กพร.เตรียมคลอดหลักสูตรยกระดับฝีมือแรงงาน 6 กลุ่มอาชีพพัฒนาด้านท่องเที่ยวอิงเกณฑ์มาตรฐานเออีซี หวังประเทศกลุ่มอาเซียนนำไปใช้-ดันเป็นมาตรฐานกลาง
วันนี้ (19 มี.ค) นายวิษณุ ปาณวร รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กล่าวในการเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การพิจารณาหลักสูตรยกระดับฝีมือแรงงานตามมาตรฐานสมรรถนะร่วมวิชาชีพ สำหรับการท่องเที่ยวอาเซียน ที่โรงแรมเมอเคียว ฟอร์จูน รัชดา โดยมีผู้จัดทำร่างหลักสูตร ตัวแทนสมาคมวิชาชีพ สถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกว่า 50 คน ว่า กพร.มีนโยบายพัฒนาหลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานด้านท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งสอดคล้องกับคุณสมบัติวิชาชีพการท่องเที่ยวอาเซียน (เอ็มอาร์เอ) เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) จึงได้ตั้งอนุกรรมการขึ้นมา 6 ชุด เพื่อจัดทำร่างหลักสูตรใน 6 กลุ่มอาชีพ จำนวน 34 ตำแหน่งงาน รวม 34 หลักสูตร ได้แก่ กลุ่มอาชีพแม่บ้าน กลุ่มอาชีพพนักงานต้อนรับส่วนหน้า กลุ่มอาชีพผู้ผลิตอาหาร กลุ่มอาชีพพนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มอาชีพบริหารธุรกิจนำเที่ยวและกลุ่มอาชีพธุรกิจนำเที่ยว
รองอธิบดี กพร.กล่าวต่อว่า การสัมมนาในวันนี้จะมีการระดมความคิดเห็นผู้จัดทำหลักสูตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงร่างหลักสูตรให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จากนั้นจะนำเข้าสู่อนุกรรมการทั้ง 6 ชุด ก่อนเสนอต่อคณะกรรมการการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) หากคณะกรรมการเห็นชอบก็จะเสนอต่อ นายนคร ศิลปอาชา อธิบดี กพร.เพื่อให้ลงนามประกาศใช้ต่อไป ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถประกาศใช้ได้ในเดือนกันยายนนี้และสามารถเริ่มใช้หลักสูตรได้ในเดือนตุลาคม ซึ่งหน่วยงานสังกัด กพร.สมาคมวิชาชีพ และผู้ประกอบการสามารถนำหลักสูตรนี้ไปใช้ได้
นายวิษณุ กล่าวอีกว่า หลักสูตรแต่ละกลุ่มอาชีพจะประกอบด้วยสมรรถนะหลัก สมรรถนะทั่วไป และสมรรถนะตามหน้าที่ เช่น ในตำแหน่งผู้จัดการห้องอาหารและเครื่องดื่ม สมรรถนะหลักที่ต้องมีคือ การทำงานเป็นทีม ความรู้ด้านอุตสาหกรรมบริการ สมรรถนะทั่วไป อย่างการสื่อสารทางโทรศัพท์อย่างมีประสิทธิภาพ การบริการอาหารและเครื่องดื่ม ส่วนสมรรถนะตามหน้าที่คือ การจัดการด้านงบประมาณ การควบคุมคุณภาพในการประกอบอาหาร การฝึกสอนพนักงาน เป็นต้น หากแรงงานผ่านการอบรมก็จะได้รับใบรับรองตามมาตรฐานวิชาชีพ
“หากทำร่างหลักสูตรทั้ง 6 กลุ่มแล้วเสร็จ เชื่อว่าไทยจะมีความก้าวหน้าในการพัฒนาแรงงานด้านท่องเที่ยวมากกว่าประเทศอื่นๆ จะเป็นประโยชน์ต่อไทยในการคัดกรองแรงงานฝีมือต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานในไทย ขณะเดียวกันก็จะเป็นประโยชน์กับประเทศอื่นๆ ซึ่งไทยยินดีให้นำหลักสูตรนี้ไปใช้ในการอบรมพัฒนาแรงงานในประเทศได้ อนาคตหากมีการใช้หลักสูตรนี้เกิน 6 ประเทศ มาตรฐานฝีมือด้านการท่องเที่ยวและบริการของไทยก็จะมีโอกาสได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐานกลางของอาเซียน” รองอธิบดี กพร.กล่าว
วันนี้ (19 มี.ค) นายวิษณุ ปาณวร รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กล่าวในการเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การพิจารณาหลักสูตรยกระดับฝีมือแรงงานตามมาตรฐานสมรรถนะร่วมวิชาชีพ สำหรับการท่องเที่ยวอาเซียน ที่โรงแรมเมอเคียว ฟอร์จูน รัชดา โดยมีผู้จัดทำร่างหลักสูตร ตัวแทนสมาคมวิชาชีพ สถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกว่า 50 คน ว่า กพร.มีนโยบายพัฒนาหลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานด้านท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งสอดคล้องกับคุณสมบัติวิชาชีพการท่องเที่ยวอาเซียน (เอ็มอาร์เอ) เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) จึงได้ตั้งอนุกรรมการขึ้นมา 6 ชุด เพื่อจัดทำร่างหลักสูตรใน 6 กลุ่มอาชีพ จำนวน 34 ตำแหน่งงาน รวม 34 หลักสูตร ได้แก่ กลุ่มอาชีพแม่บ้าน กลุ่มอาชีพพนักงานต้อนรับส่วนหน้า กลุ่มอาชีพผู้ผลิตอาหาร กลุ่มอาชีพพนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มอาชีพบริหารธุรกิจนำเที่ยวและกลุ่มอาชีพธุรกิจนำเที่ยว
รองอธิบดี กพร.กล่าวต่อว่า การสัมมนาในวันนี้จะมีการระดมความคิดเห็นผู้จัดทำหลักสูตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงร่างหลักสูตรให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จากนั้นจะนำเข้าสู่อนุกรรมการทั้ง 6 ชุด ก่อนเสนอต่อคณะกรรมการการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) หากคณะกรรมการเห็นชอบก็จะเสนอต่อ นายนคร ศิลปอาชา อธิบดี กพร.เพื่อให้ลงนามประกาศใช้ต่อไป ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถประกาศใช้ได้ในเดือนกันยายนนี้และสามารถเริ่มใช้หลักสูตรได้ในเดือนตุลาคม ซึ่งหน่วยงานสังกัด กพร.สมาคมวิชาชีพ และผู้ประกอบการสามารถนำหลักสูตรนี้ไปใช้ได้
นายวิษณุ กล่าวอีกว่า หลักสูตรแต่ละกลุ่มอาชีพจะประกอบด้วยสมรรถนะหลัก สมรรถนะทั่วไป และสมรรถนะตามหน้าที่ เช่น ในตำแหน่งผู้จัดการห้องอาหารและเครื่องดื่ม สมรรถนะหลักที่ต้องมีคือ การทำงานเป็นทีม ความรู้ด้านอุตสาหกรรมบริการ สมรรถนะทั่วไป อย่างการสื่อสารทางโทรศัพท์อย่างมีประสิทธิภาพ การบริการอาหารและเครื่องดื่ม ส่วนสมรรถนะตามหน้าที่คือ การจัดการด้านงบประมาณ การควบคุมคุณภาพในการประกอบอาหาร การฝึกสอนพนักงาน เป็นต้น หากแรงงานผ่านการอบรมก็จะได้รับใบรับรองตามมาตรฐานวิชาชีพ
“หากทำร่างหลักสูตรทั้ง 6 กลุ่มแล้วเสร็จ เชื่อว่าไทยจะมีความก้าวหน้าในการพัฒนาแรงงานด้านท่องเที่ยวมากกว่าประเทศอื่นๆ จะเป็นประโยชน์ต่อไทยในการคัดกรองแรงงานฝีมือต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานในไทย ขณะเดียวกันก็จะเป็นประโยชน์กับประเทศอื่นๆ ซึ่งไทยยินดีให้นำหลักสูตรนี้ไปใช้ในการอบรมพัฒนาแรงงานในประเทศได้ อนาคตหากมีการใช้หลักสูตรนี้เกิน 6 ประเทศ มาตรฐานฝีมือด้านการท่องเที่ยวและบริการของไทยก็จะมีโอกาสได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐานกลางของอาเซียน” รองอธิบดี กพร.กล่าว