“จาตุรนต์” ชูการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ ดันปี 56 เป็นการรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา ตั้งเป้าปี 58 เด็กไทยมีทักษะชีวิต คิดวิเคราะห์เป็น พร้อมกำหนด 8 นโยบายสำคัญเร่งสานต่อให้เกิดผลตามนโยบายรัฐบาลและสานต่อทำไว้
วันนี้ (11 ก.ค.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แถลงนโยบายและการขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาแก่ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ มีใจความสำคัญตอนหนึ่ง ว่า ตนได้ประมวลนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล และจากที่ รมว.ศึกษาธิการ คนก่อนๆ ทำก่อนหน้า รวมทั้งจากการรับฟังการทำงานและข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ แล้ว เห็นว่าการจัดการศึกษาควรจะต้องสอดคล้องกับเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม และต้องเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันเพื่อพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้และเป็นโจทย์ของการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย โดยเฉพาะการพัฒนาคนให้มีความพร้อมและมีทักษะเหมาะกับศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นยุคความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
อย่างไรก็ตาม จากการจัดอันดับของสถาบันพัฒนาการบริหารจัดการระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มดี พบว่าในปี 2013 การศึกษาของประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 51 จาก 60 ประเทศ และผลการประเมินและผลทดสอบของโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ (PISA) ในปี 2009 นั้น ปรากฏว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 50 จาก 65 ประเทศ ขณะที่ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก โดยไทม์ส ไฮเออร์ เอ็ดดูเคชัน เวิลด์ แรงกิ้ง ปี 2012-2013 มีมหาวิทยาลัยไทยเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับ โดยอยู่ในกลุ่มอันดับที่ 351-400 ดังนั้น ถึงเวลาที่จะต้องยกเครื่องการศึกษาไทยให้มีคุณภาพมาตรฐานระดับสากลและสอดคล้องกับสังคมยุคใหม่
“ในฐานะ รมว.ศึกษาธิการ ผมจะประกาศให้การจัดการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ โดยให้ปี 2556 เป็นปีแห่งการรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยมีเป้าหมายมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถคิด วิเคราะห์ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 ภายในปี 2558 ได้แก่ ผลการจัดอันดับการศึกษาไทย ผลการทดสอบ PISA ของไทยอยู่ในอันดับดีขึ้นเปลี่ยนจากอันดับที่ขึ้นต้นด้วยเลข 5 มาสู่อันดับที่ขึ้นต้นด้วยเลข 4 ขณะที่ต้องทำให้สัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาและสามัญเพิ่มขึ้นเป็น 50:50 ส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยไทยติดอันดับโลกมากขึ้น ซึ่งอยากเรียกร้องให้สังคมมาร่วมคิดกลไกในการพัฒนาและผลักดันมหาวิทยาลัยไทยด้วย และการกระจายโอกาสและเพิ่มความเสมอภาคทางการศึกษามากขึ้น พร้อมกับเน้นการส่งเสริมให้ภาคเอกชนที่มีศักยภาพเข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุนการจัดการศึกษามากขึ้น” นายจาตุรนต์ กล่าว
นายจาตุรนต์ กล่าวต่ออีกว่า สำหรับนโยบายที่ต้องเร่งรัดดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลและสานต่องานที่ทำไว้แล้ว 8 เรื่อง ประกอบด้วย 1.เร่งรัดปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน 2.ปฏิรูประบบผลิตพัฒนาครู 3.เร่งนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการปฏิรูปการเรียนรู้ 4.พัฒนาคุณภาพการอาชีวศึกษาให้มีมาตรฐานเทียบได้กับระดับสากล 5.ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาเร่งพัฒนาคุณภาพมาตรฐานมากกว่าการขยายเชิงปริมาณ 6.ส่งเสริมให้เอกชนและทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมจัดและสนับสนุนการศึกษามากขึ้น 7.เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และ 8.ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้สิ่งที่จะต้องดำเนินการขับเคลื่อนและเป็นกลไลสำคัญของการศึกษา คือ เร่งรัดจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดตั้งสถาบันวิจัยหลักสูตรและพัฒนาการเรียนการสอน สร้างความเข้ามแข็งของกลไลวัดผล ประเมินผล เร่งรัดให้มี พ.ร.บ.อุดมศึกษา เพื่อประกันความอิสระและความรับผิดชอบต่อสังคม และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขณะเดียวกันจะมีการตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนเรื่องสำคัญต่างๆ และจัดประชุมปฏิบัติการอย่างเป็นระบบ เพื่อระดมความคิดในการขับเคลื่อนงานตามนโยบาย
“ส่วนนโยบายเรื่องการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในวงการศึกษานั้น เรื่องนี้เป็นนโยบายใหญ่และสำคัญอย่างมากของรัฐบาล ผมจะกำชับดูแลให้การทำงานในทุกองค์กรหลัก ศธ.ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานหรือการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการทุกอย่างต้องมีความสุจริตโปร่งใสและเป็นธรรม ส่วนกรณีการทุจริตต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน ศธ.นั้น จะต้องดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา เพื่อหาผู้ทุจริตมาลงโทษให้ได้ แต่คงไม่สามารถไปกำหนดกรอบเวลาของการแก้ปัญหาทุจริตต่างๆ ได้ว่าควรจะเสร็จได้เมื่อไร แต่จะต้องยึดหลักความถูกต้องรวดเร็วมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมประกอบกัน แต่หากการตรวจสอบเกี่ยวกับการทุจริตนั้นจะใช้นโยบาย หรือไปกำหนดรายละเอียดมากเกินไปไม่ได้ เพราะอาจเป็นการใช้ดุลยพินิจทางการเมืองเป็นเครื่องตัดสิน อย่างไรก็ตามยืนยันว่าเรื่องการทุจริตต่างๆ จะไม่เป็นมวยล้มอย่างแน่นอน” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
วันนี้ (11 ก.ค.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แถลงนโยบายและการขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาแก่ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ มีใจความสำคัญตอนหนึ่ง ว่า ตนได้ประมวลนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล และจากที่ รมว.ศึกษาธิการ คนก่อนๆ ทำก่อนหน้า รวมทั้งจากการรับฟังการทำงานและข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ แล้ว เห็นว่าการจัดการศึกษาควรจะต้องสอดคล้องกับเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม และต้องเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันเพื่อพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้และเป็นโจทย์ของการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย โดยเฉพาะการพัฒนาคนให้มีความพร้อมและมีทักษะเหมาะกับศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นยุคความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
อย่างไรก็ตาม จากการจัดอันดับของสถาบันพัฒนาการบริหารจัดการระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มดี พบว่าในปี 2013 การศึกษาของประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 51 จาก 60 ประเทศ และผลการประเมินและผลทดสอบของโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ (PISA) ในปี 2009 นั้น ปรากฏว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 50 จาก 65 ประเทศ ขณะที่ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก โดยไทม์ส ไฮเออร์ เอ็ดดูเคชัน เวิลด์ แรงกิ้ง ปี 2012-2013 มีมหาวิทยาลัยไทยเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับ โดยอยู่ในกลุ่มอันดับที่ 351-400 ดังนั้น ถึงเวลาที่จะต้องยกเครื่องการศึกษาไทยให้มีคุณภาพมาตรฐานระดับสากลและสอดคล้องกับสังคมยุคใหม่
“ในฐานะ รมว.ศึกษาธิการ ผมจะประกาศให้การจัดการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ โดยให้ปี 2556 เป็นปีแห่งการรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยมีเป้าหมายมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถคิด วิเคราะห์ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 ภายในปี 2558 ได้แก่ ผลการจัดอันดับการศึกษาไทย ผลการทดสอบ PISA ของไทยอยู่ในอันดับดีขึ้นเปลี่ยนจากอันดับที่ขึ้นต้นด้วยเลข 5 มาสู่อันดับที่ขึ้นต้นด้วยเลข 4 ขณะที่ต้องทำให้สัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาและสามัญเพิ่มขึ้นเป็น 50:50 ส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยไทยติดอันดับโลกมากขึ้น ซึ่งอยากเรียกร้องให้สังคมมาร่วมคิดกลไกในการพัฒนาและผลักดันมหาวิทยาลัยไทยด้วย และการกระจายโอกาสและเพิ่มความเสมอภาคทางการศึกษามากขึ้น พร้อมกับเน้นการส่งเสริมให้ภาคเอกชนที่มีศักยภาพเข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุนการจัดการศึกษามากขึ้น” นายจาตุรนต์ กล่าว
นายจาตุรนต์ กล่าวต่ออีกว่า สำหรับนโยบายที่ต้องเร่งรัดดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลและสานต่องานที่ทำไว้แล้ว 8 เรื่อง ประกอบด้วย 1.เร่งรัดปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน 2.ปฏิรูประบบผลิตพัฒนาครู 3.เร่งนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการปฏิรูปการเรียนรู้ 4.พัฒนาคุณภาพการอาชีวศึกษาให้มีมาตรฐานเทียบได้กับระดับสากล 5.ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาเร่งพัฒนาคุณภาพมาตรฐานมากกว่าการขยายเชิงปริมาณ 6.ส่งเสริมให้เอกชนและทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมจัดและสนับสนุนการศึกษามากขึ้น 7.เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และ 8.ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้สิ่งที่จะต้องดำเนินการขับเคลื่อนและเป็นกลไลสำคัญของการศึกษา คือ เร่งรัดจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดตั้งสถาบันวิจัยหลักสูตรและพัฒนาการเรียนการสอน สร้างความเข้ามแข็งของกลไลวัดผล ประเมินผล เร่งรัดให้มี พ.ร.บ.อุดมศึกษา เพื่อประกันความอิสระและความรับผิดชอบต่อสังคม และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขณะเดียวกันจะมีการตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนเรื่องสำคัญต่างๆ และจัดประชุมปฏิบัติการอย่างเป็นระบบ เพื่อระดมความคิดในการขับเคลื่อนงานตามนโยบาย
“ส่วนนโยบายเรื่องการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในวงการศึกษานั้น เรื่องนี้เป็นนโยบายใหญ่และสำคัญอย่างมากของรัฐบาล ผมจะกำชับดูแลให้การทำงานในทุกองค์กรหลัก ศธ.ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานหรือการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการทุกอย่างต้องมีความสุจริตโปร่งใสและเป็นธรรม ส่วนกรณีการทุจริตต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน ศธ.นั้น จะต้องดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา เพื่อหาผู้ทุจริตมาลงโทษให้ได้ แต่คงไม่สามารถไปกำหนดกรอบเวลาของการแก้ปัญหาทุจริตต่างๆ ได้ว่าควรจะเสร็จได้เมื่อไร แต่จะต้องยึดหลักความถูกต้องรวดเร็วมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมประกอบกัน แต่หากการตรวจสอบเกี่ยวกับการทุจริตนั้นจะใช้นโยบาย หรือไปกำหนดรายละเอียดมากเกินไปไม่ได้ เพราะอาจเป็นการใช้ดุลยพินิจทางการเมืองเป็นเครื่องตัดสิน อย่างไรก็ตามยืนยันว่าเรื่องการทุจริตต่างๆ จะไม่เป็นมวยล้มอย่างแน่นอน” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว