“สัมพันธ์” หน้าซีด! แถลงขอโทษจัดสอบ O-Net ผิดพลาด โบ้ยคอมพิวเตอร์รวนทำข้อสอบวิทย์สลับชุด ยกฟรี 24 คะแนน ให้เด็กกว่า 4 แสนคน พร้อมตั้ง กก.หาคนผิด ย้ำคนไม่ดีไม่เอาไว้ ขณะที่ ประธานบอร์ด สทศ.สั่ง ผอ.สทศ.เขียนรายงานแจงข้อผิดพลาด ก่อนนัดถกด่วนกลางเดือนนี้ ด้านเด็กเตรียมอุดมฯ บุกห้องประชุมร่วมฟังแถลง ระบุข้อสอบไร้คุณภาพ จี้ยกเลิกคะแนน O-Net 20% ไปคิดจบช่วงชั้น
วันนี้ (11 ก.พ.) เมื่อเวลาประมาณ 13.30 น.ที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการ สทศ.แถลงข่าวชี้แจงกรณีปัญหาข้อสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ชั้น ม.6 จัดสอบระหว่างวันที่ 9-10 ก.พ.โดยพบปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ ชุดที่ 200 เกิดปัญหา และมีนักเรียนได้โพสต์ผ่านเว็บไซต์ระบุปัญหาว่าข้อสอบชุดดังกล่าวมีข้อซ้ำเยอะ เลขข้อขาดหาย และเรียงลำดับข้อไม่ถูก โดยมีมากกว่า 30 ข้อรวมแล้วกว่า 40 คะแนน ว่า ตนได้รับรายงานตั้งแต่เวลาประมาณ 12.00 น.ของวันที่ 10 ก.พ.ที่ผ่านมา ว่า พบปัญหาข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ ชุดที่ 200 ในศูนย์สอบ 7 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.), มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.), มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.), มหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.) วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) และมหาวิทยานราธิวาสราชนครินทร์ (มนร.) ดังนั้น ตนและคณะทำงานจึงได้ตรวจสอบข้อสอบวิชาดังกล่าวชุดที่ 100 และ 200 ที่อยู่ในห้องคลังข้อสอบที่ สทศ.ก็พบว่าข้อสอบทั้ง 2 ชุดถูกต้องไม่มีปัญหา ดังนั้น ตนจึงได้ให้ทั้ง 7 ศูนย์สอบ ส่งแฟกซ์ข้อสอบชุดที่ 200 ที่มีปัญหามาตรวจสอบอีกครั้ง และพบว่าข้อสอบชุด 200 นี้เกิดความผิดพลาดจริง จึงได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบกรณีที่เกิดขึ้น
รศ.ดร.สัมพันธ์ กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า ข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ ในชุดที่ 100 มีผู้มีสิทธิ์สอบประมาณ 200,000 คน และชุดที่ 200 มีผู้มีสิทธิ์สอบประมาณ 200,000 คน ซึ่งข้อสอบชุดที่ 100 ถูกต้องไม่มีปัญหา แต่ในชุดที่ 200 พบว่ามีปัญหาประมาณ 80,000 ฉบับ โดยปัญหาที่พบ คือ มีโจทย์ที่ซ้ำกัน 16 ข้อในจำนวนนี้มีหมายเลขข้อซ้ำกัน 9 ข้อ ทำให้เด็กไม่สามารถฝนกระดาษคำตอบได้ส่งผลให้คะแนนหายไป 9 คะแนน นอกจากนี้ ยังพบว่า โจทย์หายไปอีก 13 ข้อ แบ่งเป็นข้อละ 1 คะแนน 11 ข้อ และข้อละ 2 คะแนน 2 ข้อ รวม 15 คะแนน โดยเมื่อรวมคะแนนจากทั้ง 2 ส่วนคะแนนเด็กจะหายไปทั้งสิ้น 24 คะแนน เพราะฉะนั้น เพื่อประโยชน์ของเด็กผู้เข้าสอบทุกคน สทศ.จึงให้คะแนนฟรี 24 คะแนนกับเด็กที่สอบเข้าสอบวิชาวิทยาศาสตร์ทั้งหมดประมาณ 400,000 คน
“ขอโทษที่การจัดสอบมีปัญหา ผมรู้สึกเสียใจทั้งที่ได้พยายามดำเนินการ และตรวจสอบให้ดีที่สุดแล้ว แต่กลับเกิดปัญหา ซึ่งขณะนี้ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อตรวจสอบว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากเหตุสุดวิสัย ความประมาทเลินเล่อ หรือเป็นที่ระบบการผลิต ซึ่งหากพบว่าเกิดจากความประมาทเลินเล่อผมก็คงต้องปลดหรือเปลี่ยน เพราะคนไม่ดีผมไม่เอาไว้แน่นอน และหลังจากนี้ ผมใน ฐานะ ผอ.สทศ.ก็มีหน้าที่ที่จะทำให้เกิดความมั่นใจ และเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมา ซึ่งทั้งหมดก็คงจะต้องพิสูจน์กันด้วยผลงานข้างหน้าในอนาคต และครั้งนี้ถือเป็นบทเรียนที่จะต้องมีการตรวจสอบให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม” ผอ.สทศ.กล่าว
ด้าน นายพัฒนา ชนากร หัวหน้างานพัฒนาและบริหารการทดสอบอาชีวศึกษาและสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษานอกอัธยาศัย ในฐานะกรรมการบริหารการสอบ O-Net กล่าวว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะระบบการดึงข้อมูลในการพิมพ์ข้อสอบเกิดรวน ซึ่งในช่วงท้ายของการพิมพ์ข้อสอบชุด 200 ระบบกลับไปดึงข้อมูลการพิมพ์ข้อสอบชุด 100 มาแทนที่ จึงทำให้ข้อสอบทั้ง 2 ชุดสลับกันไปสลับกันมา อย่างไรก็ตาม ในการควบคุมการผลิตข้อสอบนั้นได้กำหนดระบบการป้องกันไม่ให้สามารถตรวจสอบเนื้อหาได้ เพื่อรักษาความลับของข้อสอบ แต่จะตรวจได้เพียงเลขหน้าของกระดาษข้อสอบเท่านั้น และจากการตรวจสอบเลขหน้ากระดาษก็พบว่าถูกต้อง จึงถือเป็นเหตุสุดวิสัย ทำให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้น
ขณะที่ ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร สทศ. กล่าวว่า ตนได้มอบหมายให้ รศ.ดร.สัมพันธ์ ทำรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรชี้แจงเรื่องดังกล่าว และตนจะเรียกประชุมบอร์ด สทศ.เร็วขึ้น จากเดิมประมาณช่วงปลายเดือนมาเป็นกลางเดือน ก.พ.นี้ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ส่วนจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ ผอ.สมศ. หรือไม่นั้น คงต้องดูรายละเอียดคำชี้แจงของผอ.ก่อน เพราะการทำงานของผอ.สทศ.ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานั้น ถือว่าได้ดำเนินการตามระเบียบที่ได้กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ ตนจะเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
ด้าน น.ส.เหมือนระวี ธานีโต นักเรียนระดับชั้น ม.6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กล่าวว่า ตนและเพื่อน มีความไม่มั่นใจในการจัดสอบโอเน็ต โดยปีนี้เป็นปีแรกที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ใช้คะแนนโอเน็ต 20% ถ่วงน้ำหนักกับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (จีพีเอ) ซึ่งเท่ากับว่าจะไม่มีนักเรียนคนใดในประเทศไทยที่ได้เกรดเฉลี่ย 4.00 ทั้งนี้ ตนเข้าใจว่า การนำโอเน็ตมาถ่วงน้ำหนักจะทำให้เกิดความเป็นธรรม และจีพีเอมีมาตรฐาน แต่อยากให้เข้าใจว่ายังมีเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องการไปเรียนในต่างระเทศและการจะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยดีๆ ในต่างประเทศได้ จะต้องใช้เกรดเฉลี่ยที่สูง ซึ่งตนเห็นว่าไม่เป็นธรรมหากจะนำคะแนนโอเน็ตที่ไม่ได้มาตรฐานมาถ่วงจีพีเอ อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนเรื่องนี้ด้วย เพราะเท่าที่ดูข้อสอบโอเน็ตมีความผิดพลาดทุกปี
นายองศา จรรยาประเสริฐ นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กล่าวว่า การที่ สทศ.ให้ฟรีคะแนนวิทยาศาสตร์ โอเน็ต 24 คะแนน นั้นไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง เพราะจะทำให้ไม่สามารถวัดมาตรฐานของเด็กได้ และไม่เป็นธรรมแก่เด็ก เนื่องจากบางคนตั้งใจอ่านหนังสือ แต่บางคนกลับมองว่าวิชานี้ยากแล้วไม่ได้อ่าน กลับได้คะแนนฟรีเท่ากัน ดังนั้น ควรจะมีการวางระบบให้รัดกุมและรอบคอบมากกว่านี้ ไม่ใช่พอเกิดปัญหาก็ขอโทษและโทษว่าเกิดจากระบบรวน นอกจากนี้ อยากเรียกร้องให้ยกเลิกการนำคะแนนโอเน็ต 20% มาถ่วงคะแนนจีพีเอ เพราะคะแนนโอเน็ตไม่ได้มาตรฐานก็ไม่ควรเอามาวัด
น.ส.ธนพร ศิริโยธิพันธุ์ นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กล่าวว่า ตนได้ข้อสอบชุดที่ 200 ตอนที่พบว่าข้อสอบมีปัญหาก็พยายามอ่านทำความเข้าใจและดูว่าควรจะทำอย่างไร แต่ก็ฝนคำตอบในกระดาษเต็มทุกข้อ แม้จะว่า สทศ.จะมีมติให้ฟรี 24 คะแนน มองในมุมของการสอบก็รู้สึกดีใจ เพราะคะแนนมีผลต่อการกำหนดอนาคตของตัวเอง แต่ถ้ามองถึงความตั้งใจของเพื่อนๆ คนอื่นที่เขาตั้งใจมาสอบ และไม่พบปัญหาเหมือนคนอื่นๆ วิธีนี้ก็อาจจะไม่ได้บอกว่าเป็นความยุติธรรม อย่างไรก็ตาม ที่สำคัญที่สุด คือ ไม่ควรเกิดปัญหาในลักษณะนี้อีก เพราะการสอบนี้เป็นการสอบระดับชาติควรจะต้องทำให้เกิดเป็นมาตรฐาน
“สมมติว่า เพื่อนที่สอบโอเน็ตปี 2555 จะไปซิ่วเข้ามหาวิทยาลัยใหม่ในปี 2557 แต่เราได้คะแนนฟรีมา 24 คะแนนในขณะที่คนที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยตามปกติที่สอบโอเน็ต ในปี 2556 เขาอาจจะไม่ได้เจอความผิดพลาดและไม่ได้คะแนนฟรี เขาก็อาจจะรู้สึกว่าเขาไม่ได้ความยุติธรรม ดังนั้น อยากให้ สทศ.วางระบบการสอบให้รัดกุมได้มาตรฐานไม่เกิดปัญหา” น.ส.ธนพร กล่าว
วันนี้ (11 ก.พ.) เมื่อเวลาประมาณ 13.30 น.ที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการ สทศ.แถลงข่าวชี้แจงกรณีปัญหาข้อสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ชั้น ม.6 จัดสอบระหว่างวันที่ 9-10 ก.พ.โดยพบปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ ชุดที่ 200 เกิดปัญหา และมีนักเรียนได้โพสต์ผ่านเว็บไซต์ระบุปัญหาว่าข้อสอบชุดดังกล่าวมีข้อซ้ำเยอะ เลขข้อขาดหาย และเรียงลำดับข้อไม่ถูก โดยมีมากกว่า 30 ข้อรวมแล้วกว่า 40 คะแนน ว่า ตนได้รับรายงานตั้งแต่เวลาประมาณ 12.00 น.ของวันที่ 10 ก.พ.ที่ผ่านมา ว่า พบปัญหาข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ ชุดที่ 200 ในศูนย์สอบ 7 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.), มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.), มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.), มหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.) วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) และมหาวิทยานราธิวาสราชนครินทร์ (มนร.) ดังนั้น ตนและคณะทำงานจึงได้ตรวจสอบข้อสอบวิชาดังกล่าวชุดที่ 100 และ 200 ที่อยู่ในห้องคลังข้อสอบที่ สทศ.ก็พบว่าข้อสอบทั้ง 2 ชุดถูกต้องไม่มีปัญหา ดังนั้น ตนจึงได้ให้ทั้ง 7 ศูนย์สอบ ส่งแฟกซ์ข้อสอบชุดที่ 200 ที่มีปัญหามาตรวจสอบอีกครั้ง และพบว่าข้อสอบชุด 200 นี้เกิดความผิดพลาดจริง จึงได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบกรณีที่เกิดขึ้น
รศ.ดร.สัมพันธ์ กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า ข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ ในชุดที่ 100 มีผู้มีสิทธิ์สอบประมาณ 200,000 คน และชุดที่ 200 มีผู้มีสิทธิ์สอบประมาณ 200,000 คน ซึ่งข้อสอบชุดที่ 100 ถูกต้องไม่มีปัญหา แต่ในชุดที่ 200 พบว่ามีปัญหาประมาณ 80,000 ฉบับ โดยปัญหาที่พบ คือ มีโจทย์ที่ซ้ำกัน 16 ข้อในจำนวนนี้มีหมายเลขข้อซ้ำกัน 9 ข้อ ทำให้เด็กไม่สามารถฝนกระดาษคำตอบได้ส่งผลให้คะแนนหายไป 9 คะแนน นอกจากนี้ ยังพบว่า โจทย์หายไปอีก 13 ข้อ แบ่งเป็นข้อละ 1 คะแนน 11 ข้อ และข้อละ 2 คะแนน 2 ข้อ รวม 15 คะแนน โดยเมื่อรวมคะแนนจากทั้ง 2 ส่วนคะแนนเด็กจะหายไปทั้งสิ้น 24 คะแนน เพราะฉะนั้น เพื่อประโยชน์ของเด็กผู้เข้าสอบทุกคน สทศ.จึงให้คะแนนฟรี 24 คะแนนกับเด็กที่สอบเข้าสอบวิชาวิทยาศาสตร์ทั้งหมดประมาณ 400,000 คน
“ขอโทษที่การจัดสอบมีปัญหา ผมรู้สึกเสียใจทั้งที่ได้พยายามดำเนินการ และตรวจสอบให้ดีที่สุดแล้ว แต่กลับเกิดปัญหา ซึ่งขณะนี้ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อตรวจสอบว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากเหตุสุดวิสัย ความประมาทเลินเล่อ หรือเป็นที่ระบบการผลิต ซึ่งหากพบว่าเกิดจากความประมาทเลินเล่อผมก็คงต้องปลดหรือเปลี่ยน เพราะคนไม่ดีผมไม่เอาไว้แน่นอน และหลังจากนี้ ผมใน ฐานะ ผอ.สทศ.ก็มีหน้าที่ที่จะทำให้เกิดความมั่นใจ และเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมา ซึ่งทั้งหมดก็คงจะต้องพิสูจน์กันด้วยผลงานข้างหน้าในอนาคต และครั้งนี้ถือเป็นบทเรียนที่จะต้องมีการตรวจสอบให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม” ผอ.สทศ.กล่าว
ด้าน นายพัฒนา ชนากร หัวหน้างานพัฒนาและบริหารการทดสอบอาชีวศึกษาและสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษานอกอัธยาศัย ในฐานะกรรมการบริหารการสอบ O-Net กล่าวว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะระบบการดึงข้อมูลในการพิมพ์ข้อสอบเกิดรวน ซึ่งในช่วงท้ายของการพิมพ์ข้อสอบชุด 200 ระบบกลับไปดึงข้อมูลการพิมพ์ข้อสอบชุด 100 มาแทนที่ จึงทำให้ข้อสอบทั้ง 2 ชุดสลับกันไปสลับกันมา อย่างไรก็ตาม ในการควบคุมการผลิตข้อสอบนั้นได้กำหนดระบบการป้องกันไม่ให้สามารถตรวจสอบเนื้อหาได้ เพื่อรักษาความลับของข้อสอบ แต่จะตรวจได้เพียงเลขหน้าของกระดาษข้อสอบเท่านั้น และจากการตรวจสอบเลขหน้ากระดาษก็พบว่าถูกต้อง จึงถือเป็นเหตุสุดวิสัย ทำให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้น
ขณะที่ ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร สทศ. กล่าวว่า ตนได้มอบหมายให้ รศ.ดร.สัมพันธ์ ทำรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรชี้แจงเรื่องดังกล่าว และตนจะเรียกประชุมบอร์ด สทศ.เร็วขึ้น จากเดิมประมาณช่วงปลายเดือนมาเป็นกลางเดือน ก.พ.นี้ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ส่วนจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ ผอ.สมศ. หรือไม่นั้น คงต้องดูรายละเอียดคำชี้แจงของผอ.ก่อน เพราะการทำงานของผอ.สทศ.ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานั้น ถือว่าได้ดำเนินการตามระเบียบที่ได้กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ ตนจะเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
ด้าน น.ส.เหมือนระวี ธานีโต นักเรียนระดับชั้น ม.6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กล่าวว่า ตนและเพื่อน มีความไม่มั่นใจในการจัดสอบโอเน็ต โดยปีนี้เป็นปีแรกที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ใช้คะแนนโอเน็ต 20% ถ่วงน้ำหนักกับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (จีพีเอ) ซึ่งเท่ากับว่าจะไม่มีนักเรียนคนใดในประเทศไทยที่ได้เกรดเฉลี่ย 4.00 ทั้งนี้ ตนเข้าใจว่า การนำโอเน็ตมาถ่วงน้ำหนักจะทำให้เกิดความเป็นธรรม และจีพีเอมีมาตรฐาน แต่อยากให้เข้าใจว่ายังมีเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องการไปเรียนในต่างระเทศและการจะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยดีๆ ในต่างประเทศได้ จะต้องใช้เกรดเฉลี่ยที่สูง ซึ่งตนเห็นว่าไม่เป็นธรรมหากจะนำคะแนนโอเน็ตที่ไม่ได้มาตรฐานมาถ่วงจีพีเอ อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนเรื่องนี้ด้วย เพราะเท่าที่ดูข้อสอบโอเน็ตมีความผิดพลาดทุกปี
นายองศา จรรยาประเสริฐ นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กล่าวว่า การที่ สทศ.ให้ฟรีคะแนนวิทยาศาสตร์ โอเน็ต 24 คะแนน นั้นไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง เพราะจะทำให้ไม่สามารถวัดมาตรฐานของเด็กได้ และไม่เป็นธรรมแก่เด็ก เนื่องจากบางคนตั้งใจอ่านหนังสือ แต่บางคนกลับมองว่าวิชานี้ยากแล้วไม่ได้อ่าน กลับได้คะแนนฟรีเท่ากัน ดังนั้น ควรจะมีการวางระบบให้รัดกุมและรอบคอบมากกว่านี้ ไม่ใช่พอเกิดปัญหาก็ขอโทษและโทษว่าเกิดจากระบบรวน นอกจากนี้ อยากเรียกร้องให้ยกเลิกการนำคะแนนโอเน็ต 20% มาถ่วงคะแนนจีพีเอ เพราะคะแนนโอเน็ตไม่ได้มาตรฐานก็ไม่ควรเอามาวัด
น.ส.ธนพร ศิริโยธิพันธุ์ นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กล่าวว่า ตนได้ข้อสอบชุดที่ 200 ตอนที่พบว่าข้อสอบมีปัญหาก็พยายามอ่านทำความเข้าใจและดูว่าควรจะทำอย่างไร แต่ก็ฝนคำตอบในกระดาษเต็มทุกข้อ แม้จะว่า สทศ.จะมีมติให้ฟรี 24 คะแนน มองในมุมของการสอบก็รู้สึกดีใจ เพราะคะแนนมีผลต่อการกำหนดอนาคตของตัวเอง แต่ถ้ามองถึงความตั้งใจของเพื่อนๆ คนอื่นที่เขาตั้งใจมาสอบ และไม่พบปัญหาเหมือนคนอื่นๆ วิธีนี้ก็อาจจะไม่ได้บอกว่าเป็นความยุติธรรม อย่างไรก็ตาม ที่สำคัญที่สุด คือ ไม่ควรเกิดปัญหาในลักษณะนี้อีก เพราะการสอบนี้เป็นการสอบระดับชาติควรจะต้องทำให้เกิดเป็นมาตรฐาน
“สมมติว่า เพื่อนที่สอบโอเน็ตปี 2555 จะไปซิ่วเข้ามหาวิทยาลัยใหม่ในปี 2557 แต่เราได้คะแนนฟรีมา 24 คะแนนในขณะที่คนที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยตามปกติที่สอบโอเน็ต ในปี 2556 เขาอาจจะไม่ได้เจอความผิดพลาดและไม่ได้คะแนนฟรี เขาก็อาจจะรู้สึกว่าเขาไม่ได้ความยุติธรรม ดังนั้น อยากให้ สทศ.วางระบบการสอบให้รัดกุมได้มาตรฐานไม่เกิดปัญหา” น.ส.ธนพร กล่าว