คนไทยเครียด!! กรมสุขภาพจิตเผยปี 55 โทร.ปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิตเกือบ 6 แสนครั้ง สธ.จี้กรมสุขภาพจิต ออกให้บริการเชิงรุกก่อนเกิดปัญหา พร้อมหนุนคนไทยปรึกษาจิตแพทย์ เมื่อเครียดหรือมีปัญหา
นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการทำงานให้แก่ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมสุขภาพจิต ว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีสุขภาพจิตดี เพื่อให้มีชีวิตมีความสุข และเมื่อเกิดความเครียดสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีที่เหมาะสม ได้มอบให้กรมสุขภาพจิตเป็นผู้รับผิดชอบ ผ่านการให้บริการของศูนย์สุขภาพจิต 14 แห่ง และโรงพยาบาลในสังกัดกรมสุขภาพจิตที่กระจายอยู่ทั่วประเทศอีก 18 แห่ง
“คนไทยมีความเชื่อว่าการไปพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาปัญหาชีวิต หรือระบายความเครียดในชีวิตประจำวัน จะถูกคนอื่นมองว่าเป็นคนบ้า หรือเป็นโรคจิต ทำให้ไม่ยอมไปพบจิตแพทย์เมื่อเกิดความเครียด หรือปัญหาด้านจิตใจ ต่างกันกับในต่างประเทศที่ประชาชนในประเทศเหล่านั้น หากเกิดความเครียดไม่ว่าจะเรื่องใหญ่หรือเล็กน้อย ก็มักจะไปพบจิตแพทย์เพื่อระบายความเครียดหรือขอคำปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จนเป็นเรื่องปกติ ซึ่งต่อไปหากกรมสุขภาพจิตทำงานเชิงรุก โดยไม่ต้องรอให้ประชาชนเดินเข้ามาหาก่อน จะช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตของประชาชนได้ดีขึ้น ลดการเกิดปัญหาสังคมด้านอื่นๆ ที่อาจจะเกิดตามมา” รมช.สาธารณสุข กล่าว
นายสรวงศ์ กล่าวต่อว่า สำหรับทิศทางการพัฒนางานสุขภาพจิตและแผนยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิต พ.ศ.2555-2559 มีเป้าหมายที่จะดูแลสุขภาพจิตของประชาชนในทุกกลุ่มวัย ในกลุ่มเด็กเล็ก และวัยเรียนได้ร่วมกับองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำโครงการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทย ส่งเสริมให้เด็กเล็กมีพัฒนาการ มีระดับความฉลาดทางสติปัญญา หรือไอคิว และมีระดับความฉลาดอารมณ์ หรืออีคิว ที่สมวัย ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานสากล ในกลุ่มเด็กโตกลุ่มวัยรุ่นซึ่งวัยที่อยากรู้ อยากลอง มีชมรม ทูบี นัมเบอร์วัน เป็นศูนย์กลางเครือข่ายในการสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจและดูแลให้ความช่วยเหลือเยาวชน ไม่ให้หลงผิดเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาทั้งเรื่องยาเสพติด การตั้งครรภ์ไม่พร้อม และการใช้ความรุนแรงตัดสินปัญหา ส่วนกลุ่มวัยทำงานที่ส่วนใหญ่มีปัญหาความเครียดจากการทำงาน และกลุ่มผู้สูงอายุพบว่ามีปัญหาเรื่องสมองเสื่อม และเป็นโรคซึมเศร้า มีโครงการดูแลช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าและป้องกันการฆ่าตัวตาย
นอกจากนี้ กรมสุขภาพจิต ได้จัดให้มีการบริการสายด่วนสุขภาพจิต 1323 และ 1667 รวม 31 คู่สาย เพื่อให้บริการประชาชนทุกเพศทุกวัย ในการรับฟังและให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต หรือปัญหาความเครียดในเรื่องต่างๆ ประชาชนที่ต้องการคำปรึกษาสามารถโทรปรึกษาได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผลการดำเนินงานปี 2555 มีผู้ขอรับบริการ 575,125 ราย ส่วนใหญ่ปรึกษาปัญหาความเครียดจากการทำงาน ชีวิตคู่ การใช้ชีวิตประจำวัน ลูกติดเกม ยาเสพติด การพนัน ติดเหล้า เพศสัมพันธ์ อาการผู้มีปัญหาสุขภาพจิต เป็นต้น โดยมีพยาบาลจิตเวช สหวิชาชีพหมุนเวียนรับสายให้คำปรึกษา
นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการทำงานให้แก่ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมสุขภาพจิต ว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีสุขภาพจิตดี เพื่อให้มีชีวิตมีความสุข และเมื่อเกิดความเครียดสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีที่เหมาะสม ได้มอบให้กรมสุขภาพจิตเป็นผู้รับผิดชอบ ผ่านการให้บริการของศูนย์สุขภาพจิต 14 แห่ง และโรงพยาบาลในสังกัดกรมสุขภาพจิตที่กระจายอยู่ทั่วประเทศอีก 18 แห่ง
“คนไทยมีความเชื่อว่าการไปพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาปัญหาชีวิต หรือระบายความเครียดในชีวิตประจำวัน จะถูกคนอื่นมองว่าเป็นคนบ้า หรือเป็นโรคจิต ทำให้ไม่ยอมไปพบจิตแพทย์เมื่อเกิดความเครียด หรือปัญหาด้านจิตใจ ต่างกันกับในต่างประเทศที่ประชาชนในประเทศเหล่านั้น หากเกิดความเครียดไม่ว่าจะเรื่องใหญ่หรือเล็กน้อย ก็มักจะไปพบจิตแพทย์เพื่อระบายความเครียดหรือขอคำปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จนเป็นเรื่องปกติ ซึ่งต่อไปหากกรมสุขภาพจิตทำงานเชิงรุก โดยไม่ต้องรอให้ประชาชนเดินเข้ามาหาก่อน จะช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตของประชาชนได้ดีขึ้น ลดการเกิดปัญหาสังคมด้านอื่นๆ ที่อาจจะเกิดตามมา” รมช.สาธารณสุข กล่าว
นายสรวงศ์ กล่าวต่อว่า สำหรับทิศทางการพัฒนางานสุขภาพจิตและแผนยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิต พ.ศ.2555-2559 มีเป้าหมายที่จะดูแลสุขภาพจิตของประชาชนในทุกกลุ่มวัย ในกลุ่มเด็กเล็ก และวัยเรียนได้ร่วมกับองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำโครงการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทย ส่งเสริมให้เด็กเล็กมีพัฒนาการ มีระดับความฉลาดทางสติปัญญา หรือไอคิว และมีระดับความฉลาดอารมณ์ หรืออีคิว ที่สมวัย ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานสากล ในกลุ่มเด็กโตกลุ่มวัยรุ่นซึ่งวัยที่อยากรู้ อยากลอง มีชมรม ทูบี นัมเบอร์วัน เป็นศูนย์กลางเครือข่ายในการสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจและดูแลให้ความช่วยเหลือเยาวชน ไม่ให้หลงผิดเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาทั้งเรื่องยาเสพติด การตั้งครรภ์ไม่พร้อม และการใช้ความรุนแรงตัดสินปัญหา ส่วนกลุ่มวัยทำงานที่ส่วนใหญ่มีปัญหาความเครียดจากการทำงาน และกลุ่มผู้สูงอายุพบว่ามีปัญหาเรื่องสมองเสื่อม และเป็นโรคซึมเศร้า มีโครงการดูแลช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าและป้องกันการฆ่าตัวตาย
นอกจากนี้ กรมสุขภาพจิต ได้จัดให้มีการบริการสายด่วนสุขภาพจิต 1323 และ 1667 รวม 31 คู่สาย เพื่อให้บริการประชาชนทุกเพศทุกวัย ในการรับฟังและให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต หรือปัญหาความเครียดในเรื่องต่างๆ ประชาชนที่ต้องการคำปรึกษาสามารถโทรปรึกษาได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผลการดำเนินงานปี 2555 มีผู้ขอรับบริการ 575,125 ราย ส่วนใหญ่ปรึกษาปัญหาความเครียดจากการทำงาน ชีวิตคู่ การใช้ชีวิตประจำวัน ลูกติดเกม ยาเสพติด การพนัน ติดเหล้า เพศสัมพันธ์ อาการผู้มีปัญหาสุขภาพจิต เป็นต้น โดยมีพยาบาลจิตเวช สหวิชาชีพหมุนเวียนรับสายให้คำปรึกษา