“จาตุรนต์” ย้ำต้องปรับระบบแอดมิชชันเข้ามหา’ลัยใหม่ เหตุมีการสอบมาก และออกข้อสอบนอกตำราเกิดความสิ้นเปลือง ชี้แม้ รมว.ศึกษาฯไม่มีอำนาจ แต่มหา’ลัยขัดมติ ครม.ไม่ได้ตามกฎหมาย แต่จะเน้นการพูดคุยทำความเข้าใจเพื่อให้เห็นปัญหาและยอมรับ
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงข้อเสนอของคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ที่ให้มีการปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา เพราะเป็นปัญหามาก ทั้งซ้ำซ้อน สิ้นเปลือง ไม่เท่าเทียม และทำให้กวดวิชาเพิ่มโดยเฉพาะการรับตรง ว่า ตนทราบข้อเสนอดังกล่าวแล้ว โดยประเด็นหลักๆ ที่ กกอ.เสนอ คือให้ลดการรับตรง และให้รับกลางมากขึ้น ซึ่งต้องไปดูว่าจะรับนักศึกษาเข้าเรียนด้วยวิธีอย่างไร เพื่อแก้ปัญหามหาวิทยาลัยต่างคนต่างรับ และแต่ละคณะก็รับกันเอง จัดสอบเอง แถมออกข้อสอบนอกหลักสูตร ซึ่งตรงกับนโยบายที่ตนกำลังดำเนินการอยู่ คือเปลี่ยนระบบคัดเลือกคนเข้ามหาวิทยาลัย ลดการสอบโดยคณะ ให้จัดสอบเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ และมาเป็นใช้ผลการสอบกลาง ซึ่งอาจจะใช้คะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง มหาวิทยาลัย กับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สถาบันทดสอบทางการศึกษา (สทศ.) จะต้องไปคิดระบบการสอบกลางร่วมกัน โดยจะต้องสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่วนข้อกังวลของมหาวิทยาลัยที่เกรงว่า จะไม่สามารถคัดเลือกเด็กข้าเรียนได้ตามต้องการนั้น เรื่องนี้ไม่น่าห่วง เพราะมหาวิทยาลัยสามารถดูผลสอบและดูคุณสมบัติอื่นๆ ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยสามารถเข้ามาช่วยกำหนดการสอบได้
ทั้งนี้ ยอมรับว่ามหาวิทยาลัยมีอิสระในการกำหนดการรับนักศึกษา และ รมว.ศึกษาธิการ ไม่มีสิทธิ์เข้าไปแทรกแซง แต่หากระบบมีปัญหาก็ต้องพยายามร่วมกันแก้ไข โดยทำให้สังคมเข้าใจ และช่วยกัน ซึ่งขณะนี้หลายฝ่ายก็เห็นพ้องกันว่าต้องปรับเลี่ยน ดังนั้นจึงต้องเปิดกว้างให้ผู้ปกครอง นักเรียน และผู้เกี่ยวข้องช่วยการสะท้อนปัญหา เพื่อหาทางแก้ไขร่วมกัน คิดว่ายังพอมีเวลา ทำความเข้าใจร่วมกัน เพราะการจะปรับเปลี่ยนอะไรต้องแจ้งให้นักเรียนทราบล่วงหน้า 3 ปี ยืนยันว่าที่ต้องปรับเพื่อให้เกิดความเท่าเทียม ซึ่งเข้าใจว่าอาจจะมีบางคนที่คิดว่า หากเปลี่ยนอีกจะเกิดความยุ่งยาก ซึ่งคนที่คิดแบบนี้ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มคนที่ค่อนข้างได้เปรียบ เช่น มีฐานะพอที่จะไปกวดวิชา มีปัญญาส่งลูกกวดวิชาและสอบหลายๆ ครั้ง ขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่งไม่มีกำลังส่งลูกไปกวดวิชา หรือเสียค่าสมัครสอบหลายที่ ทำให้เสียเปรียบ
“เรื่องใหญ่คือระบบการคัดเลือกแบบนี้ทำให้ทั้งครู เด็ก และผู้ปกครองไม่สนใจการเรียนในระบบ ทุกคนจะมุ่งไปที่ว่ามหาวิทยาลัยออกข้อสอบอย่างไร ดังนั้น หากระบบการคัดเลือกยังเป็นแบบนี้ ไม่มีทางที่จะปฏิรูปการศึกษาได้ อย่างไรก็ตาม หากมหาวิทยาลัยยังยืนยันแนวทางเดิมก็มีสิทธิ์ เพราะมีอิสระตามกฎหมาย แต่มหาวิทยาลัยก็ยังต้องทำตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) อยู่เหมือนกัน เพียงแต่ถ้าเราใช้มติ ครม.ออกคำสั่งตอนนี้อาจไม่ได้ผล ต้องให้ส่วนรวมเห็นปัญหาว่าระบบที่ทำอยู่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการจัดการศึกษาพื้นฐาน และการปฏิรูปการศึกษา และกระทบร้ายแรงต่อความไม่เท่าเทียม หากสังคมไม่เข้าใจมหาวิทยาลัยไม่เปลี่ยน เหมือนการปฏิรูปการศึกษาเดินอยู่บนเส้นด้าย ที่ทำมาอาจจะล้มเหลวหมด และที่สำคัญเราเห็นชัดเจนว่าไม่เปลี่ยนไม่ได้” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงข้อเสนอของคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ที่ให้มีการปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา เพราะเป็นปัญหามาก ทั้งซ้ำซ้อน สิ้นเปลือง ไม่เท่าเทียม และทำให้กวดวิชาเพิ่มโดยเฉพาะการรับตรง ว่า ตนทราบข้อเสนอดังกล่าวแล้ว โดยประเด็นหลักๆ ที่ กกอ.เสนอ คือให้ลดการรับตรง และให้รับกลางมากขึ้น ซึ่งต้องไปดูว่าจะรับนักศึกษาเข้าเรียนด้วยวิธีอย่างไร เพื่อแก้ปัญหามหาวิทยาลัยต่างคนต่างรับ และแต่ละคณะก็รับกันเอง จัดสอบเอง แถมออกข้อสอบนอกหลักสูตร ซึ่งตรงกับนโยบายที่ตนกำลังดำเนินการอยู่ คือเปลี่ยนระบบคัดเลือกคนเข้ามหาวิทยาลัย ลดการสอบโดยคณะ ให้จัดสอบเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ และมาเป็นใช้ผลการสอบกลาง ซึ่งอาจจะใช้คะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง มหาวิทยาลัย กับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สถาบันทดสอบทางการศึกษา (สทศ.) จะต้องไปคิดระบบการสอบกลางร่วมกัน โดยจะต้องสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่วนข้อกังวลของมหาวิทยาลัยที่เกรงว่า จะไม่สามารถคัดเลือกเด็กข้าเรียนได้ตามต้องการนั้น เรื่องนี้ไม่น่าห่วง เพราะมหาวิทยาลัยสามารถดูผลสอบและดูคุณสมบัติอื่นๆ ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยสามารถเข้ามาช่วยกำหนดการสอบได้
ทั้งนี้ ยอมรับว่ามหาวิทยาลัยมีอิสระในการกำหนดการรับนักศึกษา และ รมว.ศึกษาธิการ ไม่มีสิทธิ์เข้าไปแทรกแซง แต่หากระบบมีปัญหาก็ต้องพยายามร่วมกันแก้ไข โดยทำให้สังคมเข้าใจ และช่วยกัน ซึ่งขณะนี้หลายฝ่ายก็เห็นพ้องกันว่าต้องปรับเลี่ยน ดังนั้นจึงต้องเปิดกว้างให้ผู้ปกครอง นักเรียน และผู้เกี่ยวข้องช่วยการสะท้อนปัญหา เพื่อหาทางแก้ไขร่วมกัน คิดว่ายังพอมีเวลา ทำความเข้าใจร่วมกัน เพราะการจะปรับเปลี่ยนอะไรต้องแจ้งให้นักเรียนทราบล่วงหน้า 3 ปี ยืนยันว่าที่ต้องปรับเพื่อให้เกิดความเท่าเทียม ซึ่งเข้าใจว่าอาจจะมีบางคนที่คิดว่า หากเปลี่ยนอีกจะเกิดความยุ่งยาก ซึ่งคนที่คิดแบบนี้ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มคนที่ค่อนข้างได้เปรียบ เช่น มีฐานะพอที่จะไปกวดวิชา มีปัญญาส่งลูกกวดวิชาและสอบหลายๆ ครั้ง ขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่งไม่มีกำลังส่งลูกไปกวดวิชา หรือเสียค่าสมัครสอบหลายที่ ทำให้เสียเปรียบ
“เรื่องใหญ่คือระบบการคัดเลือกแบบนี้ทำให้ทั้งครู เด็ก และผู้ปกครองไม่สนใจการเรียนในระบบ ทุกคนจะมุ่งไปที่ว่ามหาวิทยาลัยออกข้อสอบอย่างไร ดังนั้น หากระบบการคัดเลือกยังเป็นแบบนี้ ไม่มีทางที่จะปฏิรูปการศึกษาได้ อย่างไรก็ตาม หากมหาวิทยาลัยยังยืนยันแนวทางเดิมก็มีสิทธิ์ เพราะมีอิสระตามกฎหมาย แต่มหาวิทยาลัยก็ยังต้องทำตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) อยู่เหมือนกัน เพียงแต่ถ้าเราใช้มติ ครม.ออกคำสั่งตอนนี้อาจไม่ได้ผล ต้องให้ส่วนรวมเห็นปัญหาว่าระบบที่ทำอยู่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการจัดการศึกษาพื้นฐาน และการปฏิรูปการศึกษา และกระทบร้ายแรงต่อความไม่เท่าเทียม หากสังคมไม่เข้าใจมหาวิทยาลัยไม่เปลี่ยน เหมือนการปฏิรูปการศึกษาเดินอยู่บนเส้นด้าย ที่ทำมาอาจจะล้มเหลวหมด และที่สำคัญเราเห็นชัดเจนว่าไม่เปลี่ยนไม่ได้” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว