สธ.ทุ่มงบ 120 ล้าน ให้ 12 เขตบริการสุขภาพ เขตละ 10 ล้าน เร่งพัฒนาคุณภาพระบบบริการปัญหาสุขภาพ 10 สาขา เน้นการจัดบริการร่วม ชู โครงการไร้รอยต่นำร่อง 21 จังหวัดภาคอีสาน ให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า ในปี 2557 สธ.ให้เขตบริการสุขภาพทั้ง 12 เขต เร่งพัฒนาคุณภาพระบบบริการที่ตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพที่สำคัญ 10 สาขา ได้แก่ อุบัติเหตุ หัวใจและหลอดเลือดสมอง ทารกแรกเกิด มะเร็ง 5 สาขาหลัก (สูติ, ศัลย์, อายุรกรรม, เด็ก, ออร์โธปิดิกส์) ตา ไต ปฐมภูมิฯ โรคเรื้อรัง จิตเวช และทันตกรรม โดยจัดทำโครงการนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ประชาชนสัมผัสได้ว่ามีประโยชน์จริงๆ โดยจัดสรรงบประมาณให้เขตละ 10 ล้านบาท เน้นการจัดบริการร่วม เช่น โครงการ “ไร้รอยต่อพัฒนาระบบรับ-ส่งต่อผู้ป่วยและรักษาพยาบาลผู้ป่วยในกลุ่มโรคที่มีอัตราการตายสูง อย่างมืออาชีพ” ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Motorway Fast Track on Trauma/ Stroke / Stemi / Head injury / Newborn and High Risk Pregnancy) ของเขตบริการสุขภาพ 7, 8, 9 และ 10 เป็นต้น
นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการไร้รอยต่อพัฒนาระบบรับ-ส่งต่อผู้ป่วยและการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยในกลุ่มโรคที่มีอัตราการตายสูงฯ ประชาชนจะเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็ว และได้รับการดูแลอย่างถูกต้องได้มาตรฐาน อัตราตายลดลง ศูนย์อุบัติเหตุและวิกฤตบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่นจัดทำขึ้น เพื่อพัฒนาระบบการส่งต่อภายใน 4 เขตบริการสุขภาพ 21 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีพื้นที่กว้างขวางมาก และมีผู้ป่วยกลุ่มโรคสำคัญๆ ที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง เช่น ผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ผู้ป่วยที่บาดเจ็บที่ศีรษะ ทารกแรกเกิด และหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยเป็นความร่วมมือของสถานบริการตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ จนถึงระดับตติยภูมิ เป็นเครือข่ายที่ไร้รอยต่อ มีการจัดตั้งศูนย์รับส่งต่อ มีบุคลากรรับผิดชอบโดยตรง เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการรับ-ส่งต่อที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ประชาชนปลอดภัย ลดอัตราการเสียชีวิต และความพิการ
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า ในปี 2557 สธ.ให้เขตบริการสุขภาพทั้ง 12 เขต เร่งพัฒนาคุณภาพระบบบริการที่ตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพที่สำคัญ 10 สาขา ได้แก่ อุบัติเหตุ หัวใจและหลอดเลือดสมอง ทารกแรกเกิด มะเร็ง 5 สาขาหลัก (สูติ, ศัลย์, อายุรกรรม, เด็ก, ออร์โธปิดิกส์) ตา ไต ปฐมภูมิฯ โรคเรื้อรัง จิตเวช และทันตกรรม โดยจัดทำโครงการนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ประชาชนสัมผัสได้ว่ามีประโยชน์จริงๆ โดยจัดสรรงบประมาณให้เขตละ 10 ล้านบาท เน้นการจัดบริการร่วม เช่น โครงการ “ไร้รอยต่อพัฒนาระบบรับ-ส่งต่อผู้ป่วยและรักษาพยาบาลผู้ป่วยในกลุ่มโรคที่มีอัตราการตายสูง อย่างมืออาชีพ” ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Motorway Fast Track on Trauma/ Stroke / Stemi / Head injury / Newborn and High Risk Pregnancy) ของเขตบริการสุขภาพ 7, 8, 9 และ 10 เป็นต้น
นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการไร้รอยต่อพัฒนาระบบรับ-ส่งต่อผู้ป่วยและการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยในกลุ่มโรคที่มีอัตราการตายสูงฯ ประชาชนจะเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็ว และได้รับการดูแลอย่างถูกต้องได้มาตรฐาน อัตราตายลดลง ศูนย์อุบัติเหตุและวิกฤตบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่นจัดทำขึ้น เพื่อพัฒนาระบบการส่งต่อภายใน 4 เขตบริการสุขภาพ 21 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีพื้นที่กว้างขวางมาก และมีผู้ป่วยกลุ่มโรคสำคัญๆ ที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง เช่น ผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ผู้ป่วยที่บาดเจ็บที่ศีรษะ ทารกแรกเกิด และหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยเป็นความร่วมมือของสถานบริการตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ จนถึงระดับตติยภูมิ เป็นเครือข่ายที่ไร้รอยต่อ มีการจัดตั้งศูนย์รับส่งต่อ มีบุคลากรรับผิดชอบโดยตรง เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการรับ-ส่งต่อที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ประชาชนปลอดภัย ลดอัตราการเสียชีวิต และความพิการ