สธ. จัดประชุมปฏิรูปนโยบายด้านอาหาร เน้นเรื่องความปลอดภัยและคุณภาพ ก่อนเสนอต่อ FAO ที่อิตาลี พ.ย. นี้ เผยหากได้รับการรับรองนโยบายจะนำมาดำเนินงานในภูมิภาคเอเชีย
วันนี้ (30 มิ.ย.) ที่โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี นพ.ทรงยศ ชัยชนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ปฏิรูปด้านอาหารปลอดภัยระดับชาติ ว่า ตามที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้สนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐทั่วโลก ในการจัดการของหน่วยงานภาครัฐด้านความมั่นคงทางอาหาร และความปลอดภัยด้านอาหาร จะมีผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่ระบบอาหารตั้งแต่กระบวนการผลิต การจัดจำหน่าย จนถึงการตลาดและการบริโภค ซึ่งจะต้องมีการจัดลำดับความสำคัญของความปลอดภัยและปัญหาคุณภาพอาหารให้เหมาะสม เพื่อนำไปสู่การพัฒนานโยบายให้เหมาะสมกับสภาพปัญหา และนโยบายการพัฒนาในแต่ละประเทศ
นพ.ทรงยศ กล่าวอีกว่า สธ. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก FAO ให้เป็นแกนหลักในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการระดับชาติ เพื่อกำหนดนโยบายด้านอาหารปลอดภัยแบบสมดุลของประเทศ โดยจะมีการศึกษาปัจจัยต่างๆให้รอบด้าน อาทิ ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการค้า และด้านสังคม โดยจะมีการวิเคราะห์ความปลอดภัยด้านอาหารที่เกิดขึ้นจริงของประเทศไทยที่มีความเชื่อมโยงระหว่างอาหารปลอดภัย โภชนาการ และความมั่นคงทางอาหาร
ด้าน นางจงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย กล่าวว่า การประชุมจะมี 3 ครั้ง ในช่วง มิ.ย.- ส.ค. เพื่อนำข้อสรุปใช้เป็นแนวทางการปฏิรูปวิธีการกำหนดนโยบายอาหารปลอดภัยของประเทศแบบสมดุล ที่คำนึงถึงสหปัจจัย รับฟังความเห็นรอบด้าน ก่อนจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์ระดับชาติ ที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมและวัฒนธรรม มีความเป็นไปได้เกิดการยอมรับจากทุกฝ่าย ก่อนที่จะมีการประชุมสัมมนาผู้แทนในภูมิภาคเอเชีย ในช่วง พ.ย. นี้ จากนั้นจะมีการนำเสนอบทเรียนของประเทศไทยในฐานะประเทศนำร่องต่อสำนักงานใหญ่เอฟเอโอ ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี และเมื่อมีการรับรองนโยบายดังกล่าว จะนำมาดำเนินงานภายในภูมิภาคเอเชียต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (30 มิ.ย.) ที่โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี นพ.ทรงยศ ชัยชนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ปฏิรูปด้านอาหารปลอดภัยระดับชาติ ว่า ตามที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้สนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐทั่วโลก ในการจัดการของหน่วยงานภาครัฐด้านความมั่นคงทางอาหาร และความปลอดภัยด้านอาหาร จะมีผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่ระบบอาหารตั้งแต่กระบวนการผลิต การจัดจำหน่าย จนถึงการตลาดและการบริโภค ซึ่งจะต้องมีการจัดลำดับความสำคัญของความปลอดภัยและปัญหาคุณภาพอาหารให้เหมาะสม เพื่อนำไปสู่การพัฒนานโยบายให้เหมาะสมกับสภาพปัญหา และนโยบายการพัฒนาในแต่ละประเทศ
นพ.ทรงยศ กล่าวอีกว่า สธ. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก FAO ให้เป็นแกนหลักในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการระดับชาติ เพื่อกำหนดนโยบายด้านอาหารปลอดภัยแบบสมดุลของประเทศ โดยจะมีการศึกษาปัจจัยต่างๆให้รอบด้าน อาทิ ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการค้า และด้านสังคม โดยจะมีการวิเคราะห์ความปลอดภัยด้านอาหารที่เกิดขึ้นจริงของประเทศไทยที่มีความเชื่อมโยงระหว่างอาหารปลอดภัย โภชนาการ และความมั่นคงทางอาหาร
ด้าน นางจงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย กล่าวว่า การประชุมจะมี 3 ครั้ง ในช่วง มิ.ย.- ส.ค. เพื่อนำข้อสรุปใช้เป็นแนวทางการปฏิรูปวิธีการกำหนดนโยบายอาหารปลอดภัยของประเทศแบบสมดุล ที่คำนึงถึงสหปัจจัย รับฟังความเห็นรอบด้าน ก่อนจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์ระดับชาติ ที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมและวัฒนธรรม มีความเป็นไปได้เกิดการยอมรับจากทุกฝ่าย ก่อนที่จะมีการประชุมสัมมนาผู้แทนในภูมิภาคเอเชีย ในช่วง พ.ย. นี้ จากนั้นจะมีการนำเสนอบทเรียนของประเทศไทยในฐานะประเทศนำร่องต่อสำนักงานใหญ่เอฟเอโอ ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี และเมื่อมีการรับรองนโยบายดังกล่าว จะนำมาดำเนินงานภายในภูมิภาคเอเชียต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่