“ชินภัทร” ค้านแยกมัธยมหมดเวลาปรับโครงสร้าง แต่ควรเร่งพัฒนาวิชาการ ชี้ทั้งประถม-มัธยม ควรอยู่ร่วมกันเกิดพลังในการขับเคลื่อนดีกว่าแยกกัน ยันการเกษียณอายุราชการเป็นวิถีปกติ คนรุ่นใหม่มาทำงานก็ต้องสานต่อไม่ได้ให้เกิดปัญหาขาดช่วงของผู้เชี่ยวชาญมัธยมอย่างที่คิด
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยถึงกรณีที่กลุ่มผู้แทนองค์กรจากการมัธยมศึกษา 13 แห่ง รวมกว่า 100 คน อาทิ สมาคมผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประเทศไทย, สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย ฯลฯ เข้าพบนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อยื่นข้อเสนอให้มีการปรับโครงสร้างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยแยกงานมัธยมศึกษาออกมาเป็นองค์กรหลักอีกองค์กรหนึ่ง เนื่องจากคนมัธยมที่อยู่ใน สพฐ.ขณะนี้เกษียณอายุไปหมดแล้ว ทำให้ไม่มีคนเข้าใจมัธยมศึกษา และส่งผลการเรียนของเด็กมัธยมศึกษาต่ำลง ว่า เป็นสิทธิ์ของผู้แทนองค์กรต่างๆ ที่สามารถยื่นข้อเสนอได้ แต่ขอให้ข้อมูลที่เสนอมาจากฐานการคิดวิเคราะห์ วิจัย ประเมินที่ชี้ให้เห็นถึงข้อดี ข้อเสียก่อน และควรจะเป็นข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมด้วย เพราะการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษแรก เราเสียเวลาค่อนข้างมาในการปฏิรูปโครงสร้าง และตอนนี้กำลังมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องการปฏิรูปหลักสูตร เพราะฉะนั้น ควรจะให้ความสำคัญ ทุ่มเทไปในเรื่องการพัฒนาวิชาการมากกว่าและในทางปฎิบัตินั้น ตอนนี้แม้จะไม่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง แต่กลไกในการทำงานก็สามารถเดินหน้าต่อไปได้
“ส่วนที่บอกว่าผู้เชี่ยวชาญด้านมัธยมศึกษาใน สพฐ.แถบจะไม่มีเหลืออยู่แล้วนั้น โดยส่วนตัวมองว่าไม่ได้มีปัญหา หรือเกิดการขาดช่วงของผู้ที่รอบรู้เรื่องการมัธยม เพราะการเกษียณอายุราชการเป็นวิถีปกติ และการทำงานที่ผ่านมา ไม่ใช่หมายความว่าคนรุ่นเดิมเปลี่ยนไปแล้ว คนรุ่นใหม่จะไม่สามารถสานต่อได้ ยืนยันว่า สพฐ.ไม่ได้ทอดทิ้งคนมัธยม และความจริงเราดูแลทั้งประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ยิ่งมัธยมถือเป็นหัวขบวนรถจักร เป็นพี่ใหญ่ที่มีประสบการณ์ และมีความรู้สูงในด้านวิชาการ พร้อมที่จะเป็นต้นแบบให้น้องๆ ในระดับประถมใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพ ซึ่งการพัฒนาคุณภาพของประถมและมัธยมใช้แนวคิดของการพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากลเป็นหลักเหมือนกัน ดังนั้น ผมมองว่าเราควรอยู่ร่วมกัน เพื่อที่จะได้มีพลังความเข้มแข็งมากกว่าเราแยกกันอยู่” นายชินภัทร กล่าว
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยถึงกรณีที่กลุ่มผู้แทนองค์กรจากการมัธยมศึกษา 13 แห่ง รวมกว่า 100 คน อาทิ สมาคมผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประเทศไทย, สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย ฯลฯ เข้าพบนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อยื่นข้อเสนอให้มีการปรับโครงสร้างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยแยกงานมัธยมศึกษาออกมาเป็นองค์กรหลักอีกองค์กรหนึ่ง เนื่องจากคนมัธยมที่อยู่ใน สพฐ.ขณะนี้เกษียณอายุไปหมดแล้ว ทำให้ไม่มีคนเข้าใจมัธยมศึกษา และส่งผลการเรียนของเด็กมัธยมศึกษาต่ำลง ว่า เป็นสิทธิ์ของผู้แทนองค์กรต่างๆ ที่สามารถยื่นข้อเสนอได้ แต่ขอให้ข้อมูลที่เสนอมาจากฐานการคิดวิเคราะห์ วิจัย ประเมินที่ชี้ให้เห็นถึงข้อดี ข้อเสียก่อน และควรจะเป็นข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมด้วย เพราะการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษแรก เราเสียเวลาค่อนข้างมาในการปฏิรูปโครงสร้าง และตอนนี้กำลังมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องการปฏิรูปหลักสูตร เพราะฉะนั้น ควรจะให้ความสำคัญ ทุ่มเทไปในเรื่องการพัฒนาวิชาการมากกว่าและในทางปฎิบัตินั้น ตอนนี้แม้จะไม่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง แต่กลไกในการทำงานก็สามารถเดินหน้าต่อไปได้
“ส่วนที่บอกว่าผู้เชี่ยวชาญด้านมัธยมศึกษาใน สพฐ.แถบจะไม่มีเหลืออยู่แล้วนั้น โดยส่วนตัวมองว่าไม่ได้มีปัญหา หรือเกิดการขาดช่วงของผู้ที่รอบรู้เรื่องการมัธยม เพราะการเกษียณอายุราชการเป็นวิถีปกติ และการทำงานที่ผ่านมา ไม่ใช่หมายความว่าคนรุ่นเดิมเปลี่ยนไปแล้ว คนรุ่นใหม่จะไม่สามารถสานต่อได้ ยืนยันว่า สพฐ.ไม่ได้ทอดทิ้งคนมัธยม และความจริงเราดูแลทั้งประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ยิ่งมัธยมถือเป็นหัวขบวนรถจักร เป็นพี่ใหญ่ที่มีประสบการณ์ และมีความรู้สูงในด้านวิชาการ พร้อมที่จะเป็นต้นแบบให้น้องๆ ในระดับประถมใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพ ซึ่งการพัฒนาคุณภาพของประถมและมัธยมใช้แนวคิดของการพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากลเป็นหลักเหมือนกัน ดังนั้น ผมมองว่าเราควรอยู่ร่วมกัน เพื่อที่จะได้มีพลังความเข้มแข็งมากกว่าเราแยกกันอยู่” นายชินภัทร กล่าว