์ ไม่ต้องพึ่งพาการแพทย์แผนตะวันตกเพียงอย่างเดียว
ศ.นพ.รัชตะกล่าวว่า สธ.ได้ขยายการจัดบริการรักษาแบบผสมผสานในคลินิกแพทย์แผนปัจจุบัน ตามแนวทางองค์การอนามัยโลก ที่ให้แพทย์แผนปัจจุบันรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน ยาสมุนไพรไทย หรือส่งไปบำบัดรักษาต่อแบบการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก เช่น การนวดไทย การฝังเข็ม การจัดกระดูก เป็นต้น ซึ่งมีแผนจัดหลักสูตรอบรมแพทย์แผนปัจจุบัน เพื่อเพิ่มเติมความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยสามารถนำไปใช้รักษาประชาชนได้ โดยขณะนี้ได้จัดบริการคลินิกแบบผสมผสานแพทย์แผนปัจจุบันและแผนไทยได้แล้วร้อยละ 41 มีโรงพยาบาลที่ดำเนินการได้ผลดีเป็นต้นแบบ 14 แห่ง เช่น รพ.เสาไห้ จ.สระบุรี เป็นต้น ในปีที่ผ่านมามีผู้รับบริการ 26 ล้านครั้งจากการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกทั้งหมด 157 ล้านครั้ง คิดเป็นร้อยละ 17 ในปี 2558 มีเป้าหมายจะเพิ่มให้ได้ร้อยละ 70
“นอกจากนี้จะเพิ่มคลินิกแพทย์แผนไทยดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์อัมพาต มะเร็ง ไมเกรน ในโรงพยาบาล 300 แห่ง รวมทั้งการพัฒนาโรงงานผลิตยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพรในโรงพยาบาลรัฐที่มี 47 แห่งให้ได้มาตรฐานจีเอ็มพี ซึ่งจะเป็นการสร้างอาชีพและรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่จากการปลูกและจำหน่ายสมุนไพรเป็นวัตถุดิบด้วย สำหรับการวิจัยและพัฒนายาสมุนไพรเพื่อผลักดันเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติที่ผ่านมามี 76 รายการ ในปี 2558 จะเพิ่มอีก 15 รายการ รวมทั้งจะการศึกษาวิจัยภูมิปัญญาและตำรับยารักษาโรคต่างๆ ที่คนไทยป่วยกันมาก อีก 14 เรื่อง เช่นมะเร็ง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น” รมว.สาธารณสุขกล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
กำลังโหลดเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น