กพร.จัดโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานเป็นปีที่ 2 งบ 75 ล้านบาท ตั้งเป้าดำเนินการในกลุ่มเอสเอ็มอี 200 แห่งใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อรองรับเอซี เริ่มตั้งแต่ มี.ค.-ก.ย.นี้
นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กพร.มีนโยบายในการส่งเสริมให้สถานประกอบการพัฒนาศักยภาพการผลิตและการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพการผลิตของผู้ประกอบการ ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้และเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้แก่สถานประกอบการ จึงจัดโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานตามความต้องการของสถานประกอบการขึ้น ซึ่งปีนี้ กพร.ได้รับงบจากรัฐบาลดำเนินโครงการเป็นที่ 2 เป็นเงิน 75 ล้านบาท จะดำเนินการในสถานประกอบการทั่วประเทศ 200 แห่งกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีใน 10 อุตสาหกรรม ได้แก่ อาหาร, สินค้าเกษตร, ยานยนต์/ชิ้นส่วน/โลหะ, ท่องเที่ยว/บริการ, เฟอร์นิเจอร์, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์/คอมพิวเตอร์/ผลิตภัณฑ์สุขภาพ, ก่อสร้าง, อัญมณี/เครื่องประดับและโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศและมีการเติบโตสูงเพื่อเตรียมพร้อมรองรับประชาคมอาเซียน (เอซี)
อธิบดี กพร.กล่าวอีกว่า กพร.จะเริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่เดือน มี.ค.-ก.ย.นี้โดยได้สั่งการให้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค (สพภ.) เป็นเจ้าภาพบริหารจัดการโครงการและงบประมาณแต่ละภาคและให้ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด (ศพจ.) แต่ละจังหวัดออกสำรวจความต้องการลดต้นทุน รวมทั้งประสานกับสถานประกอบการเพื่อขับเคลื่อนในการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และการดำเนินโครงการในปีนี้ จะมีที่ปรึกษา เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ช่วยดูแลเอสเอ็มอีในพื้นที่ภาคกลาง ม.ขอนแก่น ช่วยดูแลในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งโครงการปีนี้จะทำเช่นเดิมคือมีคณะกรรมการลงไปติดตามประเมินผลว่า หลังจากสถานประกอบการแต่ละแห่งลดต้นทุนการผลิตเช่น ค่าไฟฟ้า น้ำประปาได้เท่าไหร่ และเพิ่มผลิตภาพแรงงานได้เท่าไหร่เพราะนอกธุรกิจเอสเอ็มอีได้ความรู้ทางวิชาการไปแล้ว จะต้องนำไปใช้ปรับปรุงกิจการด้วย
“การดำเนินโครงการเน้น 4 กระบวนการหลักคือ การลดความสูญเสียในวงจรการผลิตด้วยการควบคุมคุณภาพโดยใช้หลักการทางสถิติ, การวางแผนความต้องการสินค้าของลูกค้าหรือการวางแผนการผลิตหรือการจัดตารางการผลิต, การเพิ่มผลิตภาพแรงงานโดยใช้การวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการผลิตและการควบคุมสินค้าคงคลังหรือการจัดการคลังสินค้าโดยปีที่แล้ว กพร.ได้รับงบจากรัฐบาล 12 ล้านบาท และมีสถานประกอบการใน 8 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เข้าร่วมทั้งหมด 18 แห่ง เช่น ผู้ประกอบการน้ำตาล โรงพิมพ์ เซรามิก ผลดำเนินโครงการภาพรวมช่วยลดต้นทุนการผลิต ต้นทุนของเสีย ต้นทุนพลังงาน เช่น ค่าไฟฟ้า น้ำประปาและต้นทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 192 ล้านบาท”นายนคร กล่าว
นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กพร.มีนโยบายในการส่งเสริมให้สถานประกอบการพัฒนาศักยภาพการผลิตและการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพการผลิตของผู้ประกอบการ ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้และเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้แก่สถานประกอบการ จึงจัดโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานตามความต้องการของสถานประกอบการขึ้น ซึ่งปีนี้ กพร.ได้รับงบจากรัฐบาลดำเนินโครงการเป็นที่ 2 เป็นเงิน 75 ล้านบาท จะดำเนินการในสถานประกอบการทั่วประเทศ 200 แห่งกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีใน 10 อุตสาหกรรม ได้แก่ อาหาร, สินค้าเกษตร, ยานยนต์/ชิ้นส่วน/โลหะ, ท่องเที่ยว/บริการ, เฟอร์นิเจอร์, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์/คอมพิวเตอร์/ผลิตภัณฑ์สุขภาพ, ก่อสร้าง, อัญมณี/เครื่องประดับและโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศและมีการเติบโตสูงเพื่อเตรียมพร้อมรองรับประชาคมอาเซียน (เอซี)
อธิบดี กพร.กล่าวอีกว่า กพร.จะเริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่เดือน มี.ค.-ก.ย.นี้โดยได้สั่งการให้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค (สพภ.) เป็นเจ้าภาพบริหารจัดการโครงการและงบประมาณแต่ละภาคและให้ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด (ศพจ.) แต่ละจังหวัดออกสำรวจความต้องการลดต้นทุน รวมทั้งประสานกับสถานประกอบการเพื่อขับเคลื่อนในการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และการดำเนินโครงการในปีนี้ จะมีที่ปรึกษา เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ช่วยดูแลเอสเอ็มอีในพื้นที่ภาคกลาง ม.ขอนแก่น ช่วยดูแลในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งโครงการปีนี้จะทำเช่นเดิมคือมีคณะกรรมการลงไปติดตามประเมินผลว่า หลังจากสถานประกอบการแต่ละแห่งลดต้นทุนการผลิตเช่น ค่าไฟฟ้า น้ำประปาได้เท่าไหร่ และเพิ่มผลิตภาพแรงงานได้เท่าไหร่เพราะนอกธุรกิจเอสเอ็มอีได้ความรู้ทางวิชาการไปแล้ว จะต้องนำไปใช้ปรับปรุงกิจการด้วย
“การดำเนินโครงการเน้น 4 กระบวนการหลักคือ การลดความสูญเสียในวงจรการผลิตด้วยการควบคุมคุณภาพโดยใช้หลักการทางสถิติ, การวางแผนความต้องการสินค้าของลูกค้าหรือการวางแผนการผลิตหรือการจัดตารางการผลิต, การเพิ่มผลิตภาพแรงงานโดยใช้การวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการผลิตและการควบคุมสินค้าคงคลังหรือการจัดการคลังสินค้าโดยปีที่แล้ว กพร.ได้รับงบจากรัฐบาล 12 ล้านบาท และมีสถานประกอบการใน 8 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เข้าร่วมทั้งหมด 18 แห่ง เช่น ผู้ประกอบการน้ำตาล โรงพิมพ์ เซรามิก ผลดำเนินโครงการภาพรวมช่วยลดต้นทุนการผลิต ต้นทุนของเสีย ต้นทุนพลังงาน เช่น ค่าไฟฟ้า น้ำประปาและต้นทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 192 ล้านบาท”นายนคร กล่าว