วงสัมมนาพบ “จำนำข้าว” ทำหนี้สินชาวนาพุ่งเท่าตัว แถมทำลายกลไกตลาดค้าข้าวสิ้นเชิง แฉบอร์ด ธ.ก.ส.เล็งปลด "ลักษณ์ วัจนานวัช" พ้นเก้าอี้ ผู้จัดการฯ ข้อหาไม่สนองรัฐบาลเรื่องจำนำข้าว ด้านผู้ว่าฯ พิจิตรสั่งหาต้นตอขนข้าวเขมร
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การปฏิรูประบบเกษตรกรรมโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง” โดยมีเกษตรกรเครือข่ายร่วมสร้างชุ มชนท้องถิ่นน่าอยู่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) แม่ข่ายทั่วประเทศ เข้าร่วมประชุม
นายภาคภูมิ อินทร์แป้น แกนนำชุมชน ต.ทมอ อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ กล่าวว่า ปัญหาเรื้อรังที่ชาวนาต้องเผชิ ญอยู่ในปัจจุบันคือ หนี้สิ นโดยเฉพาะหนี้ในระบบ จากเดิมเมื่อ 4-5 ปีก่อนเป็นหนี้เฉลี่ยครัวเรือนละ 50,000 บาท แต่ปัจจุบันเป็นหนี้ราวครัวเรือนละ 1 แสนบาท เพิ่มขึ้นถึง 1 เท่าตัว ยิ่งสถาบันการเงินเพิ่มวงเงินกู้ให้เกษตรกรมากเท่าไหร่ ก็จะเป็นหนี้มากขึ้น เพราะส่วนใหญ่กู้เต็มเพดาน การเป็นหนี้สะสมส่วนใหญ่เกิดจากการไม่พึ่งตนเองคือ ต้องการเร่งผลผลิต โดยซื้อยากำจัดวัชพืช หรือฮอร์โมนเพิ่มผลผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อเมล็ดพันธุ์ที่มีคำโฆษณาว่าได้ผลผลิตสูง ทั้งๆ ที่เกษตรกรสามารถจัดการเมล็ดพั นธุ์และเพิ่มผลผลิตให้สูงได้ด้วยการปรับปรุงดิน เอาใจใส่ในการจัดการดูแล ไม่ต้องเสียเงินค่าต้นทุนเหล่านี้
“โครงการรับจำนำข้าว ได้ทำลายตลาดข้าวและการค้าขายข้าวโดยสิ้นเชิง และยังไม่รู้ว่าอนาคตจะส่งผลอย่างไรกับเกษตรกร ชาวนาจึงต้องหาทางเลือกใหม่ ซึ่งทางออกที่ดีที่สุดของของชาวนาคือ การทำเกษตรยั่งยืน/เกษตรพอเพียง ที่เน้นการพึ่งตนเอง ทั้งเรื่องเมล็ดพันธุ์ปุ๋ย แม้ผลผลิตจะขายได้ในราคาไม่สู งแต่ต้นทุนต่ำ อย่างตนเองทำนาเกษตรอินทรีย์มี ผลผลิตเฉลี่ย 20 ตันต่อแปลงนา ขายได้ราคา 21 บาทต่อกิโลกรัม รวม 21,000 บาทต่อตัน สูงกว่าราคารับจำนำ 15,000 บาท” นายภาคภูมิกล่าว
ด้าน น.ส.ทัศนีย์ วีระกันต์ ผู้จัดการแผนงานส่งเสริมการพัฒนาระบบเพื่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร กล่าวว่า ปัญหาของเกษตรเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง มีการเปลี่ยนระบบเกษตรจากแบบพึ่งตนเองกลายเป็นแบบการตลาด เพื่อให้ให้ อาหารและผลการเกษตรมีราคาถูก ขณะที่เกษตรกรต้องแบกรับความเสี่ยงไว้เองทั้งหมด ซึ่งการทำการเกษตรต้องพึ่งธรรมชาติอย่างมาก จึงเกิดความไม่เป็นธรรมกับเกษตรกร ทำให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดีและไม่มีสุขภาวะ ส่วนโครงการรับจำนำข้าว ไม่ใช่มีเงินสำรองเพียงพอหรือไม่ แต่อยู่ที่การบริหารจั ดการงบประมาณที่ไม่ดีพอ เมื่อชาวนาแห่ไปเข้าโครงการรับจำนำข้าวแบบเทหมดหน้าตักเพราะเชื่อถือรัฐบาล แต่ทันทีที่รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพทางการเงิน ทำให้ชาวนาไม่มีเงินใช้จ่ายในครัวเรือนที่เพียงพอ การแก้ปัญหาต้องใช้ระบบ CSA (Co mmunity Support Agriculture) ให้ชุมชนมาเป็นผู้ลงทุนการเกษตรและแบกรับความเสี่ยงร่วมกัน โดยประกันความเสี่ยงให้กับชาวนา
“แนวทางการช่วยเกษตรกรอย่างได้ผลคือ แนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการเปลี่ยนวิธีคิด จากทำการเกษตรเพื่อขาย แต่เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารและตนเอง โดย 1.เปลี่ยนปัจจัยการผลิตให้ เกื้อกูลของระบบการผลิต ปลูกพืชหลากหลายและสร้างอาหารให้ครัวเรือนและชุมชน และ 2.เปลี่ยนตลาดให้ผู้ผลิตเชื่อมโยงกับผู้บริโภค สร้างความเข้าใจในกันและกัน ราคาขายสมเหตุผลขณะเดียวกันสินค้ามีคุณภาพ และสร้างภูมิคุ้มกันต่อนโยบายรัฐ หากชุมชนมีการจัดตั้งกองทุนชุมชน รับซื้อผลผลิตในราคาที่เป็นธรรม ช่วยให้เกิดการพึ่งตนเอง” น.ส. ทัศนีย์ กล่าว
น.ส.ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุ ขภาวะชุมชน สสส. กล่าวว่า ชุมชนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการปฏิรูประบบเกษตรกรรม การประชุมครั้งนี้ เป็นการร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ปัญหาอุปสรรคของการปฏิรูประบบเกษตรกรรมโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง เพื่อให้ชุมชนรู้จักตัวเองมากขึ้น ที่สำคัญคือปัญหาเร่งด่วนจากนโยบายรับจำนำข้าว โจทย์ใหญ่คือ จะช่วยเหลือชาวนาให้ทำนาต่อได้ อย่างไร ควรให้ อปท. เป็นหน่วยสำคัญในการบริหารจัดการในพื้นที่ เพราะอยู่ใกล้เกษตรกรมากที่สุด เกษตรกรสามารถปรึกษาปัญหาได้ทันที
บอร์ดเล็งปลดผู้จัดการ ธ.ก.ส.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 24 ก.พ.จะมีการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ธ.ก.ส. ซึ่งมีวาระพิจารณาเลิกจ้างนายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธ.ก.ส.ข้อหาไม่สนองนโยบายโครงการรับจำนำข้าว เนื่องจากรัฐบาลรักษาการไม่พอใจนายลักษณ์ที่ไม่แสดงความชัดเจนในการช่วยรัฐบาล อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าสหภาพ แรงงานรัฐวิสาหกิจ ธ.ก.ส. (สร.ธ.ก.ส.) จะมีการต่อต้านและให้กำลังใจนายลักษณ์ในวันนี้ (24 ก.พ.) เช่นกัน
ด้านนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รักษาการเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มีการสั่งการเป็นพิเศษให้กระทรวงการคลัง และกระทรวงพาณิชย์ เร่งหาเงินจ่ายชาวนาให้ได้ภายในสัปดาห์หน้า และจะตัองมีความชัดเจนว่า ชาวนาจะได้รับเงินวันไหน ไม่ใช่มาพูดเพียงลอยๆ เพราะไม่อย่างนั้นจะมีการหยิบไปโยงเป็นประเด็นการเมืองอย่างวันนี้ไม่จบไม่สิ้น จะตัองอธิบายชาวนาให้ได้ว่าจะได้เมื่อไร ต้องบอกให้ชัดเจน
ผู้ว่าฯ พิจิตรสั่งหาต้นตอขนข้าวเขมร
นายสุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร กล่าวถึงการตรวจสอบข้อเท็จจริงการขนข้าวกัมพูชามาพักในโรงสีเขต อ.ตะพานหิน ก่อนกระจายส่งโรงสีนำไปสวมสิทธิโครงการจำนำข้าวว่า ได้สั่งตั้งทีมเฉพาะกิจติดตามขบวนการนี้แล้ว โดยนายมนตรี ชุนศิริทรัพย์ นายอำเภอตะพานหิน ตำรวจ และการค้าภายในจังหวัด พบว่ามีโรงสีแห่งหนึ่งที่เจ้าของกิจการเป็นคนสูงอายุ และไม่ได้เปิดดำเนินกิจการ อีกทั้งไม่ได้เข้าโครงการรับจำนำข้าว แต่ยังมีใบอนุญาตดำเนินกิจการอยู่ ซึ่งมีชื่อเข้าไปเกี่ยวข้องกับการนำเข้าข้าวจากกัมพูชา
และเมื่อตรวจสอบลึกลงไปพบว่าโรงสีแห่งนี้ที่ตั้งอยู่ที่อ.ตะพานหิน เคยมีคดีเรื่องการจำนำข้าว และนำข้าวสารไปเวียนเทียนที่ จ.พระนครศรีอยุธยา แต่พบว่ามีคนใช้เอกสารปลอม แอบอ้างชื่อโรงสี จึงรอดพ้นความผิด และครั้งนี้กลับมีชื่อเป็นผู้นำเข้าข้าวจากกัมพูชาซ้ำอีก ก็ต้องสอบสวนว่าเป็นกลุ่มเดิมที่ใช้หลักฐานเก่าหรือไม่
"ที่จริงแล้วถ้ามีสินค้านำเข้า ต้นทางต้องทำเอกสารส่งถึงส่วนราชการปลายทาง แต่กรณีนี้ไม่มีต้นเรื่อง แต่เมื่อคณะกรรมการธิการ(กมธ.)การเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ยืนยันว่ามีจริง ในฐานะที่ผมเป็นประธานคณะกรรมการข้าวระดับจังหวัด(กขจ.) ก็จะไม่ทิ้งประเด็นนี้เด็ดขาด เพราะ จ.พิจิตร มีตำนานโกงโครงการทุกรูปแบบ ซึ่งจะต้องกวาดล้างให้หมดสิ้นไป"
กมธ.เผยบิ๊ก ขรก.เอี่ยวตั้งแต่ต้นทาง
พล.ต.ท.ยุทธนา ไทยภักดี รองประธานกมธ. นำคณะเดินทางมาตรวจสต๊อกข้าวในโครงการรับจำนำข้าวของจ.พิจิตร พบว่ามีข้าวสารนำเข้าจากกัมพูชา 4 หมื่นตัน แต่เสียภาษีศุลกากรเป็นปลายข้าวกิโลกรัมละละ 1 บาท แต่ข้าวที่นำเข้าเป็นข้าวสารผสมปลายข้าว จากนั้นนำมาคัดแยกข้าวสาร 5% บรรจุกระสอบส่งให้แก่โรงสีที่อาจซื้อใบประทวนของชาวนา หรือเพิ่มปริมาณผลผลิตของชาวนาที่แจ้งไว้เป็นเท็จ จากนั้นก็เอาข้าวที่ซื้อมาเพียงแค่ตันละไม่กี่พันบาท ส่งมอบเข้าคลังสินค้าตามโครงการรับจำนำข้าวได้ตันละเกือบ 2 หมื่นบาท โดยต้นทุนคันรถสิบล้อละ 2-3 หมื่นบาท ได้เงินเกือบ 2 แสนบาท
โดย พล.ต.ท.ยุทธนาระบุว่า กรรมวิธีนี้เป็นความร่วมมือของอธิบดีคนหนึ่งที่เซ็นใบอนุญาตให้พ่อค้าข้าวไว้ล่วงหน้าถึง 10 ใบ จากนั้นก็ใช้กองทัพรถ 10 ล้อ บรรทุกปลายข้าวผสมกับข้าวสารคุณภาพต่ำมาส่งที่โรงสีในเขต อ.ตะพานหิน ทำให้โรงสีแห่งนี้เหมือนกับเป็นที่พักของเถื่อน โดยกว่าจะมาถึงจ.พิจิตร ต้องผ่านด่านตำรวจภูธร ผ่านด่านตำรวจทางหลวง แต่ก็ผ่านมาได้ด้วยการจ่ายเบี้ยใบ้รายทาง ซึ่งขณะนี้กำลังรวบรวมหลักฐานเพื่อดำเนินคดี
ไฟปริศนาเผามันเส้น อคส.ที่โคราช
เวลา 13.50 น. วันที่ 23 ก.พ. พ.ต.ท. ประยุทธ แพปรุ สารวัตรเวรสภ.โพธิ์กลาง อ.เมือง จ.นครราชสีมา รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยบริษัท ซีเอส ปาร์ค จำกัด ว่ามีควันไฟพวยพุ่งออกมาจากโกดังเก็บมันเส้น เลขที่2/5 ซอยรัตนโนภาส ต.หนองจะบก อ.เมือง จึงประสานชุดดับเพลิงหน่วยกู้ภัยฮุก 31 และรถน้ำจากเทศบาลตำบลหนองจะบก และเทศบาลตำบลปรุใหญ่ ที่เกิดเหตุเป็นโกดังขนาดใหญ่ แต่ไม่สามารถเข้าไปดับไฟได้ เนื่องจากประตูถูกล็อคกุญแจแน่นหนา ตำรวจจึงตัดสินใจตัดกุญแจเข้าไปฉีดน้ำสกัดเพลิงกว่า 4ชั่วโมงจึงควบคุมเพลิงไว้ได้
สอบถามนายธิติศักดิ์ เกิดทวี อายุ 46 ปี คนเช่าโกดัง กล่าวว่า ตนเช่าไว้ตั้งแต่ปี 2552 เพื่อเก็บรักษามันเส้นขององค์การคลังสินค้า (อคส.) ที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำมันสำปะหลัง ปี 2551/2552 รวม 15,000 ตัน อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงยังไม่มีการเคลื่อนย้าย แต่ที่ผ่านมาได้เข้าไปพลิกกลับกองมันเส้นเพื่อป้องกันความร้อนสะสม แต่เมื่อวานก่อนเกิดเหตุ เจ้าของโกดังได้ปิดล็อกประตูไม่ให้ตนเข้าไปพลิกกลับกองมัน
และเมื่อช่วงเช้าตรู่ (23 ก.พ.) เพิ่งไปลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน พอช่วงบ่ายก็มีคนเห็นควันไฟพวยพุ่งออกจากโกดัง จึงแจ้งเจ้าหน้าที่มาช่วยดับไฟได้ทัน ก่อนที่จะเสียหายทั้งหมด ส่วนค่าเสียหายคงต้องรอตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง
พ.ต.ท. ประยุทธ กล่าวว่า ยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้ ต้องประสานเจ้าหน้าที่วิทยาการ และพิสูจน์หลักฐานเข้ามาตรวจสอบ รวมถึงเรียกผู้เกี่ยวข้องมาสอบสวนเพิ่มเติม ก่อนดำเนินการตามกฎหมาย ทั้งนี้ โกดังเก็บมันเส้นของอคส.แห่งนี้ เคยเกิดเพลิงไหม้มาแล้วครั้งหนึ่ง.
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การปฏิรูประบบเกษตรกรรมโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง” โดยมีเกษตรกรเครือข่ายร่วมสร้างชุ มชนท้องถิ่นน่าอยู่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) แม่ข่ายทั่วประเทศ เข้าร่วมประชุม
นายภาคภูมิ อินทร์แป้น แกนนำชุมชน ต.ทมอ อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ กล่าวว่า ปัญหาเรื้อรังที่ชาวนาต้องเผชิ ญอยู่ในปัจจุบันคือ หนี้สิ นโดยเฉพาะหนี้ในระบบ จากเดิมเมื่อ 4-5 ปีก่อนเป็นหนี้เฉลี่ยครัวเรือนละ 50,000 บาท แต่ปัจจุบันเป็นหนี้ราวครัวเรือนละ 1 แสนบาท เพิ่มขึ้นถึง 1 เท่าตัว ยิ่งสถาบันการเงินเพิ่มวงเงินกู้ให้เกษตรกรมากเท่าไหร่ ก็จะเป็นหนี้มากขึ้น เพราะส่วนใหญ่กู้เต็มเพดาน การเป็นหนี้สะสมส่วนใหญ่เกิดจากการไม่พึ่งตนเองคือ ต้องการเร่งผลผลิต โดยซื้อยากำจัดวัชพืช หรือฮอร์โมนเพิ่มผลผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อเมล็ดพันธุ์ที่มีคำโฆษณาว่าได้ผลผลิตสูง ทั้งๆ ที่เกษตรกรสามารถจัดการเมล็ดพั นธุ์และเพิ่มผลผลิตให้สูงได้ด้วยการปรับปรุงดิน เอาใจใส่ในการจัดการดูแล ไม่ต้องเสียเงินค่าต้นทุนเหล่านี้
“โครงการรับจำนำข้าว ได้ทำลายตลาดข้าวและการค้าขายข้าวโดยสิ้นเชิง และยังไม่รู้ว่าอนาคตจะส่งผลอย่างไรกับเกษตรกร ชาวนาจึงต้องหาทางเลือกใหม่ ซึ่งทางออกที่ดีที่สุดของของชาวนาคือ การทำเกษตรยั่งยืน/เกษตรพอเพียง ที่เน้นการพึ่งตนเอง ทั้งเรื่องเมล็ดพันธุ์ปุ๋ย แม้ผลผลิตจะขายได้ในราคาไม่สู งแต่ต้นทุนต่ำ อย่างตนเองทำนาเกษตรอินทรีย์มี ผลผลิตเฉลี่ย 20 ตันต่อแปลงนา ขายได้ราคา 21 บาทต่อกิโลกรัม รวม 21,000 บาทต่อตัน สูงกว่าราคารับจำนำ 15,000 บาท” นายภาคภูมิกล่าว
ด้าน น.ส.ทัศนีย์ วีระกันต์ ผู้จัดการแผนงานส่งเสริมการพัฒนาระบบเพื่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร กล่าวว่า ปัญหาของเกษตรเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง มีการเปลี่ยนระบบเกษตรจากแบบพึ่งตนเองกลายเป็นแบบการตลาด เพื่อให้ให้ อาหารและผลการเกษตรมีราคาถูก ขณะที่เกษตรกรต้องแบกรับความเสี่ยงไว้เองทั้งหมด ซึ่งการทำการเกษตรต้องพึ่งธรรมชาติอย่างมาก จึงเกิดความไม่เป็นธรรมกับเกษตรกร ทำให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดีและไม่มีสุขภาวะ ส่วนโครงการรับจำนำข้าว ไม่ใช่มีเงินสำรองเพียงพอหรือไม่ แต่อยู่ที่การบริหารจั ดการงบประมาณที่ไม่ดีพอ เมื่อชาวนาแห่ไปเข้าโครงการรับจำนำข้าวแบบเทหมดหน้าตักเพราะเชื่อถือรัฐบาล แต่ทันทีที่รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพทางการเงิน ทำให้ชาวนาไม่มีเงินใช้จ่ายในครัวเรือนที่เพียงพอ การแก้ปัญหาต้องใช้ระบบ CSA (Co mmunity Support Agriculture) ให้ชุมชนมาเป็นผู้ลงทุนการเกษตรและแบกรับความเสี่ยงร่วมกัน โดยประกันความเสี่ยงให้กับชาวนา
“แนวทางการช่วยเกษตรกรอย่างได้ผลคือ แนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการเปลี่ยนวิธีคิด จากทำการเกษตรเพื่อขาย แต่เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารและตนเอง โดย 1.เปลี่ยนปัจจัยการผลิตให้ เกื้อกูลของระบบการผลิต ปลูกพืชหลากหลายและสร้างอาหารให้ครัวเรือนและชุมชน และ 2.เปลี่ยนตลาดให้ผู้ผลิตเชื่อมโยงกับผู้บริโภค สร้างความเข้าใจในกันและกัน ราคาขายสมเหตุผลขณะเดียวกันสินค้ามีคุณภาพ และสร้างภูมิคุ้มกันต่อนโยบายรัฐ หากชุมชนมีการจัดตั้งกองทุนชุมชน รับซื้อผลผลิตในราคาที่เป็นธรรม ช่วยให้เกิดการพึ่งตนเอง” น.ส. ทัศนีย์ กล่าว
น.ส.ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุ ขภาวะชุมชน สสส. กล่าวว่า ชุมชนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการปฏิรูประบบเกษตรกรรม การประชุมครั้งนี้ เป็นการร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ปัญหาอุปสรรคของการปฏิรูประบบเกษตรกรรมโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง เพื่อให้ชุมชนรู้จักตัวเองมากขึ้น ที่สำคัญคือปัญหาเร่งด่วนจากนโยบายรับจำนำข้าว โจทย์ใหญ่คือ จะช่วยเหลือชาวนาให้ทำนาต่อได้ อย่างไร ควรให้ อปท. เป็นหน่วยสำคัญในการบริหารจัดการในพื้นที่ เพราะอยู่ใกล้เกษตรกรมากที่สุด เกษตรกรสามารถปรึกษาปัญหาได้ทันที
บอร์ดเล็งปลดผู้จัดการ ธ.ก.ส.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 24 ก.พ.จะมีการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ธ.ก.ส. ซึ่งมีวาระพิจารณาเลิกจ้างนายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธ.ก.ส.ข้อหาไม่สนองนโยบายโครงการรับจำนำข้าว เนื่องจากรัฐบาลรักษาการไม่พอใจนายลักษณ์ที่ไม่แสดงความชัดเจนในการช่วยรัฐบาล อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าสหภาพ แรงงานรัฐวิสาหกิจ ธ.ก.ส. (สร.ธ.ก.ส.) จะมีการต่อต้านและให้กำลังใจนายลักษณ์ในวันนี้ (24 ก.พ.) เช่นกัน
ด้านนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รักษาการเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มีการสั่งการเป็นพิเศษให้กระทรวงการคลัง และกระทรวงพาณิชย์ เร่งหาเงินจ่ายชาวนาให้ได้ภายในสัปดาห์หน้า และจะตัองมีความชัดเจนว่า ชาวนาจะได้รับเงินวันไหน ไม่ใช่มาพูดเพียงลอยๆ เพราะไม่อย่างนั้นจะมีการหยิบไปโยงเป็นประเด็นการเมืองอย่างวันนี้ไม่จบไม่สิ้น จะตัองอธิบายชาวนาให้ได้ว่าจะได้เมื่อไร ต้องบอกให้ชัดเจน
ผู้ว่าฯ พิจิตรสั่งหาต้นตอขนข้าวเขมร
นายสุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร กล่าวถึงการตรวจสอบข้อเท็จจริงการขนข้าวกัมพูชามาพักในโรงสีเขต อ.ตะพานหิน ก่อนกระจายส่งโรงสีนำไปสวมสิทธิโครงการจำนำข้าวว่า ได้สั่งตั้งทีมเฉพาะกิจติดตามขบวนการนี้แล้ว โดยนายมนตรี ชุนศิริทรัพย์ นายอำเภอตะพานหิน ตำรวจ และการค้าภายในจังหวัด พบว่ามีโรงสีแห่งหนึ่งที่เจ้าของกิจการเป็นคนสูงอายุ และไม่ได้เปิดดำเนินกิจการ อีกทั้งไม่ได้เข้าโครงการรับจำนำข้าว แต่ยังมีใบอนุญาตดำเนินกิจการอยู่ ซึ่งมีชื่อเข้าไปเกี่ยวข้องกับการนำเข้าข้าวจากกัมพูชา
และเมื่อตรวจสอบลึกลงไปพบว่าโรงสีแห่งนี้ที่ตั้งอยู่ที่อ.ตะพานหิน เคยมีคดีเรื่องการจำนำข้าว และนำข้าวสารไปเวียนเทียนที่ จ.พระนครศรีอยุธยา แต่พบว่ามีคนใช้เอกสารปลอม แอบอ้างชื่อโรงสี จึงรอดพ้นความผิด และครั้งนี้กลับมีชื่อเป็นผู้นำเข้าข้าวจากกัมพูชาซ้ำอีก ก็ต้องสอบสวนว่าเป็นกลุ่มเดิมที่ใช้หลักฐานเก่าหรือไม่
"ที่จริงแล้วถ้ามีสินค้านำเข้า ต้นทางต้องทำเอกสารส่งถึงส่วนราชการปลายทาง แต่กรณีนี้ไม่มีต้นเรื่อง แต่เมื่อคณะกรรมการธิการ(กมธ.)การเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ยืนยันว่ามีจริง ในฐานะที่ผมเป็นประธานคณะกรรมการข้าวระดับจังหวัด(กขจ.) ก็จะไม่ทิ้งประเด็นนี้เด็ดขาด เพราะ จ.พิจิตร มีตำนานโกงโครงการทุกรูปแบบ ซึ่งจะต้องกวาดล้างให้หมดสิ้นไป"
กมธ.เผยบิ๊ก ขรก.เอี่ยวตั้งแต่ต้นทาง
พล.ต.ท.ยุทธนา ไทยภักดี รองประธานกมธ. นำคณะเดินทางมาตรวจสต๊อกข้าวในโครงการรับจำนำข้าวของจ.พิจิตร พบว่ามีข้าวสารนำเข้าจากกัมพูชา 4 หมื่นตัน แต่เสียภาษีศุลกากรเป็นปลายข้าวกิโลกรัมละละ 1 บาท แต่ข้าวที่นำเข้าเป็นข้าวสารผสมปลายข้าว จากนั้นนำมาคัดแยกข้าวสาร 5% บรรจุกระสอบส่งให้แก่โรงสีที่อาจซื้อใบประทวนของชาวนา หรือเพิ่มปริมาณผลผลิตของชาวนาที่แจ้งไว้เป็นเท็จ จากนั้นก็เอาข้าวที่ซื้อมาเพียงแค่ตันละไม่กี่พันบาท ส่งมอบเข้าคลังสินค้าตามโครงการรับจำนำข้าวได้ตันละเกือบ 2 หมื่นบาท โดยต้นทุนคันรถสิบล้อละ 2-3 หมื่นบาท ได้เงินเกือบ 2 แสนบาท
โดย พล.ต.ท.ยุทธนาระบุว่า กรรมวิธีนี้เป็นความร่วมมือของอธิบดีคนหนึ่งที่เซ็นใบอนุญาตให้พ่อค้าข้าวไว้ล่วงหน้าถึง 10 ใบ จากนั้นก็ใช้กองทัพรถ 10 ล้อ บรรทุกปลายข้าวผสมกับข้าวสารคุณภาพต่ำมาส่งที่โรงสีในเขต อ.ตะพานหิน ทำให้โรงสีแห่งนี้เหมือนกับเป็นที่พักของเถื่อน โดยกว่าจะมาถึงจ.พิจิตร ต้องผ่านด่านตำรวจภูธร ผ่านด่านตำรวจทางหลวง แต่ก็ผ่านมาได้ด้วยการจ่ายเบี้ยใบ้รายทาง ซึ่งขณะนี้กำลังรวบรวมหลักฐานเพื่อดำเนินคดี
ไฟปริศนาเผามันเส้น อคส.ที่โคราช
เวลา 13.50 น. วันที่ 23 ก.พ. พ.ต.ท. ประยุทธ แพปรุ สารวัตรเวรสภ.โพธิ์กลาง อ.เมือง จ.นครราชสีมา รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยบริษัท ซีเอส ปาร์ค จำกัด ว่ามีควันไฟพวยพุ่งออกมาจากโกดังเก็บมันเส้น เลขที่2/5 ซอยรัตนโนภาส ต.หนองจะบก อ.เมือง จึงประสานชุดดับเพลิงหน่วยกู้ภัยฮุก 31 และรถน้ำจากเทศบาลตำบลหนองจะบก และเทศบาลตำบลปรุใหญ่ ที่เกิดเหตุเป็นโกดังขนาดใหญ่ แต่ไม่สามารถเข้าไปดับไฟได้ เนื่องจากประตูถูกล็อคกุญแจแน่นหนา ตำรวจจึงตัดสินใจตัดกุญแจเข้าไปฉีดน้ำสกัดเพลิงกว่า 4ชั่วโมงจึงควบคุมเพลิงไว้ได้
สอบถามนายธิติศักดิ์ เกิดทวี อายุ 46 ปี คนเช่าโกดัง กล่าวว่า ตนเช่าไว้ตั้งแต่ปี 2552 เพื่อเก็บรักษามันเส้นขององค์การคลังสินค้า (อคส.) ที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำมันสำปะหลัง ปี 2551/2552 รวม 15,000 ตัน อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงยังไม่มีการเคลื่อนย้าย แต่ที่ผ่านมาได้เข้าไปพลิกกลับกองมันเส้นเพื่อป้องกันความร้อนสะสม แต่เมื่อวานก่อนเกิดเหตุ เจ้าของโกดังได้ปิดล็อกประตูไม่ให้ตนเข้าไปพลิกกลับกองมัน
และเมื่อช่วงเช้าตรู่ (23 ก.พ.) เพิ่งไปลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน พอช่วงบ่ายก็มีคนเห็นควันไฟพวยพุ่งออกจากโกดัง จึงแจ้งเจ้าหน้าที่มาช่วยดับไฟได้ทัน ก่อนที่จะเสียหายทั้งหมด ส่วนค่าเสียหายคงต้องรอตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง
พ.ต.ท. ประยุทธ กล่าวว่า ยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้ ต้องประสานเจ้าหน้าที่วิทยาการ และพิสูจน์หลักฐานเข้ามาตรวจสอบ รวมถึงเรียกผู้เกี่ยวข้องมาสอบสวนเพิ่มเติม ก่อนดำเนินการตามกฎหมาย ทั้งนี้ โกดังเก็บมันเส้นของอคส.แห่งนี้ เคยเกิดเพลิงไหม้มาแล้วครั้งหนึ่ง.