ศิริราชเตรียมตั้งศูนย์หลอดเลือดสมองฯ ดึงสหสาขาวิชาชีพร่วมดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะ เพิ่มประสิทธิภาพการรักษา ระบุลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน ทั้งเบาหวาน ความดัน สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย ไขมันสูง น้ำหนักเกิน ช่วยป้องกันได้ถึง 80 - 90% เผยยาคุมส่งผลเลือดข้น เพิ่มโอกาสอุดตันในกลุ่มเสี่ยง - ไมเกรน
วันนี้ (29 ต.ค.) ที่โถงอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ รพ.ศิริราช ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดงาน “โรคหลอดเลือดสมอง ตระหนัก ลดเสี่ยง เลี่ยงอัมพาต” เนื่องในวันโรคหลอดเลือดสมองโลก ว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ประมาณว่าทุกปีทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากกว่า 15 ล้านคน พิการถาวร 5 ล้านคน เสียชีวิตอีก 5 ล้านคน โดย 2 ใน 3 อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา สำหรับประเทศไทยพบว่าโรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับที่ 3 รองจากโรคมะเร็งและโรคหัวใจ คาดว่า ในปี 2559 จะมีผู้สูงอายุที่ป่วยจากโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์ อัมพาต ประมาณ 995 คนต่อประชากร 100,000 คน หากประมาณการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 0.5 ล้านคนจะต้องเสียค่ารักษาประมาณ 20,632 ล้านบาทต่อปี เรียกได้ว่าผู้ป่วยตายและพิการจากโรคนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งการป้องกันเป็นทางเลือกที่ดีกว่า นั่นคือการให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป ศิริราชจึงจัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้นระหว่างวันที่ 29 - 31 ต.ค. 2557 เพื่อให้ความรู้ในการป้องกันตัวเองจากโรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงมีบริการตรวจคัดกรองความเสี่ยงของโรค การตรวจอัลตราซาวนด์หลอดเลือดสมองในผู้ที่มีความเสี่ยง รวมถึงจัดเวทีเสวนาให้ความรู้โรคหลอดเลือดสมองโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงจัดอบรมเรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแก่ผู้ดูแลผู้ป่วยและญาติด้วย
ด้าน รศ.นพ.ยงชัย นิละนันท์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุด เนื่องจากทำหน้าที่ควบคุมการทำงานส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในสมองจะประกอบด้วยหลอดเลือดที่เป็นเส้นเลือดใหญ่และเส้นเลือดฝอย หากเส้นเลือดเหล่านี้ตีบ ตัน หรือแตก ก็จะส่งผลต่อร่างกายทันที หากมาพบแพทย์ไม่ทันอาจเสียชีวิตได้ ซึ่งสาเหตุหลักคือการเพิกเฉยต่ออาการหรือสัญญาณเตือนของร่างกาย เช่น ตาพร่ามัว ชาครึ่งซีก ปากเบี้ยว แขนขาอ่อนแรง พูดลำบาก ซึ่งมักจะเกิดในระยะเวลาสั้นๆ ทำให้คนส่วนมากมองข้ามไป ทั้งนี้ ความเสี่ยงของสมองขาดเลือดที่เกิดจากการตีบหรืออุดตันคือ ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง ภาวะน้ำหนักเกิน สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย มีการใช้ยาที่ก่อให้เกิดการกระตุ้น อาทิ สารเสพติดต่างๆ เช่น แอมเฟตามีน เฮโรอีน รวมไปถึงยาคุมกำเนิด เนื่องจากเมื่อใช้แล้วจะทำให้เลือดข้นขึ้น เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการอุดตันในหลอดเลือด ดังนั้น ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน รวมไปถึงผู้ป่วยไมเกรนควรระมัดวังในการใช้ ด้วยการปรึกษาแพทย์ ส่วนคนปกติยังใช้ได้ไม่เป็นอันตรายใดๆ โดยหากสามารถลดความเสี่ยงทั้งหมดนี้ได้ จะช่วยลดการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ถึง 80-90%
รศ.นพ.ยง กล่าวว่า การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้ได้ผลดีขึ้นอยู่กับเวลา คือ ยิ่งรับการรักษาเร็วเท่าไร โอกาสหายเป็นปกติจะมาก ซึ่งการรักษาที่ได้ผลดีคือการให้ยาสลายลิ่มเลือดแก่ผู้ป่วยภายในเวลา 3 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ จะเพิ่มโอกาสการฟื้นตัวจากความพิการให้กลับมาใกล้เคียงปกติ 1.5 - 3 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยา การให้ยาแอสไพรินอย่างน้อย 160 มิลลิกรัมต่อวัน ภายใน 48 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ จะช่วยลดโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบตันซ้ำและเสียชีวิตลง การรับตัวผู้ป่วยไว้ในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน และการผ่าตัดเปิดกระโหลกสำหรับรายที่มีอาการรุนแรงและหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบหรืออุดตัน นอกจากนี้ การควบคุมความดัน การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การทำกายภาพฟื้นฟู คนในครอบครัวร่วมดูแลให้กำลังใจ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นตัวของผู้ป่วย
“ การรักษาแยกส่วนแต่ละแผนก ผลการรักษาอาจไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งที่ผ่านมาศิริราชมีเพียงหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันในการรับผูป่วยไว้ดูแล จึงจะจัดตั้งศูนย์หลอดเลือดสมองเฉียบพลันขึ้นเพื่อดูแลเป็นพิเศษ โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากแผนกต่างๆ ทั้งอายุรแพทย์โรคสมอง ความดัน เวชศาสตร์ฟื้นฟู ศัลยแพทย์ รวมไปถึงนักกายภาพบำบัด นักสังคมสงเคราะห์มาร่วมกันทำงานเพื่อดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะ เป็นการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพก็จะช่วยให้ผลการรักษาดีกว่า ซึ่งขณะนี้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชได้รับหลักการในการจัดตั้งศูนย์แล้ว ” รศ.นพ.ยงชัย กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (29 ต.ค.) ที่โถงอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ รพ.ศิริราช ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดงาน “โรคหลอดเลือดสมอง ตระหนัก ลดเสี่ยง เลี่ยงอัมพาต” เนื่องในวันโรคหลอดเลือดสมองโลก ว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ประมาณว่าทุกปีทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากกว่า 15 ล้านคน พิการถาวร 5 ล้านคน เสียชีวิตอีก 5 ล้านคน โดย 2 ใน 3 อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา สำหรับประเทศไทยพบว่าโรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับที่ 3 รองจากโรคมะเร็งและโรคหัวใจ คาดว่า ในปี 2559 จะมีผู้สูงอายุที่ป่วยจากโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์ อัมพาต ประมาณ 995 คนต่อประชากร 100,000 คน หากประมาณการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 0.5 ล้านคนจะต้องเสียค่ารักษาประมาณ 20,632 ล้านบาทต่อปี เรียกได้ว่าผู้ป่วยตายและพิการจากโรคนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งการป้องกันเป็นทางเลือกที่ดีกว่า นั่นคือการให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป ศิริราชจึงจัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้นระหว่างวันที่ 29 - 31 ต.ค. 2557 เพื่อให้ความรู้ในการป้องกันตัวเองจากโรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงมีบริการตรวจคัดกรองความเสี่ยงของโรค การตรวจอัลตราซาวนด์หลอดเลือดสมองในผู้ที่มีความเสี่ยง รวมถึงจัดเวทีเสวนาให้ความรู้โรคหลอดเลือดสมองโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงจัดอบรมเรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแก่ผู้ดูแลผู้ป่วยและญาติด้วย
ด้าน รศ.นพ.ยงชัย นิละนันท์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุด เนื่องจากทำหน้าที่ควบคุมการทำงานส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในสมองจะประกอบด้วยหลอดเลือดที่เป็นเส้นเลือดใหญ่และเส้นเลือดฝอย หากเส้นเลือดเหล่านี้ตีบ ตัน หรือแตก ก็จะส่งผลต่อร่างกายทันที หากมาพบแพทย์ไม่ทันอาจเสียชีวิตได้ ซึ่งสาเหตุหลักคือการเพิกเฉยต่ออาการหรือสัญญาณเตือนของร่างกาย เช่น ตาพร่ามัว ชาครึ่งซีก ปากเบี้ยว แขนขาอ่อนแรง พูดลำบาก ซึ่งมักจะเกิดในระยะเวลาสั้นๆ ทำให้คนส่วนมากมองข้ามไป ทั้งนี้ ความเสี่ยงของสมองขาดเลือดที่เกิดจากการตีบหรืออุดตันคือ ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง ภาวะน้ำหนักเกิน สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย มีการใช้ยาที่ก่อให้เกิดการกระตุ้น อาทิ สารเสพติดต่างๆ เช่น แอมเฟตามีน เฮโรอีน รวมไปถึงยาคุมกำเนิด เนื่องจากเมื่อใช้แล้วจะทำให้เลือดข้นขึ้น เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการอุดตันในหลอดเลือด ดังนั้น ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน รวมไปถึงผู้ป่วยไมเกรนควรระมัดวังในการใช้ ด้วยการปรึกษาแพทย์ ส่วนคนปกติยังใช้ได้ไม่เป็นอันตรายใดๆ โดยหากสามารถลดความเสี่ยงทั้งหมดนี้ได้ จะช่วยลดการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ถึง 80-90%
รศ.นพ.ยง กล่าวว่า การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้ได้ผลดีขึ้นอยู่กับเวลา คือ ยิ่งรับการรักษาเร็วเท่าไร โอกาสหายเป็นปกติจะมาก ซึ่งการรักษาที่ได้ผลดีคือการให้ยาสลายลิ่มเลือดแก่ผู้ป่วยภายในเวลา 3 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ จะเพิ่มโอกาสการฟื้นตัวจากความพิการให้กลับมาใกล้เคียงปกติ 1.5 - 3 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยา การให้ยาแอสไพรินอย่างน้อย 160 มิลลิกรัมต่อวัน ภายใน 48 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ จะช่วยลดโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบตันซ้ำและเสียชีวิตลง การรับตัวผู้ป่วยไว้ในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน และการผ่าตัดเปิดกระโหลกสำหรับรายที่มีอาการรุนแรงและหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบหรืออุดตัน นอกจากนี้ การควบคุมความดัน การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การทำกายภาพฟื้นฟู คนในครอบครัวร่วมดูแลให้กำลังใจ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นตัวของผู้ป่วย
“ การรักษาแยกส่วนแต่ละแผนก ผลการรักษาอาจไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งที่ผ่านมาศิริราชมีเพียงหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันในการรับผูป่วยไว้ดูแล จึงจะจัดตั้งศูนย์หลอดเลือดสมองเฉียบพลันขึ้นเพื่อดูแลเป็นพิเศษ โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากแผนกต่างๆ ทั้งอายุรแพทย์โรคสมอง ความดัน เวชศาสตร์ฟื้นฟู ศัลยแพทย์ รวมไปถึงนักกายภาพบำบัด นักสังคมสงเคราะห์มาร่วมกันทำงานเพื่อดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะ เป็นการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพก็จะช่วยให้ผลการรักษาดีกว่า ซึ่งขณะนี้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชได้รับหลักการในการจัดตั้งศูนย์แล้ว ” รศ.นพ.ยงชัย กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่