ศธ.นำร่องประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ ปี 57 ในกลุ่มสาระ “วิทย์-คณิต-อังกฤษ” ชั้น ป.3 ป.6 ม.3 และ ม.6 ขณะที่ “จาตุรนต์” มั่นใจนำ O-Net/NT มาชี้วัดการสอนของครู ไม่เพิ่มปัญหาเด็กแห่กวดวิชาอย่างที่มีผู้กังวล
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ กล่าวภายหลังประชุมปฏิบัติการการพัฒนาระบบการประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ และความก้าวหน้าในวิชาชีพข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษา จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้มีการนำเสนอแนวทางการประเมินสมรรถนะ หรือ TPK Model โดยจะประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินทั้งสมรรถนะทางวิชาการ และสมรรถนะด้านการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน โดยจะมีการนำผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน ทั้งคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) และการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน (NT) มาเป็นตัวชี้วัดการสอนของครู ซึ่งการพัฒนาระบบวิทยฐานะแนวใหม่นั้น เพราะต้องการให้เรื่องของการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ไม่ใช่แค่เพื่อความก้าวหน้าและขวัญกำลังใจของครูเท่านั้น แต่จะต้องเชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนโดยรวมด้วย
“ส่วนข้อห่วงใยว่าการนำคะแนน O-Net และ NT ของนักเรียนมาเป็นตัวชี้วัดอาจจะเป็นการส่งเสริมให้มีการกวดวิชาเพิ่มนั้น การเรียนการสอนของครูต้องเชื่อมโยงกับหลักสูตร และข้อสอบ O-Net และ NT ก็ต้องออกตามหลักสูตร ซึ่งตนมองว่าจะเป็นการช่วยลดปัญหาที่นักเรียนต้องไปเรียนกวดวิชาไปในตัว อย่างไรก็ตาม ผมมองว่าการกวดวิชาไม่ใช่สิ่งเลวร้าย หากเป็นการกวดวิชาเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนของนักเรียน แตการเรียนการสอนของครูในห้องเรียนต้องทำให้ดีเพื่อลดการกวดวิชาลง” นายจาตุรนต์ กล่าว
นายชินภัทร กล่าวว่า ขณะนี้การประเมินวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์เดิมยังไม่มีการยกเลิก เพียงแต่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) รับหลักการให้การประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ ด้วยการประเมินสมรรถนะเป็นอีกแนวทางหนึ่ง ซึ่งในปีการศึกษา 2557 จะมีการนำร่องการประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ในสายการสอน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีความพร้อม ได้แก่ วิทยาศาสาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โดยจะเริ่มในช่วงชั้นที่มีเครื่องมืออยู่แล้วคือ ป.3 ป.6 ม.3 และ ม.6 หลังจากนั้นจะจัดทำเครื่องวัดและประเมินผลให้ครบทุกกลุ่มสาระและระดับชั้น เพื่อให้สามารถใช้การประเมินแนวใหม่ได้ทั้งหมด.
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ กล่าวภายหลังประชุมปฏิบัติการการพัฒนาระบบการประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ และความก้าวหน้าในวิชาชีพข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษา จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้มีการนำเสนอแนวทางการประเมินสมรรถนะ หรือ TPK Model โดยจะประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินทั้งสมรรถนะทางวิชาการ และสมรรถนะด้านการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน โดยจะมีการนำผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน ทั้งคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) และการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน (NT) มาเป็นตัวชี้วัดการสอนของครู ซึ่งการพัฒนาระบบวิทยฐานะแนวใหม่นั้น เพราะต้องการให้เรื่องของการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ไม่ใช่แค่เพื่อความก้าวหน้าและขวัญกำลังใจของครูเท่านั้น แต่จะต้องเชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนโดยรวมด้วย
“ส่วนข้อห่วงใยว่าการนำคะแนน O-Net และ NT ของนักเรียนมาเป็นตัวชี้วัดอาจจะเป็นการส่งเสริมให้มีการกวดวิชาเพิ่มนั้น การเรียนการสอนของครูต้องเชื่อมโยงกับหลักสูตร และข้อสอบ O-Net และ NT ก็ต้องออกตามหลักสูตร ซึ่งตนมองว่าจะเป็นการช่วยลดปัญหาที่นักเรียนต้องไปเรียนกวดวิชาไปในตัว อย่างไรก็ตาม ผมมองว่าการกวดวิชาไม่ใช่สิ่งเลวร้าย หากเป็นการกวดวิชาเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนของนักเรียน แตการเรียนการสอนของครูในห้องเรียนต้องทำให้ดีเพื่อลดการกวดวิชาลง” นายจาตุรนต์ กล่าว
นายชินภัทร กล่าวว่า ขณะนี้การประเมินวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์เดิมยังไม่มีการยกเลิก เพียงแต่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) รับหลักการให้การประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ ด้วยการประเมินสมรรถนะเป็นอีกแนวทางหนึ่ง ซึ่งในปีการศึกษา 2557 จะมีการนำร่องการประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ในสายการสอน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีความพร้อม ได้แก่ วิทยาศาสาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โดยจะเริ่มในช่วงชั้นที่มีเครื่องมืออยู่แล้วคือ ป.3 ป.6 ม.3 และ ม.6 หลังจากนั้นจะจัดทำเครื่องวัดและประเมินผลให้ครบทุกกลุ่มสาระและระดับชั้น เพื่อให้สามารถใช้การประเมินแนวใหม่ได้ทั้งหมด.