เด็ก ม.1 อ่าน เขียนไม่คล่อง “จาตุรนต์” ห่วงปัญหาเด็กไทยอ่านภาษาไทยไม่ได้ จ่อเรียก สพฐ.และหน่วยงานเกี่ยวข้องเร่งหารือ
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการเชิญผู้บริหารโรงเรียน และครูจากโรงเรียนต่างๆ มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการศึกษา เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่ามีเรื่องที่น่าสนใจ และน่าตกใจคือเด็กไทยจำนวนมากอ่านภาษาไทยไม่ออก เพราะฉะนั้น ศธ.จะต้องนำเรื่องนี้มาแก้ปัญหาให้เร็วที่สุด เพราะหากเด็กอ่านภาษาไทยไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่จะเรียนวิชาอื่นได้เลย
“เร็วๆ นี้ ผมจะเชิญสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือในหลายๆ เรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเด็กไทย รวมทั้งจะหยิบยกเรื่องนโยบายและแนวทางการรับนักเรียนชั้น ม.1 และ ม.4 สังกัด สพฐ. ประจำปีการศึกษา 2557 มาหารือด้วย ซึ่งผมจะต้องขอดูรายละเอียดก่อนว่าในการพิจารณาคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อจะต้องผ่านการทดสอบวิชาใดบ้าง ควรจะให้ความสำคัญกับวิชาใดบ้างโดยเฉพาะวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ที่จะต้องเร่งแก้ปัญหาทั้งคู่” นายจาตุรนต์ กล่าว
น.ส.นิจสุดา อภินันทาภรณ์ หัวหน้าสถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการ สพฐ.กล่าวว่า ยอมรับว่าขณะนี้ปัญหาเรื่องนักเรียนระดับประถมศึกษา มีปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้อยู่บ้าง แต่ต้องดูปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน อาทิ เด็กที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ อาจจะเป็นนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ติดชายแดน เด็กพิเศษหรือเป็นเด็กชาวเขาเผ่าต่างๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาสพฐ. มีการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นระบบ โดยประสานเขตพื้นที่การศึกษาต่างๆ ให้เน้นส่งเสริมให้นักเรียนและครู เห็นความสำคัญของการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะครูภาษาไทย หรือนักศึกษาที่กำลังเรียนเอกภาษาไทยอยู่ขณะนี้ อยากให้มีความภาคภูมิใจ เพราะต่อไปประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางของประชาคมอาเซียน และเท่าที่ดูประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยเพิ่มมากขึ้น เพื่อจะเข้ามาทำงานในประเทศไทย ดังนั้นเราในฐานะเจ้าของภาษาจึงควรมีความเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชายแดน ที่เป็นจุดเชื่อมโยงทางด้านการค้า แต่ขณะเดียวกันเราก็ต้องเรียนรู้ภาษาเพื่อนบ้านที่สำคัญด้วย
ด้าน นายชลอ เขียวฉลัว ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร กล่าวว่า ยอมรับว่าขณะนี้เด็กไทยมีปัญหาเรื่องการอ่าน ออกเขียนได้ ซึ่งในส่วนของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาเอง ก็พบปัญหาดังกล่าวเช่นกัน โดยเฉพาะเด็กชั้น ม.1 ที่เข้ามาเรียนแต่ก็ยังอ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่องเท่าที่ควร ทำให้เด็กกลุ่มนี้เรียนรู้ได้ช้า ถือเป็นปัญหาใหญ่ ที่อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไข เพราะภาษาไทยถือเป็นภาษาหลักที่เราต้องใช้ในการเรียนรู้ในทุกรายวิชา
“ที่สำคัญยังพบด้วยว่า เด็กสมัยนี้จะไม่ชอบอ่านและไม่ชอบเขียนบทความยามๆ แต่ชอบอ่านอะไรที่ฉาบฉวย ใช้ภาษาแสลงหรืศัพท์วัยรุ่นสั้นๆ ทำให้ภาษามีการผิดเพี้ยนไป ไม่ถูกต้อง รวมถึงทำให้เอกลักษณ์ของภาษาไทยหายไป ดังนั้นจึงคิดว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะหันมาช่วยกันแก้ไขเรื่องดังกล่าว เพื่อคงเอกลักษณ์และรักษาภาษาไทยเอาไว้” นายชลอ กล่าว
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการเชิญผู้บริหารโรงเรียน และครูจากโรงเรียนต่างๆ มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการศึกษา เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่ามีเรื่องที่น่าสนใจ และน่าตกใจคือเด็กไทยจำนวนมากอ่านภาษาไทยไม่ออก เพราะฉะนั้น ศธ.จะต้องนำเรื่องนี้มาแก้ปัญหาให้เร็วที่สุด เพราะหากเด็กอ่านภาษาไทยไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่จะเรียนวิชาอื่นได้เลย
“เร็วๆ นี้ ผมจะเชิญสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือในหลายๆ เรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเด็กไทย รวมทั้งจะหยิบยกเรื่องนโยบายและแนวทางการรับนักเรียนชั้น ม.1 และ ม.4 สังกัด สพฐ. ประจำปีการศึกษา 2557 มาหารือด้วย ซึ่งผมจะต้องขอดูรายละเอียดก่อนว่าในการพิจารณาคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อจะต้องผ่านการทดสอบวิชาใดบ้าง ควรจะให้ความสำคัญกับวิชาใดบ้างโดยเฉพาะวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ที่จะต้องเร่งแก้ปัญหาทั้งคู่” นายจาตุรนต์ กล่าว
น.ส.นิจสุดา อภินันทาภรณ์ หัวหน้าสถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการ สพฐ.กล่าวว่า ยอมรับว่าขณะนี้ปัญหาเรื่องนักเรียนระดับประถมศึกษา มีปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้อยู่บ้าง แต่ต้องดูปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน อาทิ เด็กที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ อาจจะเป็นนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ติดชายแดน เด็กพิเศษหรือเป็นเด็กชาวเขาเผ่าต่างๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาสพฐ. มีการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นระบบ โดยประสานเขตพื้นที่การศึกษาต่างๆ ให้เน้นส่งเสริมให้นักเรียนและครู เห็นความสำคัญของการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะครูภาษาไทย หรือนักศึกษาที่กำลังเรียนเอกภาษาไทยอยู่ขณะนี้ อยากให้มีความภาคภูมิใจ เพราะต่อไปประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางของประชาคมอาเซียน และเท่าที่ดูประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยเพิ่มมากขึ้น เพื่อจะเข้ามาทำงานในประเทศไทย ดังนั้นเราในฐานะเจ้าของภาษาจึงควรมีความเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชายแดน ที่เป็นจุดเชื่อมโยงทางด้านการค้า แต่ขณะเดียวกันเราก็ต้องเรียนรู้ภาษาเพื่อนบ้านที่สำคัญด้วย
ด้าน นายชลอ เขียวฉลัว ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร กล่าวว่า ยอมรับว่าขณะนี้เด็กไทยมีปัญหาเรื่องการอ่าน ออกเขียนได้ ซึ่งในส่วนของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาเอง ก็พบปัญหาดังกล่าวเช่นกัน โดยเฉพาะเด็กชั้น ม.1 ที่เข้ามาเรียนแต่ก็ยังอ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่องเท่าที่ควร ทำให้เด็กกลุ่มนี้เรียนรู้ได้ช้า ถือเป็นปัญหาใหญ่ ที่อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไข เพราะภาษาไทยถือเป็นภาษาหลักที่เราต้องใช้ในการเรียนรู้ในทุกรายวิชา
“ที่สำคัญยังพบด้วยว่า เด็กสมัยนี้จะไม่ชอบอ่านและไม่ชอบเขียนบทความยามๆ แต่ชอบอ่านอะไรที่ฉาบฉวย ใช้ภาษาแสลงหรืศัพท์วัยรุ่นสั้นๆ ทำให้ภาษามีการผิดเพี้ยนไป ไม่ถูกต้อง รวมถึงทำให้เอกลักษณ์ของภาษาไทยหายไป ดังนั้นจึงคิดว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะหันมาช่วยกันแก้ไขเรื่องดังกล่าว เพื่อคงเอกลักษณ์และรักษาภาษาไทยเอาไว้” นายชลอ กล่าว