นักวิชาการชี้ไม่ใช่เวลาปฏิรูปการศึกษา หรือปรับหลักสูตร แนะปรับแก้เฉพาะจุด โดยเฉพาะการแก้ไขการอ่าน ระบุปรับหลักสูตรแต่ครูยังสอนเหมือนเดิม ระบุผลประเมิน PISA สะท้อนให้เห็นปัญหาได้ชัด
ดร.สุนีย์ คล้ายนิล ผู้จัดการโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ หรือ PISA ประเทศไทย (ค.ศ.2000-2012) เปิดเผยว่า เมื่อพิจารณาผลการประเมินทักษะด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนไทยจาก PISA 2000 ถึง 2012 พบว่า แม้ในปี 2012 คะแนนเด็กไทยจะเพิ่มขึ้นกว่าการประเมินครั้งที่ผ่านๆ มา แต่สิ่งที่เรียนรู้ได้จากข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่า เมื่อระบบการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ ย่อมทำให้เกิดความปั่นป่วนทั้งระบบ และต้องใช้เวลานานกว่าจะปรับตัวได้ อีกทั้งข้อมูลยังชี้ให้เห็นว่าขณะนี้การศึกษาไทยกำลังเดินไปในทิศทางบวก ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่จะเกิดขึ้นในระยะนี้จึงควรพิจารณาทบทวนถึงผลกระทบที่จะทำให้เกิดความตกต่ำดังเช่นในรอบที่ผ่านๆ มา
“ส่วนตัวมองว่าเวลานี้ไม่ควรมีการปฎิรูปการศึกษา หรือแม้แต่การปรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่ควรที่จะเน้นปรับปรุงเฉพาะจุดมากกว่า โดยเฉพาะเรื่องการอ่าน เพราะคะแนนการอ่านของเด็กไทยยังต่ำอยู่มาก ฉะนั้นจึงต้องเร่งเรื่องนี้ให้มากที่สุด ทั้งนี้ ถึงแม้จะมีการปรับหลักสูตรฯ แต่ครูก็ยังสอนเหมือนเดิม ที่เน้นแต่ให้เด็กอ่านออกเสียง ร เรือ ล ลิง ว่าถูกหรือไม่ การประเมินด้านการอ่านของเด็กไทยก็คงจะต่ำเหมือนเดิม เพราะการประเมินจะเน้นทดสอบการใช้ว่าเด็กอ่านแล้วเข้าใจ และตีความได้หรือไม่ ไม่ใช่อ่านออกอย่างเดียว นอกจากนี้ ในวิชาคณิตศาสตร์ ควรเน้นให้เด็กสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ไม่ใช่ทำได้แค่บวกลบคูณหารทศนิยมเท่านั้น เช่น เมื่อถามว่า สินค้าลด 30% จากราคาเต็มเหลือเท่าไหร่ จะซื้อดีหรือไม่ดี คำถามนี้เด็กก็ตอบไม่ได้ ดังนั้น ต้องปรับวิธีการสอนกันใหม่ แต่ไม่ใช่ปรับหลักสูตรฯ” นางสุนีย์ กล่าว
ถามว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมีส่วนเกี่ยวข้องกับผลการประเมิน PISA ด้วยหรือไม่ ดร.สุนีย์ กล่าวว่า ตนมองว่าการเปลี่ยนแปลงมีผลต่อการประเมินของเด็กไทยแน่นอน เห็นได้จากในช่วงที่ผ่านๆ มา ไม่ว่าจะรัฐบาลไหนกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ก็เปลี่ยนตัวรัฐมนตรีบ่อยมาก และพอเปลี่ยนก็ไม่จะอยากทำตามนโยบายของคนอื่น เพราะจะทำให้ดูว่าตนเองไม่มีผลงาน ดังนั้น จึงต้องหานโยบายใหม่ๆ ทำให้นโยบายการศึกษาไม่นิ่ง และต้องมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา
ดร.สุนีย์ คล้ายนิล ผู้จัดการโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ หรือ PISA ประเทศไทย (ค.ศ.2000-2012) เปิดเผยว่า เมื่อพิจารณาผลการประเมินทักษะด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนไทยจาก PISA 2000 ถึง 2012 พบว่า แม้ในปี 2012 คะแนนเด็กไทยจะเพิ่มขึ้นกว่าการประเมินครั้งที่ผ่านๆ มา แต่สิ่งที่เรียนรู้ได้จากข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่า เมื่อระบบการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ ย่อมทำให้เกิดความปั่นป่วนทั้งระบบ และต้องใช้เวลานานกว่าจะปรับตัวได้ อีกทั้งข้อมูลยังชี้ให้เห็นว่าขณะนี้การศึกษาไทยกำลังเดินไปในทิศทางบวก ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่จะเกิดขึ้นในระยะนี้จึงควรพิจารณาทบทวนถึงผลกระทบที่จะทำให้เกิดความตกต่ำดังเช่นในรอบที่ผ่านๆ มา
“ส่วนตัวมองว่าเวลานี้ไม่ควรมีการปฎิรูปการศึกษา หรือแม้แต่การปรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่ควรที่จะเน้นปรับปรุงเฉพาะจุดมากกว่า โดยเฉพาะเรื่องการอ่าน เพราะคะแนนการอ่านของเด็กไทยยังต่ำอยู่มาก ฉะนั้นจึงต้องเร่งเรื่องนี้ให้มากที่สุด ทั้งนี้ ถึงแม้จะมีการปรับหลักสูตรฯ แต่ครูก็ยังสอนเหมือนเดิม ที่เน้นแต่ให้เด็กอ่านออกเสียง ร เรือ ล ลิง ว่าถูกหรือไม่ การประเมินด้านการอ่านของเด็กไทยก็คงจะต่ำเหมือนเดิม เพราะการประเมินจะเน้นทดสอบการใช้ว่าเด็กอ่านแล้วเข้าใจ และตีความได้หรือไม่ ไม่ใช่อ่านออกอย่างเดียว นอกจากนี้ ในวิชาคณิตศาสตร์ ควรเน้นให้เด็กสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ไม่ใช่ทำได้แค่บวกลบคูณหารทศนิยมเท่านั้น เช่น เมื่อถามว่า สินค้าลด 30% จากราคาเต็มเหลือเท่าไหร่ จะซื้อดีหรือไม่ดี คำถามนี้เด็กก็ตอบไม่ได้ ดังนั้น ต้องปรับวิธีการสอนกันใหม่ แต่ไม่ใช่ปรับหลักสูตรฯ” นางสุนีย์ กล่าว
ถามว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมีส่วนเกี่ยวข้องกับผลการประเมิน PISA ด้วยหรือไม่ ดร.สุนีย์ กล่าวว่า ตนมองว่าการเปลี่ยนแปลงมีผลต่อการประเมินของเด็กไทยแน่นอน เห็นได้จากในช่วงที่ผ่านๆ มา ไม่ว่าจะรัฐบาลไหนกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ก็เปลี่ยนตัวรัฐมนตรีบ่อยมาก และพอเปลี่ยนก็ไม่จะอยากทำตามนโยบายของคนอื่น เพราะจะทำให้ดูว่าตนเองไม่มีผลงาน ดังนั้น จึงต้องหานโยบายใหม่ๆ ทำให้นโยบายการศึกษาไม่นิ่ง และต้องมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา