โพลชี้เด็กตั้งใจเรียนกวดวิชา “ภาษาไทย” มากที่สุด เลือกเรียน 3-5 วันต่อสัปดาห์ถึง 46.68% เหตุไม่เข้าใจที่ครูสอนในห้อง 80.87% อยากผลการเรียนดีขึ้น 73.27% เกือบครึ่งเชื่อช่วยให้คะแนนสอบวิชานั้นดีขึ้น แต่ทำให้มีสมาธิในการเรียนในชั้นน้อยลง เกินครึ่งระบุทำให้เครียดมากขึ้น
สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ระดับอุดมศึกษา สำรวจความคิดเห็นต่อการเรียนกวดวิชานอกเวลาเรียนของนักเรียน นักศึกษาไทยในเขต กทม.และปริมณฑล จากกลุ่มตัวอย่าง 1,116 คน พบว่า ร้อยละ 61.29 เคยเรียนกวดวิชานอกเวลาเรียน ร้อยละ 66.04 ระบุว่า ในปีการศึกษา 2557 ตนเองจะเรียนกวดวิชานอกเวลาเรียน และร้อยละ 33.96 ระบุว่าจะไม่เรียน ทั้งนี้ ในกลุ่มที่ตั้งใจจะเรียนกวดวิชานั้น ร้อยละ 54.68 ตั้งใจจะเรียนที่สถานกวดวิชา ร้อยละ 22.93 ให้ครูอาจารย์มาสอนที่บ้านคิด ส่วนวิชาที่ตั้งใจจะเรียนกวดวิชาคือ ภาษาไทย ร้อยละ 83.04 สังคมศึกษา ร้อยละ 81.55 ภาษาอังกฤษ ร้อยละ 79.65 คณิตศาสตร์ ร้อยละ 76.66 และเคมีร้อยละ 73.68
ทั้งนี้ ร้อยละ 46.68 ตั้งใจจะเรียนกวดวิชา 3 - 5 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 30.66 ตั้งใจจะเรียน 6 - 7 วันต่อสัปดาห์ สาเหตุที่ตั้งใจจะเรียนกวดวิชาคือ เตรียมพร้อมเพื่อสอบในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น ร้อยละ 82.5 ไม่เข้าใจที่ครูอาจารย์สอนในชั้นเรียน ร้อยละ 80.87 สิ่งที่เรียนในชั้นเรียนยังไม่เพียงพอ ร้อยละ 78.29 เพื่อนฝูงชักชวนให้เรียนด้วยกัน ร้อยละ 76.26 และต้องการให้ผลการเรียนดีขึ้น ร้อยละ 73.27 ส่วนสาเหตุที่ไม่เรียนกวดวิชาคือ อยากพักผ่อนหลังเวลาเรียนร้อยละ 82.85 ขี้เกียจเรียนร้อยละ 81.53 ไม่ชอบการเรียนกวดวิชา ร้อยละ 77.84 สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ร้อยละ 75.99 และไม่มีเพื่อนเรียนด้วย ร้อยละ 70.45
เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการเรียนกวดวิชา ร้อยละ 47.94 เห็นว่า จะช่วยให้นักเรียนนักศึกษาทำข้อสอบในวิชานั้นๆ ได้คะแนนดีขึ้นได้จริง และร้อยละ 45.88 จะช่วยทำให้นักเรียนนักศึกษามีทักษะความรู้ในวิชานั้นๆ เพิ่มขึ้นได้จริง โดยร้อยละ 48.03 เห็นว่าการเรียนกวดวิชาทำให้นักเรียนนักศึกษามีสมาธิในการเรียนในชั้นเรียนน้อยลง ร้อยละ 47.13 เห็นว่าทำให้สนใจทำกิจกรรมในชั้นเรียนน้อยลง และร้อยละ 50.81 เห็นว่าการกวดวิชาส่งผลให้มีความเครียดมากขึ้น ร้อยละ 52.06 เห็นว่าการกวดวิชาทำให้มีเวลาพักผ่อนน้อยลง แต่เห็นว่ามีความจำเป็นถึงร้อยละ 47.22
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ระดับอุดมศึกษา สำรวจความคิดเห็นต่อการเรียนกวดวิชานอกเวลาเรียนของนักเรียน นักศึกษาไทยในเขต กทม.และปริมณฑล จากกลุ่มตัวอย่าง 1,116 คน พบว่า ร้อยละ 61.29 เคยเรียนกวดวิชานอกเวลาเรียน ร้อยละ 66.04 ระบุว่า ในปีการศึกษา 2557 ตนเองจะเรียนกวดวิชานอกเวลาเรียน และร้อยละ 33.96 ระบุว่าจะไม่เรียน ทั้งนี้ ในกลุ่มที่ตั้งใจจะเรียนกวดวิชานั้น ร้อยละ 54.68 ตั้งใจจะเรียนที่สถานกวดวิชา ร้อยละ 22.93 ให้ครูอาจารย์มาสอนที่บ้านคิด ส่วนวิชาที่ตั้งใจจะเรียนกวดวิชาคือ ภาษาไทย ร้อยละ 83.04 สังคมศึกษา ร้อยละ 81.55 ภาษาอังกฤษ ร้อยละ 79.65 คณิตศาสตร์ ร้อยละ 76.66 และเคมีร้อยละ 73.68
ทั้งนี้ ร้อยละ 46.68 ตั้งใจจะเรียนกวดวิชา 3 - 5 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 30.66 ตั้งใจจะเรียน 6 - 7 วันต่อสัปดาห์ สาเหตุที่ตั้งใจจะเรียนกวดวิชาคือ เตรียมพร้อมเพื่อสอบในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น ร้อยละ 82.5 ไม่เข้าใจที่ครูอาจารย์สอนในชั้นเรียน ร้อยละ 80.87 สิ่งที่เรียนในชั้นเรียนยังไม่เพียงพอ ร้อยละ 78.29 เพื่อนฝูงชักชวนให้เรียนด้วยกัน ร้อยละ 76.26 และต้องการให้ผลการเรียนดีขึ้น ร้อยละ 73.27 ส่วนสาเหตุที่ไม่เรียนกวดวิชาคือ อยากพักผ่อนหลังเวลาเรียนร้อยละ 82.85 ขี้เกียจเรียนร้อยละ 81.53 ไม่ชอบการเรียนกวดวิชา ร้อยละ 77.84 สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ร้อยละ 75.99 และไม่มีเพื่อนเรียนด้วย ร้อยละ 70.45
เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการเรียนกวดวิชา ร้อยละ 47.94 เห็นว่า จะช่วยให้นักเรียนนักศึกษาทำข้อสอบในวิชานั้นๆ ได้คะแนนดีขึ้นได้จริง และร้อยละ 45.88 จะช่วยทำให้นักเรียนนักศึกษามีทักษะความรู้ในวิชานั้นๆ เพิ่มขึ้นได้จริง โดยร้อยละ 48.03 เห็นว่าการเรียนกวดวิชาทำให้นักเรียนนักศึกษามีสมาธิในการเรียนในชั้นเรียนน้อยลง ร้อยละ 47.13 เห็นว่าทำให้สนใจทำกิจกรรมในชั้นเรียนน้อยลง และร้อยละ 50.81 เห็นว่าการกวดวิชาส่งผลให้มีความเครียดมากขึ้น ร้อยละ 52.06 เห็นว่าการกวดวิชาทำให้มีเวลาพักผ่อนน้อยลง แต่เห็นว่ามีความจำเป็นถึงร้อยละ 47.22
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่