เปิดผลสำรวจหัวอกแม่หัวอกเมีย เผยเศร้าใจผัวติดเหล้า ทุบตี ผีพนัน ฐานะแม่ทุกข์ใจสุด ลูกหนีเรียน ดื่มสุรา ทะเลาะวิวาท เผยคำพูด “น่ารำคาญ” สร้างความเสียใจ อยากเห็นการให้เกียรติรับผิดชอบครอบครัว ด้านเยาวชนก้าวพลาดเปิดใจ สำนึกผิด ทำไปเพราะคึกคะนอง ผลสุดท้ายคนที่ทุกข์ที่สุดคือแม่ ขณะที่ “ผอ.บ้านกาญฯ” ให้สติแม่เลี้ยงลูกเดี่ยว สร้างกำลังใจให้เข้มแข็งก้าวให้พ้นความทุกข์
วันนี้ (8ส.ค.) ที่หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์) มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับศูนย์ฝึกและอบรมเด็กเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก เครือข่ายละครดีดี๊ดี สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเสวนา “เสียงสะท้อนหัวอกแม่…หัวอกเมีย” เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2556 ภายในมีการแสดงละครชุด รักบริสุทธิ์ โดยเครือข่ายละครรณรงค์ดีดี๊ดี
น.ส.มณี ขุนภักดี หัวหน้าฝ่ายรณรงค์และเผยแพร่ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เปิดเผยผลสำรวจ “เสียงของแม่…เสียงสะท้อนถึงลูกและสามี” โดยเก็บข้อมูลกลุ่มผู้หญิงทั้งหมด 1,151 ตัวอย่าง ในพื้นที่ 8 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ชุมพร อำนาจเจริญ นนทบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรปราการ และ กทม.ระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม -2 สิงหาคม 2556 โดยกลุ่มตัวอย่าง 51.3% อาศัยอยู่กับลูกและสามี 17.8% อยู่กับสามี 17.9% แยกทางกับสามี ทั้งนี้พฤติกรรมของสามีที่ทำให้รู้สึกเสียใจ คือ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 25.8% นอกใจ 19.9% ไม่รับผิดชอบครอบครัว 16.9% เล่นการพนัน 15.8% ด่าทอ ทำร้ายจิตใจ 11.7% ทุบตี ทำร้ายร่างกาย 6.7% บังคับมีเพศสัมพันธ์ 3.2%
น.ส.มณี กล่าวว่า เมื่อถามถึงพฤติกรรมลูกที่ทำให้เสียใจ กลุ่มตัวอย่างระบุว่า 22.7% หนีเรียน 18.9% ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 14.9% ทะเลาะวิวาท 14% ติดยาเสพติด 10% เล่นการพนัน 6.3% ลูกไม่ทำงาน/ไม่มีอาชีพ 5.3% ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ส่วนคำพูดของลูกและสามีที่ทำให้รู้สึกเสียใจ พบว่า เกือบครึ่ง หรือ 48.2% ใช้คำว่า “น่ารำคาญ จู้จี้ขี้บ่น” 13.4% “เลิกยุ่งกับชีวิตซะที” 10.4% “ดูเมีย / ดูแม่คนอื่นเขาเสียบ้าง” 9.7% “เงียบไปเลย หุบปากซะ” อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมคลายเครียดเมื่อทุกข์ใจ กลุ่มตัวอย่าง 26.1% จะหาทางออกด้วยการระบายทุกข์กับเพื่อน 16.9% เก็บไว้คนเดียว 15% ฟังวิทยุดูโทรทัศน์/ภาพยนตร์ 12% ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
น.ส.มณี กล่าวอีกว่า สิ่งที่กลุ่มผู้หญิงอยากเห็นเพื่อทำให้ครอบครัวดีขึ้นและมีความสุข พบว่า การให้เกียรติกัน 19.3% การรับผิดชอบครอบครัว 15.5% ลูกตั้งใจเรียนไม่เกเร 15.4% การลดละเลิกเหล้า 12.9% การช่วยทำงานบ้าน 12.4% พูดจาไพเราะ 10.3% การไม่นอกใจ 8.9% การไม่ทุบตีทำร้ายร่างกาย 5.3% นอกจากนี้สิ่งที่ผู้หญิงในบทบาทแม่และภรรยาอยากได้รับการสนับสนุน คือ มีส่วนร่วมตัดสินใจเรื่องครอบครัว 31.5% สนับสนุนให้สามีและลูกรับผิดชอบครอบครัว 29.5% มีเวลาดูแลตัวเอง 16.9%
“ปัญหาซ้ำซ้อนที่กดทับผู้หญิงล้วนมาจากคนใกล้ชิด อีกทั้งสถานการณ์การดื่มก็ยังขยายตัว จากผลสำรวจ พบข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ภรรยาเสียใจต่อพฤติกรรมการดื่มสุรามากเป็นอันดับหนึ่ง และยังมีพฤติกรรมการนอกใจ ไม่รับผิดชอบครอบครัว ด่าทอ ทุบตี บังคับมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเรามีกฎหมายห้ามข่มขืนภรรยา แต่มีจำนวนน้อยมากที่จะดำเนินคดีกับสามี นอกจากนี้เวลาที่ผู้หญิงเครียด แทบจะน้อยมากที่จะเข้าหาหรือระบายทุกข์กับเพื่อน จึงสะท้อนว่าผู้หญิงถูกปล่อยให้อยู่เพียงลำพังเมื่อเกิดปัญหา ไม่มีพื้นที่ และสังคมไม่ได้รับฟัง หากปล่อยไว้ระยะยาวจะนำมาสู่ปัญหา ดังนั้นสิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องทำร่วมกันคือ เพิ่มพื้นที่ให้ผู้หญิงได้พูดคุย เพิ่มบทบาทผู้หญิงเพื่อได้ระบายปัญหา รณรงค์สร้างความเข้าใจฐานความคิดชายเป็นใหญ่ กระตุ้นให้เพศชายเข้าใจให้เกียรติ ส่งเสริมให้ผู้หญิงมีความเข้มแข็ง นอกจากนี้ครอบครัว ชุมชน สังคม ต้องช่วยกันลดปัจจัยกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้ชายเข้ามามีส่วนร่วมในครอบครัว” น.ส.มณี กล่าว
ด้าน นายเอ (นามสมมติ) เยาวชนชายจากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก หนึ่งในเยาวชนที่ก้าวพลาดในชีวิต กล่าวว่า ตนทำเรื่องผิดพลาดสำคัญในชีวิตด้วยความคึกคะนอง นั้นคือ ยิงคนตาย ขณะนี้ถูกคุมประพฤติอยู่กว่า 2 ปีแล้ว วันนี้เมื่อกลับมาทบทวนสิ่งที่ได้ทำไป รู้สึกเสียใจว่าเหตุการณ์แบบนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้น ตนเองควรจะมีความคิดให้รอบคอบก่อนที่จะทำเรื่องอย่างนั้น เพราะท้ายที่สุดสิ่งที่ตามมาคือเสียอนาคต ผลกระทบตกอยู่กับครอบครัว โดยเฉพาะแม่
"แม่ผมเสียใจมาก แต่ก็เป็นกำลังใจให้ผมตลอดมา แม่บอกว่าอะไรที่ผ่านมาแล้วก็ให้ผ่านไป ไม่เคยซ้ำเติมผม ให้ผมอยู่กับปัจจุบันทำวันนี้ให้ดีที่สุด ผมรู้ว่าแม่ต้องรับภาระเพิ่มมากขึ้น แต่แม่ก็มาหาผมทุกวันอาทิตย์ไม่เคยขาดแม้สักวันเดียว ความคึกคะนองของผมแต่ผลมันตกอยู่บนความทุกข์ของแม่ อยากฝากถึงเยาวชนว่า ควรจะเรียนหนังสือให้เต็มที่ทำให้พ่อแม่ภูมิใจ อย่าออกนอกกรอบ เพราะพ่อแม่ของเราเหนื่อยมามาก หากเราเดินทางผิดท่านก็ต้องเสียใจ และรับภาระเพิ่ม ขอฝากถึงพ่อแม่ทุกคนด้วยเช่นกันว่า ถ้าหากลูกๆ เดินทางผิดพลาด ไม่ควรซ้ำเติม แต่ควรหันมาแนะนำชี้ทางให้ลูกเดินไปในทางที่ถูก” นายเอ กล่าว
ขณะที่ นางทิชา ณ นคร ผอ.ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก กล่าวว่า คนเป็นพ่อแม่ ต้องท่องจำให้ขึ้นใจว่าเด็กไม่เคยเป็นผู้ใหญ่มาก่อน เพราะฉะนั้นต้องอบรมสั่งสอนเขา ตนในฐานะที่เป็นแม่และต้องเลี้ยงลูกตามลำพัง ไม่มีใครอยู่อย่างยืนยาว มีแต่เดินผ่านมาแล้วจากไป แต่คนที่เหลืออยู่จะต้องมีชีวิตต่อไป ในฐานะแม่นั้นคือ ลูก ซึ่งแม่จะต้องมีความอดทน เข้มแข็งให้เพียงพอในการทำหน้าที่ไม่ว่าจะในฐานะพ่อหรือแม่ให้ดีที่สุด
“ขอฝากกำลังใจให้ผู้หญิงที่เป็นแม่หากอยู่ในภาวะทดท้อ ต้องสูญเสียสามีไม่ว่าจะเป็นเพราะการหย่าร้าง หรือ สูญเสียชีวิตความทุกข์ไม่ได้อยู่กับเรายาว แต่มันแค่แวะมาทักทาย แล้วก็จากไป ขอให้อย่าจมกับความทุกข์โศก ให้ผ่านพ้นก้าวข้ามความทุกข์ออกมาให้ได้ เพราะหากทำได้นั้นหมายถึงเราจะเป็นคนใหม่ที่เข้มแข็งกว่าเดิม ซึ่งความเข้มแข็งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการเดินทางบนถนนชีวิต” นางทิชา กล่าว
วันนี้ (8ส.ค.) ที่หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์) มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับศูนย์ฝึกและอบรมเด็กเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก เครือข่ายละครดีดี๊ดี สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเสวนา “เสียงสะท้อนหัวอกแม่…หัวอกเมีย” เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2556 ภายในมีการแสดงละครชุด รักบริสุทธิ์ โดยเครือข่ายละครรณรงค์ดีดี๊ดี
น.ส.มณี ขุนภักดี หัวหน้าฝ่ายรณรงค์และเผยแพร่ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เปิดเผยผลสำรวจ “เสียงของแม่…เสียงสะท้อนถึงลูกและสามี” โดยเก็บข้อมูลกลุ่มผู้หญิงทั้งหมด 1,151 ตัวอย่าง ในพื้นที่ 8 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ชุมพร อำนาจเจริญ นนทบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรปราการ และ กทม.ระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม -2 สิงหาคม 2556 โดยกลุ่มตัวอย่าง 51.3% อาศัยอยู่กับลูกและสามี 17.8% อยู่กับสามี 17.9% แยกทางกับสามี ทั้งนี้พฤติกรรมของสามีที่ทำให้รู้สึกเสียใจ คือ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 25.8% นอกใจ 19.9% ไม่รับผิดชอบครอบครัว 16.9% เล่นการพนัน 15.8% ด่าทอ ทำร้ายจิตใจ 11.7% ทุบตี ทำร้ายร่างกาย 6.7% บังคับมีเพศสัมพันธ์ 3.2%
น.ส.มณี กล่าวว่า เมื่อถามถึงพฤติกรรมลูกที่ทำให้เสียใจ กลุ่มตัวอย่างระบุว่า 22.7% หนีเรียน 18.9% ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 14.9% ทะเลาะวิวาท 14% ติดยาเสพติด 10% เล่นการพนัน 6.3% ลูกไม่ทำงาน/ไม่มีอาชีพ 5.3% ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ส่วนคำพูดของลูกและสามีที่ทำให้รู้สึกเสียใจ พบว่า เกือบครึ่ง หรือ 48.2% ใช้คำว่า “น่ารำคาญ จู้จี้ขี้บ่น” 13.4% “เลิกยุ่งกับชีวิตซะที” 10.4% “ดูเมีย / ดูแม่คนอื่นเขาเสียบ้าง” 9.7% “เงียบไปเลย หุบปากซะ” อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมคลายเครียดเมื่อทุกข์ใจ กลุ่มตัวอย่าง 26.1% จะหาทางออกด้วยการระบายทุกข์กับเพื่อน 16.9% เก็บไว้คนเดียว 15% ฟังวิทยุดูโทรทัศน์/ภาพยนตร์ 12% ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
น.ส.มณี กล่าวอีกว่า สิ่งที่กลุ่มผู้หญิงอยากเห็นเพื่อทำให้ครอบครัวดีขึ้นและมีความสุข พบว่า การให้เกียรติกัน 19.3% การรับผิดชอบครอบครัว 15.5% ลูกตั้งใจเรียนไม่เกเร 15.4% การลดละเลิกเหล้า 12.9% การช่วยทำงานบ้าน 12.4% พูดจาไพเราะ 10.3% การไม่นอกใจ 8.9% การไม่ทุบตีทำร้ายร่างกาย 5.3% นอกจากนี้สิ่งที่ผู้หญิงในบทบาทแม่และภรรยาอยากได้รับการสนับสนุน คือ มีส่วนร่วมตัดสินใจเรื่องครอบครัว 31.5% สนับสนุนให้สามีและลูกรับผิดชอบครอบครัว 29.5% มีเวลาดูแลตัวเอง 16.9%
“ปัญหาซ้ำซ้อนที่กดทับผู้หญิงล้วนมาจากคนใกล้ชิด อีกทั้งสถานการณ์การดื่มก็ยังขยายตัว จากผลสำรวจ พบข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ภรรยาเสียใจต่อพฤติกรรมการดื่มสุรามากเป็นอันดับหนึ่ง และยังมีพฤติกรรมการนอกใจ ไม่รับผิดชอบครอบครัว ด่าทอ ทุบตี บังคับมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเรามีกฎหมายห้ามข่มขืนภรรยา แต่มีจำนวนน้อยมากที่จะดำเนินคดีกับสามี นอกจากนี้เวลาที่ผู้หญิงเครียด แทบจะน้อยมากที่จะเข้าหาหรือระบายทุกข์กับเพื่อน จึงสะท้อนว่าผู้หญิงถูกปล่อยให้อยู่เพียงลำพังเมื่อเกิดปัญหา ไม่มีพื้นที่ และสังคมไม่ได้รับฟัง หากปล่อยไว้ระยะยาวจะนำมาสู่ปัญหา ดังนั้นสิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องทำร่วมกันคือ เพิ่มพื้นที่ให้ผู้หญิงได้พูดคุย เพิ่มบทบาทผู้หญิงเพื่อได้ระบายปัญหา รณรงค์สร้างความเข้าใจฐานความคิดชายเป็นใหญ่ กระตุ้นให้เพศชายเข้าใจให้เกียรติ ส่งเสริมให้ผู้หญิงมีความเข้มแข็ง นอกจากนี้ครอบครัว ชุมชน สังคม ต้องช่วยกันลดปัจจัยกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้ชายเข้ามามีส่วนร่วมในครอบครัว” น.ส.มณี กล่าว
ด้าน นายเอ (นามสมมติ) เยาวชนชายจากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก หนึ่งในเยาวชนที่ก้าวพลาดในชีวิต กล่าวว่า ตนทำเรื่องผิดพลาดสำคัญในชีวิตด้วยความคึกคะนอง นั้นคือ ยิงคนตาย ขณะนี้ถูกคุมประพฤติอยู่กว่า 2 ปีแล้ว วันนี้เมื่อกลับมาทบทวนสิ่งที่ได้ทำไป รู้สึกเสียใจว่าเหตุการณ์แบบนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้น ตนเองควรจะมีความคิดให้รอบคอบก่อนที่จะทำเรื่องอย่างนั้น เพราะท้ายที่สุดสิ่งที่ตามมาคือเสียอนาคต ผลกระทบตกอยู่กับครอบครัว โดยเฉพาะแม่
"แม่ผมเสียใจมาก แต่ก็เป็นกำลังใจให้ผมตลอดมา แม่บอกว่าอะไรที่ผ่านมาแล้วก็ให้ผ่านไป ไม่เคยซ้ำเติมผม ให้ผมอยู่กับปัจจุบันทำวันนี้ให้ดีที่สุด ผมรู้ว่าแม่ต้องรับภาระเพิ่มมากขึ้น แต่แม่ก็มาหาผมทุกวันอาทิตย์ไม่เคยขาดแม้สักวันเดียว ความคึกคะนองของผมแต่ผลมันตกอยู่บนความทุกข์ของแม่ อยากฝากถึงเยาวชนว่า ควรจะเรียนหนังสือให้เต็มที่ทำให้พ่อแม่ภูมิใจ อย่าออกนอกกรอบ เพราะพ่อแม่ของเราเหนื่อยมามาก หากเราเดินทางผิดท่านก็ต้องเสียใจ และรับภาระเพิ่ม ขอฝากถึงพ่อแม่ทุกคนด้วยเช่นกันว่า ถ้าหากลูกๆ เดินทางผิดพลาด ไม่ควรซ้ำเติม แต่ควรหันมาแนะนำชี้ทางให้ลูกเดินไปในทางที่ถูก” นายเอ กล่าว
ขณะที่ นางทิชา ณ นคร ผอ.ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก กล่าวว่า คนเป็นพ่อแม่ ต้องท่องจำให้ขึ้นใจว่าเด็กไม่เคยเป็นผู้ใหญ่มาก่อน เพราะฉะนั้นต้องอบรมสั่งสอนเขา ตนในฐานะที่เป็นแม่และต้องเลี้ยงลูกตามลำพัง ไม่มีใครอยู่อย่างยืนยาว มีแต่เดินผ่านมาแล้วจากไป แต่คนที่เหลืออยู่จะต้องมีชีวิตต่อไป ในฐานะแม่นั้นคือ ลูก ซึ่งแม่จะต้องมีความอดทน เข้มแข็งให้เพียงพอในการทำหน้าที่ไม่ว่าจะในฐานะพ่อหรือแม่ให้ดีที่สุด
“ขอฝากกำลังใจให้ผู้หญิงที่เป็นแม่หากอยู่ในภาวะทดท้อ ต้องสูญเสียสามีไม่ว่าจะเป็นเพราะการหย่าร้าง หรือ สูญเสียชีวิตความทุกข์ไม่ได้อยู่กับเรายาว แต่มันแค่แวะมาทักทาย แล้วก็จากไป ขอให้อย่าจมกับความทุกข์โศก ให้ผ่านพ้นก้าวข้ามความทุกข์ออกมาให้ได้ เพราะหากทำได้นั้นหมายถึงเราจะเป็นคนใหม่ที่เข้มแข็งกว่าเดิม ซึ่งความเข้มแข็งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการเดินทางบนถนนชีวิต” นางทิชา กล่าว