“พงศ์เทพ” เผยไทยลงทุนด้านการศึกษาเยอะ แต่ผลตอบรับไม่น่าพอใจ ขณะที่ยูเนสโกเดินหน้าทบทวนการศึกษาไทยหลังพบเด็กในเมืองเข้าถึงโอกาสทางการศึกษามากกว่าเด็กชนบท สลัม ครูขาดคุณภาพ ไม่มีแรงจูงจูง ผอ.ยูเนสโก กรุงเทพฯ ชี้มีผลกระทบการแข่งขันทางแรงงานของไทย พร้อมตั้งทีมงานทบทวน
วันนี้ (23 มิ.ย.) ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้จัดประชุมสัมมนาวิชาการระหว่างประเทศ ประจำปี 2556 เรื่อง “การศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย” ระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน โดยมีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานเปิดงาน มีคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาทั้งไทยและต่างประเทศ เข้าร่วมประมาณ 1,000 คน
นายพงศ์เทพ กล่าวว่า การศึกษาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของอนาคตประเทศ โดยเฉพาะในโลกยุคปัจจุบันที่เป็นโลกยุคของความรู้ ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ลงทุนเรื่องการศึกษาเยอะมาก แต่ผลตอบรับยังไม่น่าพอใจ ดังนั้นจึงต้องเร่งพัฒนาโดยเฉพาะเรื่องคุณภาพที่ไม่ใช่แค่เรื่องการให้การศึกษา และที่ ศธ.กำลังทำอยู่ขณะนี้คือเรื่องการปฏิรูปหลักสูตร ในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา อย่างไรก็ตามการพัฒนาคุณภาพศึกษาต้องการการยอมรับ ความเข้าใจ การมีส่วนร่วม จึงจะสามารถจะขับเคลื่อนเรืิ่งดังกล่าวให้เกิดการพัฒนาได้
ดอกเตอร์กวาง-โจ คิม (Dr. Gwang-Jo Kim) ผู้อำนวยการยูเนสโก กรุงเทพฯ กล่าวว่า ตนเองทำงานอย่างใกล้ชิดกับประเทศไทยมากว่า 4 ปี และเรียนรู้ระบบการศึกษาของไทย ซึ่งมีความก้าวหน้า จากตัวเลขล่าสุดปี 2012 ของสถาบันสถิติของยูเนสโก หรือ UIS อัตราการเข้าเรียนอย่างหยาบทั้งระดับประถมและมัธยมต้นของประเทศไทยมีมากกว่า 90% ดัชนีความเสมอภาคหญิงชายของประเทศ อยู่ที่ 1:00 ทุกระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่าเด็กหญิงชายเข้าเรียนเสมอภาคกันในการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ในปี 2010 ประเทศไทยใช้จ่ายงบประมาณ 3.8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมระดับประเทศ หรือ GDP สำหรับด้านการศึกษาจากสถาบันสถิติของยูเนสโก พบว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศอาเซียนที่ใช้งบประมาณด้านการศึกษามากที่สุด โดยมีเป้าหมายเพื่อใช้การศึกมาพัฒนาประเทศ
“ประเทศไทยได้แสดงภาวะผู้นำในเรื่องที่เป็นวาระด้านการศึกษาระดับโลก ความเคลื่อนไหวเรื่องการศึกษาเพื่อปวงชนทั่วโลกในปี 1990 ตั้งแต่นั้นมา ประเทศไทยได้ดำเนินการทำให้การศึกษาเป็นประชาธิปไตยและแบ่งปันประสบการณ์นวัตกรรมใหม่ๆ แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษา อาทิ เด็กในเมืองหรือพื้นที่ที่เศรษฐกิจเติบโตเข้าถึงจะสามารถเข้าถึงการศึกษาในอัตราที่สูง ส่วนพื้นที่ห่างไกลในชนบท หรือผู้อพยพ ในสลัม หรือจากชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ จะเข้าถึงการศึกษาได้น้อย” ผู้อำนวยการยูเนสโกฯ กล่าว
ผู้อำนวยการยูเนสโกฯ กล่าวต่อว่า คุณภาพการศึกษาในประเทศไทย เป็นเรื่องที่มีผลกระทบสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันของแรงงานไทย โดยผล PISA ซึ่งประเมินการเรียนรู้เปรียบเทียบนานาชาติของเด็กอายุ 15 ดำเนินการโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD แสดงว่าเด็กไทยทิ้งห่างในการเรียนรู้เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น สาเหตุใหญ่อาจเป็นเพราะขาดครูที่มีคุณภาพ ไม่ได้ได้รับการฝึกอบรม และแรงจูงใจในการสอนให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งส่งเสริมทักษะ เช่น การแก้ปัญหา การร่วมมือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะที่จำเป็นสำหรับคนในศตวรรษที่ 21 ที่จำเป็นสำหรับเศรษฐกิจและโลกส่วนใหญ่ในทุกวันนี้ เนื่องจากความท้าทายเหล่านี้เกี่ยวข้องกับนโยบาย ยูเนสโกจึงได้ลงนามข้อตกลงร่วมกับ OECD ทำการวิจัยเพื่อศึกษาทบทวนนโยบายด้านการศึกษาของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการศึกษาไทย
Mr.David Atchoarena ผู้อำนวยการ Division for Planning and Development of Education Systems ของยูเนสโก กล่าวว่า ถือเป็นครั้งแรกที่ยูเนสโกร่วมมือกับ OECD ที่จะทบทวนนโยบายด้านการศึกษาของไทยใน 4 ด้าน ได้แก่ 1.คุณภาพครู โดยจะทบทวนตั้งแต่การคัดสรรครู กระบวนการสอนและการพัฒนาทางวิชาชีพ (professional development) 2.การปฏิรูปหลักสูตร ที่ ศธ.กำลังดำเนินการอยู่ว่าครอบคลุมทุกมิติหรือไม่ 3.การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน และ 4.การเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารเคลื่อนที่หรือ Mobile learning อาทิ นโยบายแท็บเล็ตสำหรับนักเรียนชั้น ป.1 อย่างไรก็ตาม การทบทวนนโยบายดังกล่าวอาจจะยังไม่เห็นผลเต็มที่ เนื่องจากเป็นนโยบายที่ถือว่ายังดำเนินการมาได้ไม่นานพอ
Mr.David กล่าวต่อว่า การทบทวนนโยบายด้านการศึกษาของไทยจะเริ่มดำเนินการได้ประมาณเดือนกันยายนหรือตุลาคม และคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคมหรือภายในต้นปีหน้า ระหว่างนี้จะมีการตั้งทีมงานทบทวน (review team) โดยจะมีตัวแทนฝ่ายไทยเข้าร่วมเพื่อลงไปเก็บข้อมูลและหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของไทย เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา ครูอาจารย์ นักเรียน ผู้ปกครอง ภาคธุรกิจ ฯลฯ ทั้งนี้ ผลของการทบทวนจะนำเสนอให้กับ รมว.ศธ.เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดและพัฒนานโยบายด้านการศึกษาในอนาคตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการศึกษาของประเทศ
“ผมเห็นว่าประเทศไทยกำลังประสบความท้าทายด้านการศึกษาที่สำคัญ 2 ประการ คือ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งถือว่ายังไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น และความเท่าเทียมด้านการศึกษา เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมที่หลากหลายทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ ฉะนั้น เด็กที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือชายแดนยังคงไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกับเด็กในเมือง” Mr.David กล่าว
วันนี้ (23 มิ.ย.) ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้จัดประชุมสัมมนาวิชาการระหว่างประเทศ ประจำปี 2556 เรื่อง “การศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย” ระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน โดยมีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานเปิดงาน มีคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาทั้งไทยและต่างประเทศ เข้าร่วมประมาณ 1,000 คน
นายพงศ์เทพ กล่าวว่า การศึกษาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของอนาคตประเทศ โดยเฉพาะในโลกยุคปัจจุบันที่เป็นโลกยุคของความรู้ ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ลงทุนเรื่องการศึกษาเยอะมาก แต่ผลตอบรับยังไม่น่าพอใจ ดังนั้นจึงต้องเร่งพัฒนาโดยเฉพาะเรื่องคุณภาพที่ไม่ใช่แค่เรื่องการให้การศึกษา และที่ ศธ.กำลังทำอยู่ขณะนี้คือเรื่องการปฏิรูปหลักสูตร ในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา อย่างไรก็ตามการพัฒนาคุณภาพศึกษาต้องการการยอมรับ ความเข้าใจ การมีส่วนร่วม จึงจะสามารถจะขับเคลื่อนเรืิ่งดังกล่าวให้เกิดการพัฒนาได้
ดอกเตอร์กวาง-โจ คิม (Dr. Gwang-Jo Kim) ผู้อำนวยการยูเนสโก กรุงเทพฯ กล่าวว่า ตนเองทำงานอย่างใกล้ชิดกับประเทศไทยมากว่า 4 ปี และเรียนรู้ระบบการศึกษาของไทย ซึ่งมีความก้าวหน้า จากตัวเลขล่าสุดปี 2012 ของสถาบันสถิติของยูเนสโก หรือ UIS อัตราการเข้าเรียนอย่างหยาบทั้งระดับประถมและมัธยมต้นของประเทศไทยมีมากกว่า 90% ดัชนีความเสมอภาคหญิงชายของประเทศ อยู่ที่ 1:00 ทุกระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่าเด็กหญิงชายเข้าเรียนเสมอภาคกันในการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ในปี 2010 ประเทศไทยใช้จ่ายงบประมาณ 3.8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมระดับประเทศ หรือ GDP สำหรับด้านการศึกษาจากสถาบันสถิติของยูเนสโก พบว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศอาเซียนที่ใช้งบประมาณด้านการศึกษามากที่สุด โดยมีเป้าหมายเพื่อใช้การศึกมาพัฒนาประเทศ
“ประเทศไทยได้แสดงภาวะผู้นำในเรื่องที่เป็นวาระด้านการศึกษาระดับโลก ความเคลื่อนไหวเรื่องการศึกษาเพื่อปวงชนทั่วโลกในปี 1990 ตั้งแต่นั้นมา ประเทศไทยได้ดำเนินการทำให้การศึกษาเป็นประชาธิปไตยและแบ่งปันประสบการณ์นวัตกรรมใหม่ๆ แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษา อาทิ เด็กในเมืองหรือพื้นที่ที่เศรษฐกิจเติบโตเข้าถึงจะสามารถเข้าถึงการศึกษาในอัตราที่สูง ส่วนพื้นที่ห่างไกลในชนบท หรือผู้อพยพ ในสลัม หรือจากชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ จะเข้าถึงการศึกษาได้น้อย” ผู้อำนวยการยูเนสโกฯ กล่าว
ผู้อำนวยการยูเนสโกฯ กล่าวต่อว่า คุณภาพการศึกษาในประเทศไทย เป็นเรื่องที่มีผลกระทบสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันของแรงงานไทย โดยผล PISA ซึ่งประเมินการเรียนรู้เปรียบเทียบนานาชาติของเด็กอายุ 15 ดำเนินการโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD แสดงว่าเด็กไทยทิ้งห่างในการเรียนรู้เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น สาเหตุใหญ่อาจเป็นเพราะขาดครูที่มีคุณภาพ ไม่ได้ได้รับการฝึกอบรม และแรงจูงใจในการสอนให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งส่งเสริมทักษะ เช่น การแก้ปัญหา การร่วมมือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะที่จำเป็นสำหรับคนในศตวรรษที่ 21 ที่จำเป็นสำหรับเศรษฐกิจและโลกส่วนใหญ่ในทุกวันนี้ เนื่องจากความท้าทายเหล่านี้เกี่ยวข้องกับนโยบาย ยูเนสโกจึงได้ลงนามข้อตกลงร่วมกับ OECD ทำการวิจัยเพื่อศึกษาทบทวนนโยบายด้านการศึกษาของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการศึกษาไทย
Mr.David Atchoarena ผู้อำนวยการ Division for Planning and Development of Education Systems ของยูเนสโก กล่าวว่า ถือเป็นครั้งแรกที่ยูเนสโกร่วมมือกับ OECD ที่จะทบทวนนโยบายด้านการศึกษาของไทยใน 4 ด้าน ได้แก่ 1.คุณภาพครู โดยจะทบทวนตั้งแต่การคัดสรรครู กระบวนการสอนและการพัฒนาทางวิชาชีพ (professional development) 2.การปฏิรูปหลักสูตร ที่ ศธ.กำลังดำเนินการอยู่ว่าครอบคลุมทุกมิติหรือไม่ 3.การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน และ 4.การเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารเคลื่อนที่หรือ Mobile learning อาทิ นโยบายแท็บเล็ตสำหรับนักเรียนชั้น ป.1 อย่างไรก็ตาม การทบทวนนโยบายดังกล่าวอาจจะยังไม่เห็นผลเต็มที่ เนื่องจากเป็นนโยบายที่ถือว่ายังดำเนินการมาได้ไม่นานพอ
Mr.David กล่าวต่อว่า การทบทวนนโยบายด้านการศึกษาของไทยจะเริ่มดำเนินการได้ประมาณเดือนกันยายนหรือตุลาคม และคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคมหรือภายในต้นปีหน้า ระหว่างนี้จะมีการตั้งทีมงานทบทวน (review team) โดยจะมีตัวแทนฝ่ายไทยเข้าร่วมเพื่อลงไปเก็บข้อมูลและหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของไทย เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา ครูอาจารย์ นักเรียน ผู้ปกครอง ภาคธุรกิจ ฯลฯ ทั้งนี้ ผลของการทบทวนจะนำเสนอให้กับ รมว.ศธ.เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดและพัฒนานโยบายด้านการศึกษาในอนาคตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการศึกษาของประเทศ
“ผมเห็นว่าประเทศไทยกำลังประสบความท้าทายด้านการศึกษาที่สำคัญ 2 ประการ คือ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งถือว่ายังไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น และความเท่าเทียมด้านการศึกษา เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมที่หลากหลายทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ ฉะนั้น เด็กที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือชายแดนยังคงไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกับเด็กในเมือง” Mr.David กล่าว