คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยบางไหมว่าสมองของลูกวัยรุ่นคิดอะไร ทำไมลูกจึงตัดสินใจทำสิ่งนั้น ทำไมลูกไม่ยอมฟังสิ่งที่พ่อแม่พูดเลย ดูเหมือนลูกอยู่คนละโลกกับเรา พูดกันไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ว่าลูกใช้อะไรคิดจึงตัดสินใจแบบนั้น ดูเหมือนว่าความเข้าใจของเรากับลูกแทบจะเข้ากันไม่ได้เลย ทำอย่างไรดี หงุดหงิด กลุ้มใจสุดๆ
คงถึงเวลาแล้วที่คุณพ่อคุณแม่ต้องปล่อยวางสิ่งที่เรารักและหวงแหนที่สุด เลิกการควบคุมลูกที่เราปกป้องมาตลอดทั้งชีวิต การติดต่อสัมพันธ์ที่แสนยากลำบากนี้ ผู้เขียนอยากบอกว่าเป็นเรื่องราวธรรมดา แทบจะเรียกได้ว่าการตั้งป้อม หรือการมีความคิดเห็นที่แตกต่างของลูกวัยรุ่น หรือการทะเลาะที่ไม่มีเหตุผลเป็นเรื่องธรรมชาติของเด็กวัยนี้ เราในฐานะผู้ปกครองเราต้องชี้แนะ และสั่งสอน แต่ในบางครั้งสิ่งที่ลูกต้องการคือลูกต้องการเพียง เวลา หรือการฟังสิ่งที่ลูกพูด คำพูดเป็นสิ่งที่ต้องระวัดระวัง เพราะคำแนะนำกับลูกวัยรุ่นคนหนึ่ง อาจใช้ไม่ได้กับลูกอีกคน เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างและมีลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนกัน
จากการสัมภาษณ์เด็กวัยรุ่นว่า ถ้าเป็นได้หากต้องบอกคุณพ่อคุณแม่ 1 อย่าง อะไรคือสิ่งที่อยากบอก เพื่อที่จะให้คุณพ่อคุณแม่ฟังและเข้าใจ
1. เลิกยุ่งเกี่ยวกับชีวิตหนูสักที วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งร่างกายความคิดจิตใจ หลายครั้งที่เราจะรีบกระโดดเข้าไปช่วยลูกเมื่อเห็นลูกมีปัญหา การให้ความสนใจหรือใส่ใจลูกมากเกินไปจะทำให้ลูกรู้สึกว่าลูกมีอะไรผิดปกติ และแตกต่างไม่เหมือนลูกคนอื่น ดังนั้นก่อนที่จะก้าวเข้าไปช่วยลูกวัยรุ่น ให้เราถามตัวเองว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นแล้วจริงๆถึงเวลาหรือยังที่เราต้องกระโดดเข้าไปช่วย สิ่งนี้เป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องถูกกฎหมายหรือเป็นเรื่องความปลอดภัยของลูกหรือเปล่า แทนที่เราจะกระโดดเข้าไปช่วยให้เราพูดว่า แม่เสียใจที่ลูกต้องเผชิญกับสิ่งเหล่านี้ ตอนนี้มีอะไรที่พ่อกับแม่สามารถช่วยได้ไหม ให้เราหาทุกโอกาสที่จะสื่อสารกับลูกวัยรุ่น ทำให้ลูกมั่นใจว่าเขาสามารถแก้ปัญหานั้นๆได้ด้วยตัวเอง และเราจะยืนอยู่ตรงนั้นเสมอที่ลูกจะวิ่งเข้าไปหาเมื่อไหร่ก็ได้ ให้เราถามตัวเองว่าเรากำลังทำสิ่งที่ลูกสามารถทำเองได้หรือไม่
2. คิดถึงใจหนูบ้าง หากมีคนจ้างให้เรากลับไปใช้ชีวิตวัยรุ่น หลายคนอาจปฎิเสธ เพราะอาจเป็นช่วงเวลาแห่งความเจ็บปวด ให้เราย้อนคิดกลับไปในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต ช่วงวัยรุ่นที่ไม่มีใครเข้าใจเรา การทะเลาะกับคุณพ่อคุณแม่ ความกดดันจากเพื่อน อกหัก เพื่อนไม่คบ เป็นสิว การบ้านที่เยอะแยะ ต้องรับคำสั่งจากผู้ใหญ่คนโน้นคนนี้ ให้ทำนั่นนู่นนี่ตลอดเวลา เข้าสังคมไม่ได้ ถูกรังแก อาจมีมากกว่านั้นหรือน้อยกว่านั้น สิ่งที่เราเผชิญในสมัยวัยรุ่นเป็นสิ่งที่ลูกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ คิดถึงหัวอกเขาหัวอกเรา ให้เราคอยให้กำลังใจและช่วยเหลือลูกเมื่อลูกต้องการ
3. หนูอาจทำผิดพลาดหลายอย่าง แต่อย่าซ้ำเต็ม หรือพูดแล้วพูดอีกย้ำความผิดของหนู ไว้ใจหนูเถอะหนูเรียนรู้แล้ว อย่าพูดย้ำความผิดของหนูอีกเลย เราคงจำได้เมื่อเราทำผิด เรามักถูกตอกย้ำความผิดนั้น ซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่เสมอ เคล็ดลับที่ทำให้ครอบครัวมีความสุขคือ อย่านำข้อผิดพลาดเก่าๆมาพูดแล้วพูดอีก จงให้เกียรติ และไว้ใจลูก
4. บางทีการทำเลียนแบบคนอื่นมันใช้ไม่ได้กับหนู เราคงเคยได้ยินลูกวัยรุ่นพูดว่าหนูพยายามทำเลียนแบบคนอื่นแล้ว แต่หนูก็ยังทำไม่ได้ หลายครั้งลูกวัยรุ่นรู้สึกว่าไม่มีอะไรที่ใช้ได้ผล และพร้อมจะเลิกล้มความตั้งใจ ช่วงนี้แหละเป็นช่วงเวลาที่ลูกต้องการกำลังใจและอ้อมกอดของเราอยู่ ความหมดหวังของลูกดูเหมือนจะส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างทั้งหมด ลูกลงความโกรธและความผิดหวังกับคุณพ่อคุณแม่ น้องๆ แมวหมาในบ้าน ให้เราก้าวถอยออกมาจากความโกรธ และมรสุมเหล่านั้น อย่าเข้าไปหรือตกหลุมในสถานการณ์เหล่านั้น ลูกกำลังต้องการกำลังใจเป็นอย่างมากและพยายามใช้ทักษะที่เคยเรียนรู้มา ในการแก้ปัญหาซึ่งอาจต้องใช้เวลา การเผชิญกับการที่ต้องแก้ปัญหาเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย แต่เป็นขั้นตอนในชีวิตอย่างหนึ่งที่ทำให้เราโตขึ้น ชีวิตไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป
5. อย่าเปรียบเทียบหนูกับพี่หรือน้อง หนูเก่งคนละด้านกับน้อง หลายต่อหลายครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจเผลอเปรียบเทียบลูกคนหนึ่งกับลูกอีกคน ทำไมถึงไม่เก่งเหมือนพี่เขานะ พี่เขาได้ A ทุกวิชาเลย อย่าทำอย่างนั้นเพราะทุกคนมีความสามารถที่แตกต่างกัน มีพรสวรรค์มีจุดอ่อนและจุดแข็งที่แตกต่างกัน สิ่งที่ทำให้ลูกเจ็บใจมากที่สุดคือการเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น
6. ทำไมไม่ทำอะไรเพื่อหนูบ้าง คิดถึงหัวอกหนูบ้าง วัยรุ่นยังต้องการให้ทุกคนสนใจและมีตัวเองเป็นศูนย์กลางในขณะที่เราต้องการสอนลูกให้รู้จักให้ เห็นอกเห็นใจคนอื่น และเข้าใจหัวอกคนอื่น แต่บางครั้งสิ่งที่ลูกต้องการคือให้เข้าใจหัวอกของลูกบ้าง การกอดหรือแตะที่หัวไหล่เบาๆ และพูดเบาๆว่าพ่อแม่เข้าใจเป็นสิ่งเล็กๆที่มีค่ามาก
7. หยุดควบคุมหนูสักที ข้อนี้ค่อนข้างยากสำหรับตัวของคุณพ่อคุณแม่เพราะว่าการที่เราต้องเห็นลูกที่เรารักกำลังเลือกตัวเลือกที่ผิด ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย แต่การที่เรายอมให้ลูกได้เลือกตัวเลือกและรับผิดชอบนั้น ทำให้ลูกเรียนรู้ถึงความรับผิดชอบในอนาคต
ถึงแม้ว่าเราจะพยายามหลายล้านวิธีที่จะเข้าใจลูกวัยรุ่น แต่ลูกอาจพูดเพียงคำสั้นว่า สิ่งที่หนูต้องการคือการที่คุณพ่อคุณแม่จะ"ฟังหนูและเข้าใจที่หนูบ้าง" เราอาจจะหยุดสักครู่ แล้วถามอย่างใจเย็นกับลูกบ้างว่า พ่อแม่ก็อยากถามคำถามนั้นกับไปกับลูกเหมือนกัน พยายามเข้าใจลูก และฟังลูกอย่างตั้งใจ เราอาจแปลกใจกับสิ่งที่ลูกตอบสนองกลับมาก็ได้ ไม่ง่ายค่ะ แต่ก็คงไม่ยากเกินไป เป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวเสมอค่ะ
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.empoweringparents.com/inside-your-teens-brain-7-things-your-teenager-really-wants-you-to-know.php#ixzz35C1wX4FS
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
คงถึงเวลาแล้วที่คุณพ่อคุณแม่ต้องปล่อยวางสิ่งที่เรารักและหวงแหนที่สุด เลิกการควบคุมลูกที่เราปกป้องมาตลอดทั้งชีวิต การติดต่อสัมพันธ์ที่แสนยากลำบากนี้ ผู้เขียนอยากบอกว่าเป็นเรื่องราวธรรมดา แทบจะเรียกได้ว่าการตั้งป้อม หรือการมีความคิดเห็นที่แตกต่างของลูกวัยรุ่น หรือการทะเลาะที่ไม่มีเหตุผลเป็นเรื่องธรรมชาติของเด็กวัยนี้ เราในฐานะผู้ปกครองเราต้องชี้แนะ และสั่งสอน แต่ในบางครั้งสิ่งที่ลูกต้องการคือลูกต้องการเพียง เวลา หรือการฟังสิ่งที่ลูกพูด คำพูดเป็นสิ่งที่ต้องระวัดระวัง เพราะคำแนะนำกับลูกวัยรุ่นคนหนึ่ง อาจใช้ไม่ได้กับลูกอีกคน เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างและมีลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนกัน
จากการสัมภาษณ์เด็กวัยรุ่นว่า ถ้าเป็นได้หากต้องบอกคุณพ่อคุณแม่ 1 อย่าง อะไรคือสิ่งที่อยากบอก เพื่อที่จะให้คุณพ่อคุณแม่ฟังและเข้าใจ
1. เลิกยุ่งเกี่ยวกับชีวิตหนูสักที วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งร่างกายความคิดจิตใจ หลายครั้งที่เราจะรีบกระโดดเข้าไปช่วยลูกเมื่อเห็นลูกมีปัญหา การให้ความสนใจหรือใส่ใจลูกมากเกินไปจะทำให้ลูกรู้สึกว่าลูกมีอะไรผิดปกติ และแตกต่างไม่เหมือนลูกคนอื่น ดังนั้นก่อนที่จะก้าวเข้าไปช่วยลูกวัยรุ่น ให้เราถามตัวเองว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นแล้วจริงๆถึงเวลาหรือยังที่เราต้องกระโดดเข้าไปช่วย สิ่งนี้เป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องถูกกฎหมายหรือเป็นเรื่องความปลอดภัยของลูกหรือเปล่า แทนที่เราจะกระโดดเข้าไปช่วยให้เราพูดว่า แม่เสียใจที่ลูกต้องเผชิญกับสิ่งเหล่านี้ ตอนนี้มีอะไรที่พ่อกับแม่สามารถช่วยได้ไหม ให้เราหาทุกโอกาสที่จะสื่อสารกับลูกวัยรุ่น ทำให้ลูกมั่นใจว่าเขาสามารถแก้ปัญหานั้นๆได้ด้วยตัวเอง และเราจะยืนอยู่ตรงนั้นเสมอที่ลูกจะวิ่งเข้าไปหาเมื่อไหร่ก็ได้ ให้เราถามตัวเองว่าเรากำลังทำสิ่งที่ลูกสามารถทำเองได้หรือไม่
2. คิดถึงใจหนูบ้าง หากมีคนจ้างให้เรากลับไปใช้ชีวิตวัยรุ่น หลายคนอาจปฎิเสธ เพราะอาจเป็นช่วงเวลาแห่งความเจ็บปวด ให้เราย้อนคิดกลับไปในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต ช่วงวัยรุ่นที่ไม่มีใครเข้าใจเรา การทะเลาะกับคุณพ่อคุณแม่ ความกดดันจากเพื่อน อกหัก เพื่อนไม่คบ เป็นสิว การบ้านที่เยอะแยะ ต้องรับคำสั่งจากผู้ใหญ่คนโน้นคนนี้ ให้ทำนั่นนู่นนี่ตลอดเวลา เข้าสังคมไม่ได้ ถูกรังแก อาจมีมากกว่านั้นหรือน้อยกว่านั้น สิ่งที่เราเผชิญในสมัยวัยรุ่นเป็นสิ่งที่ลูกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ คิดถึงหัวอกเขาหัวอกเรา ให้เราคอยให้กำลังใจและช่วยเหลือลูกเมื่อลูกต้องการ
3. หนูอาจทำผิดพลาดหลายอย่าง แต่อย่าซ้ำเต็ม หรือพูดแล้วพูดอีกย้ำความผิดของหนู ไว้ใจหนูเถอะหนูเรียนรู้แล้ว อย่าพูดย้ำความผิดของหนูอีกเลย เราคงจำได้เมื่อเราทำผิด เรามักถูกตอกย้ำความผิดนั้น ซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่เสมอ เคล็ดลับที่ทำให้ครอบครัวมีความสุขคือ อย่านำข้อผิดพลาดเก่าๆมาพูดแล้วพูดอีก จงให้เกียรติ และไว้ใจลูก
4. บางทีการทำเลียนแบบคนอื่นมันใช้ไม่ได้กับหนู เราคงเคยได้ยินลูกวัยรุ่นพูดว่าหนูพยายามทำเลียนแบบคนอื่นแล้ว แต่หนูก็ยังทำไม่ได้ หลายครั้งลูกวัยรุ่นรู้สึกว่าไม่มีอะไรที่ใช้ได้ผล และพร้อมจะเลิกล้มความตั้งใจ ช่วงนี้แหละเป็นช่วงเวลาที่ลูกต้องการกำลังใจและอ้อมกอดของเราอยู่ ความหมดหวังของลูกดูเหมือนจะส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างทั้งหมด ลูกลงความโกรธและความผิดหวังกับคุณพ่อคุณแม่ น้องๆ แมวหมาในบ้าน ให้เราก้าวถอยออกมาจากความโกรธ และมรสุมเหล่านั้น อย่าเข้าไปหรือตกหลุมในสถานการณ์เหล่านั้น ลูกกำลังต้องการกำลังใจเป็นอย่างมากและพยายามใช้ทักษะที่เคยเรียนรู้มา ในการแก้ปัญหาซึ่งอาจต้องใช้เวลา การเผชิญกับการที่ต้องแก้ปัญหาเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย แต่เป็นขั้นตอนในชีวิตอย่างหนึ่งที่ทำให้เราโตขึ้น ชีวิตไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป
5. อย่าเปรียบเทียบหนูกับพี่หรือน้อง หนูเก่งคนละด้านกับน้อง หลายต่อหลายครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจเผลอเปรียบเทียบลูกคนหนึ่งกับลูกอีกคน ทำไมถึงไม่เก่งเหมือนพี่เขานะ พี่เขาได้ A ทุกวิชาเลย อย่าทำอย่างนั้นเพราะทุกคนมีความสามารถที่แตกต่างกัน มีพรสวรรค์มีจุดอ่อนและจุดแข็งที่แตกต่างกัน สิ่งที่ทำให้ลูกเจ็บใจมากที่สุดคือการเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น
6. ทำไมไม่ทำอะไรเพื่อหนูบ้าง คิดถึงหัวอกหนูบ้าง วัยรุ่นยังต้องการให้ทุกคนสนใจและมีตัวเองเป็นศูนย์กลางในขณะที่เราต้องการสอนลูกให้รู้จักให้ เห็นอกเห็นใจคนอื่น และเข้าใจหัวอกคนอื่น แต่บางครั้งสิ่งที่ลูกต้องการคือให้เข้าใจหัวอกของลูกบ้าง การกอดหรือแตะที่หัวไหล่เบาๆ และพูดเบาๆว่าพ่อแม่เข้าใจเป็นสิ่งเล็กๆที่มีค่ามาก
7. หยุดควบคุมหนูสักที ข้อนี้ค่อนข้างยากสำหรับตัวของคุณพ่อคุณแม่เพราะว่าการที่เราต้องเห็นลูกที่เรารักกำลังเลือกตัวเลือกที่ผิด ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย แต่การที่เรายอมให้ลูกได้เลือกตัวเลือกและรับผิดชอบนั้น ทำให้ลูกเรียนรู้ถึงความรับผิดชอบในอนาคต
ถึงแม้ว่าเราจะพยายามหลายล้านวิธีที่จะเข้าใจลูกวัยรุ่น แต่ลูกอาจพูดเพียงคำสั้นว่า สิ่งที่หนูต้องการคือการที่คุณพ่อคุณแม่จะ"ฟังหนูและเข้าใจที่หนูบ้าง" เราอาจจะหยุดสักครู่ แล้วถามอย่างใจเย็นกับลูกบ้างว่า พ่อแม่ก็อยากถามคำถามนั้นกับไปกับลูกเหมือนกัน พยายามเข้าใจลูก และฟังลูกอย่างตั้งใจ เราอาจแปลกใจกับสิ่งที่ลูกตอบสนองกลับมาก็ได้ ไม่ง่ายค่ะ แต่ก็คงไม่ยากเกินไป เป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวเสมอค่ะ
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.empoweringparents.com/inside-your-teens-brain-7-things-your-teenager-really-wants-you-to-know.php#ixzz35C1wX4FS
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่