xs
xsm
sm
md
lg

ขาดความรู้ใช้บริการโรมมิง ก่อหนี้ไม่รู้ตัวกว่า 1.3 ล้านบาท สคบ.เผยช่วง 5 ปีได้รับร้องเรียนกว่า 200 ราย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


พิษค่าบริการโรมมิง ข้ามแดนก่อหนี้กว่า 1.3 ล้านบาท สคบ.เผยข้อมูลร้องเรียนปัญหาค่าโรมมิ่ง ปี 52-56 จำนวน 207 ราย ชี้สาเหตุขาดความรู้การเปิดใช้ ทั้งระบบให้บริการผิดพลาด แนะศึกษาเงื่อนไขบริการ ปิดการเชื่อต่ออัตโนมัติ

วันนี้ (14 มี.ค.) ที่โรงแรมเซนจูรี่ปาร์ค กรุงเทพฯ มีการจัดงาน “วันสิทธิผู้บริโภคสากล” โดยปีนี้สหพันธ์ผู้บริโภคสากล ได้ให้ความสำคัญครองผู้บริโภคในด้าน “สิทธิผู้บริโภคในยุคดิจิตอล” โดยนางสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวถึงสถานการณ์ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคมว่า บริการข้ามแดนอัตโนมัติหรือที่เรียกว่า “โรมมิง” เป็นบริการเสริมสำหรับผู้ที่ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ติดต่อกันขณะที่อยู่ในต่างประเทศ และมักจะเกิดปัญหาด้านค่าบริการที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอุปกรณ์การสื่อสารสมัยใหม่ เช่น สมาร์โฟน แท็บเล็ต ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัวหรือที่เรียกกันว่า เน็ตรั่ว ทำให้เกิดค่าบริการตามมา นอกจากนี้ แม้ผู้ใช้บริการจะเลือกเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย WIFI หรือสัญญาณ EDGE GPRS แต่ถ้าเครือข่ายที่เลือกมีสัญญาณอ่อน สมาร์ทโฟนก็จะเปลี่ยนไปรับสัญญาณจากเครือข่ายอื่นที่มีสัญญาณแรงกว่าโดยอัตโนมัติ ทำให้เกิดค่าบริการที่นอกเหนือจากแพ็กเกจ

นางสารี กล่าวอีกว่า จากข้อมูลสถิติการร้องเรียนปัญหาของโรมมิง (Roaming bill shock) ที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้บริโภคที่เปลี่ยนมาใช้สมาร์ทโฟน ตั้งแต่ปี 2552-2556 พบว่าจาก บริษัท AIS 85 คน DTAC 73 คน TRUE Move 32 คน TRUE Move H 14 คน และอื่นๆ 3 คน รวมที่มีปัญหาทั้งหมด 207 คน ซึ่งอีกปัญหาหนึ่งคือ การสมัครใช้แพ็กเกจ Data Roaming แบบจำกัดปริมาณการใช้งาน แต่ก็ยังถูกเรียกเก็บค่าบริการที่สูงกว่าแพ็คเกจซึ่งอาจเกิดจากเน็ตรั่ว หรือ ผู้ใช้บริการไม่รู้วิธีคำนวณวิธีใช้ DATA รวมถึงกรณีที่ผู้ใช้บริการอยู่ในพื้นที่ใกล้บริเวณชายแดน แต่ไม่ได้เดินทางออกนกประเทศ แต่โทรศัพท์จับสัญญาณเครือข่ายต่างประเทศมาใช้งาน เนื่องจากเป็นสัญญาณที่แรงกว่าทำให้ถูกเก็บค่าโรมมิ่ง ทั้งที่ไม่ได้เดินทางออกนอกประเทศ ซึ่งปัญหานี้ส่วนหนึ่งเกิดจากการเปิดใช้บริการโรมมิงเมื่อเปิดแล้วจะเปิดตลอดไป แม้ว่าผู้ใช้จะเดินทางกลับถึงประเทศไทยแล้ว ดังนั้นควรโทรศัพท์แจ้งปิดโรมมิ่งทุกครั้งเมื่อใช้บริการเสร็จ

“ปัจจุบันยังไม่มีการควบคุมอัตราค่าบริการโทรศัพท์อัตโนมัติ ดังนั้นอัตราค่าบริการจึงขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างผู้ให้บริการโทรศัพท์แต่ลพรายจะกำหนด รวมถึงการจำกัดวงเงินการใช้งานนั้นจนปัจจุบันก็ไม่ครอบคลุมถึงการใช้บริการโทรศัพท์ข้ามแดนอัตโนมัติ ส่วนการป้องกันและการแก้ไขปัญหาผู้ใช้ควรศึกษาเงื่อนไขอัตราค่าบริการและรายละเอียดก่อนเปิดใช้โรมมิง ศึกษาการตั้งค่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของสมาร์ทโฟน เมื่อเดินทางไปต่างประเทศควรตั้งค่าเชื่อมต่อแบบกำหนดเองและเลือกเครือข่ายตามแพ็คเกจ ปิดการเชื่อมต่อแบบอัตโนมัติ” นางสารี กล่าว

นางจันทรดี ปัตตานี ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากค่าบริการที่สูงจนน่าตกใจ กว่า 1.3 ล้านบาท กล่าวว่า ลูกชายเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ที่ ประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นเวลา 14 วัน จากนั้นมีบิลค่าบริการจาก DTACส่งมาแจ้งว่า มียอดชำระกว่า 1.3 หมื่นบาท จึงได้ร้องเรียนไปยัง กสทช.ให้ช่วยเหลือ จากนั้นได้ทำการไกล่เกลี่ยกับทางบริษัทผู้ให้บริการ โดยทางDTACตั้งวงเงินชำระไว้ที่ 5 แสนบาท ตนเห็นว่าลดลงแล้วจึงยอมเซ็นสัญญาเป็นการผ่อนจ่ายเดือนละ 4 หมื่นบาท

นางสาวพิณมนี จรูญเมธี กล่าวว่า ตนเดินทางไปที่ดูไบ เพื่อสัมภาษณ์งานเพียง 1 วัน ไหลังจากนั้นทาง TRUE ได้แจ้งยอดชำระค่าบริการเข้ามา 8 พันบาท ซึ่งก่อนหน้านั้นตนได้ทำการติดต่อคอลเซนเตอร์ เพื่อปิดบริการโรมมิ่งแล้วโดยมีการรับรหัสมาทำการปิดด้วยตนเองและทำอยู่หลายครั้ง แต่กลับพบว่ายังมียอดบริการที่สูงอยู่จึงได้ติดต่อกับทางคอลเซนเตอร์อีกครั้งได้รับคำตอบว่า รหัสที่ให้มาเกิดความผิดพลาดไม่สามารถปิดบริการได้ และการปิดโรมมิ่งจะต้องทำขณะที่อยู่ภายในประเทศเท่านั้น จึงได้ร้องไปยัง สคบ.ให้ช่วยเหลือ หลังจากนั้นได้แจ้งไปยัง กสทช.ให้ช่วยเหลือด้วย และเมื่อเดือนก.พ. ปี 2556 ที่ผ่านมาได้รับการติดต่อจาก TRUE ลดค่าบริการให้เหลือเพียงค่าบริการรายเดือนและค่าส่งข้อความ เป็นจำนวนเงิน กว่า 1 พันบาท
 


กำลังโหลดความคิดเห็น