สทท.หารือ กพร.ขอฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานภาคท่องเที่ยว-บริการช่วงการเมืองวุ่น ชี้จังหวะเหมาะเตรียมแรงงานรับเออีซี วอนรัฐบาลเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ห่วงฉุดท่องเที่ยวอ่วม อธิบดี กพร.ผุดไอเดียจัดสัมมนา-ประชุม แนะ ก.พ.แจกแพกเกจท่องเที่ยวตบรางวัลข้าราชการดีเด่น ช่วยภาคท่องเที่ยว
วันนี้ (11 ก.พ.) นางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) กล่าวภายหลังนำคณะผู้บริหารของ สทท.เข้าหารือกับนายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) และคณะผู้บริหารเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพแรงงานเพื่อลดผลกระทบด้านแรงงานและการท่องเที่ยวที่กระทรวงแรงงานว่า ขณะนี้เหตุการณ์ทางการเมืองและการประกาศใช้พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.) ทำให้ยอดนักท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียงที่ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 มีจำนวนลดลงถึง 1.5 ล้านคน รายได้ลดลง 8.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาได้ยื่นหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ขอให้ยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินโดยเร็วที่สุด เพราะมีผลทางด้านจิตวิทยาต่อนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะในแถบเอเชีย เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น และจีน ซึ่งมีนักท่องเที่ยวจีนหายไปในช่วงเทศกาลตรุษจีนถึง 4 แสนคน
“ไตรมาสแรกของปีนี้ นักท่องเที่ยวที่มาคือกลุ่มที่จองที่พักล่วงหน้า ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการยังไม่ซบเซามากนัก แต่ไตรมาสที่สองและสาม มีแนวโน้มว่านักท่องเที่ยวจะลดลงหากรัฐบาลยังคงพ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไป แต่หากสถานการณ์ทางการเมืองสามารถยุติได้ภายใน 2 เดือน ก็น่าจะทำให้นักท่องเที่ยวกลับมาเที่ยวและมีรายได้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้คือ 2.2 ล้านล้านบาท” นางปิยะมาน กล่าว
ประธาน สทท.กล่าวต่อไปว่า จากสถานการณ์ทำให้การท่องเที่ยวในไทยอยู่ในภาวะถดถอย จึงอยากใช้ช่วงเวลานี้ในการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยอยากขอให้ทาง กพร.จัดอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานด้านท่องเที่ยวและบริการ รวมทั้งยกระดับมาตรฐานฝีมือให้เป็นไปตามมาตรฐานฝีมือแรงงานอาเซียนสาขาท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งมีทั้งหมด 32 ตำแหน่งงาน เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (เอซี) นอกจากนี้ ขณะนี้ไม่มีการเลิกจ้างพนักงานประจำ จะเลิกจ้างเฉพาะพนักงานพาร์ตไทม์ โดยให้พนักงานประจำหมุนเวียนไปทำงานในจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวมาก รวมทั้งขอให้ กพร.ช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน เช่น มัคคุเทศก์ พนักงานขับรถบัส โดยในส่วนของโรงแรมอีก 3 ปีข้างหน้าจะขาดแคลนแรงงานในระดับปฏิบัติการ เช่น พนักงานทำความสะอาด แม่บ้าน พนักงานห้องครัว เป็นต้น ถึงปีละกว่า 1 แสนคน
นายนคร ศิลปอาชา อธิบดี กพร.กล่าวว่า ทาง กพร.ยินดีที่จะช่วยฝึกอบรมแรงงานภาคการท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถมาใช้สถานที่ของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคและศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ รวมทั้งสามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมมายื่นขอลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่าของค่าใช้จ่ายจริงตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส่งเสริมพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 ส่วนการแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน กพร.จะประสานไปยังกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อไปออกหน่วยบริการแนะนำอาชีพให้เด็กที่จบชั้น ม.3 ในต่างจังหวัด เช่น พะเยา น่าน เชียงราย ฯลฯ เพื่อดึงเด็กกลุ่มนี้มาเข้ารับการอบรมและเข้าสู่ตลาดแรงงานในภาคท่องเที่ยวและบริการ
“ในแต่ละปีหน่วยราชการต่างๆ มีงบประมาณในการอบรม ประชุมสัมมนาข้าราชการอยู่แล้ว สามารถใช้งบประมาณส่วนนี้มาช่วยภาคการท่องเที่ยวและบริการได้ โดยใช้โอกาสในช่วงนี้จัดประชุมสัมมนาในจังหวัดต่างๆ และไม่จัดซ้ำโรงแรมเดิม โดยอาจไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามแผนการใช้งบประมาณที่กำหนด ซึ่ง กพร.จะนำร่องในเรื่องนี้ อีกทั้งเห็นว่าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) น่าจะเปลี่ยนรางวัลข้าราชการที่ปฏิบัติงานดีเด่นของหน่วยงานต่างๆ จากการให้เงินโบนัสเป็นแพกเกจท่องเที่ยวภายในประเทศ เพื่อให้ข้าราชการได้พักผ่อนและช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในไทย” อธิบดี กพร.กล่าว
วันนี้ (11 ก.พ.) นางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) กล่าวภายหลังนำคณะผู้บริหารของ สทท.เข้าหารือกับนายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) และคณะผู้บริหารเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพแรงงานเพื่อลดผลกระทบด้านแรงงานและการท่องเที่ยวที่กระทรวงแรงงานว่า ขณะนี้เหตุการณ์ทางการเมืองและการประกาศใช้พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.) ทำให้ยอดนักท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียงที่ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 มีจำนวนลดลงถึง 1.5 ล้านคน รายได้ลดลง 8.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาได้ยื่นหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ขอให้ยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินโดยเร็วที่สุด เพราะมีผลทางด้านจิตวิทยาต่อนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะในแถบเอเชีย เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น และจีน ซึ่งมีนักท่องเที่ยวจีนหายไปในช่วงเทศกาลตรุษจีนถึง 4 แสนคน
“ไตรมาสแรกของปีนี้ นักท่องเที่ยวที่มาคือกลุ่มที่จองที่พักล่วงหน้า ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการยังไม่ซบเซามากนัก แต่ไตรมาสที่สองและสาม มีแนวโน้มว่านักท่องเที่ยวจะลดลงหากรัฐบาลยังคงพ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไป แต่หากสถานการณ์ทางการเมืองสามารถยุติได้ภายใน 2 เดือน ก็น่าจะทำให้นักท่องเที่ยวกลับมาเที่ยวและมีรายได้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้คือ 2.2 ล้านล้านบาท” นางปิยะมาน กล่าว
ประธาน สทท.กล่าวต่อไปว่า จากสถานการณ์ทำให้การท่องเที่ยวในไทยอยู่ในภาวะถดถอย จึงอยากใช้ช่วงเวลานี้ในการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยอยากขอให้ทาง กพร.จัดอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานด้านท่องเที่ยวและบริการ รวมทั้งยกระดับมาตรฐานฝีมือให้เป็นไปตามมาตรฐานฝีมือแรงงานอาเซียนสาขาท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งมีทั้งหมด 32 ตำแหน่งงาน เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (เอซี) นอกจากนี้ ขณะนี้ไม่มีการเลิกจ้างพนักงานประจำ จะเลิกจ้างเฉพาะพนักงานพาร์ตไทม์ โดยให้พนักงานประจำหมุนเวียนไปทำงานในจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวมาก รวมทั้งขอให้ กพร.ช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน เช่น มัคคุเทศก์ พนักงานขับรถบัส โดยในส่วนของโรงแรมอีก 3 ปีข้างหน้าจะขาดแคลนแรงงานในระดับปฏิบัติการ เช่น พนักงานทำความสะอาด แม่บ้าน พนักงานห้องครัว เป็นต้น ถึงปีละกว่า 1 แสนคน
นายนคร ศิลปอาชา อธิบดี กพร.กล่าวว่า ทาง กพร.ยินดีที่จะช่วยฝึกอบรมแรงงานภาคการท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถมาใช้สถานที่ของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคและศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ รวมทั้งสามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมมายื่นขอลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่าของค่าใช้จ่ายจริงตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส่งเสริมพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 ส่วนการแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน กพร.จะประสานไปยังกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อไปออกหน่วยบริการแนะนำอาชีพให้เด็กที่จบชั้น ม.3 ในต่างจังหวัด เช่น พะเยา น่าน เชียงราย ฯลฯ เพื่อดึงเด็กกลุ่มนี้มาเข้ารับการอบรมและเข้าสู่ตลาดแรงงานในภาคท่องเที่ยวและบริการ
“ในแต่ละปีหน่วยราชการต่างๆ มีงบประมาณในการอบรม ประชุมสัมมนาข้าราชการอยู่แล้ว สามารถใช้งบประมาณส่วนนี้มาช่วยภาคการท่องเที่ยวและบริการได้ โดยใช้โอกาสในช่วงนี้จัดประชุมสัมมนาในจังหวัดต่างๆ และไม่จัดซ้ำโรงแรมเดิม โดยอาจไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามแผนการใช้งบประมาณที่กำหนด ซึ่ง กพร.จะนำร่องในเรื่องนี้ อีกทั้งเห็นว่าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) น่าจะเปลี่ยนรางวัลข้าราชการที่ปฏิบัติงานดีเด่นของหน่วยงานต่างๆ จากการให้เงินโบนัสเป็นแพกเกจท่องเที่ยวภายในประเทศ เพื่อให้ข้าราชการได้พักผ่อนและช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในไทย” อธิบดี กพร.กล่าว