ศธ.ทำโครงการใหญ่เร่งด่วน ลดปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ใน ป.3, ป.6 ตั้งเป้าสิ้นปีการศึกษา 56 ปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เหลือ 0% “จาตุรนต์” เผยตั้งความหวังต้องเห็นผลทันที พร้อมมอบ สพฐ.ทำเครื่องมือสแกนเด็กเข้ารับการแก้ไข ชี้อาจต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนด้วย
วันนี้ (22 ส.ค.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา (ศธ.) แถลงข่าวพร้อมด้วย นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการ กพฐ.ว่า ศธ.เตรียมทำโครงการแก้ไขปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของเด็ก เนื่องจากขณะนี้ผลการอ่านและเขียนได้ของเด็กไทยยังไม่น่าพอใจ และการที่เด็กอ่านไม่ออกหรืออ่านไม่คล่องก็ยังส่งผลกระทบถึงการเรียนรู้วิชาอื่นๆ ด้วย เพราะฉะนั้น ศธ.จึงเตรียมทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ให้เป็นโครงการใหญ่และเร่งด่วน ซึ่งเป้าหมายไม่ใช่เพียงการแก้ไขปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ หรือบางคนอ่านไม่เข้าใจอ่านไม่รู้เรื่อง ได้รับการพัฒนาและยกระดับไปสู่อ่านรู้เรื่อง สื่อสารได้ด้วยสำหรับโครงการดังกล่าวจะมีการแถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการในต้นเดือนกันยายนนี้ แต่ระหว่างนี้ได้มอบให้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปทำรายละเอียดโครงการและเตรียมความพร้อมไว้ อย่างไรก็ตามเบื้องต้นโครงการนี้ทำขึ้นเพื่อช่วยพัฒนานักเรียนประถมศึกษาทุกคนให้สามารถอ่านออกเขียนได้ แต่เนื่องจากการแก้ไขปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้นั้นเป็นงานที่ค่อนข้างใหญ่ ไม่สามารถดำเนินการพร้อมกันทุกชั้นปี เพราะฉะนั้น ในปีการศึกษา 2556 จะมุ่งพัฒนานักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ก่อนเพื่อลดปัญหาการอ่านออกเขียนไม่ได้น้อยลง และตั้งเป้าให้การประเมินผลในปลายภาคเรียนปีการศึกษา 2556 ผลการอ่านออกเขียนไม่ได้ของ ป.3 และ ป.6 จะเหลือเหลือ 0%
“จะเริ่มสแกนนักเรียนชั้น ป.3 และ ป.6 สังกัด สพฐ.ทั่วประเทศทุกคน เพื่อให้รู้ถึงระดับทักษะภาษาของนักเรียนแต่ละคน ซึ่งวิธีการสแกนนั้น สพฐ.จะไปเร่งพัฒนาเครื่องมือซึ่งจะเป็นแบบทดสอบเฉพาะในการคัดกรองได้อย่างเป็นระบบ ขณะเดียวกัน อาจจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอน หรือสอนซ่อมเสริมพิเศษ เช่น สอนพิเศษนอกเวลาเรียน หรือจัดให้นักเรียนที่อ่อนภาษาไทยมาเรียนรวมกันเป็นห้องพิเศษเพื่อให้ครูสามารถเติมเต็มได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งต้องปรับน้ำหนักการเรียนการสอนกันใหม่ ถ้าเด็กอ่อนภาษาไทยมากๆ การเน้นน้ำหนักทุกวิชาเท่ากันอาจจะไม่เหมาะสม ควรจะให้น้ำหนักวิชาภาษาไทยมากกว่าวิชาอื่น แต่ทั้งหมดนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปต้องรอให้ สพฐ.ไปคิดรายละเอียดของโครงการมาแถลงอย่างชัดเจนในต้นเดือนกันยายน อย่างไรก็ตาม สำหรับนักเรียนชั้น ป.1, 2, 4 และ 5 นั้นจะให้คัดกรองเฉพาะนักเรียนที่มีปัญหาหนักมากจริงๆ มาร่วมโครงการ เพราะไม่สามารถทำโครงการพร้อมกันทุกชั้นได้แต่ถ้าจะปล่อยเด็กกลุ่มนี้ไว้ก็ห่วงว่าจะส่งผลให้เกิดปัญหาต่อการเรียนอย่างมาก ” นายจาตุรนต์ กล่าว
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวหวังให้เห็นผลทันทีปีการศึกษานี้ และจะถอดบทเรียนมาใช้ทำแผนเพื่อแก้ปัญหาระยะยาวต่อไปนายชินภัทร กล่าวว่า ขณะนี้กำลังพัฒนาเครื่องมือที่จะนำไปใช้สแกนได้อยู่ คาดว่าจะแล้วเสร็จก่อนสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ จากนั้นจะนำเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นพร้อมคู่มือจัดส่งไปให้เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อจะได้นำไปใช้ประเมินในช่วงวันที่ 9-20 กันยายนนี้ จากนั้นจะได้คัดเลือกเด็กที่มีปัญหามาเข้ารับการอบรมในช่วงปิดภาคเรียน
วันนี้ (22 ส.ค.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา (ศธ.) แถลงข่าวพร้อมด้วย นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการ กพฐ.ว่า ศธ.เตรียมทำโครงการแก้ไขปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของเด็ก เนื่องจากขณะนี้ผลการอ่านและเขียนได้ของเด็กไทยยังไม่น่าพอใจ และการที่เด็กอ่านไม่ออกหรืออ่านไม่คล่องก็ยังส่งผลกระทบถึงการเรียนรู้วิชาอื่นๆ ด้วย เพราะฉะนั้น ศธ.จึงเตรียมทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ให้เป็นโครงการใหญ่และเร่งด่วน ซึ่งเป้าหมายไม่ใช่เพียงการแก้ไขปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ หรือบางคนอ่านไม่เข้าใจอ่านไม่รู้เรื่อง ได้รับการพัฒนาและยกระดับไปสู่อ่านรู้เรื่อง สื่อสารได้ด้วยสำหรับโครงการดังกล่าวจะมีการแถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการในต้นเดือนกันยายนนี้ แต่ระหว่างนี้ได้มอบให้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปทำรายละเอียดโครงการและเตรียมความพร้อมไว้ อย่างไรก็ตามเบื้องต้นโครงการนี้ทำขึ้นเพื่อช่วยพัฒนานักเรียนประถมศึกษาทุกคนให้สามารถอ่านออกเขียนได้ แต่เนื่องจากการแก้ไขปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้นั้นเป็นงานที่ค่อนข้างใหญ่ ไม่สามารถดำเนินการพร้อมกันทุกชั้นปี เพราะฉะนั้น ในปีการศึกษา 2556 จะมุ่งพัฒนานักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ก่อนเพื่อลดปัญหาการอ่านออกเขียนไม่ได้น้อยลง และตั้งเป้าให้การประเมินผลในปลายภาคเรียนปีการศึกษา 2556 ผลการอ่านออกเขียนไม่ได้ของ ป.3 และ ป.6 จะเหลือเหลือ 0%
“จะเริ่มสแกนนักเรียนชั้น ป.3 และ ป.6 สังกัด สพฐ.ทั่วประเทศทุกคน เพื่อให้รู้ถึงระดับทักษะภาษาของนักเรียนแต่ละคน ซึ่งวิธีการสแกนนั้น สพฐ.จะไปเร่งพัฒนาเครื่องมือซึ่งจะเป็นแบบทดสอบเฉพาะในการคัดกรองได้อย่างเป็นระบบ ขณะเดียวกัน อาจจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอน หรือสอนซ่อมเสริมพิเศษ เช่น สอนพิเศษนอกเวลาเรียน หรือจัดให้นักเรียนที่อ่อนภาษาไทยมาเรียนรวมกันเป็นห้องพิเศษเพื่อให้ครูสามารถเติมเต็มได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งต้องปรับน้ำหนักการเรียนการสอนกันใหม่ ถ้าเด็กอ่อนภาษาไทยมากๆ การเน้นน้ำหนักทุกวิชาเท่ากันอาจจะไม่เหมาะสม ควรจะให้น้ำหนักวิชาภาษาไทยมากกว่าวิชาอื่น แต่ทั้งหมดนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปต้องรอให้ สพฐ.ไปคิดรายละเอียดของโครงการมาแถลงอย่างชัดเจนในต้นเดือนกันยายน อย่างไรก็ตาม สำหรับนักเรียนชั้น ป.1, 2, 4 และ 5 นั้นจะให้คัดกรองเฉพาะนักเรียนที่มีปัญหาหนักมากจริงๆ มาร่วมโครงการ เพราะไม่สามารถทำโครงการพร้อมกันทุกชั้นได้แต่ถ้าจะปล่อยเด็กกลุ่มนี้ไว้ก็ห่วงว่าจะส่งผลให้เกิดปัญหาต่อการเรียนอย่างมาก ” นายจาตุรนต์ กล่าว
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวหวังให้เห็นผลทันทีปีการศึกษานี้ และจะถอดบทเรียนมาใช้ทำแผนเพื่อแก้ปัญหาระยะยาวต่อไปนายชินภัทร กล่าวว่า ขณะนี้กำลังพัฒนาเครื่องมือที่จะนำไปใช้สแกนได้อยู่ คาดว่าจะแล้วเสร็จก่อนสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ จากนั้นจะนำเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นพร้อมคู่มือจัดส่งไปให้เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อจะได้นำไปใช้ประเมินในช่วงวันที่ 9-20 กันยายนนี้ จากนั้นจะได้คัดเลือกเด็กที่มีปัญหามาเข้ารับการอบรมในช่วงปิดภาคเรียน