เตรียมแจ้ง สว.2 ให้ “ชินภัทร-อนันต์-ไกร” มารับทราบข้อกล่าวหาไม่รักษาความลับราชการภายใน 10 ก.ย. ยังไม่สรุปกรณี “ศศิธารา” ขอขยายเวลาชี้รอการตัดสินใจจาก “จาตุรนต์” ขณะที่ “พงศ์เทพ” ระบุมติ ก.ค.ศ.ล่าสุดให้ครูผู้ช่วยได้กลับรับราชการเพื่อชี้แจงเป็นเรื่องปกติตามขั้นตอนกฎหมาย
วันนี้ (4 ก.ย.) นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) มีมติให้กลุ่มอดีตครูผู้ช่วยตามรายชื่อ 344 ราย ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)ที่ถูกให้ออกจากราชการโดยที่ไม่ได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงได้กลับเข้ามารับราชการและให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง และให้โอกาสอดีตครูผู้ช่วยได้ชี้แจง หากพบว่ามีความผิดก็ให้ออกจากราชการ ว่า ปกติแล้วการพิจารณาเรื่องนี้จะต้องปฏิบัติตามกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องในที่นี้ คือ กฎหมายเกี่ยวกับข้าราชการครู และกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองซึ่งจะมีกระบวนการและขั้นตอนอยู่
นายพงศ์เทพ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ในช่วงที่ตนเป็น รมว.ศึกษาธิการ ได้บอก ก.ค.ศ.ไปว่าการจะพิจารณาเรื่องนี้ควรดู เช่น เคยสอบมากี่ครั้ง คะแนนสอบที่ผ่านมาเป็นเช่นไร รวมทั้งคะแนนผลการเรียนในอดีตประกอบการตัดสินใจด้วย ไม่ใช่ว่าอยู่ดี ๆ ไปสั่งให้ออกจากราชการไปเลย รวมถึงกรณีที่ต้องเรียกมาสอบและให้คำชี้แจงซึ่งเป็นขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนดไว้อยู่แล้ว แต่ข้อมูลสนับสนุนนั้นเห็นอยู่แล้ว เช่น หากสอบคราวนี้ได้คะแนนสูงจะต้องลองให้ทำข้อสอบใหม่มาเปรียบเทียบ สิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการในการเพิ่มน้ำหนักความเชื่อถือเพื่อประกอบในการตัดสินใจว่าอดีตครูผู้ช่วยที่ได้คะแนนสูงในขณะที่ก็ทราบว่ามีข้อสอบที่รั่วไหลออกไป ไม่ได้ทำข้อสอบด้วยความสามารถของตนเองก็จะสามารถสั่งให้ออกจากราชการได้ อย่างไรก็ตาม ตนคิดว่าการที่ที่ประชุมก.ค.ศ.ให้อดีตครูผู้ช่วยได้กลับรับราชการเพื่อให้มีโอกาสชี้แจงเป็นเรื่องปกติตามกระบวนการขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ด้าน นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยความคืบหน้า กรณีที่นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ลงนามตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงข้าราชการ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ศธ. จำนวน 8 ราย กรณีที่มีความจำเป็นเหตุพิเศษ ว 12 ฐานกระทำผิดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่า ด้วยการรักษาความลับของราชการ ดังนี้ นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ,นายอนันต์ ระงับทุก ผู้ตรวจราชการ ศธ. อดีตรองเลขาธิการ กพฐ. นายไกร เกษทัน ผู้อำนวยการสำนักติดตามและประเมินผลสพฐ.อดีตผอ.สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สพฐ. และคณะกรรมการตรวจรับจำนวน 5 ราย รวมทั้งหมด 8 ราย ว่า ตนได้รับคำสั่งแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงข้าราชการสังกัดสพฐ.ทั้ง 8 รายแล้ว และได้นัดประชุมคณะกรรมการฯ ไปเมื่อวันที่ 4 กันยายนที่ผ่านมา แต่คงยังไม่สามารถให้ข้อมูลอะไรได้มาก จากนี้จะจัดทำ สว.2 เพื่อแจ้งข้อกล่าวหา ให้ผู้กล่าวหามารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 10 กันยายน
นายอภิชาติ กล่าวถึงกรณีสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) และนายภูมิพิชญ์ วโรดมรุจิรานนท์ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ รักษาการตำแหน่งที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กรณีเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษา โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 (SP2) : ไทยเข้มแข็ง 2555 สูญหายและส่อว่าจะเกิดความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์โครงการดังกล่าว โดยที่ผ่านมาน.ส.ศศิธารา ขอขยายเวลาการจัดส่งเอกสารชี้แจงเพิ่ม โดยให้เหตุผล ว่า เอกสารมีปริมาณมากและกระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ จึงต้องใช้เวลารวบรวม ว่า อำนาจดังกล่าวถือเป็นการพิจารณาของรัฐมนตรีว่าการศธ. และที่ผ่านมารัฐมนตรีว่าการศธ. ก็เห็นชอบตามที่คณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงเสนอให้ขยายเวลาจัดส่งเอกสารชี้แจงเพิ่มเติมให้ น.ส.ศศิธารา และจะครบกำหนดการขยายเวลาในวันที่ 12 ก.ย.นี้ ซึ่งที่ผ่านมาน.ส.ศศิธารา ได้ส่งเอกสารเพิ่มเติมอีก 2 ครั้ง ซึ่งเมื่อครบกำหนดการขยายระยะเวลาคณะกรรมการสอบสวนฯ ก็จะต้องมาดูเอกสารชี้แจงต่าง ๆ ว่ามีอะไรที่ต้องสอบสวนเพิ่มเติมหรือไม่ ก่อนสรุปผลการสอบสวนเสนอให้ รมว.ศึกษาธิการ พิจารณาต่อไป ซึ่งกรณีของน.ส.ศศิธาราคิดว่าใกล้จะสิ้นสุดแล้ว แต่หากมีการขอขยายเวลาเพิ่มอีก ก็คงต้องขอให้เป็นดุลยพินิจของ รมว.ศึกษาธิการ
วันนี้ (4 ก.ย.) นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) มีมติให้กลุ่มอดีตครูผู้ช่วยตามรายชื่อ 344 ราย ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)ที่ถูกให้ออกจากราชการโดยที่ไม่ได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงได้กลับเข้ามารับราชการและให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง และให้โอกาสอดีตครูผู้ช่วยได้ชี้แจง หากพบว่ามีความผิดก็ให้ออกจากราชการ ว่า ปกติแล้วการพิจารณาเรื่องนี้จะต้องปฏิบัติตามกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องในที่นี้ คือ กฎหมายเกี่ยวกับข้าราชการครู และกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองซึ่งจะมีกระบวนการและขั้นตอนอยู่
นายพงศ์เทพ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ในช่วงที่ตนเป็น รมว.ศึกษาธิการ ได้บอก ก.ค.ศ.ไปว่าการจะพิจารณาเรื่องนี้ควรดู เช่น เคยสอบมากี่ครั้ง คะแนนสอบที่ผ่านมาเป็นเช่นไร รวมทั้งคะแนนผลการเรียนในอดีตประกอบการตัดสินใจด้วย ไม่ใช่ว่าอยู่ดี ๆ ไปสั่งให้ออกจากราชการไปเลย รวมถึงกรณีที่ต้องเรียกมาสอบและให้คำชี้แจงซึ่งเป็นขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนดไว้อยู่แล้ว แต่ข้อมูลสนับสนุนนั้นเห็นอยู่แล้ว เช่น หากสอบคราวนี้ได้คะแนนสูงจะต้องลองให้ทำข้อสอบใหม่มาเปรียบเทียบ สิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการในการเพิ่มน้ำหนักความเชื่อถือเพื่อประกอบในการตัดสินใจว่าอดีตครูผู้ช่วยที่ได้คะแนนสูงในขณะที่ก็ทราบว่ามีข้อสอบที่รั่วไหลออกไป ไม่ได้ทำข้อสอบด้วยความสามารถของตนเองก็จะสามารถสั่งให้ออกจากราชการได้ อย่างไรก็ตาม ตนคิดว่าการที่ที่ประชุมก.ค.ศ.ให้อดีตครูผู้ช่วยได้กลับรับราชการเพื่อให้มีโอกาสชี้แจงเป็นเรื่องปกติตามกระบวนการขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ด้าน นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยความคืบหน้า กรณีที่นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ลงนามตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงข้าราชการ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ศธ. จำนวน 8 ราย กรณีที่มีความจำเป็นเหตุพิเศษ ว 12 ฐานกระทำผิดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่า ด้วยการรักษาความลับของราชการ ดังนี้ นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ,นายอนันต์ ระงับทุก ผู้ตรวจราชการ ศธ. อดีตรองเลขาธิการ กพฐ. นายไกร เกษทัน ผู้อำนวยการสำนักติดตามและประเมินผลสพฐ.อดีตผอ.สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สพฐ. และคณะกรรมการตรวจรับจำนวน 5 ราย รวมทั้งหมด 8 ราย ว่า ตนได้รับคำสั่งแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงข้าราชการสังกัดสพฐ.ทั้ง 8 รายแล้ว และได้นัดประชุมคณะกรรมการฯ ไปเมื่อวันที่ 4 กันยายนที่ผ่านมา แต่คงยังไม่สามารถให้ข้อมูลอะไรได้มาก จากนี้จะจัดทำ สว.2 เพื่อแจ้งข้อกล่าวหา ให้ผู้กล่าวหามารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 10 กันยายน
นายอภิชาติ กล่าวถึงกรณีสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) และนายภูมิพิชญ์ วโรดมรุจิรานนท์ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ รักษาการตำแหน่งที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กรณีเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์อาชีวศึกษา โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 (SP2) : ไทยเข้มแข็ง 2555 สูญหายและส่อว่าจะเกิดความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์โครงการดังกล่าว โดยที่ผ่านมาน.ส.ศศิธารา ขอขยายเวลาการจัดส่งเอกสารชี้แจงเพิ่ม โดยให้เหตุผล ว่า เอกสารมีปริมาณมากและกระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ จึงต้องใช้เวลารวบรวม ว่า อำนาจดังกล่าวถือเป็นการพิจารณาของรัฐมนตรีว่าการศธ. และที่ผ่านมารัฐมนตรีว่าการศธ. ก็เห็นชอบตามที่คณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงเสนอให้ขยายเวลาจัดส่งเอกสารชี้แจงเพิ่มเติมให้ น.ส.ศศิธารา และจะครบกำหนดการขยายเวลาในวันที่ 12 ก.ย.นี้ ซึ่งที่ผ่านมาน.ส.ศศิธารา ได้ส่งเอกสารเพิ่มเติมอีก 2 ครั้ง ซึ่งเมื่อครบกำหนดการขยายระยะเวลาคณะกรรมการสอบสวนฯ ก็จะต้องมาดูเอกสารชี้แจงต่าง ๆ ว่ามีอะไรที่ต้องสอบสวนเพิ่มเติมหรือไม่ ก่อนสรุปผลการสอบสวนเสนอให้ รมว.ศึกษาธิการ พิจารณาต่อไป ซึ่งกรณีของน.ส.ศศิธาราคิดว่าใกล้จะสิ้นสุดแล้ว แต่หากมีการขอขยายเวลาเพิ่มอีก ก็คงต้องขอให้เป็นดุลยพินิจของ รมว.ศึกษาธิการ