แฉ! ขบวนการฟอกน้ำมันทอดซ้ำจนใสเหมือนใหม่ บรรจุหีบห่อสวยงาม แถมก๊อบปี้ยี่ห้อดัง วางขายตามตลาดนัด ไซต์งานก่อสร้าง ชี้เสี่ยงรับสารก่อมะเร็ง เผยมีนำไปผสมอาหารสัตว์ ทำให้สารก่อโรคกลับเข้าสู่วงจรชีวิตมนุษย์ เตรียมดัน กม. พ่อค้ารับซื้อน้ำมันต้องขึ้นทะเบียน
วันนี้ (25 ก.ค.) ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี กล่าวในการเสวนาประสบการณ์ทำงานเรื่องอาหารปลอดภัยของแต่ละประเทศ ในงานประชุมวิชาการมหกรรมอาหารและสุขภาพ วิถีไท ครั้งที่ 1 “กินเปลี่ยนโลก:บทบาทอาหารกับสุขภาพ สังคมและสิ่งแวดล้อม” จัดโดย มูลนิธิสุขภาพไทย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิชีววิถี มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ มูลนิธิเกษตรยั่งยืน (ประเทศไทย) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายความมั่นคงทางอาหารและสุขภาพวิถีไทย ว่า ประเทศไทยมีการใช้น้ำมันเพื่อการบริโภคจำนวน 1.2 ล้านตัน น้ำมันที่เหลือจะถูกนำไปผลิตไบโอดีเซล ปัญหาคือการใช้น้ำมันทอดซ้ำ ซึ่งมีปัญหาพบสารก่อมะเร็ง (พาร์) หากสูดดมจะส่งผลให้เกิดมะเร็งปอด และหากรับประทานจะก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยสารที่ก่อให้เกิดภาวะความดันในเลือดสูง (โพลา) ค่ามาตรฐานสากลกำหนดอยู่ที่ 25%
“ที่น่ากังวลคือ ขณะนี้พบว่ากระบวนการลักลอบซื้อน้ำมันเก่าหรือเรียกว่าน้ำมันขยะเหล่านี้ไปฟอก โดยจำนวนหนึ่งถูกลักลอบนำไปฟอกให้จนใสเหมือนกับน้ำมันใหม่ แล้วบรรจุหีบห่อสวยงาม บางครั้งพบว่าลอกเลียนแบบตราสัญลักษณ์ของน้ำมันพืชที่ได้รับความนิยมในท้องตลาด แต่สารก่อโรคทั้ง 2 ยังคงอยู่ในปริมาณเท่าเดิม เมื่อ 2 ปีก่อนพบว่ามีการออกบูธจัดแสดงเครื่องมือในการฟอกน้ำมันเก่าที่ศูนย์การประชุมไบเทค บางนา เป็นการเสนอขายอย่างโจ่งแจ้ง จากเดิมที่พบการโฆษณาขายผ่านเว็บไซต์ของจีนเท่านั้น ที่สำคัญอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นเครื่องจักรที่ยังไม่มีกฎหมายควบคุมเอาผิดได้” ภก.วรวิทย์ กล่าว
ภก.วรวิทย์ กล่าวอีกว่า น้ำมันที่ผ่านการฟอกจนใสเหมือนน้ำมันใหม่ทำให้สังเกตได้ยาก ดังนั้น ขอให้ประชาชนเลือกซื้อน้ำมันจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เพราะน้ำมันเก่าที่ตียี่ห้อปลอมส่วนใหญ่จะขายตามตลาดนัด แถวไซต์งานก่อสร้าง ราคาขายจะอยู่ที่ประมาณ 35-37 บาท ขณะนี้ที่ของจริงจะขายอยู่ที่ประมาณ 40 บาทขึ้นไป นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการนำเอาน้ำมันขยะไปผสมเป็นอาหารสัตว์ ทำให้สารโพลาและพาร์กลับเข้ามาอยู่ในวงจรอาหารของมนุษย์อีกรอบ โดยที่ไม่มีการควบคุมดูแล ในขณะที่สหภาพยุโรป (EU) ประกาศห้ามใช้น้ำมันเก่ามาปรุงเป็นอาหารสัตว์เด็ดขาดตั้งแต่ปี 2547 ดังนั้น ขณะนี้จึงพยายามผลักดันให้มีการแก้กฎหมายให้บุคคลที่ต้องการใช้ประโยชน์จากน้ำมันเก่าต้องไปขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย เพื่อให้สามารถระบุตัวตน และสามารถตรวจสอบติดตามที่มา ที่ไปของน้ำมันเก่า ป้องกันการนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
“ขณะนี้สมัชชาสุขภาพแห่งชาติให้การรับรองแล้วว่า เรื่องน้ำมันเก่าเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข และต้องผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ จัดการให้มีหน่วยงานเข้ามาดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง ให้ความรู้กับประชาชนถึงอันตรายจากการใช้น้ำมันทอดซ้ำให้ได้ ล่าสุด มีการร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว่า 100 แห่ง ในการนำเอาน้ำมันใช้แล้วไปทำเป็นน้ำมันดีเซลล์ รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งที่ใช้น้ำมันดีเซลจากน้ำมันใช้แล้วทำให้สามารถประหยัดเงินได้กว่าล้านบาท จึงเป็นเรื่องที่น่าจะผลักดันต่อ” ภก.วรวิทย์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (25 ก.ค.) ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี กล่าวในการเสวนาประสบการณ์ทำงานเรื่องอาหารปลอดภัยของแต่ละประเทศ ในงานประชุมวิชาการมหกรรมอาหารและสุขภาพ วิถีไท ครั้งที่ 1 “กินเปลี่ยนโลก:บทบาทอาหารกับสุขภาพ สังคมและสิ่งแวดล้อม” จัดโดย มูลนิธิสุขภาพไทย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิชีววิถี มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ มูลนิธิเกษตรยั่งยืน (ประเทศไทย) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายความมั่นคงทางอาหารและสุขภาพวิถีไทย ว่า ประเทศไทยมีการใช้น้ำมันเพื่อการบริโภคจำนวน 1.2 ล้านตัน น้ำมันที่เหลือจะถูกนำไปผลิตไบโอดีเซล ปัญหาคือการใช้น้ำมันทอดซ้ำ ซึ่งมีปัญหาพบสารก่อมะเร็ง (พาร์) หากสูดดมจะส่งผลให้เกิดมะเร็งปอด และหากรับประทานจะก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยสารที่ก่อให้เกิดภาวะความดันในเลือดสูง (โพลา) ค่ามาตรฐานสากลกำหนดอยู่ที่ 25%
“ที่น่ากังวลคือ ขณะนี้พบว่ากระบวนการลักลอบซื้อน้ำมันเก่าหรือเรียกว่าน้ำมันขยะเหล่านี้ไปฟอก โดยจำนวนหนึ่งถูกลักลอบนำไปฟอกให้จนใสเหมือนกับน้ำมันใหม่ แล้วบรรจุหีบห่อสวยงาม บางครั้งพบว่าลอกเลียนแบบตราสัญลักษณ์ของน้ำมันพืชที่ได้รับความนิยมในท้องตลาด แต่สารก่อโรคทั้ง 2 ยังคงอยู่ในปริมาณเท่าเดิม เมื่อ 2 ปีก่อนพบว่ามีการออกบูธจัดแสดงเครื่องมือในการฟอกน้ำมันเก่าที่ศูนย์การประชุมไบเทค บางนา เป็นการเสนอขายอย่างโจ่งแจ้ง จากเดิมที่พบการโฆษณาขายผ่านเว็บไซต์ของจีนเท่านั้น ที่สำคัญอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นเครื่องจักรที่ยังไม่มีกฎหมายควบคุมเอาผิดได้” ภก.วรวิทย์ กล่าว
ภก.วรวิทย์ กล่าวอีกว่า น้ำมันที่ผ่านการฟอกจนใสเหมือนน้ำมันใหม่ทำให้สังเกตได้ยาก ดังนั้น ขอให้ประชาชนเลือกซื้อน้ำมันจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เพราะน้ำมันเก่าที่ตียี่ห้อปลอมส่วนใหญ่จะขายตามตลาดนัด แถวไซต์งานก่อสร้าง ราคาขายจะอยู่ที่ประมาณ 35-37 บาท ขณะนี้ที่ของจริงจะขายอยู่ที่ประมาณ 40 บาทขึ้นไป นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการนำเอาน้ำมันขยะไปผสมเป็นอาหารสัตว์ ทำให้สารโพลาและพาร์กลับเข้ามาอยู่ในวงจรอาหารของมนุษย์อีกรอบ โดยที่ไม่มีการควบคุมดูแล ในขณะที่สหภาพยุโรป (EU) ประกาศห้ามใช้น้ำมันเก่ามาปรุงเป็นอาหารสัตว์เด็ดขาดตั้งแต่ปี 2547 ดังนั้น ขณะนี้จึงพยายามผลักดันให้มีการแก้กฎหมายให้บุคคลที่ต้องการใช้ประโยชน์จากน้ำมันเก่าต้องไปขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย เพื่อให้สามารถระบุตัวตน และสามารถตรวจสอบติดตามที่มา ที่ไปของน้ำมันเก่า ป้องกันการนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
“ขณะนี้สมัชชาสุขภาพแห่งชาติให้การรับรองแล้วว่า เรื่องน้ำมันเก่าเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข และต้องผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ จัดการให้มีหน่วยงานเข้ามาดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง ให้ความรู้กับประชาชนถึงอันตรายจากการใช้น้ำมันทอดซ้ำให้ได้ ล่าสุด มีการร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว่า 100 แห่ง ในการนำเอาน้ำมันใช้แล้วไปทำเป็นน้ำมันดีเซลล์ รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งที่ใช้น้ำมันดีเซลจากน้ำมันใช้แล้วทำให้สามารถประหยัดเงินได้กว่าล้านบาท จึงเป็นเรื่องที่น่าจะผลักดันต่อ” ภก.วรวิทย์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่