วธ.มอบจังหวัดละ 1 ล้านพัฒนาเมืองหน้าด่านวัฒนธรรม นำร่อง 4 จังหวัด เชียงราย ตาก สระแก้ว สงขลา
วันนี้ (12 มี.ค.) นายปรีชา กันธิยะ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ( วธ.) กล่าวว่า จากการที่ วธ.ขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเมืองหน้าด่านวัฒนธรรม เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของประชาคมอาเซียนในส่วนของเสาหลักด้านสังคมและวัฒนธรรม รองรับการหลั่งไหลของประชากรจากประเทศอาเซียนที่มีความแตกต่างและความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดย วธ.มีนโยบายพัฒนาเมืองหน้าด่านทั้ง 32 ด่านทั่วประเทศ เบื้องต้นมอบหมายให้สำนักงานวัฒนธรรมจัดกิจกรรมนำร่อง 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย ตาก สระแก้ว และสงขลา โดยสำนักงานปลัด วธ.และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้จัดสรรงบประมาณให้จังหวัดละ 1 ล้านบาท
ในระยะเริ่มแรก วธ.มีแนวทางยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 3 แนวทาง คือ 1.ศึกษาวิจัยผลกระทบทางด้านชุมชนและวัฒนธรรมในการพัฒนาเมืองหน้าด่านวัฒนธรรม โดยจะขอความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาในท้องถิ่นดำเนินการ 2.จัดทำประชาพิจารณ์หรือจัดเวทีประชาคมวัฒนธรรม เพื่อให้ทราบถึงความต้องการของชุมชนและข้อเสนอแนะในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการเมืองหน้าด่านวัฒนธรรม 3.การจัดกิจกรรมนำร่องด้านศิลปวัฒนธรรม อาทิ การประชุมสัมมนาทางวิชาการ การประชุมเชิงปฏิบัติการในประเด็นที่มีความสนใจร่วมกัน นอกจากนี้ ยังมีการจัดให้บุคลากรศึกษาดูงาน ณ ประเทศญี่ปุ่นและประเทศพม่าที่เป็นเมืองต้นแบบในการบริหารจัดการเมืองหน้าด่านวัฒนธรรมในต่างประเทศ
ส่วนโครงการระยะยาว เพราะมีความสอดคล้องกับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมใน 3 เสาหลัก ได้แก่ 1.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เนื่องจากเมืองหน้าด่านเปรียบเสมือนประตูต้อนรับแขก ทำให้เกิดสังคมต่างเชื้อชาติ ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่ วธ.จะต้องเข้าไปจัดกิจกรรมอย่างไรให้เป็นสังคมวัฒนธรรมที่เต็มไปด้วยความอบอุ่นภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
2.ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน ทำแผนงานแก้ปัญหาต่างๆในอนาคต ทั้งความขัดแย้ง หรือภัยข้ามชาติในรูปแบบต่างๆ และ 3.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ตรงตามยุทธศาสตร์หลักของ วธ.ในการสร้างรายได้โดยใช้เมืองหน้าด่านเป็นช่องทาง อาทิ การจัดกิจกรรมนำเสนอสินค้าโอทอปวัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ของไทยให้ชาวต่างชาติรับรู้ถึงความเป็นมา หรือภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่เป็นของแท้ดั้งเดิม เป็นต้น
วันนี้ (12 มี.ค.) นายปรีชา กันธิยะ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ( วธ.) กล่าวว่า จากการที่ วธ.ขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเมืองหน้าด่านวัฒนธรรม เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของประชาคมอาเซียนในส่วนของเสาหลักด้านสังคมและวัฒนธรรม รองรับการหลั่งไหลของประชากรจากประเทศอาเซียนที่มีความแตกต่างและความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดย วธ.มีนโยบายพัฒนาเมืองหน้าด่านทั้ง 32 ด่านทั่วประเทศ เบื้องต้นมอบหมายให้สำนักงานวัฒนธรรมจัดกิจกรรมนำร่อง 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย ตาก สระแก้ว และสงขลา โดยสำนักงานปลัด วธ.และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้จัดสรรงบประมาณให้จังหวัดละ 1 ล้านบาท
ในระยะเริ่มแรก วธ.มีแนวทางยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 3 แนวทาง คือ 1.ศึกษาวิจัยผลกระทบทางด้านชุมชนและวัฒนธรรมในการพัฒนาเมืองหน้าด่านวัฒนธรรม โดยจะขอความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาในท้องถิ่นดำเนินการ 2.จัดทำประชาพิจารณ์หรือจัดเวทีประชาคมวัฒนธรรม เพื่อให้ทราบถึงความต้องการของชุมชนและข้อเสนอแนะในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการเมืองหน้าด่านวัฒนธรรม 3.การจัดกิจกรรมนำร่องด้านศิลปวัฒนธรรม อาทิ การประชุมสัมมนาทางวิชาการ การประชุมเชิงปฏิบัติการในประเด็นที่มีความสนใจร่วมกัน นอกจากนี้ ยังมีการจัดให้บุคลากรศึกษาดูงาน ณ ประเทศญี่ปุ่นและประเทศพม่าที่เป็นเมืองต้นแบบในการบริหารจัดการเมืองหน้าด่านวัฒนธรรมในต่างประเทศ
ส่วนโครงการระยะยาว เพราะมีความสอดคล้องกับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมใน 3 เสาหลัก ได้แก่ 1.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เนื่องจากเมืองหน้าด่านเปรียบเสมือนประตูต้อนรับแขก ทำให้เกิดสังคมต่างเชื้อชาติ ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่ วธ.จะต้องเข้าไปจัดกิจกรรมอย่างไรให้เป็นสังคมวัฒนธรรมที่เต็มไปด้วยความอบอุ่นภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
2.ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน ทำแผนงานแก้ปัญหาต่างๆในอนาคต ทั้งความขัดแย้ง หรือภัยข้ามชาติในรูปแบบต่างๆ และ 3.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ตรงตามยุทธศาสตร์หลักของ วธ.ในการสร้างรายได้โดยใช้เมืองหน้าด่านเป็นช่องทาง อาทิ การจัดกิจกรรมนำเสนอสินค้าโอทอปวัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ของไทยให้ชาวต่างชาติรับรู้ถึงความเป็นมา หรือภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่เป็นของแท้ดั้งเดิม เป็นต้น