“พงศ์เทพ” ไม่ห่วงงานหากปรับ ครม.“จาตุรนต์” นั่งเก้าอี้ รมว.ศึกษาฯ ระบุใครมาทำงานก็ต้องทำงานตามนโยบายรัฐบาล สานต่อที่ค้างและริเริ่มใหม่ ส่วนที่ยังไม่ได้ทำ ด้าน “ชินภัทร” เชื่อถ้าหากมานั่งเป็นสมัยที่ 2 มีผลดีต่อ ศธ.เพราะเข้าใจการศึกษาทำงานต่อเนื่อง
วันนี้ (27 มิ.ย.) นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีกระแสข่าวว่า นายจาตุรนต์ ฉายแสง จะมาเป็น รมว.ศึกษาธิการ แทน ว่า ไม่ว่าใครจะมาดำรงตำแหน่งทุกคนก็จะต้องดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล เพราะตั้งแต่สมัย นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล และ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช เป็น รมว.ศึกษาธิการ จนกระทั่งมาถึงตนเอง งานอะไรที่เริ่มดำเนินการไว้แล้วตนก็มาสานงานต่อ ส่วนอะไรที่ยังไม่ได้ดำเนินการตนก็มาริเริ่ม ซึ่งไม่มีปัญหาใด เพราะทุกคนมาจากรัฐบาลเดียวกัน ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีคนไหนมาทำหน้าที่ นโยบายยังดำเนินการเหมือนเดิม ส่วนกรณีการสอบสวนการทุจริตการสอบครูผู้ช่วยที่ยังดำเนินการอยู่จะหยุดชะงักหรือไม่นั้น เรื่องการทุจริตถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอย่างไรก็ต้องดำเนินการต่อเชื่อว่าไม่มีหยุดชะงักแน่นอน
ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า นายจาตุรนต์ นั้นเป็นผู้ที่เคยดำรงตำแหน่ง รมว.ศึกษาฯ มาแล้ว และน่าจะเป็นคนแรกที่กลับมาเป็น รมว.ศึกษาธิการ ในสมัยที่ 2 ซึ่งการกลับมาครั้งนี้น่าจะมีผลดีต่อ ศธ.ในแง่ของความเข้าใจและการสานต่องานด้านการศึกษาต่างๆ เพราะขณะที่ นายจาตุรนต์ เป็น รมว.ศึกษาธิการสมัยแรก ก็คงจะได้เห็นว่ามีงานหลายจุดที่ยังค้าง และยังไม่ขับเคลื่อนไปข้างหน้า ขณะเดียวกันช่วงที่เว้นวรรคไปคาดว่า นายจาตุรนต์คงจะติดตามปัญหาต่างๆ ด้วย และเมื่อกลับมาคราวนี้ นายจาตุรนต์ คงมีอะไรอยู่ในใจค่อนข้างเยอะว่าจะต้องมาดำเนินการอะไรบ้าง
“ความเข้าใจเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะงานการศึกษามีประเด็นปัญหาที่ต้องแก้ปัญหาค่อนข้างเยอะ ถ้าหากไปจับในจุดที่ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องขับเคลื่อนจะทำให้ไปเสียเวลากับงานบางงานโดยที่การขับเคลื่อนก็ไม่ได้รับการแก้ไข ยกตัวอย่างเช่น จริงๆ แล้วงานปฏิรูปการศึกษาถ้าถามว่าระหว่างงานวิชาการ กับการปรับโครงสร้าง หัวใจอยู่ที่อะไร ก็ต้องเป็นงานวิชาการ แต่ตอนปฏิรูปช่วงแรกๆ เราไปสาละวนอยู่กับการปรับโครงสร้าง ทำให้รู้สึกเหนื่อย กับการปรับเปลี่ยนบุคลากร และมีผลกระทบอยู่จนทุกวันนี้ ทำให้ไม่ได้มีเวลาไปทุ่มเทกับงานที่เป็นหัวใจหลักเท่าที่ควร ดังนั้นจึงคิดว่า นายจาตุรนต์เองก็อยู่ในกระบวนการปฏิรูปการศึกษามาตลอด และเป็นผู้ที่เข้าใจเจตนารมณ์การปฏิรูปการศึกษาอย่างลึกซึ้ง จะได้เข้ามาจับจุดตรงนี้ได้ทันที” นายชินภัทร กล่าว
วันนี้ (27 มิ.ย.) นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีกระแสข่าวว่า นายจาตุรนต์ ฉายแสง จะมาเป็น รมว.ศึกษาธิการ แทน ว่า ไม่ว่าใครจะมาดำรงตำแหน่งทุกคนก็จะต้องดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล เพราะตั้งแต่สมัย นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล และ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช เป็น รมว.ศึกษาธิการ จนกระทั่งมาถึงตนเอง งานอะไรที่เริ่มดำเนินการไว้แล้วตนก็มาสานงานต่อ ส่วนอะไรที่ยังไม่ได้ดำเนินการตนก็มาริเริ่ม ซึ่งไม่มีปัญหาใด เพราะทุกคนมาจากรัฐบาลเดียวกัน ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีคนไหนมาทำหน้าที่ นโยบายยังดำเนินการเหมือนเดิม ส่วนกรณีการสอบสวนการทุจริตการสอบครูผู้ช่วยที่ยังดำเนินการอยู่จะหยุดชะงักหรือไม่นั้น เรื่องการทุจริตถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอย่างไรก็ต้องดำเนินการต่อเชื่อว่าไม่มีหยุดชะงักแน่นอน
ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า นายจาตุรนต์ นั้นเป็นผู้ที่เคยดำรงตำแหน่ง รมว.ศึกษาฯ มาแล้ว และน่าจะเป็นคนแรกที่กลับมาเป็น รมว.ศึกษาธิการ ในสมัยที่ 2 ซึ่งการกลับมาครั้งนี้น่าจะมีผลดีต่อ ศธ.ในแง่ของความเข้าใจและการสานต่องานด้านการศึกษาต่างๆ เพราะขณะที่ นายจาตุรนต์ เป็น รมว.ศึกษาธิการสมัยแรก ก็คงจะได้เห็นว่ามีงานหลายจุดที่ยังค้าง และยังไม่ขับเคลื่อนไปข้างหน้า ขณะเดียวกันช่วงที่เว้นวรรคไปคาดว่า นายจาตุรนต์คงจะติดตามปัญหาต่างๆ ด้วย และเมื่อกลับมาคราวนี้ นายจาตุรนต์ คงมีอะไรอยู่ในใจค่อนข้างเยอะว่าจะต้องมาดำเนินการอะไรบ้าง
“ความเข้าใจเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะงานการศึกษามีประเด็นปัญหาที่ต้องแก้ปัญหาค่อนข้างเยอะ ถ้าหากไปจับในจุดที่ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องขับเคลื่อนจะทำให้ไปเสียเวลากับงานบางงานโดยที่การขับเคลื่อนก็ไม่ได้รับการแก้ไข ยกตัวอย่างเช่น จริงๆ แล้วงานปฏิรูปการศึกษาถ้าถามว่าระหว่างงานวิชาการ กับการปรับโครงสร้าง หัวใจอยู่ที่อะไร ก็ต้องเป็นงานวิชาการ แต่ตอนปฏิรูปช่วงแรกๆ เราไปสาละวนอยู่กับการปรับโครงสร้าง ทำให้รู้สึกเหนื่อย กับการปรับเปลี่ยนบุคลากร และมีผลกระทบอยู่จนทุกวันนี้ ทำให้ไม่ได้มีเวลาไปทุ่มเทกับงานที่เป็นหัวใจหลักเท่าที่ควร ดังนั้นจึงคิดว่า นายจาตุรนต์เองก็อยู่ในกระบวนการปฏิรูปการศึกษามาตลอด และเป็นผู้ที่เข้าใจเจตนารมณ์การปฏิรูปการศึกษาอย่างลึกซึ้ง จะได้เข้ามาจับจุดตรงนี้ได้ทันที” นายชินภัทร กล่าว