สทศ.รับไม่มีงานวิจัยทางการศึกษาเป็นชิ้นเป็นอัน เหตุขาดงบจ้างนักวิชาการ ทำให้ไม่เคยเสนอนโยบายทางการศึกษา สวนอยากให้ทำงานเต็มที่รัฐต้องจัดงบ! เผยเตรียมจัดประชุมการทดสอบนานาชาติ 3-5 ก.ย.นี้ พร้อมชวนกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิกแลกเปลี่ยนระบบ สร้างความร่วมมือระบบประเมินระดับชาติกลุ่มประเทศอาเซียน
ศ.กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (บอร์ด สทศ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้บอร์ด สทศ.ทำงานมาจะครบ 2 ปีแล้ว และเหลือระยะเวลาอีก 2 ปีจะครบวาระ โดยที่ผ่านมามีคำถามกลับมายัง สทศ.ว่านอกจากทำการทดสอบหรือประเมินสถานศึกษาแล้ว ได้มีการเสนออะไรที่เป็นนโยบายให้ ศธ.พิจารณาบ้าง อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าแม้ สทศ.จะได้รับงบ เพื่อจัดทดสอบทางการศึกษา แต่กลับไม่ได้รับการสนับสนุนคนและงบเพื่อมาออกข้อสอบเลย ในขณะที่ต่างประเทศ เช่น สถาบันทดสอบของประเทศเกาหลีใต้ เขามีนักวิชาการทดสอบถึง 150-200 คน ทำหน้าที่ออกข้อสอบเป็นประจำ แต่ของเราไม่มีงบไม่มีนักวิชาการแบบนี้ ขณะเดียวกันเราไม่เคยได้รับงบเพื่อมาทำการทดสอบควบคู่กับงานวิจัยทางการศึกษาเลย เราจึงไม่เคยทำวิจัยทางการศึกษาที่เป็นชิ้นเป็นอัน ฉะนั้นการจะทดสอบแล้วจะเสนอเป็นนโยบายทางการศึกษาเลย จึงเป็นไปได้ยาก
อย่างไรก็ตาม หากคาดหวังให้ สทศ.ทำงานอย่างเต็มที่ รัฐก็ต้องสนับสนุนเรื่องนักวิชาการทดสอบอย่างน้อย 10-20 คนต่อปี แล้วในอนาคตค่อยเพิ่มจำนวนต่อไปจนถึงหลักร้อย เพราะเทียบแล้วประเทศไทยมีภาระงานมากมายในการทำการทดสอบ ขณะที่การจะไปพึ่งอาจารย์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนสาธิตมาทำข้อสอบเป็นครั้งคราวอย่างที่ทำอยู่ คงเป็นไปไม่ได้ เช่นเดียวกับการทำวิจัยเพื่อการทดสอบ ที่เราจะอาศัยข้อมูลจากการทดสอบอย่างเดียว ก็เป็นข้อจำกัด เรื่องนี้ก็เป็นประเด็นเชิงนโยบายที่สำคัญ ที่เราต้องพิจารณาเทียบเคียงกับประเทศอื่น เพราะฉะนั้นใน 2 ปีข้างหน้า สทศ.ก็มีเป้าหมายเพื่อจะพัฒนาในประเด็นต่างๆ เหล่านี้ และสทศ.เตรียมจัดประชุมนานาชาติ ระหว่างวันที่ 3-5 ก.ย.นี้ เรื่องระบบการทดสอบระดับชาติในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะในประเทศอาเซียน เพื่อดูระบบการทดสอบแต่ละประเทศว่า เขามีการบริหารจัดการอย่างไร อย่างไรก็ดี สทศ.คาดหวังว่าการประชุมครั้งนี้ จะสามารถนำมาพิจารณากำหนดทิศทางการทดสอบระดับชาติต่อไปได้ รวมถึงการสร้างความร่วมมือการประเมินระดับชาติในกลุ่มประเทศอาเซียนต่อไปด้วย
ศ.กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (บอร์ด สทศ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้บอร์ด สทศ.ทำงานมาจะครบ 2 ปีแล้ว และเหลือระยะเวลาอีก 2 ปีจะครบวาระ โดยที่ผ่านมามีคำถามกลับมายัง สทศ.ว่านอกจากทำการทดสอบหรือประเมินสถานศึกษาแล้ว ได้มีการเสนออะไรที่เป็นนโยบายให้ ศธ.พิจารณาบ้าง อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าแม้ สทศ.จะได้รับงบ เพื่อจัดทดสอบทางการศึกษา แต่กลับไม่ได้รับการสนับสนุนคนและงบเพื่อมาออกข้อสอบเลย ในขณะที่ต่างประเทศ เช่น สถาบันทดสอบของประเทศเกาหลีใต้ เขามีนักวิชาการทดสอบถึง 150-200 คน ทำหน้าที่ออกข้อสอบเป็นประจำ แต่ของเราไม่มีงบไม่มีนักวิชาการแบบนี้ ขณะเดียวกันเราไม่เคยได้รับงบเพื่อมาทำการทดสอบควบคู่กับงานวิจัยทางการศึกษาเลย เราจึงไม่เคยทำวิจัยทางการศึกษาที่เป็นชิ้นเป็นอัน ฉะนั้นการจะทดสอบแล้วจะเสนอเป็นนโยบายทางการศึกษาเลย จึงเป็นไปได้ยาก
อย่างไรก็ตาม หากคาดหวังให้ สทศ.ทำงานอย่างเต็มที่ รัฐก็ต้องสนับสนุนเรื่องนักวิชาการทดสอบอย่างน้อย 10-20 คนต่อปี แล้วในอนาคตค่อยเพิ่มจำนวนต่อไปจนถึงหลักร้อย เพราะเทียบแล้วประเทศไทยมีภาระงานมากมายในการทำการทดสอบ ขณะที่การจะไปพึ่งอาจารย์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนสาธิตมาทำข้อสอบเป็นครั้งคราวอย่างที่ทำอยู่ คงเป็นไปไม่ได้ เช่นเดียวกับการทำวิจัยเพื่อการทดสอบ ที่เราจะอาศัยข้อมูลจากการทดสอบอย่างเดียว ก็เป็นข้อจำกัด เรื่องนี้ก็เป็นประเด็นเชิงนโยบายที่สำคัญ ที่เราต้องพิจารณาเทียบเคียงกับประเทศอื่น เพราะฉะนั้นใน 2 ปีข้างหน้า สทศ.ก็มีเป้าหมายเพื่อจะพัฒนาในประเด็นต่างๆ เหล่านี้ และสทศ.เตรียมจัดประชุมนานาชาติ ระหว่างวันที่ 3-5 ก.ย.นี้ เรื่องระบบการทดสอบระดับชาติในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะในประเทศอาเซียน เพื่อดูระบบการทดสอบแต่ละประเทศว่า เขามีการบริหารจัดการอย่างไร อย่างไรก็ดี สทศ.คาดหวังว่าการประชุมครั้งนี้ จะสามารถนำมาพิจารณากำหนดทิศทางการทดสอบระดับชาติต่อไปได้ รวมถึงการสร้างความร่วมมือการประเมินระดับชาติในกลุ่มประเทศอาเซียนต่อไปด้วย