“หมอประกิต” เสนอ “กิตติรัตน์” ขึ้นภาษียาสูบแบบเต็มเพดาน เชื่อช่วยให้ผู้สูบบุหรี่ลดลง เด็กเข้าถึงยาสูบยากขึ้น ส่วนผลวิจัยพบขึ้นภาษีแล้วหันดูดยาเส้นแทน ชี้ควรขึ้นภาษีเป็น 8-10 บาทต่อซองด้วย และลดการนำเข้าบุหรี่ปลอดภาษีแบบติดตัวเข้าประเทศจากคนละ 200 มวน เหลือไม่เกิน 20 มวน
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ กล่าวว่า โดยหลักการแล้วรัฐบาลควรจะขึ้นภาษียาสูบทุกปีในอัตราที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งการประเมินผลการขึ้นภาษีต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชาชนครั้งล่าสุดโดย รศ.ธราดล เก่งการพานิช คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่สัมภาษณ์ผู้สูบบุหรี่ 1,299 คน หลังขึ้นภาษีหนึ่งเดือน สามเดือน และหกเดือน พบว่า มีผู้เลิกสูบบุหรี่ร้อยละ 2 เปลี่ยนไปสูบบุหรี่ยี่ห้ออื่นที่ราคาถูกกว่าร้อยละ 15.3 เปลี่ยนไปสูบยาเส้นร้อยละ 7.7 ซึ่งสรุปได้ว่า การขึ้นภาษียาสูบเมื่อ ส.ค.2555 ไม่ได้ส่งผลให้เกิดการสูบบุหรี่ลดลงมากเท่าที่ควร
ศ.นพ.ประกิต กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ การคิดอัตราภาษีตามน้ำหนัก หนึ่งบาทต่อหนึ่งกรัมสำหรับบุหรี่ที่แจ้งราคาต้นทุนต่ำที่เพิ่งมีการนำมาใช้เป็นครั้งแรก บริษัทบุหรี่ได้แก้เกมโดยการทำให้มวนบุหรี่เล็กลงหรือสั้นลง เช่น ทำให้บุหรี่หนักเพียงมวนละ 0.75 กรัม แทนที่เดิมบุหรี่แต่ละมวนมีน้ำหนักหนึ่งกรัม ทำให้เสียภาษีมวนละ 75 สตางค์ หรือ 15 บาทต่อซอง แทนที่จะเสียมวนละหนึ่งบาท หรือ 20 บาทต่อซองเป็นอย่างต่ำ อีกประการหนึ่งคือ แม้จะมีการขึ้นภาษีบุหรี่ยาเส้นแต่ก็ขึ้นน้อยมาก ส่งผลให้ราคาขายปลีกบุหรี่ยาเส้นเพิ่มขึ้นจากห่อละ 5 บาท เป็นห่อละ 6 บาท และผลการขึ้นภาษีได้หมดไปแล้วหลังจากเวลาผ่านมาปีเศษ
ศ.นพ.ประกิต กล่าวด้วยว่า ตนเสนอนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้ขึ้นภาษียาสูบ เพื่อลดการสูบบุหรี่ของประชาชนและป้องกันนักสูบหน้าใหม่ โดยขึ้นภาษีสรรพสามิตที่คำนวณตามราคาจาก 87% เป็น 89% หรือ 90% เต็มเพดานกฎหมาย หรือคิดตามน้ำหนัก 2.0 บาทต่อกรัม โดยเมื่อคิดคำนวณค่าภาษีจากวิธีใดได้มากกว่าก็ให้ใช้วิธีนั้น ส่วนยาเส้นก็ควรขึ้นภาษีให้ราคาขายปลีกสูงขึ้นเป็น 8-10 บาทต่อซอง โดยเน้นเฉพาะผู้ผลิตบุหรี่ยาเส้นรายใหญ่ ซึ่งมีกำไรสูงมากแต่เสียภาษีน้อยมาก
“หากมีการขึ้นภาษีตามนี้ จะส่งผลให้การสูบบุหรี่ลดลง เด็กเข้ามาติดบุหรี่ลดลง ซึ่งจะช่วยรัฐลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ส่วนในระยะกลางถึงระยะยาวควรจะมีการปรับโครงสร้างภาษียาสูบ ให้มีการคำนวณภาษียาสูบด้วยวิธีผสมคือ คิดทั้งตามน้ำหนักและคิดตามราคาต้นทุนที่บริษัทผู้ผลิตแจ้ง” ศ.นพ.ประกิต กล่าวและว่า นอกจากนี้ ควรจะลดจำนวนบุหรี่ปลอดภาษีที่อนุญาตให้นำติดตัวเข้ามาในประเทศไทยจากคนละ 200 มวนในปัจจุบัน ให้เหลือ 20 มวนหรือหนึ่งซองเท่ากับของฮ่องกง หรือห้ามนำติดตัวเข้าประเทศ เช่น สิงคโปร์ ส่วนขาออกยังอนุญาตให้นำออกได้ ทั้งนี้ มาตรการทางภาษีเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการแก้ปัญหาการสูบบุหรี่และยังทำให้รัฐบาลมีรายได้จากภาษียาสูบเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยกับงบประมาณที่ต้องไปรักษาผู้ที่ป่วยจากการสูบบุหรี่
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ กล่าวว่า โดยหลักการแล้วรัฐบาลควรจะขึ้นภาษียาสูบทุกปีในอัตราที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งการประเมินผลการขึ้นภาษีต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชาชนครั้งล่าสุดโดย รศ.ธราดล เก่งการพานิช คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่สัมภาษณ์ผู้สูบบุหรี่ 1,299 คน หลังขึ้นภาษีหนึ่งเดือน สามเดือน และหกเดือน พบว่า มีผู้เลิกสูบบุหรี่ร้อยละ 2 เปลี่ยนไปสูบบุหรี่ยี่ห้ออื่นที่ราคาถูกกว่าร้อยละ 15.3 เปลี่ยนไปสูบยาเส้นร้อยละ 7.7 ซึ่งสรุปได้ว่า การขึ้นภาษียาสูบเมื่อ ส.ค.2555 ไม่ได้ส่งผลให้เกิดการสูบบุหรี่ลดลงมากเท่าที่ควร
ศ.นพ.ประกิต กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ การคิดอัตราภาษีตามน้ำหนัก หนึ่งบาทต่อหนึ่งกรัมสำหรับบุหรี่ที่แจ้งราคาต้นทุนต่ำที่เพิ่งมีการนำมาใช้เป็นครั้งแรก บริษัทบุหรี่ได้แก้เกมโดยการทำให้มวนบุหรี่เล็กลงหรือสั้นลง เช่น ทำให้บุหรี่หนักเพียงมวนละ 0.75 กรัม แทนที่เดิมบุหรี่แต่ละมวนมีน้ำหนักหนึ่งกรัม ทำให้เสียภาษีมวนละ 75 สตางค์ หรือ 15 บาทต่อซอง แทนที่จะเสียมวนละหนึ่งบาท หรือ 20 บาทต่อซองเป็นอย่างต่ำ อีกประการหนึ่งคือ แม้จะมีการขึ้นภาษีบุหรี่ยาเส้นแต่ก็ขึ้นน้อยมาก ส่งผลให้ราคาขายปลีกบุหรี่ยาเส้นเพิ่มขึ้นจากห่อละ 5 บาท เป็นห่อละ 6 บาท และผลการขึ้นภาษีได้หมดไปแล้วหลังจากเวลาผ่านมาปีเศษ
ศ.นพ.ประกิต กล่าวด้วยว่า ตนเสนอนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้ขึ้นภาษียาสูบ เพื่อลดการสูบบุหรี่ของประชาชนและป้องกันนักสูบหน้าใหม่ โดยขึ้นภาษีสรรพสามิตที่คำนวณตามราคาจาก 87% เป็น 89% หรือ 90% เต็มเพดานกฎหมาย หรือคิดตามน้ำหนัก 2.0 บาทต่อกรัม โดยเมื่อคิดคำนวณค่าภาษีจากวิธีใดได้มากกว่าก็ให้ใช้วิธีนั้น ส่วนยาเส้นก็ควรขึ้นภาษีให้ราคาขายปลีกสูงขึ้นเป็น 8-10 บาทต่อซอง โดยเน้นเฉพาะผู้ผลิตบุหรี่ยาเส้นรายใหญ่ ซึ่งมีกำไรสูงมากแต่เสียภาษีน้อยมาก
“หากมีการขึ้นภาษีตามนี้ จะส่งผลให้การสูบบุหรี่ลดลง เด็กเข้ามาติดบุหรี่ลดลง ซึ่งจะช่วยรัฐลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ส่วนในระยะกลางถึงระยะยาวควรจะมีการปรับโครงสร้างภาษียาสูบ ให้มีการคำนวณภาษียาสูบด้วยวิธีผสมคือ คิดทั้งตามน้ำหนักและคิดตามราคาต้นทุนที่บริษัทผู้ผลิตแจ้ง” ศ.นพ.ประกิต กล่าวและว่า นอกจากนี้ ควรจะลดจำนวนบุหรี่ปลอดภาษีที่อนุญาตให้นำติดตัวเข้ามาในประเทศไทยจากคนละ 200 มวนในปัจจุบัน ให้เหลือ 20 มวนหรือหนึ่งซองเท่ากับของฮ่องกง หรือห้ามนำติดตัวเข้าประเทศ เช่น สิงคโปร์ ส่วนขาออกยังอนุญาตให้นำออกได้ ทั้งนี้ มาตรการทางภาษีเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการแก้ปัญหาการสูบบุหรี่และยังทำให้รัฐบาลมีรายได้จากภาษียาสูบเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยกับงบประมาณที่ต้องไปรักษาผู้ที่ป่วยจากการสูบบุหรี่