นักวิชาการชี้คดีพระวิหารเป็นบทเรียนของไทย ย้ำไม่ควรนำเรื่องการเมืองมาเอี่ยว ระบุศาลโลกไม่ได้เปลี่ยนแปลงที่ตัดสินไว้ปี 2505 พร้อมจัดสัมมนาวิชาการ “เบื้องหลังคดีตีความปราสาทพระวิหาร” เชิญ “ทูตวีรชัย” ร่วมแจงศุกร์ 15 พ.ย.นี้
วันนี้ (12 พ.ย.) เมื่อเวลา 13.30 น.อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดแถลงข่าวเรื่อง “คำตัดสินศาลโลก : ตีความคดีปราสาทพระวิหาร โดย ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี จุฬาฯ กล่าวว่า จากคำตัดสินของศาลโลก เมื่อวันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมานั้น กำลังสร้างความสับสนพอสมควรในการตีความ และทำให้หลายคนอาจเกิดข้อสงสัยว่าไทยเสียดินแดนหรือไม่ จุฬาฯ ซึ่งมีองค์ความรู้และกลุ่มนักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านนี้ จึงได้ทำการศึกษาเรื่องนี้ โดยที่ผ่านมา ทางจุฬาฯ ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาหนึ่งชุด ประกอบด้วย นักวิชาการด้านต่างๆ อาทิ คณะนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มารวมตัวกันทำงานในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ดังนั้น จึงเป็นความตั้งใจของจุฬาฯ แต่เมื่อศาลโลกมีการตัดสินในเรื่องนี้ จะจัดแถลงข่าวในวันรุ่งขึ้นทันที เพื่ออยากจะช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ประชาชน รวมทั้งเสนอแนะท่าทีและการดำเนินการที่เหมาะสมในฐานะที่ไทยเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก และหนึ่งในประเทศก่อตั้งประชาคมอาเซียน ที่สำคัญเราต้องคำนึงประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณชายแดนของประเทศไทย-กัมพูชา ซึ่งจะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด และต้องรักษาผลประโยชน์ของชาติบนพื้นฐานของหลักความยุติธรรม ความสมเหตุสมผล และมิตรภาพกับประเทศเพื่อนบ้านที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
ด้าน ศ.ดร.ชุมพร ปัจจุสานนท์ ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า คำตัดสินของศาลโลกนั้น ได้ยืนยันและไม่ได้เปลี่ยนแปลงคำตัดสินที่ศาลโลกได้ให้ไว้ในปี 2505 นั่นคือ ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอำนาจอธิปไตยของประเทศกัมพูชา ให้ไทยถอนทหารออกไปจากบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร และให้ส่งคืนวัตถุโบราณ ซึ่งในครั้งนั้นไทยก็ปฏิบัติตามโดยคณะรัฐมนตรีสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้กำหนดเส้นการแบ่งเขตที่ไทยเลือกเขตพื้นที่บางส่วนให้ไป จนกระทั่งเมื่อกัมพูชาเสนอปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ก็เกิดกรณีพิพาทขึ้นในเรื่องพื้นที่ที่ขณะที่กัมพูชาก็อ้างว่าพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารกินพื้นที่มากกว่า 4.6 ตารางกิโลเมตร และประเทศกัมพูชาได้ยื่นให้ศาลโลกตีความใหม่ อย่างไรก็ตาม คำตัดสินศาลโลกในปี 2505 ปราสาทพระวิหารและพื้นที่บางส่วนเป็นของประเทศกัมพูชา ซึ่งเท่ากับว่าไทยแพ้คดีนี้มาตั้งแต่อดีตแล้ว เพียงแต่หลังจากนั้น ประเทศกัมพูชา และไทยตีความแตกต่างกัน ดังนั้น หัวใจสำคัญคำตัดสินครั้งนี้ คือการตีความคำว่า vicinity หรือบริเวณข้างเคียงปราสาทพระวิหาร โดยศาลโลกได้วินิจฉัยตามคำตัดสินของศาลโลกในครั้งนั้นโดยยึดตามกรอบ คือ การรับตีความแต่ไม่ได้รับฟังข้ออ้างของกัมพูชา ขณะเดียวกันก็ไม่ได้รับฟังพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีของไทยเคยตีความไว้ในอดีต เรียกได้ว่า ไทยก็ไม่ได้ชนะทั้งหมด และกัมพูชาก็ไม่ได้บริเวณทั้งหมดที่เขาขอเช่นเดียวกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ผลการตัดสินของไทยแพ้คดี และเสียพื้นที่หรือไม่ ศ.ดร.ชุมพร กล่าวว่า คำว่าเสียพื้นที่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกและการตีความส่วนบุคคล หากมองว่าเสียพื้นที่ในส่วน 4.6 ตร.กม.ถือว่าไทยไม่แพ้ แต่หากมองว่าเป็นการเสียพื้นที่ตามมติคณะรัฐมนตรี สมัยจอมพลสฤษดิ์ ถือว่าประเทศไทยแพ้ ดังนั้น เรื่องนี้ประชาชนต้องเข้าใจว่าเขาพระวิหาร เป็นของกัมพูชาตามมติของศาลโลกตั้งแต่ปี 2505 เราแพ้คดีปราสาทเขาพระวิหารมานานแล้ว และเมื่อมีคำตัดสินออกมาแล้ว จากนี้รัฐบาลต้องสร้างความเข้าใจทำให้ชัดเจน โดยต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญทางด้านแผนที่ มากำหนดจุดเขตแดนทำแผนที่ให้ชัดเจน จากนั้นต้องมาชี้แจงให้ประชาชนได้ฟังโดยสมเหตุสมผล เพราะเรื่องนี้ต้องอาศัยความเข้าใจ คิดเอาเองไม่ได้ อาจจะทำให้เกิดปัญหามากมาย ขณะเดียวกันต้องนำเรื่องเขตแดนที่กำหนดขึ้นไปเจรจากับทางประเทศกัมพูชาด้วยว่ามีความเห็นเช่นไร เนื่องจากการกำหนดเส้นเขตแดนจะทำจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ ต้องตกลงร่วมกันเป็นข้อกำหนดตามหลักสากล เพราะเราเป็นประเทศหนึ่งในสังคมโลก เป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน เราอยู่ในสังคมโลกใกล้ชิดกันมาก สิ่งที่ดีที่สุดค่อยๆคิด ค่อยๆ วางแผนที่ และคำนึงในฐานะที่เราเป็นประเทศเพื่อนบ้านกัน
ศ.ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า คดีพิพาทระหว่างประเทศเพื่อนบ้านในลักษณะนี้มีหลายคดี รวมทั้งในภูมิภาคอาเซียน เช่น มาเลเซีย-อินโดนีเซีย ซึ่งเมื่อขึ้นศาลโลกตัดสินแล้วทุกประเทศจะต้องยอมรับผลการตัดสินของศาล และทำอย่างไรให้ประเทศตนเองเสียดินแดนน้อยที่สุด ดังนั้น กรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร ศาลโลกได้ตัดสินไปตั้งแต่ปี 2505 แล้ว และจริงๆ ไทยเสียปราสาทและพื้นที่บางส่วนไปนานแล้ว อย่างไรก็ตาม ในหลักปฏิบัติที่ยอมรับกันนั้น หากศาลโลกตัดสินมาแล้วไม่ปฏิบัติตามจะถูกมองในทางลบ แต่ความจริงแล้วก่อนหน้าที่จะมีการตัดสินของศาลโลก อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าทั้งรัฐบาลไทยและกัมพูชาได้ออกมาแถลงจุดยืนว่าไม่ว่าคำตัดสินจะออกมาเช่นไรทั้งสองฝ่ายก็จะเคารพในคำตัดสินของศาล
“ตามที่ผมได้ยกตัวอย่างกรณีข้อพิพาทเรื่องเขตแดนระหว่างประเทศของประเทศเพื่อนบ้านทั้ง อินโดนีเซีย-มาเลเซีย และมาเลเซีย-สิงคโปร์ นั้น ศาลก็ไม่ได้ตัดสินเรื่องของเขตแดน ซึ่งลักษณะของคำตัดสินจะเหมือนกับกรณีของไทยและกัมพูชา ดังนั้นหลังจากนี้ไปการเจรจาปักปันเขตแดนจะขึ้นอยู่กับการเจรจา ซึ่งความจริงรัฐบาลทั้งสองฝ่ายมีกรอบในการเจรจาอยู่แล้ว อีกทั้งในเรื่องปัญหาชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชานั้น เราเองก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องภูมิศาสตร์ และไม่ได้เชี่ยวชาญรายละเอียดปลีกย่อยเรื่องกฎหมายอย่างลึกซึ้ง จึงไม่ควรให้ความคิดเห็นไปกันคนละทิศละทาง แต่อย่างไรก็ตามผมเชื่อว่า ตอนนี้เราต่างก็มีจุดยืนเหมือนเดิม คือทั้งสองประเทศต่างก็ยังไม่ได้มีข้อยุติ แต่โดยหลักถ้าเราเจรจากันอย่างสันติวิธี โดยจะต้องไม่ทำให้เกิดปัญหาขัดแย้งและกระทบกระเทือนต่อวิถีชีวิตของผู้คนทั้งสองฝ่าย เพราะยุคนี้เรื่องเขตแดนไม่ใช่เรื่องที่จะไม่เอามาเป็นประเด็นจนกระทั่งทำลายสันติสุขและการอยู่ร่วมกันของประเทศเพื่อนบ้าน หลักคิดของผมก็มีประมาณนี้” ศ.ดร.ไชยวัฒน์ กล่าวและว่า ครั้งนี้ถือเป็นบทเรียนสำคัญ คนไทยต้องมีเอกภาพประเด็นปราสาทพระวิหารนั้น ไม่ควรเอานำเรื่องของการเมืองมาเกี่ยวข้อง อย่าให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย อย่าเอาเรื่องละเอียดอ่อนข้อพิพาททางดินแดนระหว่างประเทศ มาเป็นประเด็น
รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ กล่าวว่า ศาลโลกบอกว่าเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ดังนั้นหมายถึงเป็นพันธกิจของกัมพูาและไทยที่ต้องช่วยจรรโลง ดูแล ปฏิสังขรณ์ ทำให้สมบัติชิ้นนี้เป็นของมนุษยศาสตร์อย่างสมบูรณ์ ขณะนี้คำตัดสินออกมาแล้ว เราจะคิด ขับเคลื่อนตามภาพความเข้าใจในอดีตที่เป็นเรื่องของความขัดแย้ง แตกแยก แสดงจุดยืนจับจองความเป็นเจ้าของ ทั้งที่ ปราสาทเขาพระวิหาร มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เป็นสถานที่มีผู้มาจาริกแสดงบุญและบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ตนศรัทธาร่วมกัน เป็นคุณค่าที่มีความหมาย แต่ตอนนี้คุณค่าเหล่านั้นถูกลืมไปหมดแล้ว อย่างไรก็ตาม ปราสาทเขาพระวิหารเป็นสมบัติร่วมกันระหว่างไทยกับกัมพูชา ในทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เป็นการแสดงถึงมิตรภาพอันแน่นแฟ้น พอมาถึงวันนี้ถึงแม้คำตัดสินค่อนข้างชัดเจน ตัวปราสาทเป็นของกัมพูชา ฉะนั้น นัยยะฝ่ายไทยและกัมพูชา ควรคิดว่าเรามาร่วมมือกัน ร่วมกันจรรโลงสมบัติของชาติอย่างไร ร่วมกันศึกษาและพลิกฟื้นจิตวิญญาณของปราสาทเขาพระวิหาร
“ประเด็นในมิติทางสังคมและวัฒนธรรม ทางสถาบันเอเชียศึกษาได้พยายามประมวลข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องพบว่าอย่างน้อยตั้งแต่ปี 2554 มูลค่าทางการค้าของไทยในพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหาร ตกถึง 93,152 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3,081 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสินค้าที่นำไปขายมีทั้งสินค้าอุปโภคและบริโภค นอกจากนี้ยังมีการลงทุนทางด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่มีบริษัทที่เข้าไปลงทุนในกัมพูชามากมาย ที่พูดเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันจะเป็นผลประโยชน์เฉพาะคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่จะมีความสำคัญและยังเป็นประโยชน์ให้คนในหลายกลุ่มหลายระดับของทั้งสองประเทศด้วย” รศ.ดร.สุเนตร กล่าว
ด้าน ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ทั้งนี้คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ จะจัดสัมมนาวิชาการเรื่อง “เบื้องหลังคดีตีความปราสาทพระวิหาร” ในวันศุกร์ที่ 15 พ.ย. 2556 เวลา 9.30 น.ณ ห้อง 307 อาคารพินิตประชานาถ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในฐานะหัวหน้าคณะต่อสู้คดีฝ่ายไทย คดีเขาพระวิหาร, ศ.ดร.ชุมพร ปัจจุสานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ และนายณัฏฐวุฒิ โพธิสาโร รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นวิทยากร เพื่อเผยแพร่ข้อเท็จจริงและประเด็นกฎหมายที่สำคัญของคดีนี้ รวมทั้งในแนวการวิเคราะห์ผลของคำพิพากษาแก่สาธารณชน
วันนี้ (12 พ.ย.) เมื่อเวลา 13.30 น.อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดแถลงข่าวเรื่อง “คำตัดสินศาลโลก : ตีความคดีปราสาทพระวิหาร โดย ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี จุฬาฯ กล่าวว่า จากคำตัดสินของศาลโลก เมื่อวันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมานั้น กำลังสร้างความสับสนพอสมควรในการตีความ และทำให้หลายคนอาจเกิดข้อสงสัยว่าไทยเสียดินแดนหรือไม่ จุฬาฯ ซึ่งมีองค์ความรู้และกลุ่มนักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านนี้ จึงได้ทำการศึกษาเรื่องนี้ โดยที่ผ่านมา ทางจุฬาฯ ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาหนึ่งชุด ประกอบด้วย นักวิชาการด้านต่างๆ อาทิ คณะนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มารวมตัวกันทำงานในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ดังนั้น จึงเป็นความตั้งใจของจุฬาฯ แต่เมื่อศาลโลกมีการตัดสินในเรื่องนี้ จะจัดแถลงข่าวในวันรุ่งขึ้นทันที เพื่ออยากจะช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ประชาชน รวมทั้งเสนอแนะท่าทีและการดำเนินการที่เหมาะสมในฐานะที่ไทยเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก และหนึ่งในประเทศก่อตั้งประชาคมอาเซียน ที่สำคัญเราต้องคำนึงประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณชายแดนของประเทศไทย-กัมพูชา ซึ่งจะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด และต้องรักษาผลประโยชน์ของชาติบนพื้นฐานของหลักความยุติธรรม ความสมเหตุสมผล และมิตรภาพกับประเทศเพื่อนบ้านที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
ด้าน ศ.ดร.ชุมพร ปัจจุสานนท์ ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า คำตัดสินของศาลโลกนั้น ได้ยืนยันและไม่ได้เปลี่ยนแปลงคำตัดสินที่ศาลโลกได้ให้ไว้ในปี 2505 นั่นคือ ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอำนาจอธิปไตยของประเทศกัมพูชา ให้ไทยถอนทหารออกไปจากบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร และให้ส่งคืนวัตถุโบราณ ซึ่งในครั้งนั้นไทยก็ปฏิบัติตามโดยคณะรัฐมนตรีสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้กำหนดเส้นการแบ่งเขตที่ไทยเลือกเขตพื้นที่บางส่วนให้ไป จนกระทั่งเมื่อกัมพูชาเสนอปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ก็เกิดกรณีพิพาทขึ้นในเรื่องพื้นที่ที่ขณะที่กัมพูชาก็อ้างว่าพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารกินพื้นที่มากกว่า 4.6 ตารางกิโลเมตร และประเทศกัมพูชาได้ยื่นให้ศาลโลกตีความใหม่ อย่างไรก็ตาม คำตัดสินศาลโลกในปี 2505 ปราสาทพระวิหารและพื้นที่บางส่วนเป็นของประเทศกัมพูชา ซึ่งเท่ากับว่าไทยแพ้คดีนี้มาตั้งแต่อดีตแล้ว เพียงแต่หลังจากนั้น ประเทศกัมพูชา และไทยตีความแตกต่างกัน ดังนั้น หัวใจสำคัญคำตัดสินครั้งนี้ คือการตีความคำว่า vicinity หรือบริเวณข้างเคียงปราสาทพระวิหาร โดยศาลโลกได้วินิจฉัยตามคำตัดสินของศาลโลกในครั้งนั้นโดยยึดตามกรอบ คือ การรับตีความแต่ไม่ได้รับฟังข้ออ้างของกัมพูชา ขณะเดียวกันก็ไม่ได้รับฟังพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีของไทยเคยตีความไว้ในอดีต เรียกได้ว่า ไทยก็ไม่ได้ชนะทั้งหมด และกัมพูชาก็ไม่ได้บริเวณทั้งหมดที่เขาขอเช่นเดียวกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ผลการตัดสินของไทยแพ้คดี และเสียพื้นที่หรือไม่ ศ.ดร.ชุมพร กล่าวว่า คำว่าเสียพื้นที่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกและการตีความส่วนบุคคล หากมองว่าเสียพื้นที่ในส่วน 4.6 ตร.กม.ถือว่าไทยไม่แพ้ แต่หากมองว่าเป็นการเสียพื้นที่ตามมติคณะรัฐมนตรี สมัยจอมพลสฤษดิ์ ถือว่าประเทศไทยแพ้ ดังนั้น เรื่องนี้ประชาชนต้องเข้าใจว่าเขาพระวิหาร เป็นของกัมพูชาตามมติของศาลโลกตั้งแต่ปี 2505 เราแพ้คดีปราสาทเขาพระวิหารมานานแล้ว และเมื่อมีคำตัดสินออกมาแล้ว จากนี้รัฐบาลต้องสร้างความเข้าใจทำให้ชัดเจน โดยต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญทางด้านแผนที่ มากำหนดจุดเขตแดนทำแผนที่ให้ชัดเจน จากนั้นต้องมาชี้แจงให้ประชาชนได้ฟังโดยสมเหตุสมผล เพราะเรื่องนี้ต้องอาศัยความเข้าใจ คิดเอาเองไม่ได้ อาจจะทำให้เกิดปัญหามากมาย ขณะเดียวกันต้องนำเรื่องเขตแดนที่กำหนดขึ้นไปเจรจากับทางประเทศกัมพูชาด้วยว่ามีความเห็นเช่นไร เนื่องจากการกำหนดเส้นเขตแดนจะทำจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ ต้องตกลงร่วมกันเป็นข้อกำหนดตามหลักสากล เพราะเราเป็นประเทศหนึ่งในสังคมโลก เป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน เราอยู่ในสังคมโลกใกล้ชิดกันมาก สิ่งที่ดีที่สุดค่อยๆคิด ค่อยๆ วางแผนที่ และคำนึงในฐานะที่เราเป็นประเทศเพื่อนบ้านกัน
ศ.ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า คดีพิพาทระหว่างประเทศเพื่อนบ้านในลักษณะนี้มีหลายคดี รวมทั้งในภูมิภาคอาเซียน เช่น มาเลเซีย-อินโดนีเซีย ซึ่งเมื่อขึ้นศาลโลกตัดสินแล้วทุกประเทศจะต้องยอมรับผลการตัดสินของศาล และทำอย่างไรให้ประเทศตนเองเสียดินแดนน้อยที่สุด ดังนั้น กรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร ศาลโลกได้ตัดสินไปตั้งแต่ปี 2505 แล้ว และจริงๆ ไทยเสียปราสาทและพื้นที่บางส่วนไปนานแล้ว อย่างไรก็ตาม ในหลักปฏิบัติที่ยอมรับกันนั้น หากศาลโลกตัดสินมาแล้วไม่ปฏิบัติตามจะถูกมองในทางลบ แต่ความจริงแล้วก่อนหน้าที่จะมีการตัดสินของศาลโลก อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าทั้งรัฐบาลไทยและกัมพูชาได้ออกมาแถลงจุดยืนว่าไม่ว่าคำตัดสินจะออกมาเช่นไรทั้งสองฝ่ายก็จะเคารพในคำตัดสินของศาล
“ตามที่ผมได้ยกตัวอย่างกรณีข้อพิพาทเรื่องเขตแดนระหว่างประเทศของประเทศเพื่อนบ้านทั้ง อินโดนีเซีย-มาเลเซีย และมาเลเซีย-สิงคโปร์ นั้น ศาลก็ไม่ได้ตัดสินเรื่องของเขตแดน ซึ่งลักษณะของคำตัดสินจะเหมือนกับกรณีของไทยและกัมพูชา ดังนั้นหลังจากนี้ไปการเจรจาปักปันเขตแดนจะขึ้นอยู่กับการเจรจา ซึ่งความจริงรัฐบาลทั้งสองฝ่ายมีกรอบในการเจรจาอยู่แล้ว อีกทั้งในเรื่องปัญหาชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชานั้น เราเองก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องภูมิศาสตร์ และไม่ได้เชี่ยวชาญรายละเอียดปลีกย่อยเรื่องกฎหมายอย่างลึกซึ้ง จึงไม่ควรให้ความคิดเห็นไปกันคนละทิศละทาง แต่อย่างไรก็ตามผมเชื่อว่า ตอนนี้เราต่างก็มีจุดยืนเหมือนเดิม คือทั้งสองประเทศต่างก็ยังไม่ได้มีข้อยุติ แต่โดยหลักถ้าเราเจรจากันอย่างสันติวิธี โดยจะต้องไม่ทำให้เกิดปัญหาขัดแย้งและกระทบกระเทือนต่อวิถีชีวิตของผู้คนทั้งสองฝ่าย เพราะยุคนี้เรื่องเขตแดนไม่ใช่เรื่องที่จะไม่เอามาเป็นประเด็นจนกระทั่งทำลายสันติสุขและการอยู่ร่วมกันของประเทศเพื่อนบ้าน หลักคิดของผมก็มีประมาณนี้” ศ.ดร.ไชยวัฒน์ กล่าวและว่า ครั้งนี้ถือเป็นบทเรียนสำคัญ คนไทยต้องมีเอกภาพประเด็นปราสาทพระวิหารนั้น ไม่ควรเอานำเรื่องของการเมืองมาเกี่ยวข้อง อย่าให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย อย่าเอาเรื่องละเอียดอ่อนข้อพิพาททางดินแดนระหว่างประเทศ มาเป็นประเด็น
รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ กล่าวว่า ศาลโลกบอกว่าเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ดังนั้นหมายถึงเป็นพันธกิจของกัมพูาและไทยที่ต้องช่วยจรรโลง ดูแล ปฏิสังขรณ์ ทำให้สมบัติชิ้นนี้เป็นของมนุษยศาสตร์อย่างสมบูรณ์ ขณะนี้คำตัดสินออกมาแล้ว เราจะคิด ขับเคลื่อนตามภาพความเข้าใจในอดีตที่เป็นเรื่องของความขัดแย้ง แตกแยก แสดงจุดยืนจับจองความเป็นเจ้าของ ทั้งที่ ปราสาทเขาพระวิหาร มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เป็นสถานที่มีผู้มาจาริกแสดงบุญและบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ตนศรัทธาร่วมกัน เป็นคุณค่าที่มีความหมาย แต่ตอนนี้คุณค่าเหล่านั้นถูกลืมไปหมดแล้ว อย่างไรก็ตาม ปราสาทเขาพระวิหารเป็นสมบัติร่วมกันระหว่างไทยกับกัมพูชา ในทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เป็นการแสดงถึงมิตรภาพอันแน่นแฟ้น พอมาถึงวันนี้ถึงแม้คำตัดสินค่อนข้างชัดเจน ตัวปราสาทเป็นของกัมพูชา ฉะนั้น นัยยะฝ่ายไทยและกัมพูชา ควรคิดว่าเรามาร่วมมือกัน ร่วมกันจรรโลงสมบัติของชาติอย่างไร ร่วมกันศึกษาและพลิกฟื้นจิตวิญญาณของปราสาทเขาพระวิหาร
“ประเด็นในมิติทางสังคมและวัฒนธรรม ทางสถาบันเอเชียศึกษาได้พยายามประมวลข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องพบว่าอย่างน้อยตั้งแต่ปี 2554 มูลค่าทางการค้าของไทยในพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหาร ตกถึง 93,152 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3,081 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสินค้าที่นำไปขายมีทั้งสินค้าอุปโภคและบริโภค นอกจากนี้ยังมีการลงทุนทางด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่มีบริษัทที่เข้าไปลงทุนในกัมพูชามากมาย ที่พูดเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันจะเป็นผลประโยชน์เฉพาะคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่จะมีความสำคัญและยังเป็นประโยชน์ให้คนในหลายกลุ่มหลายระดับของทั้งสองประเทศด้วย” รศ.ดร.สุเนตร กล่าว
ด้าน ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ทั้งนี้คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ จะจัดสัมมนาวิชาการเรื่อง “เบื้องหลังคดีตีความปราสาทพระวิหาร” ในวันศุกร์ที่ 15 พ.ย. 2556 เวลา 9.30 น.ณ ห้อง 307 อาคารพินิตประชานาถ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในฐานะหัวหน้าคณะต่อสู้คดีฝ่ายไทย คดีเขาพระวิหาร, ศ.ดร.ชุมพร ปัจจุสานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ และนายณัฏฐวุฒิ โพธิสาโร รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นวิทยากร เพื่อเผยแพร่ข้อเท็จจริงและประเด็นกฎหมายที่สำคัญของคดีนี้ รวมทั้งในแนวการวิเคราะห์ผลของคำพิพากษาแก่สาธารณชน