เลขาธิการ กศน.เผยยินดีให้แก้กฎกระทรวงเพิ่มอายุผู้เรียน เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ
นายประเสริฐ บุญเรือง เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เปิดเผยว่า ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งระดับและการเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556 ที่ลงนามโดยนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีต รมว.ศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 28 ม.ค.2556 ได้มีการเพิ่มข้อความในวรรคสองของข้อ 2 ของ กฎกระทรวงฉบับแรก พ.ศ.2546 ว่า “สำหรับผู้เรียนซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ มีประสบการณ์ประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งไม่น้อยกว่า 3 ปี และมีพี้นความรู้ไม่ต่ำกว่าระดับประถมศึกษาอาจะนำผลการเรียน ความรู้ ประสบการณ์มาประเมินเทียบระดับการศึกษาระดับการศึกษาสูงสุดของการศึกษาขั้น พื้นฐาน ประเภทสามัญได้
ทั้งนี้ ในการประเมินระดับการศึกษาดังกล่าวให้สำนักงาน กศน.และหน่วยงานกลางทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องซึ่งหมายถึงสำนักงานทดสอบทางการศึกษา (สทศ.) จัดทำมาตรฐานการเรียนรู้ ระดับการศึกษา และเครื่องมือวัดและประเมินผลไม่ต่ำกว่ามาตรฐานการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอน ปลาย ซึ่งข้อความดังกล่าวมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้เรียนที่ชัดเจนอยู่แล้ว แต่หากรมว.ศึกษาธิการเห็นว่า จะมีผลกระทบต่อการเพิ่มจำนวนผู้เรียนสายอาชีวศึกษา สำนักงาน กศน.ก็พร้อมจะปรับปรุงกฎกระทรวงเพื่อเพิ่มอายุของผู้เรียนหรือปรับหลักเกณฑ์ให้มีความรัดกุมยิ่งขึ้นตามนโยบาย เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ
“จริงๆ การเทียบระดับการศึกษามีมานานแล้วโดยกฎกระทรวงฉบับแรกออกมาตั้งแต่ปี 2546 แต่เป็นการเทียบที่ระดับ ขณะที่การเทียบระดับแบบข้ามระดับได้นี้เพิ่งดำเนินการครั้งแรกปีนี้ โดยอายุเฉลี่ยของผู้ที่เข้ารับการประเมินเทียบระดับก็อยู่ที่ 30-45 ปี ไม่มีคนที่อายุต่ำกว่า 20 ปีแน่นอน เพราะกฎกระทรวงเขียนไว้ชัดเจน แม้แต่คนที่ไม่มีอาชีพ เช่น พระภิกษุก็ไม่สามารถเข้ารับการเทียบระดับได้ รวมถึงเด็กที่ยังไม่มีรายได้ยังต้องพึ่งพาพ่อแม่ก็ไม่สามารถลงทะเบียนเทียบ ระดับได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นจะไม่มีศูนย์เทียบระดับใดรับผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติเข้าโครงการได้ แน่นอน” นายประเสริฐ กล่าว
นายประเสริฐ บุญเรือง เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เปิดเผยว่า ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งระดับและการเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556 ที่ลงนามโดยนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีต รมว.ศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 28 ม.ค.2556 ได้มีการเพิ่มข้อความในวรรคสองของข้อ 2 ของ กฎกระทรวงฉบับแรก พ.ศ.2546 ว่า “สำหรับผู้เรียนซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ มีประสบการณ์ประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งไม่น้อยกว่า 3 ปี และมีพี้นความรู้ไม่ต่ำกว่าระดับประถมศึกษาอาจะนำผลการเรียน ความรู้ ประสบการณ์มาประเมินเทียบระดับการศึกษาระดับการศึกษาสูงสุดของการศึกษาขั้น พื้นฐาน ประเภทสามัญได้
ทั้งนี้ ในการประเมินระดับการศึกษาดังกล่าวให้สำนักงาน กศน.และหน่วยงานกลางทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องซึ่งหมายถึงสำนักงานทดสอบทางการศึกษา (สทศ.) จัดทำมาตรฐานการเรียนรู้ ระดับการศึกษา และเครื่องมือวัดและประเมินผลไม่ต่ำกว่ามาตรฐานการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอน ปลาย ซึ่งข้อความดังกล่าวมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้เรียนที่ชัดเจนอยู่แล้ว แต่หากรมว.ศึกษาธิการเห็นว่า จะมีผลกระทบต่อการเพิ่มจำนวนผู้เรียนสายอาชีวศึกษา สำนักงาน กศน.ก็พร้อมจะปรับปรุงกฎกระทรวงเพื่อเพิ่มอายุของผู้เรียนหรือปรับหลักเกณฑ์ให้มีความรัดกุมยิ่งขึ้นตามนโยบาย เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ
“จริงๆ การเทียบระดับการศึกษามีมานานแล้วโดยกฎกระทรวงฉบับแรกออกมาตั้งแต่ปี 2546 แต่เป็นการเทียบที่ระดับ ขณะที่การเทียบระดับแบบข้ามระดับได้นี้เพิ่งดำเนินการครั้งแรกปีนี้ โดยอายุเฉลี่ยของผู้ที่เข้ารับการประเมินเทียบระดับก็อยู่ที่ 30-45 ปี ไม่มีคนที่อายุต่ำกว่า 20 ปีแน่นอน เพราะกฎกระทรวงเขียนไว้ชัดเจน แม้แต่คนที่ไม่มีอาชีพ เช่น พระภิกษุก็ไม่สามารถเข้ารับการเทียบระดับได้ รวมถึงเด็กที่ยังไม่มีรายได้ยังต้องพึ่งพาพ่อแม่ก็ไม่สามารถลงทะเบียนเทียบ ระดับได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นจะไม่มีศูนย์เทียบระดับใดรับผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติเข้าโครงการได้ แน่นอน” นายประเสริฐ กล่าว