กทม.อันตราย แชมป์แดนข่มขืน พบลูกจ้างและกลุ่มว่างงานก่อคดีมากสุด ส่วนเหยื่อไอ้หื่นถูกชำเราเกือบ 60% เป็นนักเรียนนักศึกษา เหล้าตัวกระตุ้นชั้นดี ด้าน “หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ” ชี้ ระบบบริการยังมีปัญหา คดีล่าช้าไม่ทันท่วงที กระบวนการเอื้อประโยชน์กับผู้กระทำ
วันนี้ (20 มี.ค.) ที่โรงแรมเอบีน่าเฮาส์ น.ส.จรีย์ ศรีสวัสดิ์ ฝ่ายส่งเสริมภาคีเครือข่าย มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวในเวทีเสวนา “สถานการณ์ความรุนแรงทางเพศ ปี2556” จัดโดย กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า จากการรวบรวมข่าวความรุนแรงทางเพศปี 2556 จากหนังสือพิมพ์ 5 ฉบับ ได้แก่ ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวสด คมชัดลึก และมติชน พบว่ามีทั้งหมด 169 ข่าว แบ่งเป็นข่าวข่มขืน 51.5% ข่าวอนาจาร 17.1% ข่าวพยายามข่มขืน 13.6% ข่าวรุมโทรม 7.1% และข่าวพรากผู้เยาว์ 2.4% นอกจากนี้ ยังมีกรณีค้าประเวณี 3.6% ข่าวชายกระทำต่อเพศชาย 4.7% มีผู้ถูกกระทำความรุนแรงทางเพศทั้งสิ้น 223 ราย เสียชีวิต 29 ราย โดย 75% เสียชีวิตจากการถูกข่มขืนหรือถึง 22 ราย
“ปัจจัยกระตุ้นมาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 37.7% มีปัญหาการควบคุมยับยั้งอารมณ์ทางเพศ 24.5% ต้องการชิงทรัพย์ 20.8% ช่วงอายุผู้ที่ถูกกระทำ ได้แก่ 11-15 ปี 35.1% 16-20 ปี 22% และ 26-30 ปี 10.1% ที่น่าตกใจ คือผู้ถูกกระทำที่อายุน้อยที่สุดเป็นเด็กหญิงวัย 1 ขวบ 9 เดือน ส่วนอายุผู้ถูกกระทำที่มากที่สุด คือ 85 ปี กรณีข่าวข่มขืน สำหรับผู้กระทำที่อายุน้อยสุด คือ 10 ปีในข่าวรุมโทรม และผู้กระทำอายุมากที่สุดคือ 85 กระทำอนาจารเด็ก” น.ส.จรีย์ กล่าว
น.ส.จรีย์ กล่าวว่า ความสัมพันธ์ของผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ 47.5% เป็นคนแปลกหน้า 41.8% เป็นคนรู้จักคุ้นเคยกัน 5.6% เป็นคนในครอบครัว/เครือญาติ และ 5.1% เป็นคนที่รู้จักผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก สำหรับอาชีพผู้ถูกกระทำ พบว่า เป็นนักเรียน/นักศึกษามากที่สุด 59.2% รองลงมาเป็นกลุ่มเด็กเล็ก 6.6% พนักงานบริษัท 5.4% ส่วนผู้กระทำมีอาชีพเป็นลูกจ้าง/รับจ้าง 19.2% รองลงมาว่างงาน 14.3% เป็นนักเรียน/นักศึกษา 12.8% ครู/อาจารย์ 8.5% และขับรถตู้/รถแท็กซี่ 7.8% ทั้งนี้ พื้นที่เกิดเหตุมากที่สุดยังเป็นกรุงเทพฯ 26.6% รองลงมา ชลบุรี 11.8 % สมุทรปราการ 8.3%นนทบุรี 5.9 % ปทุมธานี 5.3%
“ความรุนแรงทางเพศดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้ถูกกระทำทั้งทางร่างกายจิตใจ 1 ใน 3 มีอาการหวาดผวา ระแวง ซึมเศร้า รองลงมา คือ ผู้กระทำใช้อำนาจบังคับข่มขู่ละเมิดทางเพศ ทำให้ผู้ถูกกระทำขัดขืนต่อสู้จนถูกฆ่าเสียชีวิต หลายรายถูกทำร้ายร่างกายอาการสาหัส และมีที่ไม่กล้าแจ้งความเอาผิด อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบสถิติข่าวความรุนแรงทางเพศปี 2556 กับ ปี 2554 พบว่า ปี 2556 มีจำนวนข่าวความรุนแรงทางเพศเพิ่มขึ้นจากปี 2554 มีจำนวน 158 ข่าว โดยประเภทข่าวที่ครองแชมป์อันดับ 1 ยังคงเป็นข่าวข่มขืน” น.ส.จรีย์ กล่าว
น.ส.สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า จากสถิติการให้บริการของศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า การกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กมีแนวโน้มสูงขึ้น ปี 2556 มีจำนวน 31,866 ราย เฉลี่ยวันละ 87 ราย หรือทุกๆ 15 นาที มีผู้หญิงและเด็กถูกทำร้าย 1 คน ซึ่งผู้ที่กระทำส่วนใหญ่เป็นบุคคลใกล้ชิดที่เด็กไว้วางใจ และจากการให้บริการคำปรึกษาของมูลนิธิฯ พบว่า มีผู้ขอรับบริการ 261 ราย ในจำนวนนี้ประสบปัญหา 385 กรณี โดยจะมีระบบบริการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายและด้านสังคมสงเคราะห์
“ผู้กระทำเป็นคนมีความรู้มีการศึกษา ส่วนใหญ่ไม่ควบคุมอารมณ์ แม้กฎหมายจะเปลี่ยนไปแต่ผู้กระทำก็ยังใช้อำนาจ เช่น ทำให้ผู้ถูกกระทำอยู่ในภาวะจำยอมมีเพศสัมพันธ์ เพราะผู้กระทำเป็นเจ้าหนี้ หรือกรณีหญิง17ปีถูกเพื่อนในชั้นเรียนข่มขืนถ่ายคลิปข่มขู่ เด็ก 7 ขวบ ข่มขืนเด็ก 7 ขวบ และกรณีหญิงถูกข่มขืนขณะตั้งครรภ์ หรืออดีตแฟนใช้อุบายหลอกข่มขืน อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบคือ กระบวนการส่วนใหญ่ยังปกป้องผู้กระทำ หลายกรณีเอาผิดไม่ได้ คดีล่าช้า การให้ยอมความ ขณะเดียวกัน ศูนย์ช่วยเหลือสังคม หรือ OSCC ของบางหน่วยงานขาดการจัดระบบรองรับ โดยเฉพาะการช่วยเหลือดำเนินคดีและกระบวนการส่งต่อที่ยังขาดความคล่องตัว แม้มีนโยบายประกาศชัดเจน แต่ยังขาดงบประมาณในการสนับสนุน และมีข้อจำกัด หรือแม้กระทั่งผู้เสียหายเข้าแจ้งความแต่เจ้าหน้าที่ตำรวจบางสถานีอ้างเรื่องเหตุการณ์บ้านเมืองไม่ปกติให้รอไว้ก่อน” น.ส.สุเพ็ญศรี กล่าว
วันนี้ (20 มี.ค.) ที่โรงแรมเอบีน่าเฮาส์ น.ส.จรีย์ ศรีสวัสดิ์ ฝ่ายส่งเสริมภาคีเครือข่าย มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวในเวทีเสวนา “สถานการณ์ความรุนแรงทางเพศ ปี2556” จัดโดย กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า จากการรวบรวมข่าวความรุนแรงทางเพศปี 2556 จากหนังสือพิมพ์ 5 ฉบับ ได้แก่ ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวสด คมชัดลึก และมติชน พบว่ามีทั้งหมด 169 ข่าว แบ่งเป็นข่าวข่มขืน 51.5% ข่าวอนาจาร 17.1% ข่าวพยายามข่มขืน 13.6% ข่าวรุมโทรม 7.1% และข่าวพรากผู้เยาว์ 2.4% นอกจากนี้ ยังมีกรณีค้าประเวณี 3.6% ข่าวชายกระทำต่อเพศชาย 4.7% มีผู้ถูกกระทำความรุนแรงทางเพศทั้งสิ้น 223 ราย เสียชีวิต 29 ราย โดย 75% เสียชีวิตจากการถูกข่มขืนหรือถึง 22 ราย
“ปัจจัยกระตุ้นมาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 37.7% มีปัญหาการควบคุมยับยั้งอารมณ์ทางเพศ 24.5% ต้องการชิงทรัพย์ 20.8% ช่วงอายุผู้ที่ถูกกระทำ ได้แก่ 11-15 ปี 35.1% 16-20 ปี 22% และ 26-30 ปี 10.1% ที่น่าตกใจ คือผู้ถูกกระทำที่อายุน้อยที่สุดเป็นเด็กหญิงวัย 1 ขวบ 9 เดือน ส่วนอายุผู้ถูกกระทำที่มากที่สุด คือ 85 ปี กรณีข่าวข่มขืน สำหรับผู้กระทำที่อายุน้อยสุด คือ 10 ปีในข่าวรุมโทรม และผู้กระทำอายุมากที่สุดคือ 85 กระทำอนาจารเด็ก” น.ส.จรีย์ กล่าว
น.ส.จรีย์ กล่าวว่า ความสัมพันธ์ของผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ 47.5% เป็นคนแปลกหน้า 41.8% เป็นคนรู้จักคุ้นเคยกัน 5.6% เป็นคนในครอบครัว/เครือญาติ และ 5.1% เป็นคนที่รู้จักผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก สำหรับอาชีพผู้ถูกกระทำ พบว่า เป็นนักเรียน/นักศึกษามากที่สุด 59.2% รองลงมาเป็นกลุ่มเด็กเล็ก 6.6% พนักงานบริษัท 5.4% ส่วนผู้กระทำมีอาชีพเป็นลูกจ้าง/รับจ้าง 19.2% รองลงมาว่างงาน 14.3% เป็นนักเรียน/นักศึกษา 12.8% ครู/อาจารย์ 8.5% และขับรถตู้/รถแท็กซี่ 7.8% ทั้งนี้ พื้นที่เกิดเหตุมากที่สุดยังเป็นกรุงเทพฯ 26.6% รองลงมา ชลบุรี 11.8 % สมุทรปราการ 8.3%นนทบุรี 5.9 % ปทุมธานี 5.3%
“ความรุนแรงทางเพศดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้ถูกกระทำทั้งทางร่างกายจิตใจ 1 ใน 3 มีอาการหวาดผวา ระแวง ซึมเศร้า รองลงมา คือ ผู้กระทำใช้อำนาจบังคับข่มขู่ละเมิดทางเพศ ทำให้ผู้ถูกกระทำขัดขืนต่อสู้จนถูกฆ่าเสียชีวิต หลายรายถูกทำร้ายร่างกายอาการสาหัส และมีที่ไม่กล้าแจ้งความเอาผิด อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบสถิติข่าวความรุนแรงทางเพศปี 2556 กับ ปี 2554 พบว่า ปี 2556 มีจำนวนข่าวความรุนแรงทางเพศเพิ่มขึ้นจากปี 2554 มีจำนวน 158 ข่าว โดยประเภทข่าวที่ครองแชมป์อันดับ 1 ยังคงเป็นข่าวข่มขืน” น.ส.จรีย์ กล่าว
น.ส.สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า จากสถิติการให้บริการของศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า การกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กมีแนวโน้มสูงขึ้น ปี 2556 มีจำนวน 31,866 ราย เฉลี่ยวันละ 87 ราย หรือทุกๆ 15 นาที มีผู้หญิงและเด็กถูกทำร้าย 1 คน ซึ่งผู้ที่กระทำส่วนใหญ่เป็นบุคคลใกล้ชิดที่เด็กไว้วางใจ และจากการให้บริการคำปรึกษาของมูลนิธิฯ พบว่า มีผู้ขอรับบริการ 261 ราย ในจำนวนนี้ประสบปัญหา 385 กรณี โดยจะมีระบบบริการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายและด้านสังคมสงเคราะห์
“ผู้กระทำเป็นคนมีความรู้มีการศึกษา ส่วนใหญ่ไม่ควบคุมอารมณ์ แม้กฎหมายจะเปลี่ยนไปแต่ผู้กระทำก็ยังใช้อำนาจ เช่น ทำให้ผู้ถูกกระทำอยู่ในภาวะจำยอมมีเพศสัมพันธ์ เพราะผู้กระทำเป็นเจ้าหนี้ หรือกรณีหญิง17ปีถูกเพื่อนในชั้นเรียนข่มขืนถ่ายคลิปข่มขู่ เด็ก 7 ขวบ ข่มขืนเด็ก 7 ขวบ และกรณีหญิงถูกข่มขืนขณะตั้งครรภ์ หรืออดีตแฟนใช้อุบายหลอกข่มขืน อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบคือ กระบวนการส่วนใหญ่ยังปกป้องผู้กระทำ หลายกรณีเอาผิดไม่ได้ คดีล่าช้า การให้ยอมความ ขณะเดียวกัน ศูนย์ช่วยเหลือสังคม หรือ OSCC ของบางหน่วยงานขาดการจัดระบบรองรับ โดยเฉพาะการช่วยเหลือดำเนินคดีและกระบวนการส่งต่อที่ยังขาดความคล่องตัว แม้มีนโยบายประกาศชัดเจน แต่ยังขาดงบประมาณในการสนับสนุน และมีข้อจำกัด หรือแม้กระทั่งผู้เสียหายเข้าแจ้งความแต่เจ้าหน้าที่ตำรวจบางสถานีอ้างเรื่องเหตุการณ์บ้านเมืองไม่ปกติให้รอไว้ก่อน” น.ส.สุเพ็ญศรี กล่าว