กพร.เผยอุตสาหกรรมยานยนต์ขาดแคลน ช่างเคาะ ช่างสี และช่างยนต์อย่างหนัก เร่งผลิตป้อนปีละ 1 พันคน แนะเยาวชนสนใจได้พร้อมอบรมป้อนตลาดแรงงาน ชี้เรียนจบมีงานทำทันที
วันนี้ ( 22 ม.ค.)นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานจำนวนมาก โดยเฉพาะช่างเคาะ ช่างสี และช่างยนต์ ดังนั้น กพร.โดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค (สพภ.) และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด (ศพจ.) ที่มีความพร้อม เช่น อุบลราชธานี นครราชสีมา ชลบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา สามารถผลิตช่างทั้ง 3 สาขา รวมถึงสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์รวมแล้วปีละประมาณ 1 พันคน
อธิบดี กพร.กล่าวอีกว่า สำหรับการผลิตช่างเคาะ ช่างสี และช่างยนต์ ในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ขณะนี้ สพภ.7 อุบลราชธานี ผลิตได้ปีละ 100 คน โดยส่วนหนึ่งเป็นการผลิตโดยงบของ กพร.และส่วนหนึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัทเอกชน โดยบริษัท โตโยต้าได้ให้ทุนสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดได้ลงนามความร่วมมือกันโดยโตโยต้าให้ทุนผลิตช่างเคาะ ช่างสี และช่างยนต์ ในช่วงเดือน ต.ค.2556-มี.ค.2557 รวมทั้งหมดกว่า 100 ทุน และมีการทำสัญญาจ้างงานทันที เมื่อ สพภ.จัดอบรมเสร็จแล้วก็จะส่งตัวผู้ผ่านการอบรมให้แก่บริษัท โตโยต้า เพื่อกระจายไปทำงานตามศูนย์ของโตโยต้าในจังหวัดต่างๆ ขณะเดียวกัน มีค่ายรถยนต์อื่นๆ เช่น เชฟโรเลต มาให้ช่วยผลิตและฝึกอบรมช่างยนต์และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
“ผู้ที่จะมาสมัครเข้าอบรมนั้น ขอให้มีใจรักและอดทนในการทำงานด้านช่างยนต์ พร้อมที่จะไปทำงานในจังหวัดต่างๆ ส่วนการฝึกอบรมของ สพภ.และ ศพจ.ในสาขาช่างเคาะ ช่างสี และช่างยนต์ แยกเป็นสาขาช่างยนต์รับผู้ที่จบ ปวช.สาขาช่างยนต์จากโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนต่างๆ ซึ่งร่วมมือกับ กพร.มาฝึกอบรม และสาขาช่างเคาะ และช่างสี รับผู้เรียนจบชั้น ม.3 มาเรียนโดยระหว่างฝึกอบรมจะได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงวันละ 150 บาทตลอดการฝึกอบรม และหลักสูตรอบรมมีทั้ง 2 เดือน และ 4 เดือน มีการอบรมความรู้ด้านช่างเน้นภาคปฏิบัติ ภาษาอังกฤษสำหรับช่างยนต์ รวมทั้งคอมพิวเตอร์ ซึ่งเฉพาะคอมพิวเตอร์อบรมเพิ่มเติมให้แก่ผู้เข้าอบรมสาขาช่างยนต์ ซึ่งผู้ที่สนใจติดต่อได้ที่ กพร. สพภ.หรือ ศพจ.ต่างๆ เช่น อุบลราชธานี นครราชสีมา ชลบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา หรือเว็บไซต์ www.dsd.go.th” นายนคร กล่าว
วันนี้ ( 22 ม.ค.)นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานจำนวนมาก โดยเฉพาะช่างเคาะ ช่างสี และช่างยนต์ ดังนั้น กพร.โดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค (สพภ.) และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด (ศพจ.) ที่มีความพร้อม เช่น อุบลราชธานี นครราชสีมา ชลบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา สามารถผลิตช่างทั้ง 3 สาขา รวมถึงสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์รวมแล้วปีละประมาณ 1 พันคน
อธิบดี กพร.กล่าวอีกว่า สำหรับการผลิตช่างเคาะ ช่างสี และช่างยนต์ ในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ขณะนี้ สพภ.7 อุบลราชธานี ผลิตได้ปีละ 100 คน โดยส่วนหนึ่งเป็นการผลิตโดยงบของ กพร.และส่วนหนึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัทเอกชน โดยบริษัท โตโยต้าได้ให้ทุนสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดได้ลงนามความร่วมมือกันโดยโตโยต้าให้ทุนผลิตช่างเคาะ ช่างสี และช่างยนต์ ในช่วงเดือน ต.ค.2556-มี.ค.2557 รวมทั้งหมดกว่า 100 ทุน และมีการทำสัญญาจ้างงานทันที เมื่อ สพภ.จัดอบรมเสร็จแล้วก็จะส่งตัวผู้ผ่านการอบรมให้แก่บริษัท โตโยต้า เพื่อกระจายไปทำงานตามศูนย์ของโตโยต้าในจังหวัดต่างๆ ขณะเดียวกัน มีค่ายรถยนต์อื่นๆ เช่น เชฟโรเลต มาให้ช่วยผลิตและฝึกอบรมช่างยนต์และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
“ผู้ที่จะมาสมัครเข้าอบรมนั้น ขอให้มีใจรักและอดทนในการทำงานด้านช่างยนต์ พร้อมที่จะไปทำงานในจังหวัดต่างๆ ส่วนการฝึกอบรมของ สพภ.และ ศพจ.ในสาขาช่างเคาะ ช่างสี และช่างยนต์ แยกเป็นสาขาช่างยนต์รับผู้ที่จบ ปวช.สาขาช่างยนต์จากโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนต่างๆ ซึ่งร่วมมือกับ กพร.มาฝึกอบรม และสาขาช่างเคาะ และช่างสี รับผู้เรียนจบชั้น ม.3 มาเรียนโดยระหว่างฝึกอบรมจะได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงวันละ 150 บาทตลอดการฝึกอบรม และหลักสูตรอบรมมีทั้ง 2 เดือน และ 4 เดือน มีการอบรมความรู้ด้านช่างเน้นภาคปฏิบัติ ภาษาอังกฤษสำหรับช่างยนต์ รวมทั้งคอมพิวเตอร์ ซึ่งเฉพาะคอมพิวเตอร์อบรมเพิ่มเติมให้แก่ผู้เข้าอบรมสาขาช่างยนต์ ซึ่งผู้ที่สนใจติดต่อได้ที่ กพร. สพภ.หรือ ศพจ.ต่างๆ เช่น อุบลราชธานี นครราชสีมา ชลบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา หรือเว็บไซต์ www.dsd.go.th” นายนคร กล่าว