สพฐ.เตรียมจัดแถลงข่าวโชว์เครื่องมือสแกนคัดเด็กที่มีปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ 5 ก.ย.นี้ สนองนโยบาย “จาตุรนต์” พร้อมเสนอเป็นแผนใหญ่ทำคู่กับแผนพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เพื่อขับเคลื่อนการทำงานให้เห็นผลจริง
วันนี้ (3 ก.ย.) นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า สพฐ.ได้จัดแผนปฏิบัติการสนองนโยบายสำคัญของนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ เสร็จเรียบร้อยแล้วและเตรียมเสนอให้ รมว.ศึกษาธิการ พิจารณาก่อนแถลงข่าวโครงการใหญ่นี้อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 ก.ย.นี้ ซึ่งจากนโยบายที่ รมว.ศึกษาธิการ ต้องการให้ สพฐ.เร่งแก้ปัญหาใหญ่เด็กไทยอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ อ่านจับใจความไม่รู้เรื่องนั้น สพฐ.จะนำร่องปูพรมพัฒนาทักษะการเขียนให้กับนักเรียนชั้น ป.3 และ ป.6 โดยตั้งเป้าว่าภายในสิ้นปีการศึกษา 2556 นักเรียนระดับ ป.3 ทุกคนจะต้องอ่านออกเขียนได้ ส่วนนักเรียน ป.6 ทุกคนจะต้องอ่านรู้เรื่อง และขณะนี้ สพฐ.ได้พัฒนาเครื่องมือที่จะนำไปสแกนวัดระดับทักษะการอ่านเขียนของนักเรียนชั้น ป.3 และ ป.6 เสร็จเรียบร้อยแล้ว และหลังจากนี้จะนำเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นไปชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา และศึกษานิเทศก์ ซึ่งจะต้องนำเครื่องมือไปสแกนเด็ก 2 ชั้นจำนวนประมาณ 1.6 ล้านคน โดยวางปฏิทินไว้ว่าจะลงมือสแกนก่อนปิดภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2556 ในเดือนกันยายนนี้ เพื่อนำตัวนักเรียนที่มีปัญหาในการอ่านเขียน เข้ารับการฟื้นฟูช่วงปิดภาคเรียน ทั้งนี้ ในวันแถลงข่าวจะมีการโชว์เครื่องมือในการสแกนด้วย
นายชินภัทร กล่าวต่อว่า ส่วนอีกนโยบายสำคัญของ รมว.ศึกษาธิการ ต้องการให้เร่งพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ให้กับนักเรียนซึ่งหากนักเรียนไทยมีทักษะในการคิดแล้ว จะช่วยให้อันดับของคะแนนการสอบประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ PISA ของไทยสูงขึ้นได้เพราะข้อสอบ PISA ส่วนใหญ่เป็นข้อสอบเน้นการคิดวิเคราะห์ อย่างไรก็ตาม สพฐ.มีความเห็นว่า ก่อนจะลงมือขับเคลื่อนการพัฒนากระบวนการคิดให้กับนักเรียน จะต้องมั่นใจก่อนว่า กำลังคนหรือครูที่มีอยู่ ตั้งแต่ครูระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาในทุกกลุ่มสาระวิชา มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการพัฒนากระบวนการคิดให้กับนักเรียน เพราะฉะนั้น สพฐ.จะเสนอให้มีการสแกนความสามารถด้านนี้ให้กับครูเช่นเดียวกัน และพัฒนาหลักสูตรขึ้นมาอบรมครูทุกคนให้เข้าใจการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดของเด็ก
“เราต้องมั่นใจก่อนว่าบุคลากรที่มีอยู่ เข้าใจกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการคิดไปสู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนได้ รวมทั้งสามารถคิดวิธีประเมินทักษะในการคิดของเด็กได้ด้วย เพราะฉะนั้น สพฐ.จึงได้พัฒนาหลักสูตรขึ้นมา 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการคิด หลักสูตรการนำทฤษฎีเกี่ยวกับการคิดไปสู่การเรียนการสอน และหลักสูตรวิธีการในการประเมินผู้เรียน โดย สพฐ.ตั้งเป้าว่า จะให้ครูทุกคน ทุกวิชา เข้ารับการอบรมทั้ง 3 หลักสูตร ซึ่งการอบรมอาจจะมีวิธีที่หลากหลาย ค่าใช้จ่ายไม่สูง รวมถึงอาจจะใช้การอบรมผ่านระบบอีเลิร์นนิง ทั้งนี้ ถ้าเราประสบความสำเร็จในการพัฒนากระบวนการคิดให้นักเรียน เป้าหมายที่จะไต่อันดับการประเมิน PISA ก็จะประสบความสำเร็จ” นายชินภัทร กล่าว
วันนี้ (3 ก.ย.) นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า สพฐ.ได้จัดแผนปฏิบัติการสนองนโยบายสำคัญของนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ เสร็จเรียบร้อยแล้วและเตรียมเสนอให้ รมว.ศึกษาธิการ พิจารณาก่อนแถลงข่าวโครงการใหญ่นี้อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 ก.ย.นี้ ซึ่งจากนโยบายที่ รมว.ศึกษาธิการ ต้องการให้ สพฐ.เร่งแก้ปัญหาใหญ่เด็กไทยอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ อ่านจับใจความไม่รู้เรื่องนั้น สพฐ.จะนำร่องปูพรมพัฒนาทักษะการเขียนให้กับนักเรียนชั้น ป.3 และ ป.6 โดยตั้งเป้าว่าภายในสิ้นปีการศึกษา 2556 นักเรียนระดับ ป.3 ทุกคนจะต้องอ่านออกเขียนได้ ส่วนนักเรียน ป.6 ทุกคนจะต้องอ่านรู้เรื่อง และขณะนี้ สพฐ.ได้พัฒนาเครื่องมือที่จะนำไปสแกนวัดระดับทักษะการอ่านเขียนของนักเรียนชั้น ป.3 และ ป.6 เสร็จเรียบร้อยแล้ว และหลังจากนี้จะนำเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นไปชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา และศึกษานิเทศก์ ซึ่งจะต้องนำเครื่องมือไปสแกนเด็ก 2 ชั้นจำนวนประมาณ 1.6 ล้านคน โดยวางปฏิทินไว้ว่าจะลงมือสแกนก่อนปิดภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2556 ในเดือนกันยายนนี้ เพื่อนำตัวนักเรียนที่มีปัญหาในการอ่านเขียน เข้ารับการฟื้นฟูช่วงปิดภาคเรียน ทั้งนี้ ในวันแถลงข่าวจะมีการโชว์เครื่องมือในการสแกนด้วย
นายชินภัทร กล่าวต่อว่า ส่วนอีกนโยบายสำคัญของ รมว.ศึกษาธิการ ต้องการให้เร่งพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ให้กับนักเรียนซึ่งหากนักเรียนไทยมีทักษะในการคิดแล้ว จะช่วยให้อันดับของคะแนนการสอบประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ PISA ของไทยสูงขึ้นได้เพราะข้อสอบ PISA ส่วนใหญ่เป็นข้อสอบเน้นการคิดวิเคราะห์ อย่างไรก็ตาม สพฐ.มีความเห็นว่า ก่อนจะลงมือขับเคลื่อนการพัฒนากระบวนการคิดให้กับนักเรียน จะต้องมั่นใจก่อนว่า กำลังคนหรือครูที่มีอยู่ ตั้งแต่ครูระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาในทุกกลุ่มสาระวิชา มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการพัฒนากระบวนการคิดให้กับนักเรียน เพราะฉะนั้น สพฐ.จะเสนอให้มีการสแกนความสามารถด้านนี้ให้กับครูเช่นเดียวกัน และพัฒนาหลักสูตรขึ้นมาอบรมครูทุกคนให้เข้าใจการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดของเด็ก
“เราต้องมั่นใจก่อนว่าบุคลากรที่มีอยู่ เข้าใจกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการคิดไปสู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนได้ รวมทั้งสามารถคิดวิธีประเมินทักษะในการคิดของเด็กได้ด้วย เพราะฉะนั้น สพฐ.จึงได้พัฒนาหลักสูตรขึ้นมา 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการคิด หลักสูตรการนำทฤษฎีเกี่ยวกับการคิดไปสู่การเรียนการสอน และหลักสูตรวิธีการในการประเมินผู้เรียน โดย สพฐ.ตั้งเป้าว่า จะให้ครูทุกคน ทุกวิชา เข้ารับการอบรมทั้ง 3 หลักสูตร ซึ่งการอบรมอาจจะมีวิธีที่หลากหลาย ค่าใช้จ่ายไม่สูง รวมถึงอาจจะใช้การอบรมผ่านระบบอีเลิร์นนิง ทั้งนี้ ถ้าเราประสบความสำเร็จในการพัฒนากระบวนการคิดให้นักเรียน เป้าหมายที่จะไต่อันดับการประเมิน PISA ก็จะประสบความสำเร็จ” นายชินภัทร กล่าว