ยูเนสโก ชี้การทดสอบระดับภาครัฐทำเด็กเครียด แห่กวดวิชา ขณะที่ครูเน้นสอนเพื่อให้เด็กผ่านการทดสอบ ฟาก สทศ.ตั้งเป้าเข้าสู่ปีที่ 9 จะมุ่งพัฒนาคลังข้อสอบ O-Net เน้นการทดสอบความรู้ที่เชื่อมโยงสู่เนื้อหาและสะท้อนสมรรถนะผู้เรียนและเทียบเคียงผลการทดสอบ PISA, TIMMS ด้วย เล็งเผยแพร่ข้อสอบ O-Net เก่าเพื่อให้ ร.ร.ไปศึกษาปรับปรุงการเรียนการสอน
วันนี้ (4 ก.ย.) ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอทเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานประชุมนานาชาติ 2013 “NIETS International Symposium” จัดโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ภายใต้แนวคิด National Educational Testing and Assessment in ASEAN : Share and Learn ในโอกาสครบรอบ 8 ปีระหว่างวันที่ 3-5 ก.ย. 2556 ว่าขณะนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ระหว่างปฏิรูประบบการศึกษา โดยเฉพาะเนื้อหาสาระหลักสูตรต่างๆ รวมทั้งคุณธรรมจริยธรรม ครั้งนี้เป็นโอกาสดีในการเรียนรู้ แนวปฏิบัติและเทคนิคจากต่างประเทศ ในการพัฒนาระบบการทดสอบให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น รวมถึงเรียนรู้วิธีการทดสอบของต่างประเทศในการจัดทำเนื้อหาข้อสอบเพื่อชี้วัดการใช้ทักษะความจำและการวิเคราะห์ของผู้เรียน โดยตนเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหลักสูตรและการปฏิรูประบบการศึกษาของไทยต่อไป
รศ.ดร.สัมพันธุ์ พันธุ์พฤกษ์ ผอ.สทศ.กล่าวว่า การดำเนินการ 8 ปีที่ผ่านมา สทศ.ได้ดำเนินการตามพันธกิจที่ได้กำหนดทั้งการพัฒนาระบบวิธีการทดสอบและเครื่องมือการจัดทดสอบเพื่อประเมินผลตามมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผ่านการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) การศึกษานอกระบบ (N-Net) การศึกษาอิสลามการศึกษา (I-Net) และการศึกษาระดับอาชีวศึกษา (V-Net) รวมไปถึงการเป็นผู้จัดทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทางมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพตามที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) จัดทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) ความถนัดทางวิชาชีพ (PAT) ด้วย นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติทุกระบบให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ก้าวสู่ปีที่ 9 สทศ.จะเดินหน้าพัฒนาจัดทำคลังข้อสอบ O-Net หรือ O-Net Item Bank ที่จะเน้นการทดสอบความรู้เรื่องที่เชื่อมโยงกับเนื้อหา เพื่อมุ่งวัดสมรรถนะผู้เรียนนำผลไปการทดสอบไปใช้เชื่อมโยงกับหลักสูตรการเรียนการสอนตลอดจนเทียบเคียงผลการทดสอบนานาชาติ เช่น PISA ,TIMMS และจะเร่งพัฒนาระบบ E-Testing ให้การจัดสอบมีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่น่าเชื่อมถือระดับสากล นอกจากนี้จะเร่งรัดโครงการนำข้อสอบ O-Net ที่เผยแพร่ไปแล้วไปพัฒนาไปเป็น Adaptive Testing เพื่อให้สถานศึกษานำไปใช้ประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น เป็นต้น
ด้าน ดร.กว่าง โชว ฉาง หัวหน้าส่วนด้านการปฏิรูปและนโยบายการศึกษาองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) สำนักงานส่วนภูมิภาคและเอเชียแปซิฟิค กรุงเทพมหานครกล่าวบรรยายพิเศษ เรื่องการประเมินและการเปรียบเทียบของผลการเรียนรู้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า จากการศึกษาที่ผ่านมาในหลายประเทศของเอเชีย พบว่า มีการจัดทดสอบระดับชาติหรือการทดสอบของภาครัฐทางด้านการศึกษา ซึ่งการทดสอบโดยภาครัฐนั้นทำให้เกิดผลกระทบทั้งต่อตัวนักเรียนทีจะมีความเครียดในการเรียนการสอน และเด็กจะต้องหันไปเรียนพิเศษ ในขณะที่ครูก็จะเน้นสอนหนังสือเพื่อให้นักเรียนสอบผ่านการทดสอบของรัฐเท่านั้น ที่สำคัญยังเกิดปรากฏการณ์ทำให้โรงเรียนมีการแข่งขันสูงโรงเรียนส่วนใหญ่เลือกจะรับเฉพาะนักเรียนที่เก่งๆ เข้าไปเรียน และครูผู้สอนจะเอาใจใส่เฉพาะนักเรียนที่เก่งๆ มากกว่า เพราะฉะนั้น อาจจะต้องมาศึกษาข้อดี-ข้อเสียของการจัดทดสอบระดับภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งเช่นกันที่มีการทดสอบทางภาครัฐและดำเนินการในทุกระดับชั้นด้วย ทั้งนี้ ยูเนสโกมุ่งหวังให้กลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิกมีการปรับปรุงคุณภาพการเรียนรู้จากการประเมินผลทางด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เข้มแข็งมากขึ้น
ขณะที่ นายมาร์ก เดวิสัน มหาวิทยาลัยมินิโซตา สหรัฐอเมริกา กล่าวบรรยายหัวข้อนโยบายและวิธีปฏิบัติในการทดสอบและประเมินผลขนาดใหญ่(Policy and practices in large scale testing and assessment) ใจความตอนหนึ่งว่า หลังปี พ.ศ. 2523 สหรัฐฯ มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากทางด้านการศึกษาเพราะมีความห่วงใยในผลสัมฤทธิ์ทางด้านการศึกษาที่ค่อนข้างต่ำในระดับนานาชาติเมื่อดูจากผลการประเมินด้านต่างๆ เช่นเดียวกับข้อห่วงใยของประเทศไทย จึงทำให้ในช่วงนั้นรัฐบาลสหรัฐได้มีนโยบายที่จะปรับปรุงคุณภาพโรงเรียนทั่วประเทศเพื่อลดความแตกต่างทางด้านคุณภาพของนักเรียน โดยมีวิธีการต่างๆ อาทิ การกำหนดให้มีหลักสูตรแกนกลางใช้ในแต่ละรัฐ การกำหนดให้มีการประเมินเหมือนกันทั้งหมด และในช่วงปี พ.ศ. 2544 สหรัฐฯ มีนโยบายที่จะไม่ทอดทิ้งเด็กและมีนโยบายต่างๆ ออกมา เช่น การกำหนดให้นักเรียนในแต่ละโรงเรียนผ่านการทดสอบตามสัดส่วนที่กำหนด และหากไม่ผ่านตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ก็จะมีมาตรการต่างๆ เช่น ให้นักเรียนสามารถย้ายไปยังโรงเรียนอื่นได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้โรงเรียนได้รับงบประมาณอุดหนุน้อยลงเมื่อจำนวนนักเรียนลดลงและท้ายสุดก็อาจต้องปิดโรงเรียน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ พยายามผลักดันนโยบายเพื่อให้กลับไปสู่ในระดับที่สูงสุด (Race to the top) เช่น สร้างมาตรฐานหลักสูตรให้ด้่านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ให้เป็นหลักสูตรเดียวกันทั่วประเทศ
วันนี้ (4 ก.ย.) ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอทเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานประชุมนานาชาติ 2013 “NIETS International Symposium” จัดโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ภายใต้แนวคิด National Educational Testing and Assessment in ASEAN : Share and Learn ในโอกาสครบรอบ 8 ปีระหว่างวันที่ 3-5 ก.ย. 2556 ว่าขณะนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ระหว่างปฏิรูประบบการศึกษา โดยเฉพาะเนื้อหาสาระหลักสูตรต่างๆ รวมทั้งคุณธรรมจริยธรรม ครั้งนี้เป็นโอกาสดีในการเรียนรู้ แนวปฏิบัติและเทคนิคจากต่างประเทศ ในการพัฒนาระบบการทดสอบให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น รวมถึงเรียนรู้วิธีการทดสอบของต่างประเทศในการจัดทำเนื้อหาข้อสอบเพื่อชี้วัดการใช้ทักษะความจำและการวิเคราะห์ของผู้เรียน โดยตนเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหลักสูตรและการปฏิรูประบบการศึกษาของไทยต่อไป
รศ.ดร.สัมพันธุ์ พันธุ์พฤกษ์ ผอ.สทศ.กล่าวว่า การดำเนินการ 8 ปีที่ผ่านมา สทศ.ได้ดำเนินการตามพันธกิจที่ได้กำหนดทั้งการพัฒนาระบบวิธีการทดสอบและเครื่องมือการจัดทดสอบเพื่อประเมินผลตามมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผ่านการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) การศึกษานอกระบบ (N-Net) การศึกษาอิสลามการศึกษา (I-Net) และการศึกษาระดับอาชีวศึกษา (V-Net) รวมไปถึงการเป็นผู้จัดทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทางมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพตามที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) จัดทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) ความถนัดทางวิชาชีพ (PAT) ด้วย นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติทุกระบบให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ก้าวสู่ปีที่ 9 สทศ.จะเดินหน้าพัฒนาจัดทำคลังข้อสอบ O-Net หรือ O-Net Item Bank ที่จะเน้นการทดสอบความรู้เรื่องที่เชื่อมโยงกับเนื้อหา เพื่อมุ่งวัดสมรรถนะผู้เรียนนำผลไปการทดสอบไปใช้เชื่อมโยงกับหลักสูตรการเรียนการสอนตลอดจนเทียบเคียงผลการทดสอบนานาชาติ เช่น PISA ,TIMMS และจะเร่งพัฒนาระบบ E-Testing ให้การจัดสอบมีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่น่าเชื่อมถือระดับสากล นอกจากนี้จะเร่งรัดโครงการนำข้อสอบ O-Net ที่เผยแพร่ไปแล้วไปพัฒนาไปเป็น Adaptive Testing เพื่อให้สถานศึกษานำไปใช้ประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น เป็นต้น
ด้าน ดร.กว่าง โชว ฉาง หัวหน้าส่วนด้านการปฏิรูปและนโยบายการศึกษาองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) สำนักงานส่วนภูมิภาคและเอเชียแปซิฟิค กรุงเทพมหานครกล่าวบรรยายพิเศษ เรื่องการประเมินและการเปรียบเทียบของผลการเรียนรู้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า จากการศึกษาที่ผ่านมาในหลายประเทศของเอเชีย พบว่า มีการจัดทดสอบระดับชาติหรือการทดสอบของภาครัฐทางด้านการศึกษา ซึ่งการทดสอบโดยภาครัฐนั้นทำให้เกิดผลกระทบทั้งต่อตัวนักเรียนทีจะมีความเครียดในการเรียนการสอน และเด็กจะต้องหันไปเรียนพิเศษ ในขณะที่ครูก็จะเน้นสอนหนังสือเพื่อให้นักเรียนสอบผ่านการทดสอบของรัฐเท่านั้น ที่สำคัญยังเกิดปรากฏการณ์ทำให้โรงเรียนมีการแข่งขันสูงโรงเรียนส่วนใหญ่เลือกจะรับเฉพาะนักเรียนที่เก่งๆ เข้าไปเรียน และครูผู้สอนจะเอาใจใส่เฉพาะนักเรียนที่เก่งๆ มากกว่า เพราะฉะนั้น อาจจะต้องมาศึกษาข้อดี-ข้อเสียของการจัดทดสอบระดับภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งเช่นกันที่มีการทดสอบทางภาครัฐและดำเนินการในทุกระดับชั้นด้วย ทั้งนี้ ยูเนสโกมุ่งหวังให้กลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิกมีการปรับปรุงคุณภาพการเรียนรู้จากการประเมินผลทางด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เข้มแข็งมากขึ้น
ขณะที่ นายมาร์ก เดวิสัน มหาวิทยาลัยมินิโซตา สหรัฐอเมริกา กล่าวบรรยายหัวข้อนโยบายและวิธีปฏิบัติในการทดสอบและประเมินผลขนาดใหญ่(Policy and practices in large scale testing and assessment) ใจความตอนหนึ่งว่า หลังปี พ.ศ. 2523 สหรัฐฯ มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากทางด้านการศึกษาเพราะมีความห่วงใยในผลสัมฤทธิ์ทางด้านการศึกษาที่ค่อนข้างต่ำในระดับนานาชาติเมื่อดูจากผลการประเมินด้านต่างๆ เช่นเดียวกับข้อห่วงใยของประเทศไทย จึงทำให้ในช่วงนั้นรัฐบาลสหรัฐได้มีนโยบายที่จะปรับปรุงคุณภาพโรงเรียนทั่วประเทศเพื่อลดความแตกต่างทางด้านคุณภาพของนักเรียน โดยมีวิธีการต่างๆ อาทิ การกำหนดให้มีหลักสูตรแกนกลางใช้ในแต่ละรัฐ การกำหนดให้มีการประเมินเหมือนกันทั้งหมด และในช่วงปี พ.ศ. 2544 สหรัฐฯ มีนโยบายที่จะไม่ทอดทิ้งเด็กและมีนโยบายต่างๆ ออกมา เช่น การกำหนดให้นักเรียนในแต่ละโรงเรียนผ่านการทดสอบตามสัดส่วนที่กำหนด และหากไม่ผ่านตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ก็จะมีมาตรการต่างๆ เช่น ให้นักเรียนสามารถย้ายไปยังโรงเรียนอื่นได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้โรงเรียนได้รับงบประมาณอุดหนุน้อยลงเมื่อจำนวนนักเรียนลดลงและท้ายสุดก็อาจต้องปิดโรงเรียน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ พยายามผลักดันนโยบายเพื่อให้กลับไปสู่ในระดับที่สูงสุด (Race to the top) เช่น สร้างมาตรฐานหลักสูตรให้ด้่านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ให้เป็นหลักสูตรเดียวกันทั่วประเทศ