xs
xsm
sm
md
lg

เสียดินแดนเพิ่ม! ศาลโลกสั่งไทยถอนกำลังรอบปราสาทพระวิหาร(อ่านคำพิพากษาคำต่อคำ)

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ASTVผู้จัดการ – ศาลโลกพิพากษาชี้มีอำนาจตีความเพิ่มเติมคำพิพากษาปี 2505 ตามที่กัมพูชาร้องขอ ระบุเขตอธิปไตยของกัมพูชาครอบคลุมถึงชะง่อนผา แต่ไม่คลุมถึงภูมะเขือ ยันไทยต้องถอนกำลังเจ้าหน้าที่พร้อมระบุบทปฏิบัติการ แถมทั้ง 2 ชาติต้องปกป้องมรดกโลกภายใต้การดูแลของยูเนสโก


วันที่ 11 พ.ย. เมื่อเวลา 16.00 น.ตามเวลาในประเทศไทย มีการอ่านคำพิพากษาการตีความคดีปราสาทพระวิหาร โดยศาลโลก ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที และโมเดิร์นไนน์ทีวี

ทั้งนี้ ในช่วงแรกผู้พิพากษาระบุถึงข้อพิพาทใน 3 แง่ อันเป็นเหตุผลให้ศาลต้องตีความคำพิพากษาในปี 2505 คือ

1.คำพิพากษาในปี 2505 (ค.ศ.1962) มีผลผูกพันถึงเขตแดนของสองประเทศหรือไม่
2.ความหมายหรือขอบเขตของบทปฏิบัติการในคำพิพากษาปี 2505 ที่ระบุให้ปราสาทเป็นของกัมพูชา
3.พันธะผูกพันในการถอนกำลังของฝ่ายไทย

ทั้งนี้เมื่อคำนึงถึงข้อพิพาทดังกล่าวแล้ว ศาลจึงเห็นว่ามีความจำเป็นต้องตีความบทปฏิบัติการ ศาลจึงมีเขตอำนาจในการพิจารณาคำพิพากษาปี 2505 ทั้งปฏิเสธการที่ประเทศไทยกล่าวอ้างว่าศาลไม่มีอำนาจในการตีความคำพิพากษาเพิ่มเติม

ศาลโลกระบุด้วยว่า การยอมรับแผนที่ในภาคผนวกหนึ่งของทั้งสองประเทศ ทำให้แผนที่เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญา การตีความจึงต้องเป็นไปตามนั้น ทั้งนี้ความเข้าใจเกี่ยวกับบริเวณใกล้เคียงของปราสาทพระวิหาร ศาลเห็นว่า เขตแดนของกัมพูชาในทางเหนือนั้น ไม่เกินเส้นแบ่งของภาคผนวก 1 ดังนั้น ศาลจึงพิจารณาพื้นที่เห็นว่า พื้นที่ตามข้อบทปฏิบัติที่สองจึงครอบคลุมถึงชะง่อนผา แทนที่จะจำกัดเพียงพื้นที่ตามมติคณะรัฐมนตรีของไทยในปี 2505 แต่ไม่รวมถึงภูมะเขือ

ศาลอ้างว่าปราสาทพระวิหารได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว โดยทั้งสองชาติมีพันธกรณีที่จะต้องพูดคุยเพื่อปกป้องมรดกโลกชิ้นนี้ภายใต้การดูแลของยูเนสโก เนื่องจากถูกขึ้นทะเบียนแล้ว และจะต้องสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางประเทศกัมพูชา และประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องถอนกำลังทหารที่อยู่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร ศาลจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การขอตีความนั้นศาลมีอำนาจ

ขณะที่ก็มติเอกฉันท์ว่ากัมพูชามีอธิปไตยในดินแดนทั้งหมด ตามที่กำหนดไว้ในวรรค 98 ของคำพิพากษานี้ และไทยมีพันธะต้องถอนกำลังทั้งหมดทั้งทหาร ตำรวจและเจ้าหน้าที่ทั้งหมด พร้อมทั้งอ่านถึงบทปฏิบัติการของคำพิพากษาเป็นภาษาฝรั่งเศส

ต่อมา นายวีรชัย พลาศัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า จากคำพิพากษาดังกล่าว ถือว่าศาลมีอำนาจตีความคำพิพากษาปี 2505 อย่างไรก็ตาม จากคำพิพากษานี้ ไทยไม่ได้เสียพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร และไม่ได้เสียพื้นที่ภูมะเขือ แต่เสียพื้นที่เล็กๆ บริเวณรอบปราสาทซึ่งจะต้องมีการวัดพิกัดกันต่อไป และไม่ได้มีการรับรองแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ตามภาคผนวก 1 นอกจากนี้ศาลได้แนะนำให้ทั้งสองฝ่ายดูแลพื้นที่ร่วมกัน

“สวัสดีครับ กระผมขอกราบเรียน สรุปสาระของคำพิพากษาที่ได้หารือกับที่ปรึกษาและส่วนราชการของเรา 1.ศาลตัดสินว่าศาลมีอำนาจพิจารณาตีความตามคำร้องของกัมพูชา 2.ศาลได้พิจารณาว่าบริเวณใกล้เคียงปราสาทนั้น คือ บริเวณที่ศาลเรียกว่าตัวเขาพระวิหาร โดยศาลได้บรรยายไว้ว่าจะมีเขตจำกัดอย่างไร แต่ไม่ได้มีแผนที่แนบ

เบื้องต้นขอเรียนเลยว่ากัมพูชาไม่ได้รับสิ่งที่มาขอศาลนะครับ กัมพูชาไม่ได้รับตาม 4.6 ตร.กม.หรือ 4.5 หรือ 4.7 ใดๆ ก็ตามกัมพูชาไม่ได้ พื้นที่ภูมะเขือกัมพูชาไม่ได้ ศาลไม่ได้ตัดสินเรื่องเขตแดน เว้นแต่ในบริเวณที่แคบมากๆ ศาลเน้นคำว่าพื้นที่เล็กอยู่มากนะครับ ขณะนี้พื้นที่นี้กำลังคำนวณอยู่และที่สำคัญคือ ศาลไม่ได้ระบุว่าแผนที่ 1 ต่อ 200,000 นั้นเป็นส่วนหนึ่งของคำตัดสินปี 2505 ที่ผูกพัน ผมคิดว่านี่สำคัญมากๆ ในชั้นนี้ขอเท่านี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวผมขอไปดูในรายละเอียดแล้วจะมาพบกับประชาชนต่อไปครับ อีกหนึ่งประเด็นครับ ศาลแนะนำให้ทั้งสองฝ่ายร่วมมือกันในการดูแลปราสาทในฐานะที่เป็นมรดกโลกครับ ศาลแนะนำให้ร่วมมือกัน ขอบคุณครับ” นายวีรชัยกล่าว

คำพิพากษาศาลโลก คำต่อคำ (แปลโดยเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ ถ่ายทอดสดทาง NBT และโมเดิร์นไนน์ทีวี)

ขอแสดงความเสียใจต่อประเทศไทยในกรณีที่สมเด็จพระสังฆราชได้ทรงสิ้นพระชนม์ ถึงตอนนี้ก็คือเรื่องของมาตราข้อ 58 พูดถึงเรื่องความพร้อมของการตีความของคำพิพากษาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2505 ในกรณีคดีพิพากษาปราสาทพระวิหารระหว่างไทยและกัมพูชา ในวันที่ 8 มิถุนายน ปี 2011 กัมพูชาได้ยื่นคำร้องที่อ้างถึงมาตรา 60 และ 98 ของธรรมนูญศาล และข้อบังคับศาล และร้องขอให้ศาลตีความคำพิพากษาที่ศาลได้พิพากษาในวันที่ 15 มิถุนายน 2505 ในคดีปราสาทพระวิหาร และในวันเดียวกัน หลังจากที่ได้ยื่นคำร้อง ทางฝ่ายกัมพูชาก็ได้อ้างถึงมาตรา 96 ของธรรมนูญศาล และ 73 ของบังคับศาล ซึ่งได้ยื่นต่อทะเบียนศาล และร้องขอให้มีมาตรการชั่วคราว เพราะว่ามันมีการล่วงล้ำของประเทศไทยเข้าสู่ดินแดนของกัมพูชา

วันที่ 18 กรกฎาคม ศาลก็ได้มีมาตรการชั่วคราว ในปี 2011 ให้แก่ทั้งสองฝ่าย และตามที่เคยปฏิบัติ ข้าพเจ้าก็จะไม่อ่านบทนำของคำพิพากษา ซึ่งจะพูดถึงประวัติของคดีนี้ ที่มีการยื่นเสนอโดยทั้งสองฝ่าย ข้าพเจ้าจะพูดถึงข้อสรุปและคำพิพากษาวรรคต่างๆ ในตอนสุดท้ายของการนั่งพิจารณา

ข้าพเจ้าจะขอเริ่มต้นด้วยการอ่านคำพิพากษาในวรรคที่ 14 ปราสาทพระวิหารนั้น ตั้งอยู่ในเงื้อมผาชื่อเดียวกัน ในภาคตะวันออกของเทือกเขาดงรัก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วก็จะเป็นพรมแดนระหว่างสองประเทศในภูมิภาคนี้ ก็คือกัมพูชาในตอนใต้ และประเทศไทยในตอนเหนือ

ในเดือนกุมภาพันธ์ ของปี 2504 ซึ่งในตอนนั้น 1904 ซึ่งกัมพูชาอยู่ภายใต้รัฐอารักขาของฝรั่งเศส ซึ่งได้ระบุว่าเทือกเขาดงรักนั้นจะเป็นไปตามเส้นสันปันน้ำ และตามสนธิสัญญานั้น ซึ่งเป็นข้อกำหนดของคณะกรรมการผสม ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ทางการ ซึ่งแต่งตั้งโดยทั้งสองฝ่าย และมีความรับผิดชอบในการที่จะกำหนดปักปันเขตแดนของระหว่างสองประเทศ เรื่องของงานที่เสร็จสิ้นนั้นก็คือจะต้องออกมาการเตรียมการ และตีพิมพ์เผยแพร่แผนที่ที่ได้รับ ซึ่งภารกิจนี้ได้มอบหมายให้แก่เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส 4 นาย ซึ่ง 3 คน เป็นสมาชิกของคณะกรรมการผสมนั้น ในปี 1907 ทีมได้เตรียมแผนที่ 17 ระวางครอบคลุมดินแดนระหว่างอินโดจีน กับประเทศไทยในตอนนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขาได้มีแผนที่ขึ้นมา เทือกเขาดงรัก ซึ่งมีคณะกรรมการปักปันระหว่างอินโดจีนกับสยาม ซึ่งพรมแดนตอนเหนือของปราสาทพระวิหาร ทำให้พระวิหารตกอยู่ในดินแดนของกัมพูชา ซึ่งแผนที่ได้มีการสื่อสารระหว่างประเทศในปี 1908 กับประเทศไทย แต่คณะกรรมการได้ยุติการทำหน้าที่ ก่อนที่จะมีการทำแผนที่ฉบับสมบูรณ์เกิดขึ้นตามมา หลังจากที่กัมพูชาประกาศอิสรภาพในปี 1953 ประเทศไทยได้ยึดครองปราสาทพระวิหารในปี 1954

ซึ่งเรื่องของการเจรจาของทั้งสองฝ่าย ไม่เป็นที่เป็นผลในปี 1959 กัมพูชาได้ยื่นร้องขอต่อศาล ประเทศไทยได้ยื่นข้อคัดค้านต่อศาลตามมาในคำพิพากษา ในวันที่ 15 พฤษภาคม ศาลปฏิเสธที่จะรับฟังคำแก้ของไทย ยอมรับว่ามีคดีพิพาทเกิดขึ้นจริง หลังจากในช่วงขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็น ต้องมีการเสนอแผนที่ โดยฝ่ายกัมพูชาบอกว่า แผนที่ตามเทือกเขาดงรักเป็นส่วนของที่เรียกว่า แผนที่ภาคผนวก 1 นั้น แสดงว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ในฝ่ายของกัมพูชา และจากแผนที่นี้เป็นที่ยอมรับโดยฝ่ายไทย และได้มีผลบังคับในสนธิสัญญา ซึ่งมีผลบังคับระหว่างสองประเทศ ตามที่กัมพูชากล่าวอ้าง เส้นในแผนที่ภาคผนวก 1 นั้นกลายเป็นพรมแดนระหว่างสองประเทศ ประเทศไทยปฏิเสธว่า ยอมรับแผนที่ภาคผนวก 1 แต่อย่างไรก็ตามในแง่ของการมีผลผูกพัน และยืนยันว่า เขตแดนระหว่างสองรัฐนั้น ต้องดำเนินตามรอยเส้นสันปันน้ำ ตามสนธิสัญญาปี 1904 ซึ่ง ผลที่ตามมาก็คือ การที่ฝ่ายไทยอ้างวัด ปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในฝ่ายไทย ศาลพูดถึงเรื่องของข้อบทปฏิบัติการในคำพิพากษาดังนี้

ศาลพบว่าตัดสินว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในฝ่าย อยู่ในดินแดนอธิปไตยของกัมพูชา และประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะถอนกำลังทั้งหลาย หรือว่าผู้รักษา ผู้อารักขาทั้งหลาย ซึ่งอยู่ในปราสาทพระวิหาร หรือบริเวณข้างเคียงในดินแดนของกัมพูชาออกมา ประเทศไทยก็มีพันธกรณีที่จะต้องนำวัตถุทั้งหลายที่ อยู่ในคำยื่นร้องครั้งที่ 5 ของกัมพูชาที่ได้นำออกไปตั้งแต่ก่อนหน้านั้น ให้ที่ประเทศไทย หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยนำออกไปส่งคืน

หลังจากมีคำพิพากษาในปี 1962 ประเทศไทย ได้ถอนกำลังออกจากตัวปราสาทพระวิหาร และมีการทำรั้ว ลวดหนามเกิดขึ้น ในบริเวณรอบนั้น และหลังจากเป็นไปตามแผนที่ที่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีของประเทศไทย ในวันที่ 11 กรกฎาคม ปี 1962 แต่ไม่ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ จนกว่าหลังจากนั้นมติ ครม.ของไทยได้กำหนดเส้นซึ่ง คณะรัฐมนตรีมองเห็นว่า เป็นสิ่งที่ประเทศไทยมีข้อกำหนดที่จะถอนกำลังออกให้พ้นแนวนั้น

กัมพูชาได้ยื่นคำร้องขอตีความตามธรรมนูญ ข้อ 60 ของศาล ศาลได้พูดถึงว่า อำนาจศาลเป็นไปตามมาตรา 60 ไม่ได้มีเงื่อนไข ของการที่จะต้องมีพื้นฐานของเขตอำนาจอะไรก็แล้วแต่ หรือแนวคำพิพากษาอะไรก็แล้วแต่ โดยอำนาจของมาตรา 60 ศาลสามารถรับคำร้องของการตีความใหม่ก็ได้ ถ้าเกิดมีข้อพิพาทเรื่องการตีความ ความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาจริง แนวคำพิพากษาเป็นสิ่งที่เป็นไปตามความหมาย มาตรา 60 ของธรรมนูญศาล ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องความหมาย แต่ไม่ใช่เรื่องข้อเหตุผลของการตีความนั้น อาจจะมีความเห็นที่แตกต่างกันในข้อบทปฏิบัติการนั้น และยังไม่ได้มีการตัดสินโดยการมีผลผูกพัน และเป็นคดีซึ่งเป็นเรื่องของสิ่งที่สอดคล้องกับมาตรา 60 ของธรรมนูญศาล

ด้วยเหตุผลเช่นนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นในระยะเวลาหลังจากที่ ตั้งแต่คำพิพากษาปี 1962 เป็นต้นมา ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าในมุมมองของประเทศไทยได้ออกจากบริเวณปราสาทพระวิหารตามข้อบทปฏิบัติการที่ 2 และประเทศไทยก็ได้กำหนดแต่ฝ่ายเดียวเรื่องของว่า เขตของปราสาทพระวิหารอยู่ที่ใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดที่ว่านี้สะท้อนให้เห็นถึงในปี 1962 ตามมติ ครม.ซึ่งกำหนด ข้าพเจ้าขอกล่าวอ้างก็คือตำแหน่งของเขตของปราสาทพระวิหาร ซึ่งประเทศไทยมีภาระหน้าที่จะต้องถอนกำลังตำรวจ ผู้อารักขา ผู้รักษา และในการดำเนินการตามมติของคณะรัฐมนตรีนี้ก็ได้มีการจัดทำรั้วลวดหนามตามมติ ครม.นี้ ซึ่งอันนี้ข้าพเจ้าได้ปรากฏว่า สำหรับบริเวณของปราสาทพระวิหารนั้นไม่ได้ยื่น ไม่ได้เกินไปกว่าเส้นที่กำหนดนี้ โดยมติ ครม.

ตรงข้ามกับมุมมองของประเทศไทย ซึ่งที่ได้บันทึกไว้ในศาล คือกัมพูชาไม่ได้ยอมรับการถอนกำลังของไทย และได้ดำเนินการตามคำพิพากษาปี 1962 อย่างแท้จริง แต่จริงๆ แล้ว กัมพูชาโต้แย้งว่า ประเทศไทยที่ถอนกำลังออกไป ในปี 1962 คำพิพากษาได้ยอมรับว่ามันเป็นของประเทศกัมพูชาจริง กัมพูชายังได้ร้องเรียนอีกว่า รั้วลวดหนามที่ประเทศไทยสร้างขึ้นมา ได้รุกล้ำเข้าไปในดินแดนของกัมพูชา ซึ่งไม่เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล

มุมมองที่แตกต่างกันได้ปรากฏขึ้นอีกครั้งในคำสื่อสารตามที่กัมพูชาได้ร้องเรียนตอนที่จะยื่นเสนอปราสาทพระวิหารให้ขึ้นทะเบียนต่อยูเนสโก ในปี 2008 ในความเห็นของศาลนั้น เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ และข้อความทั้งหลายแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเลยว่า ในตอนที่กัมพูชาได้ยื่นคำร้องของการตีความว่าทั้งสองฝ่ายมีข้อพิพาทในแง่ของความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาในปี 1962 จริง ศาลจึงไปดูถึงเนื้อหาสาระของข้อพิพาทว่ามีอะไรบ้าง ในการที่จะให้แน่ใจว่ามันเป็นไปตามขอบเขตของเขตอำนาจศาล ตามมาตรา 60 หรือไม่นั้น ศาลได้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายมีความเห็นขัดแย้งกัน ซึ่งในข้อพิพาทศาลปี 1962 ได้บอกว่า คำพิพากษานั้นได้มีผลบังคับใช้ และเส้นตามแผนที่ภาคผนวก 1 เป็นดส้นแบ่งเขตแดนระหว่างสองประเทศ ในบริเวณปราสาทพระวิหาร ซึ่งมุมมองนี้คืออันที่เห็นแตกต่างกัน ซึ่งแสดงออกอีกมุมหนึ่งคือ ในเหตุการณ์ หรือข้อความที่มีการนำเสนอวิเคราะห์ และชี้แจงให้ความกระจ่างกันแก่ศาลในการพิจารณาครั้งนี้ ยิ่งไปกว่านั้นศาลก็พิจารณาว่า จุดยืนของฝ่ายที่แสดงออกมา หลังจากมีคำพิพากษา 1962 ออกมา ก็คือตามคำขอของกัมพูชาก็มีสถานที่จะนำปราสาทพระวิหารขึ้นสู่ทะเบียนมรดกโลกนั้น และในการนั่งพิจารณาที่ผ่านมาก็มีมุมมองที่แตกต่างกัน ในแง่ความหมายและขอบเขตของบริเวณของปราสาท และดินแดนของกัมพูชา ตามคำพิพากษาข้อบทปฏิบัติการที่ 2 เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างข้อปฏิบัติกันทั้งหลาย ซึ่งศาลเข้าใจว่า ข้อที่ 1 ปราสาทอยู่ในดินแดนของกัมพูชา

ท้ายที่สุดศาลก็ได้ดูเรื่องของความปัญหาในที่สองฝ่ายเห็นแตกต่างกันคือ พันธกรณีของประเทศไทย ในการที่จะถอนกำลังออกจากปราสาท และบริเวณปราสาทในดินแดนของกัมพูชา และในข้อปฏิบัติการที่ 2 ของคำพิพากษาปี 1962 เรื่องการสื่อสาร เรื่องความเข้าใจของสองประเทศ ในการที่จะนำปราสาทพระวิหารขึ้นสู่ทะเบียนมรดกโลกนั้น และมีกรณีการปะทะด้วยกำลังบริเวณนั้นที่ใกล้เคียงกับปราสาทพระวิหาร แสดงให้เห็นว่า มันมีความเข้าใจที่แตกต่างกันจริง เกี่ยวกับเรื่องของการตีความว่า บุคลากรของไทยควรจะไปอยู่ที่ใด หลังจากฟังคำพิพากษาปี 1962 ความแตกต่างในแง่ของมุมมองนี้ ได้มีการยืนยันโดยคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษร และเป็นวาจาจากการนั่งพิจารณาครั้งก่อนๆ ในแง่ของสิ่งที่ได้พิจารณามาดังกล่าวนี้ ศาลสรุปว่า ข้อพิพาททั้งสองฝ่าย ในแง่ของความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาปี 1962 นั้น เป็นความสัมพันธ์ใน 3 แง่ อันที่ 1 ก็คือ มีข้อพิพาทในแง่ว่า ในปี 1962 คำพิพากษานั้น ได้ หรือไม่ได้ตัดสินว่า โดยมีคำ มีข้อผูกพันเรื่องของเส้นแผนที่ภาคผนวก 1 นั้น เป็นเขตแดนระหว่าง 2 ประเทศหรือไม่ ในบริเวณปราสาทพระวิหารนั้น

ข้อที่ 2 จะมีความสัมพันธ์ในแง่กรณีพิพาท คือในแง่ความหมายและขอบเขตของวลีที่ว่า บริเวณดินแดนของกัมพูชา ซึ่งพูดถึงในข้อบทปฏิบัติการที่ 2 ในคำพิพากษาปี 1962 นั้น ซึ่งข้อปฏิบัติการนี้ ศาลพูดว่ามันเป็นผลที่ตามมาต่อเนื่องจากข้อบทปฏิบัติการที่ 1 ซึ่งปราสาทอยู่ในดินแดนภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา

อันสุดท้ายข้อที่ 3 จะมีข้อพิพาทในแง่ของพันธกรณีของประเทศไทยในการถอนกำลัง ซึ่งเป็นไปตามข้อปฏิบัติการที่ 2 นั้น

เมื่อได้คำนึงถึงความเห็นที่แตกต่างกันระหว่างทั้ง 2 ฝ่าย เกี่ยวกับคำพิพากษา ในปี 1962 ที่ได้กล่าวมาข้างต้น ศาลเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องตีความข้อปฏิบัติการที่ 2 ของคำพิพากษา 1962 และผลตามกฎหมายของภาคผนวก 1 ภายในขอบเขตนี้ กัมพูชาได้ร้องขอ จึงรับคำร้องขอของกัมพูชา ด้วยเหตุข้างต้น ศาลจึงเห็นว่า มีข้อพิพาทระหว่างทั้ง 2 ฝ่าย ในขอบเขตและความหมายของคำพิพากษาปี 1962 ตามมาตรา ตามข้อ 60 ของธรรมนูญศาล ด้วยเหตุนี้ ศาลจึงมีเขตอำนาจในการพิจารณาคำร้องขอของกัมพูชา ที่จะขอให้ตีความคำพิพากษาปี 1962 และรับไว้พิจารณา

ศาลจึงขอไปที่การตีความคำพิพากษาปี 1962 จะอ่านต่อไปเป็นภาษาอังกฤษ ศาลจึงได้รำลึกถึงว่าบทบาทตามข้อ 60 คือ การทำให้ความหมายและขอบเขตของคำพิพากษามีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ด้วยเหตุนี้ ศาลจึงต้องอยู่ภายในขอบเขตของคำพิพากษาเดิมอย่างเคร่งครัด และไม่สามารถที่จะหยิบยกประเด็นที่ได้มีข้อยุติ และมีผลผูกพันแล้ว และไม่สามารถที่จะหยิบยกในเรื่องที่ไม่ได้พิจารณาวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม ในการพิจารณาขอบเขตและความหมาย ศาลจึงถือตามแนวปฏิบัติที่ผ่านมา อาจจะไปดูในเหตุผล เพื่อจะนำมาช่วยอธิบายในการตีความข้อปฏิบัติการ คำร้องและสำนวนคดีของการดำเนินคดีในปี 1962 นั้น ก็มีส่วนเกี่ยวข้องในการตีความคำพิพากษาเช่นเดียวกัน เพราะจะแสดงให้เห็นว่ามีพยานหลักฐานใดที่รับ หรือได้มีการเสนอต่อศาล และศาลเห็นว่าพยานหลักฐานดังกล่าวนั้นมีน้ำหนักมากน้อยเพียงใด ประเทศไทยได้ต่อสู้ว่า หลักการกับกฎหมาย ห้ามไม่ให้ศาลตีความเกินข้อเรียกร้องของศาลในปี 1962 หากว่าศาลไม่อาจที่จะตีความเกินคำร้องขอนั้น ก็เป็นหลักกฎหมายที่เป็นบรรทัดฐานของศาล และก็ได้ถูกกล่าวย้ำในข้อต่อสู้ของคู่ความ

อย่างไรก็ตาม หลักนั้นก็อาจจะไม่สามารถทำให้ศาลตีความในลักษณะที่จะขัดแย้งต่อคำพิพากษา 1962 ได้ ศาลจะมาดูที่ขอบเขตและความหมาย ข้อ 60 ไม่ได้ให้อำนาจศาลในวันนี้ ที่จะนำผลการประเมินที่แตกต่างกัน ที่อาจจะมีขึ้นในปี 1962 กัมพูชาเห็นว่าข้อสรุปของคำพิพากษา 1962 นั้น ได้แสดงให้เห็นว่า ศาลได้วินิจฉัยในประเด็นต่างๆ ตามข้อ 25 ของข้อบังคับศาลในปี 1962 ณ ขณะนั้นเป็นข้อ 74 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ข้อสรุปนั้นไม่ถือว่าเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของคำพิพากษา และก็ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา

นอกจากนี้ บทสรุปนั้นก็มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อที่จะบอกให้คนอ่านได้ทราบถึงประเด็นที่ได้มีการพิจารณาในคำพิพากษาเท่านั้น ไม่ได้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา เป็นเพียงบทสรุปของสิ่งที่ศาลได้วินิจฉัย ศาลไม่ถือว่าบทสรุปในคำพิพากษา 1962 นั้น เป็นปัจจัยสำคัญที่จะมีผลกระทบต่อการตีความคดีปัจจุบัน

ประเทศไทยได้กล่าวอ้างถึงพฤติกรรมของคู่ความในเดือนมิถุนายน 1962 ในช่วงที่ได้มีการอ่านคำพิพากษา และในเดือนธันวาคม 2008 ที่ได้มีเหตุการณ์ที่ปะทุขึ้นมา ประเทศไทยได้กล่าวว่า พฤติกรรมดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับการตีความคำพิพากษา คำพิพากษาไม่อาจถือว่าเป็นสนธิสัญญา ไม่ได้เป็นตราสารที่จะผูกพันคู่ความโดยความยินยอม การตีความซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรมต่อๆ ไปนั้น จะสามารถดูได้จากสนธิสัญญากรุงเวียนนา ว่าด้วยการทำสนธิสัญญา คำพิพากษานี้มีผลผูกพันตามธรรมนูญศาล คำพิพากษาการตีความนั้นก็คือ การพิจารณาวินิจฉัยว่า ศาลได้พิพากษาอะไร ไม่ใช่อยู่ที่ความเข้าใจของคู่ความในเวลาต่อมา ขอบเขตและความหมายนั้น ไม่อาจที่จะเปลี่ยนแปลงไปโดยพฤติกรรมของคู่ความภายหลังจากคำพิพากษานั้น ตามที่ศาลสถิตยุติธรรมระหว่างประเทศได้เคยกล่าวไว้อย่างชัดเจนขอกล่าวอ้างว่า ในการตีความนั้น ศาลจะไม่เข้าไปพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่ในประเด็นนั้น มีลักษณะ 3 ประการ ในคำพิพากษา 1962 ที่เห็นได้ชัด ในคราวที่ได้มีการอ่าน ภายใต้ภาวะการต่างๆ 1.ศาลได้พิจารณาว่า เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของสถานที่ตั้งปราสาท และศาลนั้นไม่ได้ทำหน้าที่ในการวางปักปันเขตแดน

เพราะฉะนั้นศาลได้กลับไปดูในคำพิพากษา 1962 โดยกลับไปดูในคำคัดค้านเบื้องต้นว่า กรณีนี้เป็นประเด็นในเรื่องของเขตอำนาจอธิปไตยมากกว่าการกำหนดเขตแดน เพราะฉะนั้นในคำพิพากษาศาลในข้อเรียกร้องแรกและสองของกัมพูชา เกี่ยวกับอำนาจผูกพันทางกฎหมายของทางพิพาทหมวด 1 ศาลจะรับพิจารณาไว้เฉพาะที่เป็นเหตุ และไม่ถือว่าเป็นข้อเรียกร้องที่ศาลจะต้องชี้ขาดในข้อบทปฏิบัติการ โดยไม่มีการกล่าวถึงภาคผนวก 1 หรือ สถานที่ของเขตแดนในข้อหมวดปฏิบัติการแต่อย่างใด ไม่มีการแนบแผนที่ ในคำพิพากษา และศาลก็ไม่ได้กล่าวถึงความยุ่งยากในการที่จะกำหนด หรือบังคับใช้ภาคผนวก 1 ประเด็นต่างๆ ที่คู่ความได้กล่าวอ้างกันนั้น ก็มีความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องการกำหนดเขตแดน

ประการที่ 2 .แผนที่ภาคผนวก 1 นั้น เป็นเหตุผลหลักในการที่ศาลพิพากษา หลังจากที่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของแผนที่นั้น และดูผลความเกี่ยวเนื่องกับสนธิสัญญา ศาลได้กล่าวว่า ประเด็นที่แท้จริงที่มีต่อศาลคือว่า ซึ่งคือประเด็นหลักในคดีนี้คือ คู่ความได้รับรองแผนที่ภาคผนวก 1 และเส้นแบ่งเขตแดนในนั้น เป็นผลของคณะกรรมการปักปันเขตแดนในบริเวณปราสาทพระวิหาร และมีผลผูกพันหรือไม่

ศาลได้ดูพฤติกรรมของคู่ความในการเข้าไปเยี่ยมชมพื้นที่ดังกล่าว โดยเฉพาะ พระยาดำรงเดชานุภาพ ในการเสด็จเยือนพื้นที่ดังกล่าว เมื่อมีเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสต้อนรับ ศาลเห็นว่าพฤติการณ์ดังกล่าวนั้น เหมือนกับเป็นการยอมรับโดยทางอ้อมของสยาม ในอธิปไตยของปราสาทพระวิหาร เหตุการณ์ดังกล่าว รวมทั้งพฤติการณ์อื่นๆ ของประเทศไทยในเวลาต่อมา ก็ถือเป็นการยืนยันของการยอมรับของประเทศไทย ในทุกเส้นแบ่งแดนในภาคผนวก 1 ศาลได้กล่าวว่า ประเทศไทย ในปี 1908 1909 ได้ยอมรับแผนที่ภาคผนวก 1 ให้ถือว่าเป็นผลของการทำงานของคณะกรรมาธิการปักปันเขตแดน และได้ยอมรับเส้นแบ่งเขตแดนดังกล่าวว่า เป็นเส้นแบ่งเขตแดน ซึ่งนำไปสู่การวินิจฉัยว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ในกัมพูชา

การยอมรับแผนที่ภาคผนวก 1 โดยคู่ความทั้งสองนั้น ทำให้แผนที่ภาคผนวกถือเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญา และได้ข้อสรุปว่า ดังนั้น จึงเห็นว่า การตีความสนธิสัญญา จึงต้องชี้ขาดว่า เขตแบ่งตามแผนที่ 1 นั้น เป็นเขตแบ่งพื้นที่ จบการกล่าวอ้าง

ประการที่ 3 ในการกำหนดประเด็นพิพาท และศาลได้มีความชัดเจนว่า ศาลได้ดูเฉพาะบริเวณปราสาทพระวิหารเท่านั้น ซึ่งเป็นบริเวณที่เล็กมาก ใน 1962 กัมพูชาก็ได้กล่าวไว้ว่า ขอบเขตของพื้นที่ที่พิพาทนั้น เล็กมาก เล็กจริงๆ จบการกล่าวอ้าง และในถ้อยแถลงอื่นๆ นั้น ก็ไม่ได้มีการขัดแย้งกันระหว่างการพิจารณาปี 1962 คำพิพากษาดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ศาลเห็นว่า ขอบเขตที่พิพาทกันนั้น เป็นขอบเขตพื้นที่ที่เล็กมาก และทันทีหลังจากที่ได้มีการพิพาษา ศาลได้อธิบายบริเวณนั้นด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้ ปราสาทพระวิหาร อยู่ในทางด้านตะวันออกของเทือกเขาดงรัก ซึ่งในทางทั่วไปถือว่าเป็นเขตแดนระหว่างทั้งสองประเทศ ในบริเวณนี้ กัมพูชาในทางใต้ และประเทศไทยในทางเหนือ (จบการกล่าวอ้าง)

ในขณะที่แผนที่ภาคผนวก 1 นั้น ได้วางเขตแดน ซึ่งยาวประมาณ 100 กิโลเมตร ศาลก็ได้บอกว่าจะพิจารณาพิพากษาเฉพาะในบริเวณที่พิพาทเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ในคำพิพากษา 1962 ศาลจึงเข้าไปดูที่ข้อบทปฏิบัติการในวรรค 2 และวรรค 3 ซึ่งศาลได้กล่าวว่า เป็นผลสืบเนื่องจากข้อบทปฏิบัติการที่ 1 จึงเห็นว่าข้อบทปฏิบัติการทั้ง 3 นั้น จึงต้องถือว่าต้องอ่านรวมกันเป็นข้อบทปฏิบัติการเดียว

การที่จะกำหนดความหมายและขอบเขตของข้อบทปฏิบัติการ จึงไม่สามารถไปดูคำใดคำหนึ่งโดยลำพังได้ ศาลเห็นว่าขอบเขตและความหมายของข้อบทปฏิบัติการที่ 1 ชัดเจน ในวรรคดังกล่างศาลได้พิพากษาว่า ศาลเห็นว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนซึ่งอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา แต่ศาลก็ได้กล่าวว่า คงมีความจำเป็นที่จะต้องกลับมาที่ขอบเขตของข้อบทปฏิบัติการนี้ เมื่อได้พิจารณาข้อบทปฏิบัติการที่ 2 และที่ 3 ข้อพิพาทระหว่างทั้งสองคู่ความนี้ อยู่ที่ข้อบทปฏิบัติการที่ 2 ในวรรคนี้ ศาลเห็นว่าโดยผลของคำพิพากษาในข้อบทปฏิบัติการที่ 1 ทางกองกำลังทหารและตำรวจ หรือผู้รักษาการณ์ของไทย ที่อยู่ในปราสาทพระวิหาร หรือในบริเวณใกล้เคียงนั้น ข้อบทปฏิบัติการที่ 2 ไม่ได้พูดถึงดินแดนของกัมพูชาที่ไทยจะต้องถอนเจ้าหน้าที่ และก็มิได้กล่าวถึงว่า การถอนกำลังทหาร หรือถอนเจ้าหน้าที่นั้น ต้องถอนไป ณ ที่ใด ข้อบทปฏิบัติการได้พูดถึงเขตแดน ก็คือปราสาทพระวิหาร และบริเวณใกล้เคียง ศาลมิได้กำหนดว่าเจ้าหน้าที่ใดของไทยที่จะต้องถอน เพียงแต่ได้บอกว่าเจ้าหน้าที่ที่ได้อยู่ในพื้นที่นั้น

เนื่องจากข้อบทปฏิบัติการที่ 2 ของคำพิพากษา 1962 นั้น บอกให้ไทยจะต้องถอนกำลังทหาร ผู้รักษาการณ์ หรือผู้เฝ้าดูแล ที่ประจำการอยู่ที่ปราสาทพระวิหาร หรือในบริเวณใกล้เคียง ศาลจึงเห็นว่า จะต้องเริ่มโดยการดูจากพยานหลักฐานที่อยู่ต่อหน้าศาลในปี 1962 เกี่ยวกับสถานที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหาร หรือเจ้าหน้าที่ไทยนั้นได้ประจำการอยู่ พยานหลักฐานเดียวที่ได้มีนั้นก็คือ พยานหลักฐานที่ทางฝ่ายไทยได้นำเสนอ ซึ่งได้มีการเยี่ยมชม หรือได้มีการเยือนไปยังปราสาทพระวิหารในปี 1961 ในระหว่างการพิจารณาคดี ในการซักค้านของทางฝ่ายกัมพูชา พยานเชี่ยวชาญของไทยก็ได้บอกว่า มีแค่ผู้เฝ้ารักษายามอยู่ 1 คน และมีตำรวจ มีการตั้งแคมป์ที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาท และก็ในระยะไม่ไกลนั้น ก็มีบ้านพักอยู่ สถานีตำรวจนั้นทางทนายฝ่ายไทยนั้น ได้กล่าวว่า สถานีตำรวจนั้นอยู่ทางใต้ของแผนที่ภาคผนวก 1 แต่อยู่ทางด้านเหนือของเส้นสันปันน้ำ

ในระหว่างการพิจารณาคดีในปี 1962 กัมพูชาได้นำเสนออีกข้อต่อสู้หนึ่งว่า ได้มีการนำเสนอว่า จะต้องใช้เส้นสันปันน้ำในการปักปันเขตแดน อย่างไรก็ตามศาลเห็นว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องพิจารณาเขตเส้นสันปันน้ำในบริเวณปราสาทพระวิหาร อย่างไรก็ตาม การอ้างถึงสันปันน้ำโดยทนายฝ่ายไทยนั้นมีความสำคัญ เนื่องจากไทยได้กล่าวในการพิจารณาคดีนี้ว่า การแบ่งเส้นต่างๆ นั้นมีความใกล้เคียงกับเส้นสันปันน้ำที่ทางฝั่งกัมพูชานั้น ได้เสนอ เพราะฉะนั้นการที่สถานีตำรวจไทยตั้งอยู่เหนือเส้นสันปันน้ำนั้น จึงเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีของประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยบอกว่า อยู่นอกบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร เมื่อศาลได้สั่งให้ไทยนั้นถอนกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร ผู้เฝ้ารักษา และผู้เฝ้าดูแล ซึ่งประจำการอยู่ที่ปราสาทพระวิหาร หรือในบริเวณใกล้เคียงของปราสาทพระวิหาร น่าจะมีความประสงค์ที่จะให้เจ้าหน้าที่ต่างๆ นั้น ซึ่งประจำการตามคำเบิกความของพยานไทยในคดีนั้น เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่ามีเจ้าหน้าที่ไทยอื่นในบริเวณดังกล่าวแต่อย่างใด ฉะนั้นในบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร จึงเห็นว่าควรจะยาวไปถึงอย่างน้อยสถานี หรือที่ตั้งมั่นของตำรวจ ที่ตั้งอยู่ในขณะนั้น เนื่องจากที่นั้นอยู่เหนือมติ ครม.เส้นแบ่งเขตแดนตามมติ ครม.จึงไม่สามารถที่จะถือว่าเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างทั้งสองประเทศได้

ข้อสรุปนั้นได้ถูกยืนยันโดยปัจจัยหลายประการ ศาลได้เน้นย้ำในการอธิบายบริเวณรอบๆ ปราสาท ว่าปราสาทนั้นตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เห็นได้ชัดเจนมากทางภูมิศาสตร์ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่โดดเด่นนี้ ในทางตะวันออกและใต้ และตะวันตกเฉียงใต้นั้น มีหน้าผาที่ชัน เพื่อที่จะนำลงไปสู่กัมพูชา ทางด้านเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ ก็เป็นที่ๆ อยู่ในเทือกเขาดงรัก หุบเขาทั้งสองนี้ ซึ่งเป็นช่องทางที่กัมพูชาสามารถที่จะเข้าถึงปราสาทกัมพูชา เพราะฉะนั้นความเข้าใจในเบื้องต้นของบริเวณใกล้เคียงพระวิหาร จึงจะต้อง ... ศาลก็เห็นว่าเขตแดนของกัมพูชาในทางเหนือนั้น ไม่เกินเส้นแบ่งของภาคผนวก 1 ท่านศาสตราจารย์อักมาน ไม่ได้ให้ระบุระยะทางที่ชัดเจน แต่ตามพยานหลักฐานนั้นมีความชัดเจนว่า ด่านของตำรวจนั้นอยู่ในระยะที่ไม่ไกลมากในทางใต้ และอยู่ใกล้เคียงจุดของแผนที่ภาคผนวก 1

ดังนั้นศาลก็เลยพิจารณาพื้นที่ที่จำกัด ที่มีขอบเขตทั้งทางด้านตะวันออก ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และทางด้านเหนือ ตามเหตุผล ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ของกัมพูชา ดังนั้นศาลจึงพิจารณาเห็นว่าพื้นที่ตามข้อบทปฏิบัติการที่ 2 ควรจะขยายครอบคลุมทั้งชะง่อนผา แผนที่จะจำกัดส่วนที่ได้มีการเลือก โดยมติของคณะรัฐมนตรีในปี 1962 ในแง่ของข้อพิจารณาของกัมพูชา ทางศาลก็ไม่สามารถที่จะรับคำจำกัดความได้ เกี่ยวกับเรื่องของบริเวณใกล้เคียง ซึ่งครอบคลุมนอกเหนือจากชะโงกผาแล้ว ยังครอบคลุมทั้งทางด้านพนมซับ ดังนั้น ศาลถือว่า ไม่ได้เป็นการตีความที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องข้อบทปฏิบัติการที่ 2

ถึงพนมซับ หรือภูมะเขือ แสดงให้เห็นได้ว่า ในแผนที่เป็นส่วนที่ต่างหากไปจากสิ่งที่แสดงในแผนที่ ของปี 1961 หรือแผนที่แนบเอกสาร และ ข้อ 2 มีข้อพิจารณาในการพิจารณาในปี 1961 ซึ่งได้มีการ ทางฝ่ายกัมพูชาไม่ได้ถือว่า ภูมะเขือ อยู่ในบริเวณของพระวิหาร ซึ่งเป็นศัพท์ที่ศาลได้ใช้ในการพิจารณาขอบเขตของข้อพิพาท อยู่ระหว่างการพิจารณา ดังนั้น ผู้ว่าการ อดีตผู้ว่าการของเขมร ของกัมพูชา ถือว่าพระวิหาร เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดนี้ แต่ทานก็ถือว่า ภูมะเขือ เป็นส่วนหนึ่งของอีกจังหวัดหนึ่ง ซึ่งท่านได้อธิบายไว้ว่า เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับส่วนอื่นของกัมพูชา เพราะว่า ขณะเดียวกัน จังหวัดนี้เล็กเกินกว่าที่จะครอบคลุม ทั้งพระวิหาร รวมทั้งภูมะเขือด้วย นอกเหนือจากนั้น ภูมะเขือไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่า เป็นบริเวณที่สำคัญ ซึ่งศาลจำเป็นต้องพิจารณา

ข้อ 3 ก็ไม่มีหลักฐาน ที่ได้มีการนำเสนอ ว่าได้มีเจ้าหน้าที่ ทหาร หรือกำลังอื่นของไทยในบริเวณนั้น และไม่มีการพูดถึงว่า ภูมะเขือมีส่วนสำคัญต่อข้อเรียกร้องของกัมพูชาว่า ประเทศไทยควรจะต้องถอนทหาร หรือกำลังออกจากบริเวณนั้น

ท้ายที่สุด การตีความของกัมพูชาเพื่อที่จะกำหนดจุดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแผนที่ภาคผนวก 1 ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องของสันปันน้ำตามข้อกำหนดของประเทศไทย ศาลได้พิจารณาว่า ศาลไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกำหนดในเรื่องของสันปันน้ำว่า อยู่ที่ตรงไหน เพราะฉะนั้น เลยเป็นไปไม่ได้ที่จะบอกว่า ศาลได้พิจารณาในเรื่องสันปันน้ำ เมื่อศาลได้กำหนดในเรื่องว่า อะไรคือ อาณาบริเวณของปราสาทพระวิหาร และหลังจากการพิจารณา ศาลจึงสรุปได้ว่า เมื่อปี 1962 นั้น ศาลไม่ได้พิจารณาบริเวณที่กว้างดังนั้น และไม่ได้มีความตั้งใจที่จะกำหนดคำว่า บริเวณใกล้เคียงพระวิหาร ในพื้นที่กัมพูชา เพื่อที่จะให้เข้าใจว่า จะต้องครอบคลุม ณ พื้นที่ที่อยู่นอกเหนือจากชะง่อนผาพระวิหาร ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ศาลได้พิจารณาว่า บริเวณภูมะเขืออยู่ในบริเวณประเทศไทย เพราะศาลไม่ได้มีการพิจารณาในประเด็นนั้น ด้วยเหตุผลของการพิพากษาในปี 1962 ตามที่ได้มีการร้องขอในกระบวนการพิจารณาของศาล ก็ได้มีการพิจารณาบริเวณของเขาพระวิหาร ทางด้านใต้ ซึ่งประกอบด้วยลักษณะอย่างนี้ ทางด้านตะวันออกใต้ และตะวันตกเฉียงใต้ ได้มีในเรื่องชะง่อนหน้าผา และในปี 1962 ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันว่า พื้นที่อันนั้นอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา และทางด้านพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีแนวโน้มลาดชันน้อยกว่า และเป็นสิ่งที่แยกพระวิหารออกจากบริเวณภูมะเขือ ก่อนที่จะลาดลงสู่พื้นที่ราบของกัมพูชา

ดังนั้นศาลจึงได้พิจารณาว่า เขตภูมะเขืออยู่นอกพื้นที่ของข้อพิพาท และในคำพิพากษาในปี 1962 ไม่ได้พิจารณาว่า ภูมะเขือบริเวณนั้น อยู่ในพื้นที่ของประเทศไทย และกัมพูชา ดังนั้นศาลจึงถือว่า ชะง่อนหน้าผาของพระวิหาร และบริเวณของภูมะเขือ ซึ่งพื้นที่จะเริ่มที่จะยกถึงขึ้นจากบริเวณพื้นที่ราบนั้น ก็เป็นเส้นของบันทึกแผนที่ในภาคผนวก 1 โดยเส้นนั้นก็จะสูงขึ้นไปทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และคำพิพากษาของปี 1962 ซึ่งได้มีการกำหนดให้ประเทศไทยถอนกำลังทหาร และกำลังอื่นๆ จากพื้นที่ในบริเวณนั้น โดยให้ถอนเจ้าหน้าที่ไทยทั้งหมดออกจากบริเวณนั้น ศาลได้เข้าใจในเรื่องของการที่ประเทศไทยจะถ่ายโอน เพื่อจะกำหนดพื้นที่ อย่างเฉพาะเจาะจงในการที่จะนำในเรื่องของวรรคที่กล่าวไปใช้ในทางปฏิบัติ

อย่างไรก็ตาม ข้อพิจารณานี้คดีการพิพากษาคดีในปี 1962 ศาลไม่ได้กำหนดในการที่จะตีความข้อพิพากษานั้น และการที่เราจะดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องที่ข้อพิพากษาไม่ได้เกี่ยวข้องในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 ฝ่าย ก็มีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตามพันธกรณีดังกล่าว ทั้ง 2 ฝ่าย จึงไม่สามารถที่จะหาทางออกเพียยงฝ่ายเดียวได้ ศาลอยากขอเตือนว่าในวรรคที่ 2 ของข้อพิพากษาปี 1962 จะต้องมีการพิจารณาอย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์และในเรื่องของวรรคที่ 2 ศาลขอพิจารณาในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างวรรคนี้กับวรรคที่เกี่ยวข้องในข้อบทปฏิบัติการ ในขณะที่ในเรื่องของข้อบทปฏิบัติการที่ 3 ไม่ได้มีการพิจารณาแต่ว่าก็จะสามารถทำให้สามารถที่จะเข้าใจได้ในเรื่องของบทปฏิบัติการอื่นๆ ในเรื่องของขอบเขตของของคำตัดสินของศาลไปเกี่ยวข้องกับเรื่องของขอบเขตของข้อพิพาทที่ได้มีการเสนอให้ศาลพิจารณาสำหรับข้อพิจารณาของศาลในช่วงนั้นเป็นเรื่องของอธิปไตยเหนือบริเวณของพระวิหาร และดังนั้นศาลจึงได้ตัดสินใจในข้อบทปฏิบัติการข้อที่ 1 ของคำพิพากษาว่า พระวิหารตั้งอยู่ในพื้นที่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา และประเทศไทยจึงมีพันธะหน้าที่ในการที่จะถอนกำลังทหาร และกำลังอื่นๆที่มีอยู่ออกจากพื้นที่ของเขมรในแถบของเขาพระวิหาร และในเรื่องข้อบทปฏิบัติการที่ 3 ทำให้เกิดพันธะกรณีที่ครอบคลุมพื้นที่ขยายเกินกว่าขอบเขตของพระวิหารเอง โดยซึ่งในข้อบทปฏิบัติการที่ 3 ถือว่าพื้นที่อันนั้นเป็นพื้นที่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา และคำบรรยายอันนี้ศาลถือว่าเป็นสิ่งที่สามารถเข้าใจได้โดยปริยายจากข้อบทปฏิบัติการที่ศาล สำหรับในเรื่องอธิปไตยเหนือพื้นที่นี้ก็จะขึ้นกับตัวบทบัญญัติอันนี้พื้นที่ซึ่งศาลได้เกี่ยวข้องด้วยในการพิจารณาในช่วงคดีแรกเป็นพื้นที่ที่มีขนาดเล็กแล้วก็มีพื้นที่ที่ชัดเจน ทางด้านเหนือก็มีลักษณะด้านภูมิศาสตร์ที่เห็นได้อย่างชัดเจน ในสถานการณ์นี้ศาลถือว่าเปิดเครื่องหมายคำพูดบริเวณของที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา อยู่ในเรื่องของส่วนพื้นที่เล็กๆ ของพื้นที่ และพื้นที่ดังกล่าวเป็นผลจากสิ่งที่พูดถึงในวรรคแรก และเนื่องจากคุณลักษณะของลักษณะข้อพิพาทในปี 1962 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลักษณะและวิธีการในการเสนอคำให้การของทั้งสองฝ่าย เพราะฉะนั้นในเรื่องของอธิปไตย ที่ศาลได้พิจารณาทั้งที่พูดถึงทั้งในวรรคแรก และวรรคที่สามนี่ตรง ดังนั้นศาลจึงได้มีข้อพิจารณาสรุปว่า พื้นที่ที่พูดถึงทั้งในวรรค 1 และวรรค 3 ตรงกัน เป็นพื้นที่เดียวกัน ดังนั้นปราสาทพระวิหารอยู่ภายใต้พื้นที่ที่เป็นอธิปไตยของกัมพูชา และจะต้องถือว่า เป็นการอ้างถึงในเรื่องของวรรค 2 และ 3 ที่พูดถึงในเรื่องของบริเวณของพระวิหารตามที่ได้มีการร้องขอให้มีการพิจารณาในครั้งนี้ ดังนั้นศาลจึงไม่ถือว่า จำเป็นจะต้องพิจารณาในเรื่องคำพิจารณาที่กำหนดพันธกรณีที่เกิดขึ้น ในเรื่องของเส้นที่แบ่งแยกระหว่างประเทศไทย และกัมพูชา และศาลได้สรุปว่า ชะง่อนหน้าผานี้ ซึ่งอยู่ทางด้านเหนือของแผนที่ภาคผนวก 1 อยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา ซึ่งเป็นประเด็นที่ได้เป็นประเด็นของข้อพิพาทในปี 1962 และศาลถือว่า เป็นประเด็นที่อยู่ในหัวใจของข้อขัดแย้งในปัจจุบันนี้ นอกเหนือจากนั้น ศาลก็ไม่ได้พิจารณาว่า ศาลจำเป็นจะต้องพิจารณาว่า พันธกรณีที่เกิดขึ้นต่อประเทศไทย สำหรับข้อบทปฏิบัติการที่ 2 วรรค 2 เป็นประเด็นที่ประเทศไทยควรจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องหรือเปล่า ตามข้อกล่าวอ้างของกัมพูชา ประเทศไทยได้รับว่า ประเทศไทยมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะเคารพบูรณการของพื้นที่ในดินแดนของกัมพูชา ซึ่งหมายความถึงว่า จะต้องครอบคลุมพื้นที่ที่ศาลถือว่า จะต้องครอบคลุมพื้นที่ที่ศาลถือว่า เป็นอธิปไตยของกัมพูชา หลังจากที่ได้มีการแก้ไขปัญหาในเรื่องอธิปไตยนั้นแล้ว และความไม่แน่นอนได้มีการขจัดออกไป ทั้งสองฝ่ายจะต้องดำเนินการตามพันธกรณี โดยการเคารพบูรณภาพของทุกประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่นเดียวกันทั้งสองฝ่ายก็มีหน้าที่ที่จะต้องแก้ไขปัญหาข้อพิพาทระหว่างกัน ด้วยวิธีการอื่น

ข้อพันธกรณีเหล่านี้ ได้นำมาด้วยหลักการบทบาทของสหประชาชาติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญมากในบริบทปัจจุบัน เป็นเรื่องที่ชัดเจนที่มีการคำฟ้องทั้งสองฝ่าย ตั้งแต่ 1952 1962 ถือว่าเป็นวัตถุโบราณที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนทั้งสองฝ่าย ขณะนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว และก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลก ดังนั้นศาลจึงเห็นว่าภายใต้การทำงานของทั้งสองฝ่าย กัมพูชาและประเทศไทยจะต้องคุยกันเอง หารือกันเองภายในประเทศ โดยที่ยูเนสโกจะต้องควบคุมและดูแล ในฐานะที่เป็นมรดกโลก แต่ละรัฐมีพันธกรณีที่จะกระทำมาตรการใดๆ ก็ตาม ที่อาจจะดูแลปกป้องมรดกโลกชิ้นนี้ไว้

ภายใต้บริบทเหล่านี้ ศาลต้องการที่จะเน้นให้ชัดเจนว่า จากการที่จะเข้าถึงปราสาท จะต้องสามารถเข้าได้จากทางส่วนกัมพูชาได้เช่นกัน ก็ขอสรุปว่า วรรค 1 ของข้อบทปฏิบัติการทั้งหลาย บอกว่า กัมพูชามีอธิปไตยเหนือทั้งส่วนของชะง่อนผาที่ระบุไว้ตามข้อพิพากษาในปี 1962 ดังนั้นประเทศไทยจึงยังมีพันธกรณีที่จะต้องถอนกำลังทหารทั้งหมดที่มีอยู่ที่อยู่ในบริเวณเหล่านั้น

ขณะนี้เดี๋ยวกระผมจะอ่านย่อหน้า 108 ซึ่งเป็นส่วนของบทปฏิบัติการของคำพิพากษา ด้วยเหตุเหล่านี้ ศาลจึง 1.ด้วยมติเอกฉันท์ เพราะว่าการขอตีความคดีของกัมพูชานั้น สิ่งเหล่านี้ศาลมีอำนาจรับฟ้อง

โดยมติเอกฉันท์ แถลงว่า โดยการตีความว่าคำพิพากษาในวันที่ 15 มิถุนายน 1962 ได้วินิจฉัยว่ากัมพูชามีอธิปไตยในดินแดนทั้งหมดของปราสาทพระวิหาร ตามที่ได้กำหนดไว้ในวรรค 98 ของคำพิพากษานี้ และโดยผล ประเทศไทยจึงมีพันธกรณีที่จะต้องถอนจากเขตแดนดังกล่าว ทั้งกำลังทหารและตำรวจ รวมทั้งผู้เฝ้ารักษาและเฝ้ายามที่ประจำการณ์อยู่ในดินแดนดังกล่าว จึงขอให้นายทะเบียนของศาลได้อ่านข้อบทปฏิบัติการเป็นภาษาฝรั่งเศส ขอเรียนเชิญ

(ภาษาฝรั่งเศส)

ผู้พิพากษาจายา ได้มีส่วนที่แสดงความคิดเห็นมากับท่านผู้พิพากษาจีโญม ก็ได้มีส่วนที่จะตีความเพิ่มเติม วันนี้ก็จะมีการเตรียมพร้อมสิ่งเหล่านี้ให้ท่านได้รับฟังได้ จะมีเท็กซ์ในไม่ช้าออกมาสู่ประชาชน ถ้าไม่มีอะไรอื่นก็ถือว่าเป็นการปิดศาล

• ดาวน์โหลดคำพิพากษา : REQUEST FOR INTERPRETATION OF THE JUDGMENT OF 15 JUNE 1962 IN THE CASE CONCERNING THE TEMPLE OF PREAH VIHEAR (CAMBODIA v. THAILAND) ไฟล์สกุล PDF เป็นภาษาอังกฤษ
ประมวลข่าว สถานการณ์เขาพระวิหาร และชายแดนไทย-กัมพูชา



น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ดูการถ่ายทอดสดการอ่านคำพิพากษาที่ทำเนียบรัฐบาล



นายวีรชัย พลาศัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนหลังจากฟังคำพิพากษา
กำลังโหลดความคิดเห็น