“ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก”
นึกถึงประโยคสุภาษิตนี้จากกรณีที่เกิดความรุนแรงทางการเมือง และเด็กต้องกลายเป็นเหยื่อทางเมืองติดๆ กัน 2 วัน ทำให้เด็กต้องเสียชีวิตถึง 4 คน จากเหตุการณ์ที่เกิดการยิงกราดที่จังหวัดตราด และระเบิด M79 ที่ราชประสงค์
ผ่านไปไม่กี่วัน เด็กก็ตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์อีกแล้ว จากกรณีรสบัสที่พาเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านดงหลบ ไปทัศนาจรนอกสถานที่แล้วเกิดอุบัติเหตุ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึง 15 ราย เป็นเด็ก 11 ราย
เหตุการณ์ทั้งสองเหตุการณ์เกิดในเวลาไล่เลี่ยกัน เด็กตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์เหมือนกัน ต่างกันตรงที่ เหตุการณ์แรก เป็นคราวเคราะห์ของเด็กน้อย ที่ตกไปอยู่ในสถานที่สุ่มเสี่ยง และคนร้ายก่อเหตุก็ใช้วิธีสุ่มโจมตี โดยไม่ได้เฉพาะเจาะจงไปที่ใคร จึงยากต่อการระมัดระวังตัว หรือยากต่อการคาดเดาว่าจะเกิดอะไรขึ้น
แต่เหตุการณ์ที่สอง เป็นความประมาทและความชุ่ยของผู้ที่เกี่ยวข้อง เพราะสามารถป้องกันได้ ถ้าผู้ใหญ่เห็นความสำคัญและใส่ใจเรื่องความปลอดภัยของเด็กอย่างแท้จริง
ดิฉันเองจำได้ว่าในยุคสมัยที่ลูกยังเล็ก และต้องเดินทางไปทัศนาจรกับโรงเรียน จะใจตุ้มๆต่อมๆทุกครั้ง เพราะเป็นกังวลเรื่องความปลอดภัย ทำให้ต้องไปเลียบๆ เคียงๆ สอบถามเส้นทาง หรือไปดูสภาพรถก่อนว่าเป็นอย่างไร ซึ่งก็โชคดีที่เจอโรงเรียนที่ใส่ใจเรื่องนี้ จะให้ความสำคัญกับสภาพรถ และคนขับรถอย่างมาก จึงไม่ค่อยมีปัญหา
แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นแบบนี้ทุกโรงเรียน
ข่าวคราวเรื่องอุบัติเหตุรถบัสโรงเรียนพลิกคว่ำ ตกเหว หรือประสบอุบัติเหตุในบ้านเราเกิดขึ้นบ่อยถึงบ่อยมาก และเกิดความสูญเสียแต่ละครั้งก็เป็นจำนวนมาก แต่ก็พบว่า เราก็อยู่กับสภาพเดิมๆ มาโดยตลอด ประมาณ “ตามมีตามเกิด” “สุดแต่บุญแต่กรรม” เพราะยังไม่เคยมีนโยบายในเรื่องนี้จากภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะมีมาตรการความปลอดภัย หรือมีแนวคิดเรื่องการป้องกันแบบบูรณาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง
เหตุการณ์ล่าสุดสะท้อนปัญหาเดิมๆ ชัดๆ ว่า รถบัสอยู่ในสภาพถูกดัดแปลง ตัวเก้าอี้ก็ไม่ได้ถูกยึดกับรถแบบมั่นคง ไม่มีเข็มขัดนิรภัยติดทุกที่นั่ง ไม่มีรถตำรวจนำ หนำซ้ำยังเดินทางตอนกลางคืนอีกต่างหาก สอบถามได้ความว่า เป็นเพราะงบประมาณที่มีจำกัด ทำให้ทางโรงเรียนต้องใช้งบแบบประหยัดที่สุด นั่นหมายความว่า ต้องเช่ารถบัสในราคาถูก และเพื่อจะประหยัดจำนวนวันของการเช่ารถ ก็เลยทำให้ต้องออกเดินทางตอนกลางคืน
ในฐานะคนเป็นพ่อแม่ ฟังแล้วใจหายใจคว่ำจริงๆ กับวิธีคิดที่เอาชีวิตเด็กเป็นเดิมพัน กับการประหยัดงบอันจำกัด ในขณะที่หันไปมองนโยบายประชานิยมของกระทรวงศึกษาธิการที่แจกแท็บเล็ตเด็กป 1 และม 1 ทุกคน ที่ต้องใช้งบประมาณ หลายพันล้านบาท แต่เพิ่งล้มเหลวจากการประมูลที่บริษัทในจีนถอนตัวไปดื้อๆ อีกทั้งโครงการนี้ก็มีนักวิชาการออกมาคัดค้านกันเต็มบ้านเต็มเมือง แต่ก็ไร้ผล เพราะทุกอย่างก็ยังคงเดินหน้าท่ามกลางสภาพปัญหาคาใจ และการถูกตั้งข้อสังเกตเรื่องการคอร์รัปชั่น!
ทำไมไม่คิดเอาเงินที่ไปใช้ในโครงการแจกแท็บเล็ตไปใช้เรื่องความปลอดภัยให้กับเด็กนักเรียนบ้างเล่า ลองถามพ่อแม่ดูก็ได้ว่าอยากได้รับแท็บเล็ตแจกฟรี หรืออยากให้ลูกได้ไปทัศนาจรกับโรงเรียนแล้วปลอดภัย !!
เรื่องความปลอดภัยในการเดินทางของเด็กเป็นเรื่องสำคัญมาก ในเมื่อจะให้เด็กได้เรียนรู้นอกสถานที่ ก็ควรให้ความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญของการเรียนรู้ของเด็กด้วย เพราะเรื่องความปลอดภัยของเด็กก็เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน
ความปลอดภัยใน 3 ระดับที่เด็กควรได้รับ
ระดับแรกคือ ครอบครัว
เป็นความปลอดภัยที่ต้องเริ่มต้นในครอบครัว โดยปูพื้นฐานทักษะการป้องกันตนเอง จากสิ่งที่เป็นอันตรายทีละเล็กละน้อยตามช่วงวัยของเด็ก เพื่อให้เด็กแยกสิ่งที่เป็นอันตรายกับสิ่งที่ไม่เป็นอันตรายด้วยความเข้าใจ
พ่อแม่ต้องมีกระบวนการในการสร้างความปลอดภัยเสมอ ไม่ว่าจะทำสิ่งใด หรือทำกิจกรรมกับเด็กต้องคำนึงถึงความปลอดภัยไว้ก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พ่อแม่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ และเมื่อโตขึ้นก็ค่อยๆ ปลูกฝังในชีวิตประจำวัน แล้วสิ่งเหล่านี้ก็จะซึมซับไปสู่เด็กเมื่อโตขึ้น เวลาเด็กทำอะไรก็จะถ้าคำนึงถึงความปลอดภัยเช่นเดียวกัน
ระดับที่สองคือ สภาพแวดล้อม
ปัจจุบันเด็กส่วนใหญ่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีภาวะความเสี่ยงภัยสูง พ่อแม่ต้องสอนให้เด็กรู้ถึงความปลอดภัยรอบด้าน เริ่มต้นที่ความปลอดภัยใกล้ๆ ตัว เช่น อุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม หรือแม้กระทั่งเรื่องทรัพย์สิน ไม่ควรให้ลูกใส่เครื่องประดับหรือของมีค่าเพราะจะเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม
โดยธรรมชาติของเด็ก เป็นวัยอยากรู้ อยากลอง อยากเล่นและอยากเลียนแบบ โดยที่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอันตรายต่อตัวเองหรือไม่ ดังนั้นผู้ใหญ่ต้องเป็นฝ่ายระมัดระวัง เริ่มด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมให้เป็นที่ที่ปลอดภัยสำหรับลูก รวมไปถึงสภาพแวดล้อมแถวบ้าน ชุมชน ก็ควรได้รับการใส่ใจ อาจเป็นการรวมกลุ่มกันของพ่อแม่ในชุมชน ในโรงเรียน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยให้กับลูกหลาน
รวมไปถึงการเรียนรู้เรื่องความปลอดภัยเมื่อต้องนั่งใช้บริการรถสาธารณะ ก็ต้องหมั่นสังเกตสภาพรถ คนขับรถอยู่ในสภาพปกติหรือไม่ ต้องสังเกตสิ่งรอบข้าง ไม่เอาแต่เล่นสมาร์ทโฟนหรือหลับอย่างเดียว
ระดับที่สามคือ นโยบายจากภาครัฐ
นับวันความสุ่มเสี่ยงต่ออุบัติเหตุในชีวิตประจำวันมีมากมายเหลือเกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้บริการรถสาธารณะ ที่ภาครัฐต้องใส่ใจและเห็นความสำคัญอย่างจริงจังได้แล้ว เมื่อมีกฎหมายก็ต้องเคร่งครัด และบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เช่น เข้มงวดกับการให้ใบขับขี่ เข้มงวดต่อการตรวจสภาพรถ ฯลฯ
ขณะเดียวกันควรต้องส่งเสริมให้มีการกำหนดมาตรการความปลอดภัยในทุกระดับทั้งภาครัฐและเอกชน มี มาตรการป้องกันดูแลรักษาความปลอดภัยสำหรับเด็กและเยาวชนในพื้นที่สาธารณะต่างๆ ก็มีความสำคัญอย่างมาก ปัจจุบันเรามีกฎหมายที่คุ้มครองเรื่องความปลอดภัยอยู่มิใช่น้อย แต่เรื่องบังคับใช้กฎหมายก็ยังเป็นปัญหาอยู่มาก เป็นเหตุให้ผู้คนไม่ปฏิบัติตาม สุดท้ายก็กลายเป็นปัญหาเรื้อรังอยู่จนทุกวันนี้
ถึงเวลาแล้วล่ะค่ะ ที่ผู้ใหญ่ควรจะเลิกเอาชีวิตของเด็กไปเสี่ยงกับความไม่ปลอดภัย โดยใช้เงินเป็นตัวตั้ง !!
นึกถึงประโยคสุภาษิตนี้จากกรณีที่เกิดความรุนแรงทางการเมือง และเด็กต้องกลายเป็นเหยื่อทางเมืองติดๆ กัน 2 วัน ทำให้เด็กต้องเสียชีวิตถึง 4 คน จากเหตุการณ์ที่เกิดการยิงกราดที่จังหวัดตราด และระเบิด M79 ที่ราชประสงค์
ผ่านไปไม่กี่วัน เด็กก็ตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์อีกแล้ว จากกรณีรสบัสที่พาเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านดงหลบ ไปทัศนาจรนอกสถานที่แล้วเกิดอุบัติเหตุ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึง 15 ราย เป็นเด็ก 11 ราย
เหตุการณ์ทั้งสองเหตุการณ์เกิดในเวลาไล่เลี่ยกัน เด็กตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์เหมือนกัน ต่างกันตรงที่ เหตุการณ์แรก เป็นคราวเคราะห์ของเด็กน้อย ที่ตกไปอยู่ในสถานที่สุ่มเสี่ยง และคนร้ายก่อเหตุก็ใช้วิธีสุ่มโจมตี โดยไม่ได้เฉพาะเจาะจงไปที่ใคร จึงยากต่อการระมัดระวังตัว หรือยากต่อการคาดเดาว่าจะเกิดอะไรขึ้น
แต่เหตุการณ์ที่สอง เป็นความประมาทและความชุ่ยของผู้ที่เกี่ยวข้อง เพราะสามารถป้องกันได้ ถ้าผู้ใหญ่เห็นความสำคัญและใส่ใจเรื่องความปลอดภัยของเด็กอย่างแท้จริง
ดิฉันเองจำได้ว่าในยุคสมัยที่ลูกยังเล็ก และต้องเดินทางไปทัศนาจรกับโรงเรียน จะใจตุ้มๆต่อมๆทุกครั้ง เพราะเป็นกังวลเรื่องความปลอดภัย ทำให้ต้องไปเลียบๆ เคียงๆ สอบถามเส้นทาง หรือไปดูสภาพรถก่อนว่าเป็นอย่างไร ซึ่งก็โชคดีที่เจอโรงเรียนที่ใส่ใจเรื่องนี้ จะให้ความสำคัญกับสภาพรถ และคนขับรถอย่างมาก จึงไม่ค่อยมีปัญหา
แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นแบบนี้ทุกโรงเรียน
ข่าวคราวเรื่องอุบัติเหตุรถบัสโรงเรียนพลิกคว่ำ ตกเหว หรือประสบอุบัติเหตุในบ้านเราเกิดขึ้นบ่อยถึงบ่อยมาก และเกิดความสูญเสียแต่ละครั้งก็เป็นจำนวนมาก แต่ก็พบว่า เราก็อยู่กับสภาพเดิมๆ มาโดยตลอด ประมาณ “ตามมีตามเกิด” “สุดแต่บุญแต่กรรม” เพราะยังไม่เคยมีนโยบายในเรื่องนี้จากภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะมีมาตรการความปลอดภัย หรือมีแนวคิดเรื่องการป้องกันแบบบูรณาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง
เหตุการณ์ล่าสุดสะท้อนปัญหาเดิมๆ ชัดๆ ว่า รถบัสอยู่ในสภาพถูกดัดแปลง ตัวเก้าอี้ก็ไม่ได้ถูกยึดกับรถแบบมั่นคง ไม่มีเข็มขัดนิรภัยติดทุกที่นั่ง ไม่มีรถตำรวจนำ หนำซ้ำยังเดินทางตอนกลางคืนอีกต่างหาก สอบถามได้ความว่า เป็นเพราะงบประมาณที่มีจำกัด ทำให้ทางโรงเรียนต้องใช้งบแบบประหยัดที่สุด นั่นหมายความว่า ต้องเช่ารถบัสในราคาถูก และเพื่อจะประหยัดจำนวนวันของการเช่ารถ ก็เลยทำให้ต้องออกเดินทางตอนกลางคืน
ในฐานะคนเป็นพ่อแม่ ฟังแล้วใจหายใจคว่ำจริงๆ กับวิธีคิดที่เอาชีวิตเด็กเป็นเดิมพัน กับการประหยัดงบอันจำกัด ในขณะที่หันไปมองนโยบายประชานิยมของกระทรวงศึกษาธิการที่แจกแท็บเล็ตเด็กป 1 และม 1 ทุกคน ที่ต้องใช้งบประมาณ หลายพันล้านบาท แต่เพิ่งล้มเหลวจากการประมูลที่บริษัทในจีนถอนตัวไปดื้อๆ อีกทั้งโครงการนี้ก็มีนักวิชาการออกมาคัดค้านกันเต็มบ้านเต็มเมือง แต่ก็ไร้ผล เพราะทุกอย่างก็ยังคงเดินหน้าท่ามกลางสภาพปัญหาคาใจ และการถูกตั้งข้อสังเกตเรื่องการคอร์รัปชั่น!
ทำไมไม่คิดเอาเงินที่ไปใช้ในโครงการแจกแท็บเล็ตไปใช้เรื่องความปลอดภัยให้กับเด็กนักเรียนบ้างเล่า ลองถามพ่อแม่ดูก็ได้ว่าอยากได้รับแท็บเล็ตแจกฟรี หรืออยากให้ลูกได้ไปทัศนาจรกับโรงเรียนแล้วปลอดภัย !!
เรื่องความปลอดภัยในการเดินทางของเด็กเป็นเรื่องสำคัญมาก ในเมื่อจะให้เด็กได้เรียนรู้นอกสถานที่ ก็ควรให้ความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญของการเรียนรู้ของเด็กด้วย เพราะเรื่องความปลอดภัยของเด็กก็เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน
ความปลอดภัยใน 3 ระดับที่เด็กควรได้รับ
ระดับแรกคือ ครอบครัว
เป็นความปลอดภัยที่ต้องเริ่มต้นในครอบครัว โดยปูพื้นฐานทักษะการป้องกันตนเอง จากสิ่งที่เป็นอันตรายทีละเล็กละน้อยตามช่วงวัยของเด็ก เพื่อให้เด็กแยกสิ่งที่เป็นอันตรายกับสิ่งที่ไม่เป็นอันตรายด้วยความเข้าใจ
พ่อแม่ต้องมีกระบวนการในการสร้างความปลอดภัยเสมอ ไม่ว่าจะทำสิ่งใด หรือทำกิจกรรมกับเด็กต้องคำนึงถึงความปลอดภัยไว้ก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พ่อแม่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ และเมื่อโตขึ้นก็ค่อยๆ ปลูกฝังในชีวิตประจำวัน แล้วสิ่งเหล่านี้ก็จะซึมซับไปสู่เด็กเมื่อโตขึ้น เวลาเด็กทำอะไรก็จะถ้าคำนึงถึงความปลอดภัยเช่นเดียวกัน
ระดับที่สองคือ สภาพแวดล้อม
ปัจจุบันเด็กส่วนใหญ่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีภาวะความเสี่ยงภัยสูง พ่อแม่ต้องสอนให้เด็กรู้ถึงความปลอดภัยรอบด้าน เริ่มต้นที่ความปลอดภัยใกล้ๆ ตัว เช่น อุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม หรือแม้กระทั่งเรื่องทรัพย์สิน ไม่ควรให้ลูกใส่เครื่องประดับหรือของมีค่าเพราะจะเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม
โดยธรรมชาติของเด็ก เป็นวัยอยากรู้ อยากลอง อยากเล่นและอยากเลียนแบบ โดยที่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอันตรายต่อตัวเองหรือไม่ ดังนั้นผู้ใหญ่ต้องเป็นฝ่ายระมัดระวัง เริ่มด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมให้เป็นที่ที่ปลอดภัยสำหรับลูก รวมไปถึงสภาพแวดล้อมแถวบ้าน ชุมชน ก็ควรได้รับการใส่ใจ อาจเป็นการรวมกลุ่มกันของพ่อแม่ในชุมชน ในโรงเรียน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยให้กับลูกหลาน
รวมไปถึงการเรียนรู้เรื่องความปลอดภัยเมื่อต้องนั่งใช้บริการรถสาธารณะ ก็ต้องหมั่นสังเกตสภาพรถ คนขับรถอยู่ในสภาพปกติหรือไม่ ต้องสังเกตสิ่งรอบข้าง ไม่เอาแต่เล่นสมาร์ทโฟนหรือหลับอย่างเดียว
ระดับที่สามคือ นโยบายจากภาครัฐ
นับวันความสุ่มเสี่ยงต่ออุบัติเหตุในชีวิตประจำวันมีมากมายเหลือเกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้บริการรถสาธารณะ ที่ภาครัฐต้องใส่ใจและเห็นความสำคัญอย่างจริงจังได้แล้ว เมื่อมีกฎหมายก็ต้องเคร่งครัด และบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เช่น เข้มงวดกับการให้ใบขับขี่ เข้มงวดต่อการตรวจสภาพรถ ฯลฯ
ขณะเดียวกันควรต้องส่งเสริมให้มีการกำหนดมาตรการความปลอดภัยในทุกระดับทั้งภาครัฐและเอกชน มี มาตรการป้องกันดูแลรักษาความปลอดภัยสำหรับเด็กและเยาวชนในพื้นที่สาธารณะต่างๆ ก็มีความสำคัญอย่างมาก ปัจจุบันเรามีกฎหมายที่คุ้มครองเรื่องความปลอดภัยอยู่มิใช่น้อย แต่เรื่องบังคับใช้กฎหมายก็ยังเป็นปัญหาอยู่มาก เป็นเหตุให้ผู้คนไม่ปฏิบัติตาม สุดท้ายก็กลายเป็นปัญหาเรื้อรังอยู่จนทุกวันนี้
ถึงเวลาแล้วล่ะค่ะ ที่ผู้ใหญ่ควรจะเลิกเอาชีวิตของเด็กไปเสี่ยงกับความไม่ปลอดภัย โดยใช้เงินเป็นตัวตั้ง !!