กมธ.ศึกษาฯ ฝาก สทศ.ควบคุมมาตรฐานข้อสอบเน้นวิเคราะห์มากกว่าท่องจำ ห่วงปัญหาข้อสอบผิดพลาดชี้ไม่ควรเกิด ระบุแม้ สทศ.จะรับผิดชอบแต่ก็ยังไม่เป็นธรรมต่อเด็กเก่ง
วันนี้ (31 ก.ค.) นายประกอบ รัตนพันธ์ ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร กล่าวภายหลังการเข้าเยี่ยมรับฟังปัญหาจากผู้บริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ว่า กมธ.ศึกษาฯ ได้ฝากให้ สทศ.จัดการทดสอบที่ได้มาตรฐาน โดยการทดสอบนั้นจะต้องคำนึงถึงมาตรฐาน ซึ่งต้องมีการกำหนดมาตรฐานของผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ชัดเจน และไม่ต้องสนใจว่าเด็กจะสอบได้คะแนนมากหรือน้อย หากได้คะแนนน้อยหรือต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ก็เป็นหน้าที่ของโรงเรียนและเด็กที่จะต้องพัฒนาตนเองได้ตามมาตรฐานที่ สทศ.กำหนด
ทั้งนี้ การทดสอบต้องกำหนดดัชนีชี้วัดที่เป็นมาตรฐานที่จะสามารถวัดเด็กให้รอบด้าน ทั้งความรู้และคุณธรรม เพื่อสร้างเด็กไทยให้เป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ กมธ.ศึกษาฯ เป็นห่วงมากที่สุดคือ แบบทดสอบที่ สทศ.ออกนั้น ไม่ควรมีข้อผิดพลาด ที่ผ่านมาแม้เมื่อข้อสอบเกิดข้อผิดพลาดขึ้น สทศ.จะแก้ไขปัญหาด้วยการให้คะแนนในข้อที่ผิดพลาด แต่โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่า ดูเหมือนจะยุติธรรม แต่ไม่เป็นธรรมกับเด็กที่เก่ง ทั้งควรพัฒนาข้อสอบให้เป็นการวิเคราะห์มากกว่าข้อสอบที่เน้นความจำ
“สถาบันทดสอบทางการศึกษาในต่างประเทศ เป็นสถาบันที่ได้รับความเชื่อถือ ข้อสอบมีมาตรฐาน คะแนนสอบที่ได้รับก็เป็นที่ยอมรับของมหาวิทยาลัย สามารถนำไปคะแนนไปคัคเลือกเข้าเรียนต่อได้ อาทิ สถาบันทดสอบของประเทศอังกฤษ ส่วนของไทยระบบการทดสอบแยกส่วนกัน ในอนาคตจะต้องเชื่อมโยงกันกันให้เป็นระบบ เพราะหาก สทศ.ทำการทดสอบแล้ว ไม่มีการนำคะแนนไปใช้ ก็ไม่มีประโยชน์ ทั้งในประเทศไทยยังมีระบบอุปถัมภ์ซึ่งเป็นจุดอ่อนของสังคมไทย มีระบบฝากเด็ก หากสทศ.สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการศึกษาว่าข้อสอบที่จัดสร้างขึ้นได้มาตรฐาน คะแนนสอบน่าเชื่อถือ คัดเลือกเด็กจะความสามารถแลผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริง จะลดปัญหาเด็กฝากได้ และสร้างควาเป็นธรรมให้กับสังคมไทยได้” นายประกอบ กล่าวและว่า สิ่งที่ สทศ.ร้องขอจากกรรมาธิการฯ คือ ให้ช่วยสนับสนุนงบด้านวิจัยของ สทศ.และการสร้างเครือข่ายนักวิจัยในระดับเขตพื้นที่ ซึ่ง สทศ.ตั้งงบไว้เพียง 20 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งตนรับปากว่าจะนำไปหารือกับฝ่ายบริหารเพื่อสนับสนุนงบดังกล่าวให้กับ สทศ.
วันนี้ (31 ก.ค.) นายประกอบ รัตนพันธ์ ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร กล่าวภายหลังการเข้าเยี่ยมรับฟังปัญหาจากผู้บริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ว่า กมธ.ศึกษาฯ ได้ฝากให้ สทศ.จัดการทดสอบที่ได้มาตรฐาน โดยการทดสอบนั้นจะต้องคำนึงถึงมาตรฐาน ซึ่งต้องมีการกำหนดมาตรฐานของผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ชัดเจน และไม่ต้องสนใจว่าเด็กจะสอบได้คะแนนมากหรือน้อย หากได้คะแนนน้อยหรือต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ก็เป็นหน้าที่ของโรงเรียนและเด็กที่จะต้องพัฒนาตนเองได้ตามมาตรฐานที่ สทศ.กำหนด
ทั้งนี้ การทดสอบต้องกำหนดดัชนีชี้วัดที่เป็นมาตรฐานที่จะสามารถวัดเด็กให้รอบด้าน ทั้งความรู้และคุณธรรม เพื่อสร้างเด็กไทยให้เป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ กมธ.ศึกษาฯ เป็นห่วงมากที่สุดคือ แบบทดสอบที่ สทศ.ออกนั้น ไม่ควรมีข้อผิดพลาด ที่ผ่านมาแม้เมื่อข้อสอบเกิดข้อผิดพลาดขึ้น สทศ.จะแก้ไขปัญหาด้วยการให้คะแนนในข้อที่ผิดพลาด แต่โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่า ดูเหมือนจะยุติธรรม แต่ไม่เป็นธรรมกับเด็กที่เก่ง ทั้งควรพัฒนาข้อสอบให้เป็นการวิเคราะห์มากกว่าข้อสอบที่เน้นความจำ
“สถาบันทดสอบทางการศึกษาในต่างประเทศ เป็นสถาบันที่ได้รับความเชื่อถือ ข้อสอบมีมาตรฐาน คะแนนสอบที่ได้รับก็เป็นที่ยอมรับของมหาวิทยาลัย สามารถนำไปคะแนนไปคัคเลือกเข้าเรียนต่อได้ อาทิ สถาบันทดสอบของประเทศอังกฤษ ส่วนของไทยระบบการทดสอบแยกส่วนกัน ในอนาคตจะต้องเชื่อมโยงกันกันให้เป็นระบบ เพราะหาก สทศ.ทำการทดสอบแล้ว ไม่มีการนำคะแนนไปใช้ ก็ไม่มีประโยชน์ ทั้งในประเทศไทยยังมีระบบอุปถัมภ์ซึ่งเป็นจุดอ่อนของสังคมไทย มีระบบฝากเด็ก หากสทศ.สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการศึกษาว่าข้อสอบที่จัดสร้างขึ้นได้มาตรฐาน คะแนนสอบน่าเชื่อถือ คัดเลือกเด็กจะความสามารถแลผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริง จะลดปัญหาเด็กฝากได้ และสร้างควาเป็นธรรมให้กับสังคมไทยได้” นายประกอบ กล่าวและว่า สิ่งที่ สทศ.ร้องขอจากกรรมาธิการฯ คือ ให้ช่วยสนับสนุนงบด้านวิจัยของ สทศ.และการสร้างเครือข่ายนักวิจัยในระดับเขตพื้นที่ ซึ่ง สทศ.ตั้งงบไว้เพียง 20 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งตนรับปากว่าจะนำไปหารือกับฝ่ายบริหารเพื่อสนับสนุนงบดังกล่าวให้กับ สทศ.