สท.พม.- ทุกฝ่ายเห็นพ้องเร่งผลัก พ.ร.บ.อุ้มบุญ เชื่อช่วยคุ้มครองเด็ก เตรียมเสนอ ฝ่าย กม.คสช. ส่งตอ สนช. ลุ้นผลประชุม 13 ส.ค. นี้
วันนี้ (7 ก.ค.) ที่ห้องประชุมสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ (สท.) มีการประชุมชี้แจงความคืบหน้า ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ทางการแพทย์ พ.ศ. .... (กฎหมายอุ้มบุญ) โดยมี ศ.เกียรติคุณ วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติเวชและกรรมการกฤษฎีกา, ศ.กิตติคุณ ประมวล วีรุตมเสน อาจารย์ที่ปรึกษา หน่วยชีววิทยาการเจริญพันธุ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศ.แสวง วิภาส ที่ปรึกษาศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีอัยการฝ่ายต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด และนางระรินทิพย์ ศิโรรัตน์ ผู้อำนวยการ สท. เข้าร่วมชี้แจง
นางระรินทิพย์ กล่าวว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้ยกร่างภายใต้คณะอนุกรรมการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับเด็กให้เป็นไปตามมาตรฐานของรัฐธรรมนูญและอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งขณะนี้ผ่านการพิจารณาของกฤษฎีกาแล้ว โดยล่าสุดได้เสนอต่อฝ่ายกฎหมายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แล้ว และในวันที่ 8 ส.ค. จะเสนอต่อฝ่ายสังคมและจิตวิทยา ของ คสช. โดยจะมีการจัดประชุมขึ้นอีกครั้งในวันที่ 13 ส.ค. ซึ่งในที่สุดเมื่อคลอดกฎหมายฉบับนี้ออกมาแล้ว จะต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์การคุ้มครอง ทั้งแม่และเด็กตั้งแต่ ก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์และหลังการตั้งครรภ์
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประมวล กล่าวว่า แพทยสภาก็มีหน้าที่ในการตรวจสอบโดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ควบคุมหลัก ซึ่งเมื่อใดที่ต้องใช้เทคโนโลยีในการช่วยเจริญพันธุ์ จะต้องมีการดูแลภายใต้การกำกับของแพทยสภา แต่ปัจจุบันแพทยสภาดูแค่เรื่องจริยธรรมของแพทย์เท่านั้น ซึ่งขณะนี้ไม่มีกฎหมายเอาผิดในเชิงพาณิชย์ก็จะเอาผิดได้เฉพาะเรื่องของคุณธรรมจริยธรรม แต่ไม่สามารถเอาผิดทางอาญาได้ ทำได้เพียงเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นหรือไม่ อยู่ที่จริยธรรมแพทย์ เพราะถ้าแพทย์ไม่ทำก็จะไม่มีปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้น แต่ขณะนี้ปัญหาเกิด จึงต้องออกร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ เพื่อควบคุมบังคับไม่ให้เกิดปัญหาอีก ปัจจุบันกฎหมายไทยกำหนดให้ผู้คลอดเด็กต้องเป็นแม่ ซึ่งต่างจากออสเตรเลีย ที่ผู้เป็นพ่อและแม่ต้องเป็นเจ้าของไข่และสเปิร์ม และต้องรับผิดชอบเลี้ยงดู
ด้าน ศ.แสวง กล่าวว่า ตามกฎหมายแพ่งที่มีอยู่ในขณะนี้ ผู้เป็นมารดาคือผู้ที่ตั้งครรภ์ แต่ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ จะเข้ามาแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มคนที่ต้องการมีบุตร แต่ไม่สามารถมีบุตรได้ด้วยตนเองจึงต้องอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ และกำหนดให้ผู้ที่เป็นเจ้าของเซลล์สืบพันธุ์เป็นเจ้าของบุตร ไม่ใช่ผู้ที่ตั้งครรภ์แทน และกำหนดชัดเจนว่าห้ามกระทำการใดๆ ในเชิงพาณิชย์ รวมถึงเป็นการคุ้มครองเด็กเมื่อคลอดออกมาแล้ว เนื่องจากบางกรณีมีการแย้งเด็ก หรือทอดทิ้งเด็กหากมีอาการผิดปกติ
ศ.เกียรติคุณ นพ.วิฑูรย์ กล่าวว่า ขณะนี้แพทยสภาพยายามออกกฎหมายเพิ่มเติมเรื่องของการรับอุ้มบุญ โดยผู้ที่รับอุ้มบุญต้องเป็นญาติเท่านั้น แต่ความเป็นจริงหากไม่มีญาติ อาจต้องเปิดช่องให้ขออนุญาตหรือยืดหยุ่นให้แต่ตัองผ่านการพิจารณาและอนุมัติจากแพทยสภา แต่กฎหมายยังไม่ชัดเจน และมีการถอนออกไปแล้ว ทำให้เป็นช่องโหว่ ให้ต่างชาติสามารถเข้ามาทำโดยไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของแพทยสภา ซึ่งเชื่อว่าก็มีความบกพร่องควบคุมไม่ได้เหมือนกัน ส่วนกรณีที่สามีภรรยาเป็นชาวต่างชาติ ด้วยกฎหมายอาจต้องพิจารณาเป็นพิเศษ ว่า มีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร รัฐอาจต้องอนุญาตเป็นรายๆ ไป และต่างชาติก็ต้องทำตาม กม. ไทย ซึ่งการพิจารณาเป็นพิเศษนั้น เป็นหน้าที่ของแพทยสภา แต่เชื่อว่าปัจจบันต่างชาติเองก็มีขั้นตอนตรวจสอบอยู่แล้ว จึงถือเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งในการตรวจสอบ รวมถึงกลุ่มรักร่วมเพศ ก็ต้องให้แพทยสภาเป็นผู้พิจารณา ซึ่งจากข่าวที่ออกมานอกจากญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ยังมีอิสราเอลเข้ามาด้วย
ขณะที่ นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ประธานมูลนิธิพิทักษ์สิทธิ์เด็ก กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ ดำเนินการเสร็จมาหลายปี แต่เพราะมีกลุ่มคนคัดค้าน โดยเฉพาะนักการเมืองที่ได้รับผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเมดิคัล ฮับ ที่ต่อต้าน รวมถึงกลุ่มแพทย์บางคน ทั้งที่ปัญหานี้เกิดขึ้นมานาน และมีทั้งเหยื่อชาวเวียดนาม พม่า มารับจ้างตั้งครรภ์แทนซึ่งเชื่อมโยงกับปัญหาการค้ามนุษย์
นายวันชัย กล่าวว่า ขณะนี้ยังต้องยึดประมวลกฎหมายแพ่งไทยที่กำหนดว่าเด็กที่คลอดจากครรภ์มารดา ถือเป็นบุตรของคนนั้น ดังนั้น จึงเกิดข้อสงสัยว่าแฝดของน้องแกรมมี่ ที่เกิดจากการอุ้มบุญของสามีภรรยาชาวออสเตรเลีย ออกนอกประเทศไปได้อย่างไร คงต้องมีการสอบถาม ตรวจสอบไปยังสถานฑูต และด่านตรวจคนเข้าเมือง อย่างไรก็ตาม อยากให้เร่งผลัดกันร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้โดยเร็ว เพื่อควบคุมการรับจ้างอุ้มบุญ ไม่เช่นนั้น หากไม่สามารถควบคุมได้ ประเทศไทยจะกลายเป็นโรงงานรับจ้างผลิตเด็ก จะปล่อยให้ทุกคนทำตามใจด้วยเห็นแก่เงิน มองเด็กเป็นสินค้า
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (7 ก.ค.) ที่ห้องประชุมสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ (สท.) มีการประชุมชี้แจงความคืบหน้า ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ทางการแพทย์ พ.ศ. .... (กฎหมายอุ้มบุญ) โดยมี ศ.เกียรติคุณ วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติเวชและกรรมการกฤษฎีกา, ศ.กิตติคุณ ประมวล วีรุตมเสน อาจารย์ที่ปรึกษา หน่วยชีววิทยาการเจริญพันธุ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศ.แสวง วิภาส ที่ปรึกษาศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีอัยการฝ่ายต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด และนางระรินทิพย์ ศิโรรัตน์ ผู้อำนวยการ สท. เข้าร่วมชี้แจง
นางระรินทิพย์ กล่าวว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้ยกร่างภายใต้คณะอนุกรรมการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับเด็กให้เป็นไปตามมาตรฐานของรัฐธรรมนูญและอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งขณะนี้ผ่านการพิจารณาของกฤษฎีกาแล้ว โดยล่าสุดได้เสนอต่อฝ่ายกฎหมายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แล้ว และในวันที่ 8 ส.ค. จะเสนอต่อฝ่ายสังคมและจิตวิทยา ของ คสช. โดยจะมีการจัดประชุมขึ้นอีกครั้งในวันที่ 13 ส.ค. ซึ่งในที่สุดเมื่อคลอดกฎหมายฉบับนี้ออกมาแล้ว จะต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์การคุ้มครอง ทั้งแม่และเด็กตั้งแต่ ก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์และหลังการตั้งครรภ์
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประมวล กล่าวว่า แพทยสภาก็มีหน้าที่ในการตรวจสอบโดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ควบคุมหลัก ซึ่งเมื่อใดที่ต้องใช้เทคโนโลยีในการช่วยเจริญพันธุ์ จะต้องมีการดูแลภายใต้การกำกับของแพทยสภา แต่ปัจจุบันแพทยสภาดูแค่เรื่องจริยธรรมของแพทย์เท่านั้น ซึ่งขณะนี้ไม่มีกฎหมายเอาผิดในเชิงพาณิชย์ก็จะเอาผิดได้เฉพาะเรื่องของคุณธรรมจริยธรรม แต่ไม่สามารถเอาผิดทางอาญาได้ ทำได้เพียงเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นหรือไม่ อยู่ที่จริยธรรมแพทย์ เพราะถ้าแพทย์ไม่ทำก็จะไม่มีปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้น แต่ขณะนี้ปัญหาเกิด จึงต้องออกร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ เพื่อควบคุมบังคับไม่ให้เกิดปัญหาอีก ปัจจุบันกฎหมายไทยกำหนดให้ผู้คลอดเด็กต้องเป็นแม่ ซึ่งต่างจากออสเตรเลีย ที่ผู้เป็นพ่อและแม่ต้องเป็นเจ้าของไข่และสเปิร์ม และต้องรับผิดชอบเลี้ยงดู
ด้าน ศ.แสวง กล่าวว่า ตามกฎหมายแพ่งที่มีอยู่ในขณะนี้ ผู้เป็นมารดาคือผู้ที่ตั้งครรภ์ แต่ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ จะเข้ามาแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มคนที่ต้องการมีบุตร แต่ไม่สามารถมีบุตรได้ด้วยตนเองจึงต้องอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ และกำหนดให้ผู้ที่เป็นเจ้าของเซลล์สืบพันธุ์เป็นเจ้าของบุตร ไม่ใช่ผู้ที่ตั้งครรภ์แทน และกำหนดชัดเจนว่าห้ามกระทำการใดๆ ในเชิงพาณิชย์ รวมถึงเป็นการคุ้มครองเด็กเมื่อคลอดออกมาแล้ว เนื่องจากบางกรณีมีการแย้งเด็ก หรือทอดทิ้งเด็กหากมีอาการผิดปกติ
ศ.เกียรติคุณ นพ.วิฑูรย์ กล่าวว่า ขณะนี้แพทยสภาพยายามออกกฎหมายเพิ่มเติมเรื่องของการรับอุ้มบุญ โดยผู้ที่รับอุ้มบุญต้องเป็นญาติเท่านั้น แต่ความเป็นจริงหากไม่มีญาติ อาจต้องเปิดช่องให้ขออนุญาตหรือยืดหยุ่นให้แต่ตัองผ่านการพิจารณาและอนุมัติจากแพทยสภา แต่กฎหมายยังไม่ชัดเจน และมีการถอนออกไปแล้ว ทำให้เป็นช่องโหว่ ให้ต่างชาติสามารถเข้ามาทำโดยไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของแพทยสภา ซึ่งเชื่อว่าก็มีความบกพร่องควบคุมไม่ได้เหมือนกัน ส่วนกรณีที่สามีภรรยาเป็นชาวต่างชาติ ด้วยกฎหมายอาจต้องพิจารณาเป็นพิเศษ ว่า มีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร รัฐอาจต้องอนุญาตเป็นรายๆ ไป และต่างชาติก็ต้องทำตาม กม. ไทย ซึ่งการพิจารณาเป็นพิเศษนั้น เป็นหน้าที่ของแพทยสภา แต่เชื่อว่าปัจจบันต่างชาติเองก็มีขั้นตอนตรวจสอบอยู่แล้ว จึงถือเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งในการตรวจสอบ รวมถึงกลุ่มรักร่วมเพศ ก็ต้องให้แพทยสภาเป็นผู้พิจารณา ซึ่งจากข่าวที่ออกมานอกจากญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ยังมีอิสราเอลเข้ามาด้วย
ขณะที่ นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ประธานมูลนิธิพิทักษ์สิทธิ์เด็ก กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ ดำเนินการเสร็จมาหลายปี แต่เพราะมีกลุ่มคนคัดค้าน โดยเฉพาะนักการเมืองที่ได้รับผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเมดิคัล ฮับ ที่ต่อต้าน รวมถึงกลุ่มแพทย์บางคน ทั้งที่ปัญหานี้เกิดขึ้นมานาน และมีทั้งเหยื่อชาวเวียดนาม พม่า มารับจ้างตั้งครรภ์แทนซึ่งเชื่อมโยงกับปัญหาการค้ามนุษย์
นายวันชัย กล่าวว่า ขณะนี้ยังต้องยึดประมวลกฎหมายแพ่งไทยที่กำหนดว่าเด็กที่คลอดจากครรภ์มารดา ถือเป็นบุตรของคนนั้น ดังนั้น จึงเกิดข้อสงสัยว่าแฝดของน้องแกรมมี่ ที่เกิดจากการอุ้มบุญของสามีภรรยาชาวออสเตรเลีย ออกนอกประเทศไปได้อย่างไร คงต้องมีการสอบถาม ตรวจสอบไปยังสถานฑูต และด่านตรวจคนเข้าเมือง อย่างไรก็ตาม อยากให้เร่งผลัดกันร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้โดยเร็ว เพื่อควบคุมการรับจ้างอุ้มบุญ ไม่เช่นนั้น หากไม่สามารถควบคุมได้ ประเทศไทยจะกลายเป็นโรงงานรับจ้างผลิตเด็ก จะปล่อยให้ทุกคนทำตามใจด้วยเห็นแก่เงิน มองเด็กเป็นสินค้า
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่