เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีข่าวคราวเรื่องที่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่ออกมายอมรับว่าผลการวิจัยการใช้แท็บเล็ตของเด็ก ป.1 พบว่า ครูและนักเรียนยังคงใช้ศักยภาพเครื่องที่ได้รับแจกประกอบการเรียนการสอนเพียง 20% ซึ่งถือว่ายังน้อยมาก จึงต้องหาแนวทางและจัดทำแผนเพื่อกระตุ้นให้มีการใช้งานมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ผลวิจัยยังระบุอีกว่า ครูผู้สอนยังไม่สามารถปรับเนื้อหาการเรียนการสอนจากแท็บเล็ตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่นได้ รวมถึงยังมีข้อกังวลว่าจะกระตุ้นให้เด็กติดเกมมากขึ้น จึงได้เร่งพัฒนาแผนแม่บทด้านไอซีทีของประเทศร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยจะวางแผนด้านการศึกษาเพิ่มขึ้น
ในขณะที่ด้านเทคนิคก็มีปัญหามากมาย เช่น แบตเตอรี่หมดเร็ว ใช้งานได้ติดต่อกันน้อยกว่า 6 ชั่วโมง เครื่องร้อน โดยโรงเรียนหลายแห่งเสนอให้ส่วนกลางจัดสรรงบประมาณการจัดซ่อมบำรุงแท็บเล็ต และสำรองเครื่องเพื่อรองรับปัญหา แต่ก็ยังไม่ได้รับการจัดการมากนัก
แม้ว่าสุ่มเสียงของเจ้ากระทรวงคนใหม่จะทำให้ระรื่นหูชื่นใจได้บ้าง เพราะนั่นเท่ากับว่ารัฐมนตรีเจ้ากระทรวงเสมาคนใหม่มองเห็นปัญหา ซึ่งตรงข้ามกับรายงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ก่อนหน้านี้ที่ออกมาระบุว่า แท็บเล็ตทำให้เด็กนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ดีขึ้น และเป็นผลวิจัยที่เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาโดยตลอดว่า ก็เป็นผู้ดำเนินการเอง ทำเอง ชงเอง เพราะผู้ที่ทำงานวิจัยเป็นหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ จึงยากที่จะเห็นผลลบต่อโครงการแท็บเล็ต ซึ่งดูเหมือนจะค้านสายตากับบรรดานักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทางด้านเด็ก ที่ต่างก็พยายามส่งเสียงทั้งดังทั้งเบา เพื่อให้คนที่กำหนดนโยบายได้เตรียมการรับกับปัญหาที่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะการแจกเป็นไปด้วยความเร่งรีบและไม่ได้เตรียมความพร้อมที่ดี นี่ยังไม่นับรวมกับประเด็นที่ไม่เห็นด้วยกับการแจกเด็กระดับชั้น ป.1
แต่สุดท้ายปีการศึกษาถัดไปก็ยังมีนโยบายการแจกแท็บเล็ตเด็ก ป.1 และเพิ่มระดับชั้น ม.1 อีกด้วย แม้ รมต.คนใหม่จะบอกว่าเป็นนโยบายต่อเนื่องของรัฐบาล แต่ประเด็นที่ออกมายอมรับว่าโครงการที่แจกไปก่อนหน้านี้ล้มเหลว ก็ยังสร้างความกังขาให้กับประชาชนอยู่ดี เพราะด้วยความที่ไม่ไว้วางใจ ก็เลยเกิดคำถามที่ว่า หรือว่าเขาคิดจะผุดโครงการอะไรขึ้นมาใหม่หรือไม่นั่น..!!
อย่างไรก็ตาม ในเมื่อนโยบายแจกแท็บเล็ตยังเดินหน้าต่อ แม้เจ้ากระทรวงจะยอมรับว่าล้มเหลวก็ตามที อยากนำเสนอว่าสิ่งที่ควรจะพินิจ และตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ซะก่อนจะเดินหน้าต่อได้ไหม ?
ประการแรก แจกแท็บเล็ตให้เด็ก ป.1 เมื่อปีที่แล้ว แล้วได้คิดต่อไหมว่าพอเด็กขึ้น ป.2 จะทำอย่างไร จะนำเนื้อหา ป.2 มาเชื่อมโยงหรือบรรจุในแท็บเล็ตเพิ่มเติมหรือไม่ แล้วใครเป็นผู้บรรจุหลักสูตรป.2 ลงในเครื่อง เพราะเด็ก ป.1 ที่เข้ามาใหม่ก็ได้เครื่องใหม่
ประการที่สอง อายุการใช้งานของแท็บเล็ตรุ่นนี้ประมาณ 3 ปี คำถามก็คือ หลังจากนั้นเจ้าแท็บเล็ตเหล่านี้จะถูกนำไปที่ไหน ให้ต่างคนต่างทิ้งขยะกันเอง หรือทิ้งไว้ที่โรงเรียน เพราะอีก 2 ปีมันจะกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นในปีแรก 800,000 เครื่อง แต่ปีถัดไปจะมีขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มอีกปีละ 1,600,000 เครื่อง รัฐบาลเคยคิดถึงวิธีกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ไหม
ประการที่สาม เรื่องการกระจายเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็ยังไม่สามารถทำได้ทุกพื้นที่ ทำให้แท็บเล็ตไม่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ จากรายงานของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ที่กำลังดำเนินการติดตั้งในโรงเรียนสังกัด สพฐ. ประมาณที่ 3 หมื่นแห่ง แต่มีความคืบหน้าว่าติดตั้งได้แค่ 50% แล้วจะติดตั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเสร็จเมื่อไร
ประการที่สี่ ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ในการใช้งาน ทั้งครูผู้สอนก็ยังคงเป็นปัญหา เพราะขาดความรู้ในเรื่องนี้จนไม่สามารถสอนลูกศิษย์ได้ แม้จะมีความพยายามในการเข้าไปอบรม แต่ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้เพียงพอหรือทันต่อสถานการณ์ บางพื้นที่อบรมแล้วบุคลากรก็ยังไม่สามารถใช้งานได้ แล้วเมื่อไรจะอบรมได้ครบทุกพื้นที่
ประการที่ห้า ได้คำนึงถึงผลกระทบทางด้านสายตาและสุขภาพร่างกายของเด็กหรือไม่ ทุกวันนี้เด็กก้มหน้าเต็มบ้านเต็มเมือง กลายเป็นปัญหาเรื่องสุขภาพทั้งต้นคอ และเรื่องสายตาที่พบว่าเด็กยุคนี้มีปัญหาทางด้านสายตาเพิ่มมากขึ้นไม่ใช่เฉพาะเด็กเมืองเท่านั้น แต่เด็กชนบทก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน ได้เคยคิดถึงผลกระทบเรื่องสุขภาพร่างกายของเด็กด้วยหรือไม่
ประการที่หก เด็กติดเกมเพิ่มมากขึ้นอย่างปฏิเสธไม่ได้ เพราะเจ้าเครื่องแท็บเล็ตเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้เด็กที่ไม่เคยเล่นเกมก็ได้รู้จักเกม รวมไปถึงมีแนวโน้มการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่หเมาะสมมากขึ้น แล้วภาครัฐได้มีมาตรการในการรองรับหรือปกป้องไม่ให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ติดเกมควบคู่ขนานไปด้วยหรือไม่
ตอบคำถามทั้ง 6 ข้อนี้ให้ได้รับความกระจ่างก่อนที่จะเดินหน้าแจกแท็บเล็ตในปีการศึกษาหน้าก่อนได้ไหม ไม่ใช่เจ้ากระทรวงคนใหม่ออกมายอมรับว่าล้มเหลว แต่กลับไม่มีแผนใดๆ ที่จะหาทางแก้ไขหรือแก้ปัญหาที่ชัดเจน
สุดท้ายก็เดินหน้าแจกไปเรื่อยๆ แบบปากว่าตาขยิบ
ทั้งนี้ ผลวิจัยยังระบุอีกว่า ครูผู้สอนยังไม่สามารถปรับเนื้อหาการเรียนการสอนจากแท็บเล็ตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่นได้ รวมถึงยังมีข้อกังวลว่าจะกระตุ้นให้เด็กติดเกมมากขึ้น จึงได้เร่งพัฒนาแผนแม่บทด้านไอซีทีของประเทศร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยจะวางแผนด้านการศึกษาเพิ่มขึ้น
ในขณะที่ด้านเทคนิคก็มีปัญหามากมาย เช่น แบตเตอรี่หมดเร็ว ใช้งานได้ติดต่อกันน้อยกว่า 6 ชั่วโมง เครื่องร้อน โดยโรงเรียนหลายแห่งเสนอให้ส่วนกลางจัดสรรงบประมาณการจัดซ่อมบำรุงแท็บเล็ต และสำรองเครื่องเพื่อรองรับปัญหา แต่ก็ยังไม่ได้รับการจัดการมากนัก
แม้ว่าสุ่มเสียงของเจ้ากระทรวงคนใหม่จะทำให้ระรื่นหูชื่นใจได้บ้าง เพราะนั่นเท่ากับว่ารัฐมนตรีเจ้ากระทรวงเสมาคนใหม่มองเห็นปัญหา ซึ่งตรงข้ามกับรายงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ก่อนหน้านี้ที่ออกมาระบุว่า แท็บเล็ตทำให้เด็กนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ดีขึ้น และเป็นผลวิจัยที่เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาโดยตลอดว่า ก็เป็นผู้ดำเนินการเอง ทำเอง ชงเอง เพราะผู้ที่ทำงานวิจัยเป็นหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ จึงยากที่จะเห็นผลลบต่อโครงการแท็บเล็ต ซึ่งดูเหมือนจะค้านสายตากับบรรดานักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทางด้านเด็ก ที่ต่างก็พยายามส่งเสียงทั้งดังทั้งเบา เพื่อให้คนที่กำหนดนโยบายได้เตรียมการรับกับปัญหาที่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะการแจกเป็นไปด้วยความเร่งรีบและไม่ได้เตรียมความพร้อมที่ดี นี่ยังไม่นับรวมกับประเด็นที่ไม่เห็นด้วยกับการแจกเด็กระดับชั้น ป.1
แต่สุดท้ายปีการศึกษาถัดไปก็ยังมีนโยบายการแจกแท็บเล็ตเด็ก ป.1 และเพิ่มระดับชั้น ม.1 อีกด้วย แม้ รมต.คนใหม่จะบอกว่าเป็นนโยบายต่อเนื่องของรัฐบาล แต่ประเด็นที่ออกมายอมรับว่าโครงการที่แจกไปก่อนหน้านี้ล้มเหลว ก็ยังสร้างความกังขาให้กับประชาชนอยู่ดี เพราะด้วยความที่ไม่ไว้วางใจ ก็เลยเกิดคำถามที่ว่า หรือว่าเขาคิดจะผุดโครงการอะไรขึ้นมาใหม่หรือไม่นั่น..!!
อย่างไรก็ตาม ในเมื่อนโยบายแจกแท็บเล็ตยังเดินหน้าต่อ แม้เจ้ากระทรวงจะยอมรับว่าล้มเหลวก็ตามที อยากนำเสนอว่าสิ่งที่ควรจะพินิจ และตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ซะก่อนจะเดินหน้าต่อได้ไหม ?
ประการแรก แจกแท็บเล็ตให้เด็ก ป.1 เมื่อปีที่แล้ว แล้วได้คิดต่อไหมว่าพอเด็กขึ้น ป.2 จะทำอย่างไร จะนำเนื้อหา ป.2 มาเชื่อมโยงหรือบรรจุในแท็บเล็ตเพิ่มเติมหรือไม่ แล้วใครเป็นผู้บรรจุหลักสูตรป.2 ลงในเครื่อง เพราะเด็ก ป.1 ที่เข้ามาใหม่ก็ได้เครื่องใหม่
ประการที่สอง อายุการใช้งานของแท็บเล็ตรุ่นนี้ประมาณ 3 ปี คำถามก็คือ หลังจากนั้นเจ้าแท็บเล็ตเหล่านี้จะถูกนำไปที่ไหน ให้ต่างคนต่างทิ้งขยะกันเอง หรือทิ้งไว้ที่โรงเรียน เพราะอีก 2 ปีมันจะกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นในปีแรก 800,000 เครื่อง แต่ปีถัดไปจะมีขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มอีกปีละ 1,600,000 เครื่อง รัฐบาลเคยคิดถึงวิธีกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ไหม
ประการที่สาม เรื่องการกระจายเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็ยังไม่สามารถทำได้ทุกพื้นที่ ทำให้แท็บเล็ตไม่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ จากรายงานของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ที่กำลังดำเนินการติดตั้งในโรงเรียนสังกัด สพฐ. ประมาณที่ 3 หมื่นแห่ง แต่มีความคืบหน้าว่าติดตั้งได้แค่ 50% แล้วจะติดตั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเสร็จเมื่อไร
ประการที่สี่ ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ในการใช้งาน ทั้งครูผู้สอนก็ยังคงเป็นปัญหา เพราะขาดความรู้ในเรื่องนี้จนไม่สามารถสอนลูกศิษย์ได้ แม้จะมีความพยายามในการเข้าไปอบรม แต่ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้เพียงพอหรือทันต่อสถานการณ์ บางพื้นที่อบรมแล้วบุคลากรก็ยังไม่สามารถใช้งานได้ แล้วเมื่อไรจะอบรมได้ครบทุกพื้นที่
ประการที่ห้า ได้คำนึงถึงผลกระทบทางด้านสายตาและสุขภาพร่างกายของเด็กหรือไม่ ทุกวันนี้เด็กก้มหน้าเต็มบ้านเต็มเมือง กลายเป็นปัญหาเรื่องสุขภาพทั้งต้นคอ และเรื่องสายตาที่พบว่าเด็กยุคนี้มีปัญหาทางด้านสายตาเพิ่มมากขึ้นไม่ใช่เฉพาะเด็กเมืองเท่านั้น แต่เด็กชนบทก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน ได้เคยคิดถึงผลกระทบเรื่องสุขภาพร่างกายของเด็กด้วยหรือไม่
ประการที่หก เด็กติดเกมเพิ่มมากขึ้นอย่างปฏิเสธไม่ได้ เพราะเจ้าเครื่องแท็บเล็ตเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้เด็กที่ไม่เคยเล่นเกมก็ได้รู้จักเกม รวมไปถึงมีแนวโน้มการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่หเมาะสมมากขึ้น แล้วภาครัฐได้มีมาตรการในการรองรับหรือปกป้องไม่ให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ติดเกมควบคู่ขนานไปด้วยหรือไม่
ตอบคำถามทั้ง 6 ข้อนี้ให้ได้รับความกระจ่างก่อนที่จะเดินหน้าแจกแท็บเล็ตในปีการศึกษาหน้าก่อนได้ไหม ไม่ใช่เจ้ากระทรวงคนใหม่ออกมายอมรับว่าล้มเหลว แต่กลับไม่มีแผนใดๆ ที่จะหาทางแก้ไขหรือแก้ปัญหาที่ชัดเจน
สุดท้ายก็เดินหน้าแจกไปเรื่อยๆ แบบปากว่าตาขยิบ