ศธ.ดี๊ด๊า ผลประเมิน PISA 2012 คะแนนดีขึ้น แม้จะเป็นครั้งแรกหลังเข้าร่วมมาแต่ปี 2000 โดยเฉพาะปีนี้ การอ่านและวิทยาศาสตร์ ดีขึ้นชัดเจน ส่วนคณิตดีขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ภาพรวมก็ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวม สสวท.ชี้ ร.ร.ขยายโอกาสมีคะแนนก้าวกระโดดมากสุด ขณะที่อาชีวะเอกชน คะแนนยังต่ำ อึ้ง! เวียดนามเข้าประเมินครั้งแรก ผงาดขึ้นอันดับ 17 แต่ไทยอยู่อันดับ 50 หนำซ้ำเวียดนามยังทำคะแนนได้น่าพอใจทุกวิชา แถมประเทศแถวหน้าในเอเซียพาเหรดทำคะแนนอยู่ในกลุ่ม Top 10
วันนี้ (4 ธ.ค.) โรงแรม S31 สุขุมวิท กรุงเทพฯ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานแถลงข่าวผลการประเมินในโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programme for International Student Assessment : PISA) ปี 2012 ดำเนินการโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ หรือ OECD และทำการสำรวจเก็บข้อมูลไปเมื่อปี 2011 จากนักเรียนกลุ่มตัวอย่างอายุ 15 ปีระดับการศึกษาภาคบังคับ ประมาณ 510,000 คนจาก 65 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ
ในส่วนประเทศไทยมีนักเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 6,600 คนจาก 239 โรงเรียนทุกสังกัด โดยระดับชั้นที่มีนักเรียนอายุ 15 ปีมากที่สุดของโรงเรียนไทย ได้แก่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปีที่ 1 ประมาณ 75% รองลงมา คือ ชั้น ม.3 ประมาณ 20% ที่เหลือเป็นนักเรียนชั้น ม.1, 2 และปีที่ 5 หรือ ปวช.2 การสำรวจครั้งนี้ทำการสุ่มสำรวจแบบเป็นระบบ ตามสัดส่วนจำนวนของนักเรียนและตามพื้นที่เพื่อให้ได้ตัวแทนที่กระจายทั่วประเทศ สำหรับโรงเรียนในกลุ่มพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะ ร.ร.จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยเข้าร่วมการประเมินทุก ร.ร.
โดย ดร.สุนีย์ คล้ายนิล ผู้จัดการโครงการประเมิน PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดเผยผลการประเมิน PISA 2012 ว่า การประเมิน PISA 2012 นี้ เป็นครั้งแรกที่ผลการประเมินของประเทศไทยขยับสูงขึ้นทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านคณิตศาสตร์ด้านการอ่าน และด้านวิทยาศาสตร์ นับตั้งแต่ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการประเมินในปี 2000 ซึ่งที่ผ่านมา คือ ปี 2003, 2006 ผลการประเมินลดลงในทุกรอบการประเมิน จนมาถึงการประเมินในปี 2009 ผลการประเมินเริ่มทรงตัว แต่สำหรับการประเมิน PISA ปี 2012 ของไทยครั้งนี้ พบว่า ผลการประเมินด้านการอ่านและวิทยาศาสตร์สูงขึ้นชัดเจน ส่วนผลการประเมินด้านคณิตศาสตร์สูงขึ้นเล็กน้อย
สำหรับผลการประเมิน PISA 2012 ของประเทศไทยนั้น ด้านการอ่าน อยู่ในอันดับที่ 48 ได้ 441 คะแนน ค่าเฉลี่ย PISA อยู่ที่ 496 คะแนน สูงขึ้นจากคะแนนการอ่านในปี 2009 ซึ่งได้ 421 คะแนน ด้านวิทยาศาสตร์ ไทยอยู่อันดับที่ 47 ได้ 444 คะแนน ค่าเฉลี่ยฯ 501 คะแนน สูงขึ้นจากคะแนนปี 2009 ซึ่งอยู่ที่ 425 คะแนน ด้านคณิตศาสตร์ อยู่อันดับที่ 50 ได้ 427 คะแนน ค่าเฉลี่ยฯ 494 คะแนน ส่วนในปี 2009 อยู่ที่ 419 คะแนน
ประเด็นที่น่าสนใจจากการประเมิคราวนี้ คือ การที่ผลประเมินของประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น เพราะคะแนนของกลุ่ม ร.ร.ขยายโอกาสเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ซึ่งเพิ่มสูงกว่า 1 ระดับโดยปกติการทำให้คะแนนเพิ่มแค่ครึ่งระดับก็ถือว่าสูงมากแล้ว แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ขณะที่คะแนนกลุ่ม ร.ร.อื่นๆ มีแนวโน้มสูงขึ้นแต่คะแนนของ ร.ร.อาชีวศึกษาเอกชนกลับลดต่ำลง ขณะที่อาชีวศึกษารัฐคะแนนอยู่กับที่ แต่ที่น่าห่วงคือถ้าดูภาพรวมทุกการศึกษายังทำคะแนนการอ่านได้ต่ำ และที่น่าสนใจอีกประเด็น คือ คะแนนของ ร.ร.สาธิต และ ร.ร.จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ที่ทำคะแนนสูงติดอันดับ Top Performance มาตลอดแต่คะแนนมีแนวโน้มลดลงกว่าที่ผ่านมา
“คะแนนของแต่ละประเทศจะแบ่งออกเป็น 6 ระดับ ซึ่งระดับที่ 2 จะเป็นคะแนนระดับพื้นฐานสุดที่นักเรียนควรจะทำได้ (Minimum requirement) ปรากฏว่าประเทศไทยมีเด็กที่ทำคะแนนได้ต่ำกว่าระดับ 2 จำนวนมาก โดยวิชาคณิตศาสตร์มี 50% การอ่าน 33% และวิทยาศาสตร์ 34% เพราะฉะนั้น ถึงคะแนนของประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นแต่คุณภาพการศึกษาไทยก็ยังห่างไกลจากความเป็นเลิศ ความพยายามที่จะยกคุณภาพการศึกษายังคงเป็นภารกิจสำคัญที่ต้องดำเนินการต่อไป แต่สถานการณ์ของประเทศไทยยังดีกว่าประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย เพราะประเทศมาเลเซีย มีนักเรียนที่ทำคะแนนต่ำกว่าระดับ 2 ของ Minimum requirement ในวิชาคณิตศาสตร์ 60% การอ่าน 53% และวิทยาศาสตร์ 46% ส่วนประเทศอินโดฯ คณิตศาสตตร์ 71% การอ่าน 55% และวิทยาศาสตร์ 67%” ดร.สุนีย์ กล่าว
ดร.สุนีย์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังพบว่าประเทศเวียดนาม เป็นประเทศที่น่าสนใจเพราะเพิ่งเข้าร่วมการประเมินครั้งแรก แต่สามารถทำคะแนนได้ดีในทั้ง 3 ด้าน โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนของเวียดนามติดอันดับ Top 10 ขณะที่อีก 2 วิชาที่เหลือยังทำคะแนนได้สูงกว่าค่าเฉลี่ย และอันดับโดยรวมอยู่ในอันดับที่ 17 แต่ประเทศไทยประเมินทุกปีแต่อันดับอยู่ที่ 50 อย่างไรก็ตาม การประเมิน PISA2012 ประเทศเขตเศรษฐกิจในเอเชียทำคะแนนอยู่ในอันดับ Top 10 อยู่หลายประเทศ โดยเฉพาะเซี่ยงไฮ้ ซึ่งทำคะแนนได้สูงมากและติดอันดับ Top 10 ทุกวิชา ขณะที่สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และมาเก๊า มีผลการประเมินอยู่ในกลุ่มบนสุดทั้ง 3 ด้าน ส่วนประเทศตะวันตกที่อยู่ในกลุ่มบนสุดทั้ง 3 ด้านได้แก่ ฟินแลนด์ โปแลนด์ ลิกเตนสไตน์ สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ เอสโตเนีย และแคนนาดา
ด้าน นายจาตุรนต์ กล่าวว่า จะมีการเผยแพร่ผลและการวิเคราะห์ผลการประเมิน PISA 2012 ในส่วนของประเทศไทย ที่ผ่านมา ศธ.ได้ประกาศเป็นนโยบายต่อเนื่องและเป็นนโยบายหนึ่งของการรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยจะพยายามให้อันดับ PISA ของไทยใน พ.ศ.2558 ดีขึ้น เพราะ ศธ.มองว่าการประเมินทั้ง 3 ด้านมีสำคัญที่ ส่งผลให้เด็กและเยาวชนมีความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ และจากนี้จะนำผล PISA มาวิเคราะห์เพื่อให้เรารู้ปัญหาการจัดการศึกษาของไทย โดยเฉพาะหากนำข้อค้นพบจากการประเมินมาใช้เพื่อพัฒนายกระดับการศึกษาในภาพรวม อย่างไรก็ตาม จากนี้ ศธ.จะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเป้าหมาย PISA ครั้งหน้าควรจะยกระดับขึ้นไปเท่าไร โดยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นจะเป็นผู้ดำเนินการและวางแผนงานรองรับเพื่อดำเนินการจริงจังต่อเนื่อง ส่วนอันดับควรจะเป็นเท่าไรนั้นคาดว่าจะสรุปได้ภายใน 1-2 สัปดาห์
วันนี้ (4 ธ.ค.) โรงแรม S31 สุขุมวิท กรุงเทพฯ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานแถลงข่าวผลการประเมินในโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programme for International Student Assessment : PISA) ปี 2012 ดำเนินการโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ หรือ OECD และทำการสำรวจเก็บข้อมูลไปเมื่อปี 2011 จากนักเรียนกลุ่มตัวอย่างอายุ 15 ปีระดับการศึกษาภาคบังคับ ประมาณ 510,000 คนจาก 65 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ
ในส่วนประเทศไทยมีนักเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 6,600 คนจาก 239 โรงเรียนทุกสังกัด โดยระดับชั้นที่มีนักเรียนอายุ 15 ปีมากที่สุดของโรงเรียนไทย ได้แก่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปีที่ 1 ประมาณ 75% รองลงมา คือ ชั้น ม.3 ประมาณ 20% ที่เหลือเป็นนักเรียนชั้น ม.1, 2 และปีที่ 5 หรือ ปวช.2 การสำรวจครั้งนี้ทำการสุ่มสำรวจแบบเป็นระบบ ตามสัดส่วนจำนวนของนักเรียนและตามพื้นที่เพื่อให้ได้ตัวแทนที่กระจายทั่วประเทศ สำหรับโรงเรียนในกลุ่มพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะ ร.ร.จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยเข้าร่วมการประเมินทุก ร.ร.
โดย ดร.สุนีย์ คล้ายนิล ผู้จัดการโครงการประเมิน PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดเผยผลการประเมิน PISA 2012 ว่า การประเมิน PISA 2012 นี้ เป็นครั้งแรกที่ผลการประเมินของประเทศไทยขยับสูงขึ้นทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านคณิตศาสตร์ด้านการอ่าน และด้านวิทยาศาสตร์ นับตั้งแต่ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการประเมินในปี 2000 ซึ่งที่ผ่านมา คือ ปี 2003, 2006 ผลการประเมินลดลงในทุกรอบการประเมิน จนมาถึงการประเมินในปี 2009 ผลการประเมินเริ่มทรงตัว แต่สำหรับการประเมิน PISA ปี 2012 ของไทยครั้งนี้ พบว่า ผลการประเมินด้านการอ่านและวิทยาศาสตร์สูงขึ้นชัดเจน ส่วนผลการประเมินด้านคณิตศาสตร์สูงขึ้นเล็กน้อย
สำหรับผลการประเมิน PISA 2012 ของประเทศไทยนั้น ด้านการอ่าน อยู่ในอันดับที่ 48 ได้ 441 คะแนน ค่าเฉลี่ย PISA อยู่ที่ 496 คะแนน สูงขึ้นจากคะแนนการอ่านในปี 2009 ซึ่งได้ 421 คะแนน ด้านวิทยาศาสตร์ ไทยอยู่อันดับที่ 47 ได้ 444 คะแนน ค่าเฉลี่ยฯ 501 คะแนน สูงขึ้นจากคะแนนปี 2009 ซึ่งอยู่ที่ 425 คะแนน ด้านคณิตศาสตร์ อยู่อันดับที่ 50 ได้ 427 คะแนน ค่าเฉลี่ยฯ 494 คะแนน ส่วนในปี 2009 อยู่ที่ 419 คะแนน
ประเด็นที่น่าสนใจจากการประเมิคราวนี้ คือ การที่ผลประเมินของประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น เพราะคะแนนของกลุ่ม ร.ร.ขยายโอกาสเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ซึ่งเพิ่มสูงกว่า 1 ระดับโดยปกติการทำให้คะแนนเพิ่มแค่ครึ่งระดับก็ถือว่าสูงมากแล้ว แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ขณะที่คะแนนกลุ่ม ร.ร.อื่นๆ มีแนวโน้มสูงขึ้นแต่คะแนนของ ร.ร.อาชีวศึกษาเอกชนกลับลดต่ำลง ขณะที่อาชีวศึกษารัฐคะแนนอยู่กับที่ แต่ที่น่าห่วงคือถ้าดูภาพรวมทุกการศึกษายังทำคะแนนการอ่านได้ต่ำ และที่น่าสนใจอีกประเด็น คือ คะแนนของ ร.ร.สาธิต และ ร.ร.จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ที่ทำคะแนนสูงติดอันดับ Top Performance มาตลอดแต่คะแนนมีแนวโน้มลดลงกว่าที่ผ่านมา
“คะแนนของแต่ละประเทศจะแบ่งออกเป็น 6 ระดับ ซึ่งระดับที่ 2 จะเป็นคะแนนระดับพื้นฐานสุดที่นักเรียนควรจะทำได้ (Minimum requirement) ปรากฏว่าประเทศไทยมีเด็กที่ทำคะแนนได้ต่ำกว่าระดับ 2 จำนวนมาก โดยวิชาคณิตศาสตร์มี 50% การอ่าน 33% และวิทยาศาสตร์ 34% เพราะฉะนั้น ถึงคะแนนของประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นแต่คุณภาพการศึกษาไทยก็ยังห่างไกลจากความเป็นเลิศ ความพยายามที่จะยกคุณภาพการศึกษายังคงเป็นภารกิจสำคัญที่ต้องดำเนินการต่อไป แต่สถานการณ์ของประเทศไทยยังดีกว่าประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย เพราะประเทศมาเลเซีย มีนักเรียนที่ทำคะแนนต่ำกว่าระดับ 2 ของ Minimum requirement ในวิชาคณิตศาสตร์ 60% การอ่าน 53% และวิทยาศาสตร์ 46% ส่วนประเทศอินโดฯ คณิตศาสตตร์ 71% การอ่าน 55% และวิทยาศาสตร์ 67%” ดร.สุนีย์ กล่าว
ดร.สุนีย์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังพบว่าประเทศเวียดนาม เป็นประเทศที่น่าสนใจเพราะเพิ่งเข้าร่วมการประเมินครั้งแรก แต่สามารถทำคะแนนได้ดีในทั้ง 3 ด้าน โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนของเวียดนามติดอันดับ Top 10 ขณะที่อีก 2 วิชาที่เหลือยังทำคะแนนได้สูงกว่าค่าเฉลี่ย และอันดับโดยรวมอยู่ในอันดับที่ 17 แต่ประเทศไทยประเมินทุกปีแต่อันดับอยู่ที่ 50 อย่างไรก็ตาม การประเมิน PISA2012 ประเทศเขตเศรษฐกิจในเอเชียทำคะแนนอยู่ในอันดับ Top 10 อยู่หลายประเทศ โดยเฉพาะเซี่ยงไฮ้ ซึ่งทำคะแนนได้สูงมากและติดอันดับ Top 10 ทุกวิชา ขณะที่สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และมาเก๊า มีผลการประเมินอยู่ในกลุ่มบนสุดทั้ง 3 ด้าน ส่วนประเทศตะวันตกที่อยู่ในกลุ่มบนสุดทั้ง 3 ด้านได้แก่ ฟินแลนด์ โปแลนด์ ลิกเตนสไตน์ สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ เอสโตเนีย และแคนนาดา
ด้าน นายจาตุรนต์ กล่าวว่า จะมีการเผยแพร่ผลและการวิเคราะห์ผลการประเมิน PISA 2012 ในส่วนของประเทศไทย ที่ผ่านมา ศธ.ได้ประกาศเป็นนโยบายต่อเนื่องและเป็นนโยบายหนึ่งของการรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยจะพยายามให้อันดับ PISA ของไทยใน พ.ศ.2558 ดีขึ้น เพราะ ศธ.มองว่าการประเมินทั้ง 3 ด้านมีสำคัญที่ ส่งผลให้เด็กและเยาวชนมีความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ และจากนี้จะนำผล PISA มาวิเคราะห์เพื่อให้เรารู้ปัญหาการจัดการศึกษาของไทย โดยเฉพาะหากนำข้อค้นพบจากการประเมินมาใช้เพื่อพัฒนายกระดับการศึกษาในภาพรวม อย่างไรก็ตาม จากนี้ ศธ.จะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเป้าหมาย PISA ครั้งหน้าควรจะยกระดับขึ้นไปเท่าไร โดยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นจะเป็นผู้ดำเนินการและวางแผนงานรองรับเพื่อดำเนินการจริงจังต่อเนื่อง ส่วนอันดับควรจะเป็นเท่าไรนั้นคาดว่าจะสรุปได้ภายใน 1-2 สัปดาห์