ภายหลังจากที่กระทรวงศึกษาธิการแจกแท็บเล็ตให้เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ไปได้ 1 ปีแล้ว มีการประเมินผลจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ออกมาระบุว่าเด็กนักเรียน ครู และพ่อแม่พึงพอใจ
ในขณะที่ทางฟากฝั่งของดิฉันที่ได้มีโอกาสพบปะพ่อแม่ทั้งทางตัวเป็นๆ และทางสื่อใหม่จำนวนมาก กลับให้ข้อมูลในทางกลับกัน แม้แต่พ่อแม่ที่อยู่ห่างไกลชนบทก็ไม่ได้พึงพอใจ ในทางตรงกันข้ามกลับรู้สึกหนักใจมากขึ้นไปอีก เพราะกังวลว่าลูกจะติดเจ้าแท็บเล็ต
จริงอยู่เรื่องเด็กเสพติดเทคโนโลยีกำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ของโลก แต่ประเทศไทยกำลังขึ้นแท่นอันดับต้นๆ ของโลกที่มีประชากรเสพติดเทคโนโลยีกันอย่างบ้าระห่ำ และกำลังก้าวเข้าสู่การติดขั้นงอมแงมแทบทุกเพศทุกวัย
แต่ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งก็คือเด็กๆ ที่นับวันติดเทคโนโลยีจะอยู่ในวัยที่เล็กลงเรื่อยๆ
ในอดีตเด็กๆ ยังวิ่งเล่นนอกบ้าน ในสังคมชนบทก็ยังวิ่งเล่นตามทุ่ง เล่นดินเล่นทราย แต่เดี๋ยวนี้นับวันก็จะน้อยลงเรื่อยๆ เพราะหันไปทางไหนก็เจอแต่เด็กเล่นสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตกันเป็นแถว
ปัญหาที่กังวลใจต่อเด็กชนบทที่ได้รับแท็บเล็ตแล้วจะติดก็มีให้เห็น !
แม่ของเด็กที่ได้รับแจกแท็บเล็ตคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนลูกก็ไม่เคยรู้จักแท็บเล็ต แต่พอได้รับแท็บเล็ตก็ทำให้เขาชื่นชอบมาก และเจ้าแท็บเล็ตก็เป็นตัวจุดประกายทำให้เขาชอบเล่นเกม ขอไปร้านเกมบ่อยมาก เพราะเล่นจากแท็บเล็ตแล้วช้า ตอนนี้ก็กลายเป็นเด็กติดเกมไปแล้วเหมือนกัน กำลังหาทางแก้ไขอยู่
จริงอยู่ว่าเรื่องติดเกมจะไปโทษเจ้าแท็บเล็ตไม่ได้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กติดเกมได้มากขึ้น เพราะพ่อแม่ยังขาดความรู้ และไม่ได้เตรียมความพร้อมในการเข้าใจและรับมือป้องกัน หรือให้ลูกได้เล่นอย่างถูกวิธี ก็เลยกลายเป็นปัญหามากกว่าที่จะใช้ประโยชน์จากมัน
จะว่าไป แม่คนนี้ก็สามารถสะท้อนคนเป็นพ่อแม่ส่วนใหญ่ได้เหมือนกันว่าถ้ารู้ไม่เท่าทันสื่อเทคโนโลยี และปล่อยให้ลูกอยู่กับมันโดยไม่มีกฎเกณฑ์กติกาใดๆ ลูกก็จะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง
อีกปัญหาที่น่าเป็นห่วงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก็คือ เด็กที่ติดเจ้าสารพัดเทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้งหลาย วัยเล็กลงเรื่อยๆ นี่สิ
ล่าสุดพบเด็กที่ติดไอแพด 4 ขวบ ชนิดงอมแงมในประเทศอังกฤษ เนื่องจากพ่อแม่สังเกตเห็นว่าเธอใช้เวลาเล่นไอแพดมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 3-4 ชั่วโมงต่อวัน และดูท่าจะเพิ่มขึ้นอีก ทำให้พ่อแม่เป็นกังวลอย่างมาก เพราะหนูน้อยหมกหมุ่นกับไอแพดอย่างมาก เรียกร้องจะเล่นอยู่ตลอดเวลา และจะหงุดหงิดกระวนกระวาย เศร้ามากถ้าใครเอาไอแพดไปจากเธอ
ดร.ริชาร์ด กราแฮม จิตแพทย์ชาวลอนดอน ผู้บำบัดอาการเสพติดไอแพด ของเด็กหญิงวัย 4 ขวบคนนี้ ได้เปิดเผยผลสำรวจที่พบว่า พ่อแม่กว่า 50% อนุญาตให้เด็กเล็กอย่างวัยเบบี๋ หรือวัยเตาะแตะเล่นโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตได้ พร้อมทั้งคาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยตัวเล็กที่ติดเทคโนโลยีงอมแงมเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล
ความจริงพฤติกรรมติดแท็บเล็ตของเด็กเล็ก ก็ไม่ต่างจากการติดเกมคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ ของเด็กโตหรือวัยรุ่นยุคนี้ที่พบเห็นอยู่ทุกวี่วัน
นอกจากนี้ ยังมีข่าวที่กระหน่ำความกังวล และหนักใจขึ้นไปอีกของบรรดานักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญเรื่องเด็กที่เป็นห่วงอย่างมาก ก็คือข่าวบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการเทคโนโลยีอย่าง Apple มีไอเดียจัดให้มีการทัศนศึกษาโรงงานของ Apple สำหรับเด็กนักเรียนและคุณครู โดยอ้างว่าเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้เด็ก และเพื่อให้เด็กๆ เห็นว่าโรงงานของ Apple เป็นเสมือนห้องเรียนไฮเทคของพวกเขา ซึ่งจะทำให้ได้รับแรงบันดาลใจ สร้างสรรค์แนวคิดโปรเจ็กต์ใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน เด็กๆ จะได้สัมผัสระบบการผลิตของเครื่อง Mac, IPad และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของ Apple ในฐานะเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้
แน่นอนว่าโครงการทัศนศึกษานี้ก็มีทั้งเสียงเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เพราะเท่ากับว่าโครงการนี้กำลังจะแทรกซึมเข้าไปสู่เด็กที่เขามองว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายอันโอชะ
เสียงที่ไม่เห็นด้วยอย่างสื่อใหญ่อย่าง เควิน มาเฮอร์จากหนังสือพิมพ์ The Times ของอังกฤษ ที่บอกว่านี่เป็นเพียงการต้องการสร้างภาพลักษณ์ของบริษัทยักษ์ใหญ่เท่านั้น
ก็คงต้องจับตาดูต่อไปว่า เจ้าแท็บเล็ตทั้งหลายในบ้านเรา ซึ่งหมายรวมถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลพกพาได้ ขนาดเท่าสมุดโน้ตที่มีหน้าจอใช้นิ้วสัมผัสเพื่อสั่งงาน พร้อมอุปกรณ์ไร้สายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและระบบเครือข่ายไวไฟ ในเมืองไทยหลายยี่ห้อ เช่น ไอแพด แกแล็กซี่ สโคป โซนี่ ฯลฯ กันต่อไป แม้สิ่งเหล่านี้จะเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ แต่นักจิตวิทยาก็อดห่วงถึงโทษภัยของมันไม่ได้ ว่าจะส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ทำให้เด็กขี้หงุดหงิด ผลการเรียนตกต่ำ และเจ้าแท็บเล็ตก็อาจเป็นบ่อเกิดของการที่ทำให้สุขภาพร่างกายของเด็กยุคนี้อ่อนแอและป่วยง่ายขึ้น
สอดคล้องกับข้อมูลก่อนหน้านี้จาก ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม นักจิตวิทยา โครงการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่าปัญหาเด็กติดไอแพด หรือแท็บเล็ต กำลังสร้างความปวดหัวให้กับผู้ปกครองเป็นอย่างมาก เด็กป่วยบ่อย เป็นหวัดไม่สบายเกือบทุกเดือน เมื่อเข้าไปศึกษาชีวิตประจำวันของเด็กกลุ่มนี้แล้ว พบว่าชอบนั่งเล่นไอแพดทั้งวัน ไม่ยอมทำอย่างอื่น ร่างกายจึงอ่อนแอ เนื่องจากธรรมชาติของเด็กเล็กต้องเคลื่อนไหวแขน ขา และเท้าอยู่ตลอดเวลา ไม่ควรอยู่นิ่งๆ นั่งในท่าเดิมนานๆ เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อของร่างกาย หากเด็กไม่เคลื่อนไหวร่างกายก็อ่อนแอลงเรื่อยๆ ไม่มีภูมิต้านทานเชื้อโรค ทำให้ป่วยบ่อยกว่าเด็กคนอื่น
เรียกว่าอาการน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งสำหรับเด็กยุคนี้ที่นอกจากจะเป็น “เด็กยุคก้มหน้า” และมีแนวโน้มว่าจะก้มหน้าก่อนเข้าสู่วัยเรียนด้วยซ้ำ ยังมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพร่างกายที่ป่วยบ่อยขึ้นอีกต่างหาก
ดูเหมือนข่าวคราวในท่วงทำนองที่มีงานวิจัยก่อนหน้านี้กล่าวถึงการแผ่รังสี จากโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟน อาจเป็นอันตราย หรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อมะเร็งสมองได้หากใช้เป็นเวลานาน หรืออาจส่งผลให้มีอาการปวดหัว เกิดความเครียด หรืออาจมีอาการสมาธิสั้นได้ ชักไม่มีผลซะแล้ว !!
หรือเรากำลังปล่อยให้เทคโนโลยีกัดกร่อนทำร้ายเด็กและเยาวชนแบบชาชินไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้รู้สึกสะทกสะท้านอีกต่อไป!!!
ในขณะที่ทางฟากฝั่งของดิฉันที่ได้มีโอกาสพบปะพ่อแม่ทั้งทางตัวเป็นๆ และทางสื่อใหม่จำนวนมาก กลับให้ข้อมูลในทางกลับกัน แม้แต่พ่อแม่ที่อยู่ห่างไกลชนบทก็ไม่ได้พึงพอใจ ในทางตรงกันข้ามกลับรู้สึกหนักใจมากขึ้นไปอีก เพราะกังวลว่าลูกจะติดเจ้าแท็บเล็ต
จริงอยู่เรื่องเด็กเสพติดเทคโนโลยีกำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ของโลก แต่ประเทศไทยกำลังขึ้นแท่นอันดับต้นๆ ของโลกที่มีประชากรเสพติดเทคโนโลยีกันอย่างบ้าระห่ำ และกำลังก้าวเข้าสู่การติดขั้นงอมแงมแทบทุกเพศทุกวัย
แต่ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งก็คือเด็กๆ ที่นับวันติดเทคโนโลยีจะอยู่ในวัยที่เล็กลงเรื่อยๆ
ในอดีตเด็กๆ ยังวิ่งเล่นนอกบ้าน ในสังคมชนบทก็ยังวิ่งเล่นตามทุ่ง เล่นดินเล่นทราย แต่เดี๋ยวนี้นับวันก็จะน้อยลงเรื่อยๆ เพราะหันไปทางไหนก็เจอแต่เด็กเล่นสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตกันเป็นแถว
ปัญหาที่กังวลใจต่อเด็กชนบทที่ได้รับแท็บเล็ตแล้วจะติดก็มีให้เห็น !
แม่ของเด็กที่ได้รับแจกแท็บเล็ตคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนลูกก็ไม่เคยรู้จักแท็บเล็ต แต่พอได้รับแท็บเล็ตก็ทำให้เขาชื่นชอบมาก และเจ้าแท็บเล็ตก็เป็นตัวจุดประกายทำให้เขาชอบเล่นเกม ขอไปร้านเกมบ่อยมาก เพราะเล่นจากแท็บเล็ตแล้วช้า ตอนนี้ก็กลายเป็นเด็กติดเกมไปแล้วเหมือนกัน กำลังหาทางแก้ไขอยู่
จริงอยู่ว่าเรื่องติดเกมจะไปโทษเจ้าแท็บเล็ตไม่ได้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กติดเกมได้มากขึ้น เพราะพ่อแม่ยังขาดความรู้ และไม่ได้เตรียมความพร้อมในการเข้าใจและรับมือป้องกัน หรือให้ลูกได้เล่นอย่างถูกวิธี ก็เลยกลายเป็นปัญหามากกว่าที่จะใช้ประโยชน์จากมัน
จะว่าไป แม่คนนี้ก็สามารถสะท้อนคนเป็นพ่อแม่ส่วนใหญ่ได้เหมือนกันว่าถ้ารู้ไม่เท่าทันสื่อเทคโนโลยี และปล่อยให้ลูกอยู่กับมันโดยไม่มีกฎเกณฑ์กติกาใดๆ ลูกก็จะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง
อีกปัญหาที่น่าเป็นห่วงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก็คือ เด็กที่ติดเจ้าสารพัดเทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้งหลาย วัยเล็กลงเรื่อยๆ นี่สิ
ล่าสุดพบเด็กที่ติดไอแพด 4 ขวบ ชนิดงอมแงมในประเทศอังกฤษ เนื่องจากพ่อแม่สังเกตเห็นว่าเธอใช้เวลาเล่นไอแพดมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 3-4 ชั่วโมงต่อวัน และดูท่าจะเพิ่มขึ้นอีก ทำให้พ่อแม่เป็นกังวลอย่างมาก เพราะหนูน้อยหมกหมุ่นกับไอแพดอย่างมาก เรียกร้องจะเล่นอยู่ตลอดเวลา และจะหงุดหงิดกระวนกระวาย เศร้ามากถ้าใครเอาไอแพดไปจากเธอ
ดร.ริชาร์ด กราแฮม จิตแพทย์ชาวลอนดอน ผู้บำบัดอาการเสพติดไอแพด ของเด็กหญิงวัย 4 ขวบคนนี้ ได้เปิดเผยผลสำรวจที่พบว่า พ่อแม่กว่า 50% อนุญาตให้เด็กเล็กอย่างวัยเบบี๋ หรือวัยเตาะแตะเล่นโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตได้ พร้อมทั้งคาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยตัวเล็กที่ติดเทคโนโลยีงอมแงมเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล
ความจริงพฤติกรรมติดแท็บเล็ตของเด็กเล็ก ก็ไม่ต่างจากการติดเกมคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ ของเด็กโตหรือวัยรุ่นยุคนี้ที่พบเห็นอยู่ทุกวี่วัน
นอกจากนี้ ยังมีข่าวที่กระหน่ำความกังวล และหนักใจขึ้นไปอีกของบรรดานักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญเรื่องเด็กที่เป็นห่วงอย่างมาก ก็คือข่าวบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการเทคโนโลยีอย่าง Apple มีไอเดียจัดให้มีการทัศนศึกษาโรงงานของ Apple สำหรับเด็กนักเรียนและคุณครู โดยอ้างว่าเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้เด็ก และเพื่อให้เด็กๆ เห็นว่าโรงงานของ Apple เป็นเสมือนห้องเรียนไฮเทคของพวกเขา ซึ่งจะทำให้ได้รับแรงบันดาลใจ สร้างสรรค์แนวคิดโปรเจ็กต์ใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน เด็กๆ จะได้สัมผัสระบบการผลิตของเครื่อง Mac, IPad และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของ Apple ในฐานะเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้
แน่นอนว่าโครงการทัศนศึกษานี้ก็มีทั้งเสียงเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เพราะเท่ากับว่าโครงการนี้กำลังจะแทรกซึมเข้าไปสู่เด็กที่เขามองว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายอันโอชะ
เสียงที่ไม่เห็นด้วยอย่างสื่อใหญ่อย่าง เควิน มาเฮอร์จากหนังสือพิมพ์ The Times ของอังกฤษ ที่บอกว่านี่เป็นเพียงการต้องการสร้างภาพลักษณ์ของบริษัทยักษ์ใหญ่เท่านั้น
ก็คงต้องจับตาดูต่อไปว่า เจ้าแท็บเล็ตทั้งหลายในบ้านเรา ซึ่งหมายรวมถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลพกพาได้ ขนาดเท่าสมุดโน้ตที่มีหน้าจอใช้นิ้วสัมผัสเพื่อสั่งงาน พร้อมอุปกรณ์ไร้สายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและระบบเครือข่ายไวไฟ ในเมืองไทยหลายยี่ห้อ เช่น ไอแพด แกแล็กซี่ สโคป โซนี่ ฯลฯ กันต่อไป แม้สิ่งเหล่านี้จะเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ แต่นักจิตวิทยาก็อดห่วงถึงโทษภัยของมันไม่ได้ ว่าจะส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ทำให้เด็กขี้หงุดหงิด ผลการเรียนตกต่ำ และเจ้าแท็บเล็ตก็อาจเป็นบ่อเกิดของการที่ทำให้สุขภาพร่างกายของเด็กยุคนี้อ่อนแอและป่วยง่ายขึ้น
สอดคล้องกับข้อมูลก่อนหน้านี้จาก ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม นักจิตวิทยา โครงการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่าปัญหาเด็กติดไอแพด หรือแท็บเล็ต กำลังสร้างความปวดหัวให้กับผู้ปกครองเป็นอย่างมาก เด็กป่วยบ่อย เป็นหวัดไม่สบายเกือบทุกเดือน เมื่อเข้าไปศึกษาชีวิตประจำวันของเด็กกลุ่มนี้แล้ว พบว่าชอบนั่งเล่นไอแพดทั้งวัน ไม่ยอมทำอย่างอื่น ร่างกายจึงอ่อนแอ เนื่องจากธรรมชาติของเด็กเล็กต้องเคลื่อนไหวแขน ขา และเท้าอยู่ตลอดเวลา ไม่ควรอยู่นิ่งๆ นั่งในท่าเดิมนานๆ เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อของร่างกาย หากเด็กไม่เคลื่อนไหวร่างกายก็อ่อนแอลงเรื่อยๆ ไม่มีภูมิต้านทานเชื้อโรค ทำให้ป่วยบ่อยกว่าเด็กคนอื่น
เรียกว่าอาการน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งสำหรับเด็กยุคนี้ที่นอกจากจะเป็น “เด็กยุคก้มหน้า” และมีแนวโน้มว่าจะก้มหน้าก่อนเข้าสู่วัยเรียนด้วยซ้ำ ยังมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพร่างกายที่ป่วยบ่อยขึ้นอีกต่างหาก
ดูเหมือนข่าวคราวในท่วงทำนองที่มีงานวิจัยก่อนหน้านี้กล่าวถึงการแผ่รังสี จากโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟน อาจเป็นอันตราย หรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อมะเร็งสมองได้หากใช้เป็นเวลานาน หรืออาจส่งผลให้มีอาการปวดหัว เกิดความเครียด หรืออาจมีอาการสมาธิสั้นได้ ชักไม่มีผลซะแล้ว !!
หรือเรากำลังปล่อยให้เทคโนโลยีกัดกร่อนทำร้ายเด็กและเยาวชนแบบชาชินไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้รู้สึกสะทกสะท้านอีกต่อไป!!!