“อ๋อย” ยืดอกรับการศึกษาไทยมีปัญหา พร้อมแจงผลจัดอันดับ WEF ปี 55 และล่าสุด 56 ไทยตกคงที่ในอันดับที่ 8 ชี้ปีล่าสุดมีประเทศลาว-พม่า ร่วมประเมินไม่ถือว่าไทยแย่
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่ World Economic Forum (WEF) รายงานขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้านคุณภาพการศึกษา ซึ่งถือเป็นปัจจัยชี้วัดขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ปรากฎว่าคุณภาพทางการศึกษาของไทยอยู่ในอันดับ 8 รั้งท้ายของกลุ่มประเทศอาเซียน ขณะที่เวียดนามอยู่ในอันดับ 7 และกัมพูชาอันดับ 6 ว่า จากข้อมูลที่ออกมาต้องยอมรับความจริง ว่าการจัดการศึกษาของเรายังอยู่ในสภาพที่ไม่น่าพอใจ และจำเป็นต้องปรับปรุงอย่างมาก การได้รับข้อมูลในทำนองนี้หลาย ๆ ครั้งองค์กรที่เกี่ยวข้องจะไปดูว่า มีการวัด มีการประเมิน และมีการเข้าใจผิดในเรื่องใดบ้าง แต่สิ่งสำคัญที่เราต้องคิดให้ได้อันดับแรกคือ ยอมรับว่าประเทศไทยยังมีปัญหา
อย่างไรก็ตามสำหรับข้อมูลของWEF ที่ออกไปว่าประเทศไทย มีคุณภาพการศึกษาตกต่ำรั้งท้ายในอันดับที่ 8 ของกลุ่มประเทศอาเซียนนั้น เป็นข้อมูลการจัดอันดับของปี 2555 ซึ่งมีประเทศที่เข้าร่วมการจัดอันดับทั้งหมด 144 ประเทศ มีประเทศในกลุ่มอาเซียนจำนวน 8 ประเทศ แต่ข้อมูลการจัดอันดับของ WEF ปี 2556 ที่เพิ่งออกมาเมื่อวันที่ 4 ก.ย.มีประเทศที่เข้าร่วมการจัดอันดับทั้งหมด 148 ประเทศ เป็นประเทศในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 2 ประเทศคือ ลาวและพม่า โดยประเทศไทยมีคุณภาพการศึกษาอยู่ในอันดับที่ 8 ของอาเซียนเช่นเดิม ซึ่งก็ไม่ถือว่ารั้งท้าย เพราะยังมีอีก 2 ประเทศที่อันดับต่ำกว่าเรา โดยมีตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาทั้งหมด 10 ตัวชี้วัด ซึ่งในส่วนของประเทศไทยก็ถูกจัดอันดับในแต่ละตัวชี้วัดแตกต่างกันไป ดังนี้ 1.ตัวชี้วัดด้านคุณภาพระบบการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบกับ 148 ประเทศ ไทยอยู่อันดับที่ 78 ของโลก ลำดับที่ 8 ของอาเซียน 2.ตัวชี้วัดคุณภาพการสอนคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 80 ของโลก อันดับที่ 5 ของอาเซียน 3.ตัวชี้วัดคุณภาพการบริหารจัดการโรงเรียน อยู่อันดับที่ 53 ของโลก อันดับที่ 5 ของอาเซียน 4.ตัวชี้วัดอัตราการเข้าเรียนมัธยมศึกษา อยู่อันดับที่ 94 ของโลก อันดับที่ 5 ของอาเซียน 5.ตัวชี้วัดอัตราการเข้าเรียนอุดมศึกษา อันดับที่ 55 ของโลก อันดับที่ 2 ของอาเซียน
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า 6.ตัวชี้วัดการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตในโรงเรียน อยู่อันดับที่65 ของโลก อันดับที่ 6 ในอาเซียน 7.ตัวชี้วัดการพัฒนาและการฝึกอบรมแรงงาน อันดับที่ 50 ของโลก อันดับที่ 6 ของอาเซียน 8.ตัวชี้วัดการใช้ประโยชน์ของระบบการวิจัยเฉพาะทางและการฝึกอบรม อันดับที่ 64 ของโลก อันดับที่ 5 ของอาเซียน 9.ตัวชี้วัดคุณภาพประถมศึกษา อันดับที่ 86 ของโลก อันดับที่ 7 ของอาเซียน และ10.ตัวชี้วัดอัตราการเข้าเรียนประถมศึกษา อันดับที่ 101 ของโลก อันดับที่ 9 ของอาเซียน ทั้งนี้ยอมรับว่าคะแนนหลายตัวชี้วัดมีความน่าเป็นห่วง ซึ่งศธ.จะต้องไปวิเคราะห์ว่า การจัดอันดับดังกล่าวมีวิธีการ และใช้เกณฑ์อะไรบ้างมากำหนดการประเมิน
“เมื่อเห็นว่ามีปัญหาเช่นนี้ ศธ.จะต้องเป็นเจ้าภาพหลักที่จะรับผิดชอบเรื่องนี้ และจะต้องสื่อสารไปถึงผู้เกี่ยวข้องทั้งระบบว่าถ้าประเทศจะพัฒนา จำเป็นต้องพัฒนาคนให้มีคุณภาพ เพราะฉะนั้น ศธ.จึงเสนอว่าการศึกษาต้องเป็นวาระแห่งชาติ ที่ทุกภาคส่วนในสังคมจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา การที่พบข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดอันดับ แม้จะเป็นเพียงองค์กรหนึ่งแต่ก็เป็นข้อมูลที่เราต้องยอมรับ และแสดงให้เห็นถึงปัญหาอันน่าเป็นห่วง และตั้งแต่ผมมาเป็นรมว.ศึกษาธิการ ก็ได้ประกาศนโยบายไปด้วยความเข้าใจว่าการศึกษาไทยอยู่ในสภาพที่น่าเป็นห่วง โดยมีตัวเลขการจัดอันดับประเภทอื่น ๆ อยู่แล้ว อาทิ อันดับในPISA ยังไม่น่าพอใจ และสิ่งที่เสนอคือ เราจะจัดการศึกษาโดยให้มีการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบ ปฏิรูปการเรียน การสอนที่เชื่อมโยงกับการทดสอบและการประเมินที่มุ่งที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็ก และอิงกับมาตรฐานสากล โดยจะพยายามเลื่อนอันดับของประเทศไทยให้สูงขึ้น และสิ่งที่ได้ประกาศไปแล้วคือการเลื่อนอันดับคะแนนสอบPISA โดยจากการจัดอันดับในปี 2554 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 50 ซึ่งจะต้องมาดูว่าผลคะแนนที่จะออกในเอนธันวาคม 2556 นี้ไทยอยู่ที่เท่าไหร่ ก่อนตั้งเป้าให้สูงขึ้นในครั้งต่อไป”นายจาตุรนต์ กล่าว
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ตนในฐานะผู้ดูแลศธ.จะรวบรวมความรู้ที่สอดคล้องกับบัญหา เพื่อพยายามวางระบบการแก้ปัญหาในภาพรวม ส่วนข้อเสนอที่ให้มีการออกกฎหมาย เพื่อบังคับให้นโยบายการพัฒนาการศึกษามีความต่อเนื่องนั้น การปฏิรูปการศึกษา 15 ปีที่ผ่านมาได้รับอิทธิพลจากพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ซึ่งเน้นในเรื่องการปรับโครงสร้างค่อนข้างมาก กว่าการปฏิรูปการเรียนสอน ดังนั้นก็ไม่แน่ว่าการออกกฎหมาย จะสามารถแก้ปัญหาการศึกษาได้ เพราะฉะนั้นยืนยันว่า จะต้องเดินทำเรื่องการปฏิรูปการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ และให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วม เพราะถ้าสังคมมีส่วนร่วมไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการศธ. ก็จะสามารถเดินหน้าต่อไปได้
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่ World Economic Forum (WEF) รายงานขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้านคุณภาพการศึกษา ซึ่งถือเป็นปัจจัยชี้วัดขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ปรากฎว่าคุณภาพทางการศึกษาของไทยอยู่ในอันดับ 8 รั้งท้ายของกลุ่มประเทศอาเซียน ขณะที่เวียดนามอยู่ในอันดับ 7 และกัมพูชาอันดับ 6 ว่า จากข้อมูลที่ออกมาต้องยอมรับความจริง ว่าการจัดการศึกษาของเรายังอยู่ในสภาพที่ไม่น่าพอใจ และจำเป็นต้องปรับปรุงอย่างมาก การได้รับข้อมูลในทำนองนี้หลาย ๆ ครั้งองค์กรที่เกี่ยวข้องจะไปดูว่า มีการวัด มีการประเมิน และมีการเข้าใจผิดในเรื่องใดบ้าง แต่สิ่งสำคัญที่เราต้องคิดให้ได้อันดับแรกคือ ยอมรับว่าประเทศไทยยังมีปัญหา
อย่างไรก็ตามสำหรับข้อมูลของWEF ที่ออกไปว่าประเทศไทย มีคุณภาพการศึกษาตกต่ำรั้งท้ายในอันดับที่ 8 ของกลุ่มประเทศอาเซียนนั้น เป็นข้อมูลการจัดอันดับของปี 2555 ซึ่งมีประเทศที่เข้าร่วมการจัดอันดับทั้งหมด 144 ประเทศ มีประเทศในกลุ่มอาเซียนจำนวน 8 ประเทศ แต่ข้อมูลการจัดอันดับของ WEF ปี 2556 ที่เพิ่งออกมาเมื่อวันที่ 4 ก.ย.มีประเทศที่เข้าร่วมการจัดอันดับทั้งหมด 148 ประเทศ เป็นประเทศในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 2 ประเทศคือ ลาวและพม่า โดยประเทศไทยมีคุณภาพการศึกษาอยู่ในอันดับที่ 8 ของอาเซียนเช่นเดิม ซึ่งก็ไม่ถือว่ารั้งท้าย เพราะยังมีอีก 2 ประเทศที่อันดับต่ำกว่าเรา โดยมีตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาทั้งหมด 10 ตัวชี้วัด ซึ่งในส่วนของประเทศไทยก็ถูกจัดอันดับในแต่ละตัวชี้วัดแตกต่างกันไป ดังนี้ 1.ตัวชี้วัดด้านคุณภาพระบบการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบกับ 148 ประเทศ ไทยอยู่อันดับที่ 78 ของโลก ลำดับที่ 8 ของอาเซียน 2.ตัวชี้วัดคุณภาพการสอนคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 80 ของโลก อันดับที่ 5 ของอาเซียน 3.ตัวชี้วัดคุณภาพการบริหารจัดการโรงเรียน อยู่อันดับที่ 53 ของโลก อันดับที่ 5 ของอาเซียน 4.ตัวชี้วัดอัตราการเข้าเรียนมัธยมศึกษา อยู่อันดับที่ 94 ของโลก อันดับที่ 5 ของอาเซียน 5.ตัวชี้วัดอัตราการเข้าเรียนอุดมศึกษา อันดับที่ 55 ของโลก อันดับที่ 2 ของอาเซียน
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า 6.ตัวชี้วัดการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตในโรงเรียน อยู่อันดับที่65 ของโลก อันดับที่ 6 ในอาเซียน 7.ตัวชี้วัดการพัฒนาและการฝึกอบรมแรงงาน อันดับที่ 50 ของโลก อันดับที่ 6 ของอาเซียน 8.ตัวชี้วัดการใช้ประโยชน์ของระบบการวิจัยเฉพาะทางและการฝึกอบรม อันดับที่ 64 ของโลก อันดับที่ 5 ของอาเซียน 9.ตัวชี้วัดคุณภาพประถมศึกษา อันดับที่ 86 ของโลก อันดับที่ 7 ของอาเซียน และ10.ตัวชี้วัดอัตราการเข้าเรียนประถมศึกษา อันดับที่ 101 ของโลก อันดับที่ 9 ของอาเซียน ทั้งนี้ยอมรับว่าคะแนนหลายตัวชี้วัดมีความน่าเป็นห่วง ซึ่งศธ.จะต้องไปวิเคราะห์ว่า การจัดอันดับดังกล่าวมีวิธีการ และใช้เกณฑ์อะไรบ้างมากำหนดการประเมิน
“เมื่อเห็นว่ามีปัญหาเช่นนี้ ศธ.จะต้องเป็นเจ้าภาพหลักที่จะรับผิดชอบเรื่องนี้ และจะต้องสื่อสารไปถึงผู้เกี่ยวข้องทั้งระบบว่าถ้าประเทศจะพัฒนา จำเป็นต้องพัฒนาคนให้มีคุณภาพ เพราะฉะนั้น ศธ.จึงเสนอว่าการศึกษาต้องเป็นวาระแห่งชาติ ที่ทุกภาคส่วนในสังคมจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา การที่พบข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดอันดับ แม้จะเป็นเพียงองค์กรหนึ่งแต่ก็เป็นข้อมูลที่เราต้องยอมรับ และแสดงให้เห็นถึงปัญหาอันน่าเป็นห่วง และตั้งแต่ผมมาเป็นรมว.ศึกษาธิการ ก็ได้ประกาศนโยบายไปด้วยความเข้าใจว่าการศึกษาไทยอยู่ในสภาพที่น่าเป็นห่วง โดยมีตัวเลขการจัดอันดับประเภทอื่น ๆ อยู่แล้ว อาทิ อันดับในPISA ยังไม่น่าพอใจ และสิ่งที่เสนอคือ เราจะจัดการศึกษาโดยให้มีการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบ ปฏิรูปการเรียน การสอนที่เชื่อมโยงกับการทดสอบและการประเมินที่มุ่งที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็ก และอิงกับมาตรฐานสากล โดยจะพยายามเลื่อนอันดับของประเทศไทยให้สูงขึ้น และสิ่งที่ได้ประกาศไปแล้วคือการเลื่อนอันดับคะแนนสอบPISA โดยจากการจัดอันดับในปี 2554 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 50 ซึ่งจะต้องมาดูว่าผลคะแนนที่จะออกในเอนธันวาคม 2556 นี้ไทยอยู่ที่เท่าไหร่ ก่อนตั้งเป้าให้สูงขึ้นในครั้งต่อไป”นายจาตุรนต์ กล่าว
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ตนในฐานะผู้ดูแลศธ.จะรวบรวมความรู้ที่สอดคล้องกับบัญหา เพื่อพยายามวางระบบการแก้ปัญหาในภาพรวม ส่วนข้อเสนอที่ให้มีการออกกฎหมาย เพื่อบังคับให้นโยบายการพัฒนาการศึกษามีความต่อเนื่องนั้น การปฏิรูปการศึกษา 15 ปีที่ผ่านมาได้รับอิทธิพลจากพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ซึ่งเน้นในเรื่องการปรับโครงสร้างค่อนข้างมาก กว่าการปฏิรูปการเรียนสอน ดังนั้นก็ไม่แน่ว่าการออกกฎหมาย จะสามารถแก้ปัญหาการศึกษาได้ เพราะฉะนั้นยืนยันว่า จะต้องเดินทำเรื่องการปฏิรูปการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ และให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วม เพราะถ้าสังคมมีส่วนร่วมไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการศธ. ก็จะสามารถเดินหน้าต่อไปได้