เด็กโวย! O-Net วิทย์ ชุดที่ 200 ปัญหาเพียบ “สัมพันธ์” สั่งสนามสอบรวบรวม พร้อมตั้ง กก.ขึ้นมาตรวจสอบและแก้ปัญหา พร้อมเผยเตรียมเปิดรับสมัครสอบ O-Net ป.6, ม.3 และ ม.6 รอบพิเศษ กรณีเหตุสุดวิสัย 11-19 ก.พ.นี้ ทางไปรษณีย์หรือด้วยตนเอง พร้อมกำหนดสอบใน 6-7 มี.ค.ด้าน อ.จุฬาฯ เผย สังเกตการณ์สนามสอบ พบเด็กขาดวินัย อ้างใช้สิทธิเข้าห้องสอบสาย 30 นาที
วันนี้ (10 ก.พ.) เมื่อเวลา 09.00 น.ที่สนามสอบโรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเดินทางตรวจเยี่ยมสนามสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-Net ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2555 จัดสอบวันที่ 9-10 ก.พ.ซึ่งวันนี้เป็นวันสุดท้าย ว่า ที่สนามสอบโรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม มีนักเรียนเข้าสอบจำนวน 929 คน สำหรับภาพรวมการจัดสอบ O-Net เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และยังไม่ได้รับรายงานการทุจริต โดยการสอบวันที่สองนี้ จะมีการทดสอบรายวิชาภาษาไทย วิทยาศาสตร์ สุขศึกษา และ พลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ซึ่ง สทศ.มั่นใจในระบบการบริหารการสอบและมาตรฐานข้อสอบ
ทั้งนี้ มีแนวโน้มว่าการสอบ O-Net จะมีจำนวนนักเรียนขาดสอบลดลง ขณะเดียวกัน นักเรียนตั้งใจสอบมากขึ้น เนื่องจากคะแนน O-Net จะนำไปใช้ประโยชน์มากขึ้น โดยโรงเรียนใช้ประกอบการพิจารณาคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อ โรงเรียนจะนำผลสอบ O-Net ไปบรรจุไว้ในระเบียนแสดงผลการเรียนของนักเรียน หรือ ปพ.1 ด้วย ขณะที่ในส่วนของมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็ใช้ผลสอบ O-Net เป็นส่วนหนึ่งในการเข้าศึกษาต่อ โดยเฉพาะกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ซึ่งคัดเลือกผ่านระบบการรับตรงกำหนดจะใช้คะแนน O-Net ประกอบการคัดเลือกถึง 60% และเป็นปีแรกที่ กสพท.จะประกาศผลการคัดเลือกหลังจากที่มีการประกาศผลคะแนน O-Net แล้ว ทำให้เด็กต้องตั้งใจสอบมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อคะแนน O-Net มีความสำคัญ และถูกนำไปใช้มากยิ่งขึ้น แต่ก็ปรากฏมีนักเรียนบางส่วนที่ขาดสอบด้วยเหตุสุดวิสัย ทำให้ไม่สามารถเดินทางมาสอบได้ตามวันและเวลาที่ สทศ.กำหนด ดังนั้น สทศ.จะเปิดให้ยื่นใบสมัครสอบรอบพิเศษ ทั้งระดับชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 ในวันที่ 6-7 มีนาคม สมัครสอบได้ทางไปรษณีย์ หรือด้วยตนเองที่ สทศ.ในวันที่ 11-19 กุมภาพันธ์ ค่าสมัครสอบชุดวิชาละ 100 บาท ประกาศผลสอบ ป.6 และ ม.3 วันที่ 15 มีนาคม และ ม.6 วันที่ 10 เมษายน
“นักเรียนที่มายื่นสมัครสอบรอบพิเศษ จะต้องเป็นกรณีขาดสอบเพราะเหตุสุดวิสัยจริงๆ เช่น เกิดอุบัติเหตุ ป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล เป็นต้น โดยนักเรียนจะต้องแสดงหลักฐาน อาทิ ใบรับรองแพทย์ และจะต้องมีหนังสือรับรองจากผู้อำนวยการโรงเรียน หนังสือรับรองจากผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันที่ชัดเจน” ผอ.สทศ.กล่าว
ผอ.สทศ.กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่นักเรียนร้องเรียนว่าข้อสอบ O-Net วิชาวิทยาศาสตร์ ชุดที่ 200 มีปัญหาตัวเลือกซ้ำ เรียงข้อไม่ถูก ว่า ตนได้รับรายงานว่าข้อสอบชุดดังกล่าวพบปัญหา เช่น ตัวเลือกซ้ำ, เลขข้อหาย, เรียงลำดับข้อไม่ถูก ซึ่งมีมากกว่า 30 ข้อรวมกว่า 40 คะแนน เบื้องต้นได้ขอให้สนามสอบรวบรวมกระดาษคำตอบชุดที่มีการคลาดเคลื่อน เพื่อทำการตรวจสอบ โดยได้ตั้งคณะทำงานมาตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาต่อไป
ด้าน นางวารุณี ปัทมะศังข์ รองผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบทางการศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการร่วมสังเกตการณ์สนามสอบในพื้นที่รับผิดชอบหลายแห่ง พบปัญหานักเรียนจำนวนมาก มาถึงห้องสอบแล้ว แต่ยังไม่เข้าห้องสอบตามเวลา ถือโอกาสใช้สิทธิ สามารถเข้าห้องสอบสายได้ 30 นาที สำหรับกรณีเกิดเหตุสุดวิสัย และส่งเสียงดังรบกวนเพื่อนที่เข้าสอบ ซึ่งตรงนี้ถือว่านักเรียนไม่มีวินัย ดังนั้น ตนจะเสนอขอให้ สทศ.แก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยอาจจะต้องมีการกำหนดให้ชัดเจนว่า นักเรียนที่มาถึงห้องสอบแล้วควรจะเข้าห้องทันที
วันนี้ (10 ก.พ.) เมื่อเวลา 09.00 น.ที่สนามสอบโรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเดินทางตรวจเยี่ยมสนามสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-Net ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2555 จัดสอบวันที่ 9-10 ก.พ.ซึ่งวันนี้เป็นวันสุดท้าย ว่า ที่สนามสอบโรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม มีนักเรียนเข้าสอบจำนวน 929 คน สำหรับภาพรวมการจัดสอบ O-Net เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และยังไม่ได้รับรายงานการทุจริต โดยการสอบวันที่สองนี้ จะมีการทดสอบรายวิชาภาษาไทย วิทยาศาสตร์ สุขศึกษา และ พลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ซึ่ง สทศ.มั่นใจในระบบการบริหารการสอบและมาตรฐานข้อสอบ
ทั้งนี้ มีแนวโน้มว่าการสอบ O-Net จะมีจำนวนนักเรียนขาดสอบลดลง ขณะเดียวกัน นักเรียนตั้งใจสอบมากขึ้น เนื่องจากคะแนน O-Net จะนำไปใช้ประโยชน์มากขึ้น โดยโรงเรียนใช้ประกอบการพิจารณาคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อ โรงเรียนจะนำผลสอบ O-Net ไปบรรจุไว้ในระเบียนแสดงผลการเรียนของนักเรียน หรือ ปพ.1 ด้วย ขณะที่ในส่วนของมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็ใช้ผลสอบ O-Net เป็นส่วนหนึ่งในการเข้าศึกษาต่อ โดยเฉพาะกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ซึ่งคัดเลือกผ่านระบบการรับตรงกำหนดจะใช้คะแนน O-Net ประกอบการคัดเลือกถึง 60% และเป็นปีแรกที่ กสพท.จะประกาศผลการคัดเลือกหลังจากที่มีการประกาศผลคะแนน O-Net แล้ว ทำให้เด็กต้องตั้งใจสอบมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อคะแนน O-Net มีความสำคัญ และถูกนำไปใช้มากยิ่งขึ้น แต่ก็ปรากฏมีนักเรียนบางส่วนที่ขาดสอบด้วยเหตุสุดวิสัย ทำให้ไม่สามารถเดินทางมาสอบได้ตามวันและเวลาที่ สทศ.กำหนด ดังนั้น สทศ.จะเปิดให้ยื่นใบสมัครสอบรอบพิเศษ ทั้งระดับชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 ในวันที่ 6-7 มีนาคม สมัครสอบได้ทางไปรษณีย์ หรือด้วยตนเองที่ สทศ.ในวันที่ 11-19 กุมภาพันธ์ ค่าสมัครสอบชุดวิชาละ 100 บาท ประกาศผลสอบ ป.6 และ ม.3 วันที่ 15 มีนาคม และ ม.6 วันที่ 10 เมษายน
“นักเรียนที่มายื่นสมัครสอบรอบพิเศษ จะต้องเป็นกรณีขาดสอบเพราะเหตุสุดวิสัยจริงๆ เช่น เกิดอุบัติเหตุ ป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล เป็นต้น โดยนักเรียนจะต้องแสดงหลักฐาน อาทิ ใบรับรองแพทย์ และจะต้องมีหนังสือรับรองจากผู้อำนวยการโรงเรียน หนังสือรับรองจากผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันที่ชัดเจน” ผอ.สทศ.กล่าว
ผอ.สทศ.กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่นักเรียนร้องเรียนว่าข้อสอบ O-Net วิชาวิทยาศาสตร์ ชุดที่ 200 มีปัญหาตัวเลือกซ้ำ เรียงข้อไม่ถูก ว่า ตนได้รับรายงานว่าข้อสอบชุดดังกล่าวพบปัญหา เช่น ตัวเลือกซ้ำ, เลขข้อหาย, เรียงลำดับข้อไม่ถูก ซึ่งมีมากกว่า 30 ข้อรวมกว่า 40 คะแนน เบื้องต้นได้ขอให้สนามสอบรวบรวมกระดาษคำตอบชุดที่มีการคลาดเคลื่อน เพื่อทำการตรวจสอบ โดยได้ตั้งคณะทำงานมาตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาต่อไป
ด้าน นางวารุณี ปัทมะศังข์ รองผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบทางการศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการร่วมสังเกตการณ์สนามสอบในพื้นที่รับผิดชอบหลายแห่ง พบปัญหานักเรียนจำนวนมาก มาถึงห้องสอบแล้ว แต่ยังไม่เข้าห้องสอบตามเวลา ถือโอกาสใช้สิทธิ สามารถเข้าห้องสอบสายได้ 30 นาที สำหรับกรณีเกิดเหตุสุดวิสัย และส่งเสียงดังรบกวนเพื่อนที่เข้าสอบ ซึ่งตรงนี้ถือว่านักเรียนไม่มีวินัย ดังนั้น ตนจะเสนอขอให้ สทศ.แก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยอาจจะต้องมีการกำหนดให้ชัดเจนว่า นักเรียนที่มาถึงห้องสอบแล้วควรจะเข้าห้องทันที