“พงศ์เทพ” ระบุสอบ O-net วิทย์ใหม่ต้องฟังเสียงเด็กส่วนใหญ่ แจงเด็กบางคนอาจไม่ต้องการ ขณะที่ ประธาน ทปอ.เผยการจัดสอบใหม่ปัญหาตามมาอีกมาก หวังไม่ผิดซ้ำซาก ด้านเด็กเตรียมอุดมฯ ไม่เอาด้วยจัดสอบใหม่ ระบุหากสอบควรสอบเฉพาะกลุ่มทีข้อสอบมีปัญหา
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า กรณีเกิดปัญหาการจัดสอบการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-Net ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เมื่อวันที่ 9-10 ก.พ.ที่ผ่านมา ในการสอบวิชาวิทยาศาสตร์ ชุดสอบที่200 ซึ่งตนได้ขอให้สถาบันทดสอบทางการศึกษา (สทศ.) รวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่ทำให้เกิดความผิดพลาด ทั้งกระดาษคำตอบ ข้อสอบ ข้อมูลการจัดพิมพ์ รวมถึงความคลาดเคลื่อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในศูนย์สอบ เพื่อให้คณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษา (บอร์ด สทศ.) พิจารณา แก้ไขข้อบกพร่องและหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีกในอนาคต อย่างไรก็ตาม เท่าที่ทราบปัญหาครั้งนี้ไม่ได้เกิดเพราะข้อสอบผิด แต่เกิดที่ขั้นตอนระบบการพิมพ์ข้อสอบชุดที่ 200 ซึ่งช่วงท้ายระบบเกิดรวนจนไปดึงโจทย์ข้อสอบชุดที่ 100 ไปสลับทำให้ข้อสอบชุด 200 เกิดปัญหา ซึ่งตนได้กำชับข้อให้ผู้เกี่ยวข้อง กำกับดูแลไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีกกับการจัดสอบในอนาคต
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่มีนักเรียนออกมาเรียกร้องให้มีการจัดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ม.6ใหม่ทั้งหมดนั้น ตนคิดว่าความต้องการของเด็กมีหลากหลายแตกต่างกัน ทั้งที่ต้องการให้สอบใหม่ และไม่ต้องการให้สอบ เพราะครั้งนี้มีเด็กที่ได้ข้อสอบชุด 200 ประมาณ 80,000 กว่าคน ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 300,000 กว่าคน ที่ได้ข้อสอบชุดที่ถูกต้อง ซึ่งถ้าเขาคิดว่าทำได้ดีแล้วก็คงไม่อยากสอบใหม่ ซึ่งเราก็คงต้องรับฟังความเห็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าเด็กส่วนใหญ่เรียกร้องให้สอบใหม่ ก็คิดว่า สทศ.จะจัดสอบให้
ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวว่า ส่วนตัวยังมีความเชื่อมั่นในการออกข้อสอบของ สทศ.ส่วนข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นก็คงต้องเร่งแก้ไข ซึ่งในส่วนของ ทปอ.คงไม่ไปลงในรายละเอียด แต่จะกำชับขอให้ สทศ.ดูขั้นตอนต่างๆ ในการจัดสอบให้รอบคอบมากขึ้น ไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นอีก โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทางเทคนิค ซึ่งผิดครั้งหนึ่งแล้ว ก็ไม่ควรผิดครั้งที่สอง หรือให้เกิดความบกพร่องน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย อย่างไรก็ตาม เท่าที่ทราบ ข้อผิดพลาดครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากข้อสอบผิด แต่เป็นที่ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดพิมพ์มีปัญหา เพียงแต่ครั้งนี้อาจจะผิดมากถึง 24 คะแนน โดยการที่ สทศ.ตัดสินใจให้คะแนนฟรีนักเรียนทุกคน ถือเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง เพราะถ้าจัดสอบใหม่ จะมีปัญหาอีกมาก ทั้งเรื่องการออกข้อสอบ และที่สำคัญเด็กและผู้ปกครองจะต้องมาเสียเวลาและค่าใช้จ่ายอีกรอบ ซึ่งตนเชื่อว่า สทศ.ตัดสินใจโดยยึดประโยชน์ของเด็กเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม การประชุม ทปอ.วันที่ 17 กุมภาพันธ์นี้ คงไม่มีการหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาหารืออย่างเป็นทางการ เพราะ ทปอ.คงไม่ไปลงรายละเอียดขนาดนั้น แต่คงจะติดตามดูว่า สทศ.จะแก้ปัญหาอย่างไร เพราะ ทปอ.ยังจำเป็นต้องมีสถาบันที่มาช่วยจัดสอบ และขณะนี้ก็มีแต่ สทศ.เท่านั้นที่สามารถดำเนินการจัดสอบได้
ด้าน นายองศา จรรยาประเสริฐ นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กล่าวว่า ข้อเสนอที่ให้มีการจัดสอบใหม่ทั้งหมดนั้น ตนไม่เห็นด้วย เพราะบางคนก็มีโปรแกรมไปเที่ยวกับครอบครัวหลังสอบเสร็จแล้ว จึงอาจไม่มีเวลาเตรียมตัว และถ้ากระชั้นมากเกินไปจะไม่เกิดผลดี ดังนั้นตนจึงคิดว่าควรจะจัดสอบเฉพาะคนที่มีปัญหาได้ข้อสอบในชุดที่ผิดพลาด เพราะการสอบ O-Net มีครั้งเดียวในชีวิต เชื่อว่าทุกคนคงอยากทำให้ดีที่สุด
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า กรณีเกิดปัญหาการจัดสอบการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-Net ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เมื่อวันที่ 9-10 ก.พ.ที่ผ่านมา ในการสอบวิชาวิทยาศาสตร์ ชุดสอบที่200 ซึ่งตนได้ขอให้สถาบันทดสอบทางการศึกษา (สทศ.) รวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่ทำให้เกิดความผิดพลาด ทั้งกระดาษคำตอบ ข้อสอบ ข้อมูลการจัดพิมพ์ รวมถึงความคลาดเคลื่อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในศูนย์สอบ เพื่อให้คณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษา (บอร์ด สทศ.) พิจารณา แก้ไขข้อบกพร่องและหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีกในอนาคต อย่างไรก็ตาม เท่าที่ทราบปัญหาครั้งนี้ไม่ได้เกิดเพราะข้อสอบผิด แต่เกิดที่ขั้นตอนระบบการพิมพ์ข้อสอบชุดที่ 200 ซึ่งช่วงท้ายระบบเกิดรวนจนไปดึงโจทย์ข้อสอบชุดที่ 100 ไปสลับทำให้ข้อสอบชุด 200 เกิดปัญหา ซึ่งตนได้กำชับข้อให้ผู้เกี่ยวข้อง กำกับดูแลไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีกกับการจัดสอบในอนาคต
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่มีนักเรียนออกมาเรียกร้องให้มีการจัดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ม.6ใหม่ทั้งหมดนั้น ตนคิดว่าความต้องการของเด็กมีหลากหลายแตกต่างกัน ทั้งที่ต้องการให้สอบใหม่ และไม่ต้องการให้สอบ เพราะครั้งนี้มีเด็กที่ได้ข้อสอบชุด 200 ประมาณ 80,000 กว่าคน ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 300,000 กว่าคน ที่ได้ข้อสอบชุดที่ถูกต้อง ซึ่งถ้าเขาคิดว่าทำได้ดีแล้วก็คงไม่อยากสอบใหม่ ซึ่งเราก็คงต้องรับฟังความเห็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าเด็กส่วนใหญ่เรียกร้องให้สอบใหม่ ก็คิดว่า สทศ.จะจัดสอบให้
ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวว่า ส่วนตัวยังมีความเชื่อมั่นในการออกข้อสอบของ สทศ.ส่วนข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นก็คงต้องเร่งแก้ไข ซึ่งในส่วนของ ทปอ.คงไม่ไปลงในรายละเอียด แต่จะกำชับขอให้ สทศ.ดูขั้นตอนต่างๆ ในการจัดสอบให้รอบคอบมากขึ้น ไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นอีก โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทางเทคนิค ซึ่งผิดครั้งหนึ่งแล้ว ก็ไม่ควรผิดครั้งที่สอง หรือให้เกิดความบกพร่องน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย อย่างไรก็ตาม เท่าที่ทราบ ข้อผิดพลาดครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากข้อสอบผิด แต่เป็นที่ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดพิมพ์มีปัญหา เพียงแต่ครั้งนี้อาจจะผิดมากถึง 24 คะแนน โดยการที่ สทศ.ตัดสินใจให้คะแนนฟรีนักเรียนทุกคน ถือเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง เพราะถ้าจัดสอบใหม่ จะมีปัญหาอีกมาก ทั้งเรื่องการออกข้อสอบ และที่สำคัญเด็กและผู้ปกครองจะต้องมาเสียเวลาและค่าใช้จ่ายอีกรอบ ซึ่งตนเชื่อว่า สทศ.ตัดสินใจโดยยึดประโยชน์ของเด็กเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม การประชุม ทปอ.วันที่ 17 กุมภาพันธ์นี้ คงไม่มีการหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาหารืออย่างเป็นทางการ เพราะ ทปอ.คงไม่ไปลงรายละเอียดขนาดนั้น แต่คงจะติดตามดูว่า สทศ.จะแก้ปัญหาอย่างไร เพราะ ทปอ.ยังจำเป็นต้องมีสถาบันที่มาช่วยจัดสอบ และขณะนี้ก็มีแต่ สทศ.เท่านั้นที่สามารถดำเนินการจัดสอบได้
ด้าน นายองศา จรรยาประเสริฐ นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กล่าวว่า ข้อเสนอที่ให้มีการจัดสอบใหม่ทั้งหมดนั้น ตนไม่เห็นด้วย เพราะบางคนก็มีโปรแกรมไปเที่ยวกับครอบครัวหลังสอบเสร็จแล้ว จึงอาจไม่มีเวลาเตรียมตัว และถ้ากระชั้นมากเกินไปจะไม่เกิดผลดี ดังนั้นตนจึงคิดว่าควรจะจัดสอบเฉพาะคนที่มีปัญหาได้ข้อสอบในชุดที่ผิดพลาด เพราะการสอบ O-Net มีครั้งเดียวในชีวิต เชื่อว่าทุกคนคงอยากทำให้ดีที่สุด