สทศ. เตรียมชง "จาตุรนต์" แก้กฎ ศธ.ยกเลิกใช้ O-Net เป็นส่วนถ่วงจบระดับป.6 หลังผลวิจัยชี้ทำเด็กเครียด ครูเน้นแต่วิชาการ ย้ำยังสอบ O-Net ป.6 อยู่
ศ.กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)มีประกาศเรื่องการใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนที่จบการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ทั้งระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สัดส่วน 20% และจะปรับสัดส่วนเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม โดยให้สถานศึกษาดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 ที่ผ่านมาสทศ.ประสบปัญหานักเรียนไม่ตั้งใจสอบ O-Net โดยเฉพาะระดับม.3 และ ม.6 และไม่มีการนำคะแนน O-Net ไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงการเรียนการสอน ทำให้ไม่เกิดการพัฒนา
ดังนั้น สทศ.จึง ได้เสนอ ศธ.ให้เพิ่มความสำคัญกับคะแนน O-Net โดยให้ใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนแต่ละช่วงชั้น เพื่อให้นักเรียนตั้งใจสอบ O-Net และเพื่อให้ได้ผลการสอบที่แท้จริงเพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนของสถานศึกษา โดย สทศ. ตั้งเป้าที่จะให้มีผลต่อการจบการศึกษาของนักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6 แต่เนื่องจากในประกาศกระทรวงได้รวม ป.6 ไปด้วย ส่งผลให้เด็กประถมเกิดความเครียด และครูเน้นติววิชาการ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาศักยภาพเด็ก
“มีผลการวิจัยของไทยและงานวิจัยในหลายประเทศระบุตรงกันว่า นักเรียนระดับประถมเป็นวัยที่มีระเบียบวินัย เป็นเด็กดี เชื่อฟังครู ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำข้อสอบต่างๆ รวมทั้งการสอบ O-Net ดังนั้นในการประชุมระดับนโยบายรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา ที่ จ.ชลบุรี ซึ่งนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการศธ. ได้เชิญสทศ.เข้าร่วมด้วย ผมจะหารือเรื่องนี้กับ นายจาตุรนต์ พร้อมเสนอให้มีการแก้ไขกฎกระทรวง ให้ยกเลิกการใช้คะแนนโอเน็ตเป็นองค์ประกอบหนึ่งในจบการศึกษาของนักเรียนชั้นป.6 เพื่อไม่ให้เด็กเกิดความเครียด”ศ.กิตติคุณ ดร.สมหวัง กล่าว
ประธานบอร์ด สทศ. กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม สทศ.ยังจะสอบโอเน็ตนักเรียนป.6 ตามเดิม แต่อาจปรับปรุงโดยสุ่มตัวอย่างนักเรียนมาเข้าสอบ เหมือนการสุ่มตัวอย่างนักเรียนมาเข้าสอบการสอบประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ Program for International Student Assessment (PISA) ซึ่งเด็กไม่ต้องสอบทุกคน ส่วนการนำคะแนน O-Net เพื่อใช้คัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อชั้นม.1 นั้น ถือเป็นนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะต้องยกเลิกด้วยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสพฐ.
ศ.กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)มีประกาศเรื่องการใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนที่จบการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ทั้งระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สัดส่วน 20% และจะปรับสัดส่วนเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม โดยให้สถานศึกษาดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 ที่ผ่านมาสทศ.ประสบปัญหานักเรียนไม่ตั้งใจสอบ O-Net โดยเฉพาะระดับม.3 และ ม.6 และไม่มีการนำคะแนน O-Net ไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงการเรียนการสอน ทำให้ไม่เกิดการพัฒนา
ดังนั้น สทศ.จึง ได้เสนอ ศธ.ให้เพิ่มความสำคัญกับคะแนน O-Net โดยให้ใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนแต่ละช่วงชั้น เพื่อให้นักเรียนตั้งใจสอบ O-Net และเพื่อให้ได้ผลการสอบที่แท้จริงเพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนของสถานศึกษา โดย สทศ. ตั้งเป้าที่จะให้มีผลต่อการจบการศึกษาของนักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6 แต่เนื่องจากในประกาศกระทรวงได้รวม ป.6 ไปด้วย ส่งผลให้เด็กประถมเกิดความเครียด และครูเน้นติววิชาการ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาศักยภาพเด็ก
“มีผลการวิจัยของไทยและงานวิจัยในหลายประเทศระบุตรงกันว่า นักเรียนระดับประถมเป็นวัยที่มีระเบียบวินัย เป็นเด็กดี เชื่อฟังครู ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำข้อสอบต่างๆ รวมทั้งการสอบ O-Net ดังนั้นในการประชุมระดับนโยบายรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา ที่ จ.ชลบุรี ซึ่งนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการศธ. ได้เชิญสทศ.เข้าร่วมด้วย ผมจะหารือเรื่องนี้กับ นายจาตุรนต์ พร้อมเสนอให้มีการแก้ไขกฎกระทรวง ให้ยกเลิกการใช้คะแนนโอเน็ตเป็นองค์ประกอบหนึ่งในจบการศึกษาของนักเรียนชั้นป.6 เพื่อไม่ให้เด็กเกิดความเครียด”ศ.กิตติคุณ ดร.สมหวัง กล่าว
ประธานบอร์ด สทศ. กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม สทศ.ยังจะสอบโอเน็ตนักเรียนป.6 ตามเดิม แต่อาจปรับปรุงโดยสุ่มตัวอย่างนักเรียนมาเข้าสอบ เหมือนการสุ่มตัวอย่างนักเรียนมาเข้าสอบการสอบประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ Program for International Student Assessment (PISA) ซึ่งเด็กไม่ต้องสอบทุกคน ส่วนการนำคะแนน O-Net เพื่อใช้คัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อชั้นม.1 นั้น ถือเป็นนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะต้องยกเลิกด้วยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสพฐ.