องค์การอนามัยโลกคาดปี 2558 ทั่วโลกมีภาวะน้ำหนักเกิน 2,300 ล้านคน อ้วน 700 ล้านคน กรมอนามัยเร่งเดินหน้าต่อยอดองค์กรไร้พุง สู่ “ศูนย์การเรียนรู้องค์กรต้นแบบไร้พุง” รับมือคนไทยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น
วันนี้ (28 ม.ค.) ที่โรงแรมริชมอนด์ นพ.ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมการถอดบทเรียน ศูนย์การเรียนรู้องค์กรต้นแบบไร้พุง ว่า องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่า ปี 2558 ทั่วโลกจะมีคนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน 2,300 ล้านคน คนอ้วน 700 ล้านคน ซึ่งภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน เป็นต้น ส่งผลให้แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตกว่า 2.8 ล้านคน สำหรับคนไทยจากการสำรวจสุขภาพประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 ปี 2551-2552 พบค่าดัชนีมวลกายที่เท่ากับและมากกว่า 25 กิโลกรัม/ตารางเมตร แบ่งเป็นชายร้อยละ 28.4 หญิงร้อยละ 40.7 เส้นรอบเอวเกินมาตรฐาน ชายร้อยละ 18.6 หญิงร้อยละ 45.0 นอกจากนี้ยังป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยหลายล้านคน
นพ.ณรงค์กล่าวอีกว่า จากการดำเนินการโครงการคนไทยไร้พุงของกรมอนามัย โดยส่งเสริม “องค์กรต้นแบบไร้พุง” ในหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งแต่ปี 2551 มีองค์กรสมัครเข้าร่วมโครงการ 1,050 องค์กร ใน 64 จังหวัด สามารถพัฒนาเป็น “องค์กรต้นแบบไร้พุง” จำนวน 361 องค์กร โดยส่งเสริมสนับสนุนและเพิ่มศักยภาพให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทั้งด้านอาหาร และออกกำลังกาย ซึ่งในปี 2554 ได้พัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้องค์กรต้นแบบไร้พุง เพื่อการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สามารถพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้องค์กรต้นแบบไร้พุงในปี 2554 จำนวน 310 องค์กร ปี 2555 จำนวน 258 องค์กร และปี 2556 จำนวน 227 องค์กร
“การประชุมในครั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจในการนำเอาการจัดการความรู้ไปใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ “คนไทยไร้พุง” เพื่อให้เกิดผลผลิต 2 เรื่อง คือ 1. ศูนย์การเรียนรู้องค์กรต้นแบบไร้พุงใหม่อย่างน้อย 2 แห่ง และ 2. เครื่องมือการจัดการความรู้กับแนวคำถามเชิงลึกในการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้กระบวนการดำเนินงานบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้องค์กรต้นแบบไร้พุงจากบุคลากรที่เป็นผู้ขับเคลื่อนในองค์กรต่างๆ ได้แก่ หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานภาครัฐและวิสาหกิจทั่วไป หน่วยงานเอกชน สถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน/หมู่บ้าน/ชมรม เพื่อร่วมกันเตรียมการถอดบทเรียนศูนย์การเรียนรู้องค์กรต้นแบบไร้พุง และนำไปขยายผลพัฒนาต่อไป” รองอธิบดีกรมอนามัยกล่าว
วันนี้ (28 ม.ค.) ที่โรงแรมริชมอนด์ นพ.ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมการถอดบทเรียน ศูนย์การเรียนรู้องค์กรต้นแบบไร้พุง ว่า องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่า ปี 2558 ทั่วโลกจะมีคนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน 2,300 ล้านคน คนอ้วน 700 ล้านคน ซึ่งภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน เป็นต้น ส่งผลให้แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตกว่า 2.8 ล้านคน สำหรับคนไทยจากการสำรวจสุขภาพประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 ปี 2551-2552 พบค่าดัชนีมวลกายที่เท่ากับและมากกว่า 25 กิโลกรัม/ตารางเมตร แบ่งเป็นชายร้อยละ 28.4 หญิงร้อยละ 40.7 เส้นรอบเอวเกินมาตรฐาน ชายร้อยละ 18.6 หญิงร้อยละ 45.0 นอกจากนี้ยังป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยหลายล้านคน
นพ.ณรงค์กล่าวอีกว่า จากการดำเนินการโครงการคนไทยไร้พุงของกรมอนามัย โดยส่งเสริม “องค์กรต้นแบบไร้พุง” ในหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งแต่ปี 2551 มีองค์กรสมัครเข้าร่วมโครงการ 1,050 องค์กร ใน 64 จังหวัด สามารถพัฒนาเป็น “องค์กรต้นแบบไร้พุง” จำนวน 361 องค์กร โดยส่งเสริมสนับสนุนและเพิ่มศักยภาพให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทั้งด้านอาหาร และออกกำลังกาย ซึ่งในปี 2554 ได้พัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้องค์กรต้นแบบไร้พุง เพื่อการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สามารถพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้องค์กรต้นแบบไร้พุงในปี 2554 จำนวน 310 องค์กร ปี 2555 จำนวน 258 องค์กร และปี 2556 จำนวน 227 องค์กร
“การประชุมในครั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจในการนำเอาการจัดการความรู้ไปใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ “คนไทยไร้พุง” เพื่อให้เกิดผลผลิต 2 เรื่อง คือ 1. ศูนย์การเรียนรู้องค์กรต้นแบบไร้พุงใหม่อย่างน้อย 2 แห่ง และ 2. เครื่องมือการจัดการความรู้กับแนวคำถามเชิงลึกในการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้กระบวนการดำเนินงานบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้องค์กรต้นแบบไร้พุงจากบุคลากรที่เป็นผู้ขับเคลื่อนในองค์กรต่างๆ ได้แก่ หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานภาครัฐและวิสาหกิจทั่วไป หน่วยงานเอกชน สถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน/หมู่บ้าน/ชมรม เพื่อร่วมกันเตรียมการถอดบทเรียนศูนย์การเรียนรู้องค์กรต้นแบบไร้พุง และนำไปขยายผลพัฒนาต่อไป” รองอธิบดีกรมอนามัยกล่าว