กรมแพทย์แผนไทยเผยผลวิจัย สวดมนต์ช่วยบำบัดโรคได้ หลังพบสวดมนต์ร่วมทำสมาธิ 6 ปี ช่วยผู้ป่วยเบาหวานลดระดับน้ำตาล ความดันโลหิต เครียด นอนไม่หลับ ปวดหัวไมเกรน จับมือ พศ. วธ. รพ.สต. ทั่วประเทศ เชิญชวนโรงเรียนร่วมสวดมนต์ทุกวันตลอดเข้าพรรษา จัดใหญ่สำหรับคนทั่วไป 10 ก.ค. นี้
วันนี้ (1 ก.ค.) นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แถลงข่าว “สวดมนต์ 15 นาที ชีวีมีสุข ครอบครัวสุขสันต์ รับกุศล เข้าพรรษา” ว่า คนไทยป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น โดยปี 2556 มีจำนวนถึง 2.5 ล้านคน เสียชีวิตปีละกว่า 1.2 แสนคน ไม่รวมคนไข้ที่มีปัญหาทางจิตผิดปกติปีละ 1 ล้านคนเศษ ต้องใช้ยาจากต่างประเทศปีละกว่า 100,000 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพประมาณ 4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของชาติ ทั้งนี้ การสวดมนต์ถือเป็นศาสตร์การแพทย์ทางเลือกทางหนึ่งในการบำบัดโรคที่ไม่ใช้ยา ไม่เพียงบำบัดโรคทางใจเท่านั้น แต่ทางกายก็ได้ผลดีด้วย กรมฯจึงได้ร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กรมการศาสนา ลงนามบันทึกข้อตกลงขับเคลื่อนเชิญชวนประชาชนสวดมนต์บำบัดโรค เริ่มวันที่ 10 ก.ค. ณ บริเวณลานปฏิบัติธรรมวัดสังฆทาน จ.นนทบุรี ตั้งแต่เวลา 06.30 - 09.00 น. ตั้งเป้าประชาชนเข้าร่วม 1,199 คน ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่หน้างาน
นพ.ธวัชชัย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ กรมฯ ยังร่วมกับ พศ. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรมระดับจังหวัด และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทั่วประเทศกว่า 9,800 แห่ง ลงพื้นที่ประสานกับโรงเรียนในเขตชุมชนทุกแห่ง และวัดต่างๆ เพื่อเชิญชวนประชาชนและเด็กนักเรียน สวดมนต์ทุกวันๆ ละ 15 นาที ตลอดเข้าพรรษา 3 เดือน โดยอาจให้สวดมนต์ก่อนเลิกเรียน เพราะมองว่าการสวดมนต์ถือเป็นมนตราบำบัด หรือการสวดมนต์บำบัดโรคได้ อย่างเด็กนักเรียนจะช่วยให้มีสมาธิในการเรียน เป็นต้น
“การสวดมนต์บำบัด คือ หลักการหนึ่งของ Vibrational Therapy คือการใช้คุณสมบัติของคลื่นบางคลื่นมาบำบัดความเจ็บป่วย สำหรับการสวดมนต์ด้วยตัวเอง เป็นการเหนี่ยวนำตัวเอง ถือเป็นวิธีการที่ดีที่สุด เพราะหากใครสักคนคิดที่จะสวดมนต์ นั่นหมายความว่าเขากำลังมีความปรารถนาดีต่อตนเอง โดยวิธีการสวดมนต์ด้วยตนเองควรปฏิบัติดังนี้ 1. ไม่ควรสวดมนต์หลังกินอาหารทันที ควรทิ้งช่วงให้ร่างกายเริ่มผ่อนคลาย อาจเป็นเวลาก่อนเข้านอน หาสถานที่ที่เงียบสงบ 2.สวดบทสั้นๆ 3 - 4 พยางค์ โดยใช้เวลาประมาณ 10 - 15 นาทีขึ้นไป จะทำให้ร่างกายได้หลั่งสารซีโรโทนิน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาท ช่วยควบคุมความหิว อารมณ์ และความโกรธ โดยหากสวดมนต์ด้วยบทยาวๆ จะได้ความผ่อนคลายและความศรัทธา” อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ กล่าว
นพ.ธวัชชัย กล่าวด้วยว่า จากการติดตามกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วย 100,000 คน ใน รพ.สต. ทั่วประเทศ ที่มีอาการความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคเครียด โรคซึมเศร้า ปวดหัวไมเกรน และนอนไม่หลับ เป็นเวลา 6 ปี พบว่า หลังสวดมนต์ทุกวันร่วมกับนั่งสมาธิประมาณ 15 - 45 นาที และมีการทำโยคะบำบัด ซึ่ง รศ.สมพร กันทรดุษฎี อาจารย์ประจำภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล ได้พัฒนาขึ้นเป็นหลักสูตร “สมาธิบำบัดแบบ SKT” ผู้ป่วยเบาหวานที่ทานยาร่วมด้วย น้ำตาลลดลง จิตใจเข้มแข็งขึ้น ความดันโลหิตลดลง อาการเครียด นอนไม่หลับ ปวดหัวไมเกรนหายไป สอดคล้องกับงานวิจัยต่างประเทศในเรื่องการทำสมาธิ และการสวดมนต์ที่อ่านออกเสียง เนื่องจากคลื่นเสียงจะไปกระตุ้นสารความสุข และกดสารความทุกข์ลง
“สมาธิบำบัดแบบ SKT นั้น มีทั้งหมด 7 ท่า คือ ท่าที่ 1 นั่งผ่อนคลาย ประสานกายประสานจิต ท่าที่ 2 คือ ยืนผ่อนคลาย ประสานกาย ประสานจิต ท่าที่ 3 คือ นั่งยืด เหยียดผ่อนคลาย ท่าที่ 4ก้าวย่างอย่างไทย ท่าที่ 5ยืดเหยียดอย่างไทย ท่าที่ 6 เทคนิคการฝึกสมาธิการเยียวยาไทยโดยการนอน ท่าที่ 7 เทคนิคสมาธิเคลื่อนไหวไทยชีกง ทั้งหมดจะเน้นการฝึกสมาธิ กำหนดลมหายใจเป็นหลัก หากประชาชนสนใจเทคนิคดังกล่าวสามารถสอบถามมาได้ที่กรมฯ โทร. 0-2149-5636” อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (1 ก.ค.) นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แถลงข่าว “สวดมนต์ 15 นาที ชีวีมีสุข ครอบครัวสุขสันต์ รับกุศล เข้าพรรษา” ว่า คนไทยป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น โดยปี 2556 มีจำนวนถึง 2.5 ล้านคน เสียชีวิตปีละกว่า 1.2 แสนคน ไม่รวมคนไข้ที่มีปัญหาทางจิตผิดปกติปีละ 1 ล้านคนเศษ ต้องใช้ยาจากต่างประเทศปีละกว่า 100,000 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพประมาณ 4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของชาติ ทั้งนี้ การสวดมนต์ถือเป็นศาสตร์การแพทย์ทางเลือกทางหนึ่งในการบำบัดโรคที่ไม่ใช้ยา ไม่เพียงบำบัดโรคทางใจเท่านั้น แต่ทางกายก็ได้ผลดีด้วย กรมฯจึงได้ร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กรมการศาสนา ลงนามบันทึกข้อตกลงขับเคลื่อนเชิญชวนประชาชนสวดมนต์บำบัดโรค เริ่มวันที่ 10 ก.ค. ณ บริเวณลานปฏิบัติธรรมวัดสังฆทาน จ.นนทบุรี ตั้งแต่เวลา 06.30 - 09.00 น. ตั้งเป้าประชาชนเข้าร่วม 1,199 คน ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่หน้างาน
นพ.ธวัชชัย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ กรมฯ ยังร่วมกับ พศ. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรมระดับจังหวัด และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทั่วประเทศกว่า 9,800 แห่ง ลงพื้นที่ประสานกับโรงเรียนในเขตชุมชนทุกแห่ง และวัดต่างๆ เพื่อเชิญชวนประชาชนและเด็กนักเรียน สวดมนต์ทุกวันๆ ละ 15 นาที ตลอดเข้าพรรษา 3 เดือน โดยอาจให้สวดมนต์ก่อนเลิกเรียน เพราะมองว่าการสวดมนต์ถือเป็นมนตราบำบัด หรือการสวดมนต์บำบัดโรคได้ อย่างเด็กนักเรียนจะช่วยให้มีสมาธิในการเรียน เป็นต้น
“การสวดมนต์บำบัด คือ หลักการหนึ่งของ Vibrational Therapy คือการใช้คุณสมบัติของคลื่นบางคลื่นมาบำบัดความเจ็บป่วย สำหรับการสวดมนต์ด้วยตัวเอง เป็นการเหนี่ยวนำตัวเอง ถือเป็นวิธีการที่ดีที่สุด เพราะหากใครสักคนคิดที่จะสวดมนต์ นั่นหมายความว่าเขากำลังมีความปรารถนาดีต่อตนเอง โดยวิธีการสวดมนต์ด้วยตนเองควรปฏิบัติดังนี้ 1. ไม่ควรสวดมนต์หลังกินอาหารทันที ควรทิ้งช่วงให้ร่างกายเริ่มผ่อนคลาย อาจเป็นเวลาก่อนเข้านอน หาสถานที่ที่เงียบสงบ 2.สวดบทสั้นๆ 3 - 4 พยางค์ โดยใช้เวลาประมาณ 10 - 15 นาทีขึ้นไป จะทำให้ร่างกายได้หลั่งสารซีโรโทนิน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาท ช่วยควบคุมความหิว อารมณ์ และความโกรธ โดยหากสวดมนต์ด้วยบทยาวๆ จะได้ความผ่อนคลายและความศรัทธา” อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ กล่าว
นพ.ธวัชชัย กล่าวด้วยว่า จากการติดตามกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วย 100,000 คน ใน รพ.สต. ทั่วประเทศ ที่มีอาการความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคเครียด โรคซึมเศร้า ปวดหัวไมเกรน และนอนไม่หลับ เป็นเวลา 6 ปี พบว่า หลังสวดมนต์ทุกวันร่วมกับนั่งสมาธิประมาณ 15 - 45 นาที และมีการทำโยคะบำบัด ซึ่ง รศ.สมพร กันทรดุษฎี อาจารย์ประจำภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล ได้พัฒนาขึ้นเป็นหลักสูตร “สมาธิบำบัดแบบ SKT” ผู้ป่วยเบาหวานที่ทานยาร่วมด้วย น้ำตาลลดลง จิตใจเข้มแข็งขึ้น ความดันโลหิตลดลง อาการเครียด นอนไม่หลับ ปวดหัวไมเกรนหายไป สอดคล้องกับงานวิจัยต่างประเทศในเรื่องการทำสมาธิ และการสวดมนต์ที่อ่านออกเสียง เนื่องจากคลื่นเสียงจะไปกระตุ้นสารความสุข และกดสารความทุกข์ลง
“สมาธิบำบัดแบบ SKT นั้น มีทั้งหมด 7 ท่า คือ ท่าที่ 1 นั่งผ่อนคลาย ประสานกายประสานจิต ท่าที่ 2 คือ ยืนผ่อนคลาย ประสานกาย ประสานจิต ท่าที่ 3 คือ นั่งยืด เหยียดผ่อนคลาย ท่าที่ 4ก้าวย่างอย่างไทย ท่าที่ 5ยืดเหยียดอย่างไทย ท่าที่ 6 เทคนิคการฝึกสมาธิการเยียวยาไทยโดยการนอน ท่าที่ 7 เทคนิคสมาธิเคลื่อนไหวไทยชีกง ทั้งหมดจะเน้นการฝึกสมาธิ กำหนดลมหายใจเป็นหลัก หากประชาชนสนใจเทคนิคดังกล่าวสามารถสอบถามมาได้ที่กรมฯ โทร. 0-2149-5636” อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่